คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 12

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 126 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3755/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากรค้างและการยึดทรัพย์: สิทธิของนายอำเภอตามประมวลรัษฎากร แม้มีการอุทธรณ์
เมื่อจำเลยที่ 3 ในฐานะเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีอากรและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์แล้ว โจทก์มิได้เสียภาษีอากรภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน ภาษีอากรที่ประเมินนั้นย่อมเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งจำเลยที่ 8 ในฐานะนายอำเภอมีอำนาจที่จะสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง ถึงแม้โจทก์จะไม่เห็นด้วยกับการประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 3 และได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากรต่ออธิบดีกรมสรรพากร แต่การประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 3 ก็มีผลบังคับตามกฎหมาย หาใช่ว่าเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์การประเมินแล้ว จะต้องรอฟังผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรก่อนจึงจะถือว่าเป็นภาษีอากรค้างไม่
โจทก์มิได้เสียภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และยังมิได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ทุเลาการเสียภาษี จำเลยที่ 8ในฐานะนายอำเภอย่อมมีอำนาจที่จะสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้างได้เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าเมื่อมีการอุทธรณ์การประเมินและขอทุเลาการเสียภาษีต่ออธิบดีกรมสรรพากร แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีอากรแล้ว ก็ให้นายอำเภองดการใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 เพื่อรอฟังคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรก่อน การที่จะงดหรือไม่งดจึงอยู่ในดุลพินิจของนายอำเภอเพียงแต่นายอำเภอจะต้องระมัดระวังในการใช้อำนาจมิให้ขัดกับคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งจะมีมาในภายหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3755/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ภาษีค้าง: แม้มีอุทธรณ์ ก็ต้องชำระก่อนหากไม่ได้รับการทุเลา
เมื่อจำเลยที่ 3 ในฐานะเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีอากรและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์แล้ว โจทก์มิได้เสียภาษีอากรภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน ภาษีอากรที่ประเมินนั้นย่อมเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งจำเลยที่ 8 ในฐานะนายอำเภอมีอำนาจที่จะสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง ถึงแม้โจทก์จะไม่เห็นด้วยกับการประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 3 และได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากรต่ออธิบดีกรมสรรพากร แต่การประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 3ก็มีผลบังคับตามกฎหมาย หาใช่ว่าเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์การประเมินแล้วจะต้องรอฟังผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรก่อนจึงจะถือว่าเป็นภาษีอากรค้างไม่ โจทก์มิได้เสียภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และยังมิได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ทุเลาการเสียภาษี จำเลยที่ 8 ในฐานะนายอำเภอย่อมมีอำนาจที่จะสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้างได้เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าเมื่อมีการอุทธรณ์การประเมินและขอทุเลาการเสียภาษีต่ออธิบดีกรมสรรพากร แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีอากรแล้ว ก็ให้นายอำเภองดการใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 เพื่อรอฟังคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรก่อน การที่จะงดหรือไม่งดจึงอยู่ในดุลพินิจของนายอำเภอเพียงแต่นายอำเภอจะต้องระมัดระวังในการใช้อำนาจมิให้ขัดกับคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งจะมีมาในภายหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเฉลี่ยหนี้ภาษีอากรของผู้ร้อง แม้ไม่ใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ หลังบังคับคดีจำนอง
ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ให้อำนาจแก่ผู้ร้องที่จะเรียกเก็บหนี้อันเกี่ยวกับภาษีอากร และให้อำนาจที่จะยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยผู้ที่ค้างชำระได้โดยไม่จำต้องนำคดีฟ้องร้องต่อศาล ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะเป็นบุคคลภายนอก ก็อาจใช้สิทธิขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของจำเลยได้ตามกฎหมาย
โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำนองขอบังคับจำนอง โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิจึงอยู่ในฐานะที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นเมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นที่ผู้ร้องจะเอาชำระได้ ผู้ร้องแม้จะไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ก็ชอบที่จะได้รับส่วนเฉลี่ยจากเงินที่เหลือจากการชำระหนี้จำนองของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องหนี้ภาษีอากรของเจ้าหนี้ที่ไม่ใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินลูกหนี้ที่ถูกบังคับคดี
ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ให้อำนาจแก่ผู้ร้องที่จะเรียกเก็บหนี้อันเกี่ยวกับภาษีอากร และให้อำนาจที่จะยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยผู้ที่ค้างชำระได้โดยไม่จำต้องนำคดีฟ้องร้องต่อศาล ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะเป็นบุคคลภายนอก ก็อาจใช้สิทธิขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของจำเลยได้ตามกฎหมาย
โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำนองขอบังคับจำนอง โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิจึงอยู่ในฐานะที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นเมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นที่ผู้ร้องจะเอาชำระได้ผู้ร้องแม้จะไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ก็ชอบที่จะได้รับส่วนเฉลี่ยจากเงินที่เหลือจากการชำระหนี้จำนองของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร, การประเมินภาษี, สิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้, การเฉลี่ยทรัพย์
ในกรณีที่จำเลยยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบรายการการค้า หรือบางเดือนมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีการค้าของจำเลยได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา 88 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่ 5 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (1) ไม่
ตามมาตรา 84, 85 ทวิกำหนดให้จำเลยต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าเป็นรายเดือนภาษีไม่ว่าจะมีรายรับหรือไม่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ดังนั้นวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าของจำเลยเดือนแรกสุดของภาษีการค้าปี พ.ศ.2511 คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2511 การที่เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินและแจ้ง การประเมินภาษีการค้าประจำปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 จึงอยู่ภายในกำหนด 10 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (2) แล้ว
หากเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีเชื่อว่าจำเลยยื่นรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 ไว้ไม่ครบถ้วน โดยปรากฏว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลปีแรก พ.ศ.2511 ยื่นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2512 ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องหักไว้ตามมาตรา 50 และมีหน้าที่ต้องยื่นรายการแสดงการหักภาษีพร้อมกับชำระภาษี ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ภายใน 7 วันนับแต่วันจ่ายเงินตาม มาตรา 52 และ 59 แต่จำเลยมิได้ยื่นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหมายเรียกลงวันที่ 23 มีนาคม 2515 เรียกกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยไปไต่สวนและให้นำบัญชีพร้อมด้วยเอกสารไปส่งมอบให้เจ้าพนักงานตรวจสอบ จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี ถูกต้องตามมาตรา19 และ 23 แล้ว ส่วนที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้จำเลยเสียภาษีเพิ่ม เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับแจ้งเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 ก็ชอบด้วยมาตรา 20 แล้วการประเมินตามมาตรา 20 ไม่ จำต้องยื่นภายในกำหนด 5 ปีนับแต่วันยื่นรายการ เมื่อนับจากวันที่จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินเสียภาษีเพิ่ม ยังไม่เกิน 10 ปีสิทธิเรียกร้องเก็บภาษีของเจ้าพนักงานจึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ภาษีที่ค้างภายในกำหนด 10 ปีแล้วจึงมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้อง อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เพราะหากจำเลยไม่นำเงินภาษีไปชำระภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะสั่งยึด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อนำมาชำระค่าภาษีค้างได้ โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องศาล ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงการที่ผู้ร้องใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรโดยยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2522 จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และไม่เป็นหนี้บุริมสิทธิ ก็ขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ยึดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ได้ (อ้างฎีกาที่ 1879/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากรและการเฉลี่ยทรัพย์: การประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมายและการใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ภาษีค้างชำระ
ในกรณีที่จำเลยยื่นแบบแสดงรายการการค้า โดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบรายการการค้า หรือบางเดือนมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีการค้าของจำเลยได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา 88 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่ 5 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (1) ไม่
ตามมาตรา 84,85 ทวิ กำหนดให้จำเลยต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าเป็นรายเดือนภาษีไม่ว่าจะมีรายรับหรือไม่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ดังนั้นวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าของจำเลยเดือนแรกสุดของภาษีการค้าปี พ.ศ.2511 คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2511 การที่เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินและแจ้ง การประเมินภาษีการค้าประจำปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 จึงอยู่ภายในกำหนด 10 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (2) แล้ว
หากเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีเชื่อว่าจำเลยยื่นรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 ไว้ไม่ครบถ้วน โดยปรากฏว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลปีแรก พ.ศ.2511 ยื่นเมื่อวันที่12 มิถุนายน 2512 ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณที่จ่ายซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องหักไว้ตามมาตรา 50 และมีหน้าที่ต้องยื่นรายการแสดงการหักภาษีพร้อมกับชำระภาษี ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ภายใน 7 วัน นับแต่วันจ่ายเงินตามมาตรา 52 และ 59 แต่จำเลยมิได้ยื่นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหมายเรียกลงวันที่ 23 มีนาคม 2515 เรียกกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยไปไต่สวนและให้นำบัญชีพร้อมด้วยเอกสารไปส่งมอบให้เจ้าพนักงานตรวจสอบ จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี ถูกต้องตามมาตรา19 และ 23 แล้ว ส่วนที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้จำเลยเสียภาษีเพิ่ม เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับแจ้งเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 ก็ชอบด้วยมาตรา 20 แล้ว การประเมินตามมาตรา 20 ไม่ จำต้องยื่นภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการ เมื่อนับจากวันที่จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินเสียภาษีเพิ่ม ยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องเก็บภาษีของเจ้าพนักงานจึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ภาษีที่ค้างภายในกำหนด 10 ปีแล้ว จึงมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้อง อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 เพราะหากจำเลยไม่นำเงินภาษีไปชำระภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะสั่งยึด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อนำมาชำระค่าภาษีค้างได้ โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องศาลตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงการที่ผู้ร้องใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรโดยยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2522 จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และไม่เป็นหนี้บุริมสิทธิ ก็ขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ยึดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ได้ (อ้างฎีกาที่ 1879/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร: การสะดุดหยุด และนับใหม่เมื่อมีอุทธรณ์และฟ้องคดี
ในกรณีที่ผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรที่ค้างชำระไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษา ประมวลรัษฎากรมาตรา 12, 31 บัญญัติให้สิทธิผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอที่จะสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้นั้นหรือไม่ก็ได้ หาใช่เป็นบทบังคับให้ต้องยึดทรัพย์สินนั้นทันทีตั้งแต่วันครบกำหนดชำระค่าภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งมาไม่หากสิทธิเรียกร้องเพื่อเอาค่าภาษีอากรยังไม่ขาดอายุความกรมสรรพากรย่อมมีสิทธิบังคับเอาได้
การที่อายุความจะสะดุดหยุดลงหรือสะดุดหยุดอยู่หรือไม่ย่อมเป็นไปตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติไว้โดยไม่ต้องคำนึงว่าอธิบดีกรมสรรพากรจะอนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรไว้หรือไม่
เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปให้โจทก์ทราบ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2508. อายุความก็สะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 และเริ่มนับอายุความใหม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในปี พ.ศ.2514 อายุความก็สะดุดหยุดอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 และเริ่มนับอายุความต่อจากอายุความเดิมเมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2520 เมื่อนับอายุความตามวิธีดังกล่าวมาจนถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2521 อันเป็นวันที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินภาษีอากรค้างไปชำระยังไม่เกิน 10 ปี หนี้รายนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าหนี้ที่จำเลยเรียกร้องจากโจทก์เป็นหนี้ที่ขาดอายุความแล้วจำเลยต่อสู้ว่า หนี้ดังกล่าวไม่ขาดอายุความเพราะอายุความเริ่มนับแต่ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเพราะมีการอุทธรณ์การประเมินและฟ้องคดีต่อศาล ดังนี้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความเพราะอายุความสะดุดหยุดลงและสะดุดหยุดอยู่จึงอยู่ในประเด็นแห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร: การสะดุดหยุดของอายุความตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จากการอุทธรณ์และการฟ้องคดี
ในกรณีที่ผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรที่ค้างชำระไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษา ประมวลรัษฎากรมาตรา 12,31 บัญญัติให้สิทธิผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอที่จะสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้นั้นหรือไม่ก็ได้ หาใช่เป็นบทบังคับให้ต้องยึดทรัพย์สินนั้นทันทีตั้งแต่วันครบกำหนดชำระค่าภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งมาไม่ หากสิทธิเรียกร้องเพื่อเอาค่าภาษีอากรยังไม่ขาดอายุความกรมสรรพากรย่อมมีสิทธิบังคับเอาได้
