พบผลลัพธ์ทั้งหมด 126 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากรจำกัดเฉพาะคดีภาษี การฟ้องเพิกถอนยึดทรัพย์ไม่ใช่คดีภาษี
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าประกาศยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์โจทก์ของจำเลยโดยใช้อำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12เป็นโมฆะและขอให้เพิกถอนเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ตามอำนาจของจำเลยว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับภาษีอากรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ ดังนี้ ศาลภาษีอากรกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2776/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากคำสั่งอายัดทรัพย์ที่ไม่ถูกต้อง แม้ตรวจสอบแล้ว แต่ยังประมาทเลินเล่อ
บริษัทโจทก์เป็นคนละนิติบุคคลกับบริษัท ต.กรมสรรพกรจำเลยที่ 1 โดย จำเลยที่ 2 ออกคำสั่งอายัดเงินค่าจ้างก่อสร้างทางหลวงที่โจทก์พึงจะได้รับจากกรมทางหลวงอ้างว่าโจทก์คือบริษัทต. ซึ่งค้างชำระค่าภาษีอากรแก่จำเลยที่ 1 โดย อาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองกระทำผิดพลาดไปโดย ไม่ตรวจสอบให้รอบคอบก่อนออกคำสั่งอายัด เป็นการประมาทเลินเล่อโดย ผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับเงินจากกรมทางหลวงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4629/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ภาษีอากรเกิน 10 ปีเป็นโมฆะ ผู้มีสิทธิฟ้องได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมิน
การใช้อำนาจยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12ต้องกระทำภายในสิบปี นับแต่วันอาจใช้อำนาจดังกล่าวได้เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2517 และแจ้งการประเมินภาษีการค้าให้โจทก์ทราบในเดือนสิงหาคม 2518 เมื่อโจทก์ทราบการประเมินแล้วไม่ชำระ จำเลยชอบที่จะใช้อำนาจยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 12 แต่จำเลยเพิ่งมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์ของโจทก์เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2530 อันเป็นเวลาล่วงเลยกำหนดระยะเวลาสิบปีการยึดของจำเลยจึงไม่ชอบ การฟ้องขอให้เพิกถอนการยึดมิใช่กรณีการฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมิน จึงไม่จำต้องอุทธรณ์การประเมินโจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4143/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร, ผู้ถือหุ้นไม่ต้องรับผิดชอบหนี้บริษัท, อำนาจฟ้อง
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปแล้ว หากจำเลยผู้รับแจ้งประเมินไม่นำเงินค่าภาษีอากรไปชำระภายในกำหนด กฎหมายให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจตามประมวลรัษฎากรมาตรา 12 ที่จะสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ดังนั้น การแจ้งการประเมินภาษีอากรย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ไม่ใช่บทบัญญัติให้ผู้ถือหุ้นรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีที่บริษัทจำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อกรมสรรพากรโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4ถึงที่ 8 ไม่ชำระภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นค้างชำระแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในนามของโจทก์ได้เพราะตามฟ้องไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเช่นนั้นศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิพากษาคดีในปัญหาข้อนี้ อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มิได้อุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4143/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากรและการจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้นในบริษัท
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปแล้ว หากจำเลยผู้รับแจ้งการประเมินไม่นำเงินค่าภาษีอากรไปชำระภายในกำหนด กฎหมายให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ที่จะสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ดังนั้นการแจ้งการประเมินภาษีอากรย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ไม่ใช่บทบัญญัติให้ผู้ถือหุ้นรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีที่บริษัทจำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อกรมสรรพากรโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ไม่ชำระภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นค้างชำระแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในนามของโจทก์ได้ เพราะตามฟ้องไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเช่นนั้นศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มิได้อุทธรณ์ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ไม่ใช่บทบัญญัติให้ผู้ถือหุ้นรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีที่บริษัทจำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อกรมสรรพากรโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ไม่ชำระภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นค้างชำระแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในนามของโจทก์ได้ เพราะตามฟ้องไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเช่นนั้นศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มิได้อุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4143/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากรและการจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัด
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปแล้ว หากจำเลยผู้รับแจ้งการประเมินไม่นำเงินค่าภาษีอากรไปชำระภายในกำหนด กฎหมายให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ที่จะสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ดังนั้นการแจ้งการประเมินภาษีอากรย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ไม่ใช่บทบัญญัติให้ผู้ถือหุ้นรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีที่บริษัทจำเลยที่1 ค้างชำระต่อกรมสรรพากรโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ไม่ชำระภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นค้างชำระแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในนามของโจทก์ได้ เพราะตามฟ้องไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเช่นนั้นศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มิได้อุทธรณ์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรมสรรพากรขอเฉลี่ยทรัพย์สิน และการวินิจฉัยหนี้ที่ไม่ชอบของศาล
ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ให้อำนาจกรมสรรพากรผู้ร้องเพื่อให้ได้รับชำระค่าภาษีอากรค้างให้มีสิทธิที่จะสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล สิทธิดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสิทธิอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินได้ ผู้ร้องจึงมีอำนาจร้องขอเฉลี่ยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287, 290
ในกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามประมวลรัษฎากรยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดจากจำเลยนั้น โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านได้ว่าหนี้ที่ผู้ร้องขอเฉลี่ยนั้นไม่ชอบ ผู้ร้องไม่มีสิทธิเข้าเฉลี่ยและศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยตามประเด็นที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องโดยชอบหรือไม่ เพื่อวินิจฉัยให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยได้หรือไม่ ข้อวินิจฉัยศาลดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินซึ่งยังคงผูกพันจำเลยอยู่ และเมื่อศาลวินิจฉัยโดยฟังข้อเท็จจริงว่าหนี้อันเกิดจากการหลอกลวงของจำเลยเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้จำเลยเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามคำร้อง ก็ชอบที่ศาลจะยกคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องได้
ในกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามประมวลรัษฎากรยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดจากจำเลยนั้น โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านได้ว่าหนี้ที่ผู้ร้องขอเฉลี่ยนั้นไม่ชอบ ผู้ร้องไม่มีสิทธิเข้าเฉลี่ยและศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยตามประเด็นที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องโดยชอบหรือไม่ เพื่อวินิจฉัยให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยได้หรือไม่ ข้อวินิจฉัยศาลดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินซึ่งยังคงผูกพันจำเลยอยู่ และเมื่อศาลวินิจฉัยโดยฟังข้อเท็จจริงว่าหนี้อันเกิดจากการหลอกลวงของจำเลยเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้จำเลยเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามคำร้อง ก็ชอบที่ศาลจะยกคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเฉลี่ยทรัพย์ของเจ้าหนี้ภาษีอากร และอำนาจศาลในการวินิจฉัยความชอบของหนี้
ป.รัษฎากรมาตรา12ให้อำนาจกรมสรรพากรผู้ร้องเพื่อให้ได้รับชำระค่าภาษีอากรค้างให้มีสิทธิที่จะสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลสิทธิดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสิทธิอื่นๆซึ่งบุคคลภายนอกอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินได้ ผู้ร้องจึงมีอำนาจร้องขอเฉลี่ยได้ตามป.วิ.พ.มาตรา287,290 ในกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตาม ป.รัษฎากรยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดจากจำเลยนั้นโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านได้ว่าหนี้ที่ผู้ร้องขอเฉลี่ยนั้นไม่ชอบผู้ร้องไม่มีสิทธิเข้าเฉลี่ยและศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยตามประเด็นที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องโดยชอบหรือไม่เพื่อวินิจฉัยให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยได้หรือไม่ข้อวินิจฉัยศาลดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินซึ่งยังคงผูกพันจำเลยอยู่และเมื่อศาลวินิจฉัยโดยฟังข้อเท็จจริงว่าหนี้อันเกิดจากการหลอกลวงของจำเลยเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้จำเลยเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามคำร้องก็ชอบที่ศาลจะยกคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเฉลี่ยทรัพย์ของเจ้าหนี้ภาษีอากร และการโต้แย้งหนี้โดยบุคคลภายนอก
ประมวลรัษฎากรมาตรา12ให้อำนาจกรมสรรพากรผู้ร้องเพื่อให้ได้รับชำระค่าภาษีอากรค้างให้มีสิทธิที่จะสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลสิทธิดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสิทธิอื่นๆซึ่งบุคคลภายนอกอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินได้ผู้ร้องจึงมีอำนาจร้องขอเฉลี่ยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา287,290 ในกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามประมวลรัษฎากรยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดจากจำเลยนั้นโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านได้ว่าหนี้ที่ผู้ร้องขอเฉลี่ยนั้นไม่ชอบผู้ร้องไม่มีสิทธิเข้าเฉลี่ยและศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยตามประเด็นที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องโดยชอบหรือไม่เพื่อวินิจฉัยให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยได้หรือไม่ข้อวินิจฉัยศาลดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินซึ่งยังคงผูกพันจำเลยอยู่และเมื่อศาลวินิจฉัยโดยฟังข้อเท็จจริงว่าหนี้อันเกิดจากการหลอกลวงของจำเลยเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้จำเลยเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามคำร้องก็ชอบที่ศาลจะยกคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4540/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรมสรรพากรยึดทรัพย์สินเพื่อชำระภาษีค้าง โดยไม่ต้องมีคำสั่งศาล และสิทธิของโจทก์ในการฟ้อง
กรมสรรพากรจำเลยสั่งยึดที่พิพาทโดยอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ที่บัญญัติว่า "ภาษีอากรซึ่งต้องเสียหรือนำส่งตามลักษณะนี้ เมื่อถึงกำหนดชำระแล้ว ถ้ามิได้เสียหรือนำส่งให้ถือเป็นภาษีอากรค้าง" วรรคสอง บัญญัติว่า"เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้างให้อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรได้ทั่วราชอาณาจักรโดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง อำนาจดังกล่าวอธิบดีจะมอบให้รองอธิบดีหรือสรรพากรเขตก็ได้" จำเลยจึงมีอำนาจสั่งยึดที่พิพาทอันเป็นทรัพย์สินของบริษัท บ. เพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่บริษัทค้างชำระจำเลยได้ และตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ทวิ ได้บัญญัติบังคับไว้ว่า "เมื่อได้มีคำสั่งยึดหรืออายัดตามมาตรา 12 แล้ว ห้ามผู้ใดทำลาย ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่บุคคลอื่นซึ่งทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดดังกล่าว" โจทก์อ้างสิทธิจากการซื้อขายที่ตกเป็นโมฆะ ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยถอนการยึดที่พิพาท