การที่อายุความจะสะดุดหยุดลงหรือสะดุดหยุดอยู่หรือไม่ย่อมเป็นไปตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติไว้โดยไม่ต้องคำนึงว่าอธิบดีกรมสรรพากรจะอนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรไว้หรือไม่
เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปให้โจทก์ทราบ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2508. อายุความก็สะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 และเริ่มนับอายุความใหม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในปี พ.ศ.2514อายุความก็สะดุดหยุดอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 และเริ่มนับอายุความต่อจากอายุความเดิมเมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2520 เมื่อนับอายุความตามวิธีดังกล่าวมาจนถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2521อันเป็นวันที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินภาษีอากรค้างไปชำระยังไม่เกิน 10 ปีหนี้รายนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าหนี้ที่จำเลยเรียกร้องจากโจทก์เป็นหนี้ที่ขาดอายุความแล้วจำเลยต่อสู้ว่า หนี้ดังกล่าวไม่ขาดอายุความเพราะอายุความเริ่มนับแต่ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเพราะมีการอุทธรณ์การประเมินและฟ้องคดีต่อศาล ดังนี้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความเพราะอายุความสะดุดหยุดลงและสะดุดหยุดอยู่จึงอยู่ในประเด็นแห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1836/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: เงินจากการขายทอดตลาดเพื่อชำระภาษีอากรที่นำส่งก่อน/หลังเริ่มการล้มละลาย
มาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายเป็นเรื่องการบังคับคดีตามคำสั่งหรือหมายบังคับคดีของศาลเท่านั้น จะขยายมาใช้แก่การยึดและขายทอดตลาดเพื่อให้ได้รับชำระค่าภาษีอากรค้างตามคำสั่งของข้าหลวงประจำจังหวัดหรือนายอำเภอตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 หาได้ไม่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจเรียกให้ผู้ร้องส่งเงินที่ได้นำส่งชำระค่าภาษีไปแล้วก่อนวันที่จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไปรวมไว้ในกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลาย
จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2520 แต่เงินที่ได้จากการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยนั้น หัวหน้าเขตได้นำส่งชำระค่าภาษีไปแล้วส่วนหนึ่งก่อนวันที่จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยมีอยู่ในวันที่ 24 มิถุนายน2520 ่อันเป็นวันซึ่งถือว่าเป็นเวลาเริ่มต้นการล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 62 ไม่ใช่ทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตาม มาตรา 109(1)
ส่วนเงินอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้นำส่งชำระค่าภาษีอากรนับแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2520 นั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 12ไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดเมื่อหักค่าธรรมเนียมกับค่าใช้จ่ายในการยึด และขายทอดตลาดแล้วในถือเป็นเงินชำระค่าภาษีอากรค้างตกเป็นกรรมสิทธิ์ของแผ่นดินในทันทีที่ขายทอดตลาดเสร็จจึงยังเป็นทรัพย์สินของจำเลยอยู่และถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่จำเลยมีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตามมาตรา 109(1)เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเรียกให้ส่งไปรวมไว้ในกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3037/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีการค้า: การแจ้งประเมินและสิทธิเรียกร้องของกรมสรรพากรทำให้ระยะเวลาอายุความสะดุดหยุดลง
ในเรื่องภาษีการค้านั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 84,85 บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้าเป็นรายเดือน โดยนำเงินค่าภาษีการค้าไปชำระพร้อมกับยื่นแบบแสดงรายการการค้าเงินได้พึงประเมินภายในวันที่ 15 ของเดือน ถัดไปซึ่งถือได้ว่ามูลหนี้ค่าภาษีการค้าได้เกิดขึ้นแล้ว ทุกเดือนภาษีที่โจทก์มีรายรับโดยถือเอาวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระหนี้ภาษีของเดือนนั้นๆ และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้านับแต่วันถัดจากวันที่กำหนดชำระ เป็นต้นไป สำหรับกรณีของโจทก์เมื่อหนี้ค่าภาษีการค้าที่โจทก์เสียขาดไปถึงกำหนดชำระภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2506 และทุก ๆ วันที่ 15 ของแต่ละเดือนถัดไป เจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้าดังกล่าวเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2506 เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินภาษีการค้าที่ขาดให้โจทก์นำไปชำระตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86 ทวิ ซึ่งโจทก์ทราบการประเมินเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2514 ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้ชำระหนี้ภาษีที่ค้างแล้วภายในกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 88 ทวิ (2) ซึ่งมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้องอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เพราะหากโจทก์ไม่นำเงินไปชำระ กรมสรรพากรจำเลยก็มีอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 อันเป็นกฎหมายพิเศษที่จะดำเนินการบังคับเอากับทรัพย์สินของผู้ค้างชำระค่าภาษีโดยมิต้องนำคดีมาฟ้องร้องต่อศาลเช่นกรณีเจ้าหนี้อื่นๆ และต่อมาโจทก์ได้อุทธรณ์ตลอดจนนำคดีนี้มาฟ้องสืบเนื่องกันมา จึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรรายนี้จึงไม่ขาดอายุความ
of 13