พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีจำนอง, การบอกกล่าวหนี้, ดอกเบี้ยเกินกฎหมาย, และความยินยอมในการฟ้องคดี
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้จำนอง ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 728 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนฟ้องโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดแล้ว ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน หนังสือของสามีโจทก์ที่ยินยอมให้โจทก์ฟ้องจำเลย มิใช่ใบมอบอำนาจที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ โจทก์คิดดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ แต่จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย สัญญาคิดดอกเบี้ยเกิน 15% ต่อปี โมฆะ
สัญญากู้ระบุให้ตกลงคิดดอกเบี้ยกันในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนอัตราดังกล่าวเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 654 และต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475ดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะทั้งหมด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5781/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: สัญญาเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดถือเป็นโมฆะ แม้จำเลยจะยอมรับ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้จำนวน 84,000 บาท แต่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้จำนวนดังกล่าวเมื่อจำเลยให้การว่าเป็นหนี้โจทก์จำนวน 33,000 บาท โดยได้ความว่าแยกเป็นหนี้ต้นเงินจำนวน 10,000 บาท ส่วนที่เหลือ 23,000 บาท เป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระต้นเงินจำนวน 10,000 บาทได้ ส่วนเงินอีก 23,000 บาท เป็นดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด จึงตกเป็นโมฆะ แม้จำเลยจะให้การยอมรับจะชำระเงินจำนวนนี้ ก็บังคับให้ไม่ได้
เมื่อได้ความว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 มาตรา 3ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246, 247.
เมื่อได้ความว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 มาตรา 3ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246, 247.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1345/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้มีมูลหนี้จากการซื้อขายรถยนต์ และการคิดดอกเบี้ยที่ไม่เข้าข่ายผิดกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์และทำสัญญากู้ตามฟ้อง มูลหนี้จะเป็นการกู้ยืมเงินสดหรือเงินที่ค้างชำระในการซื้อขายรถยนต์ก็เป็นหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้นั้นได้ ไม่เป็นการนอกฟ้อง
ดอกเบี้ยก่อนทำสัญญากู้ที่ตกลงกันให้คิดจากค่างวดที่ค้างชำระตามสัญญาซื้อขายนั้น มีลักษณะเป็นค่าเสียหาย ไม่ใช่ดอกเบี้ยจากการกู้ยืม จึงไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญ้ติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ
การนำสืบการใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653วรรคสองนั้นหมายถึงต้นเงินไม่หมายรวมถึงดอกเบี้ย
การที่ศาลจะให้ฝ่ายใดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมนั้นเป็นดุลพินิจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด และแม้คู่ความอีกฝ่ายจะมิได้ขอ ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
ดอกเบี้ยก่อนทำสัญญากู้ที่ตกลงกันให้คิดจากค่างวดที่ค้างชำระตามสัญญาซื้อขายนั้น มีลักษณะเป็นค่าเสียหาย ไม่ใช่ดอกเบี้ยจากการกู้ยืม จึงไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญ้ติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ
การนำสืบการใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653วรรคสองนั้นหมายถึงต้นเงินไม่หมายรวมถึงดอกเบี้ย
การที่ศาลจะให้ฝ่ายใดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมนั้นเป็นดุลพินิจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด และแม้คู่ความอีกฝ่ายจะมิได้ขอ ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายและการคิดดอกเบี้ยหลังบอกกล่าวบังคับจำนอง
โจทก์คิดดอกเบี้ยร้อยละ 60 ต่อปีซึ่งเกินอัตราดอกเบี้ยตามป.พ.พ. มาตรา 654 และเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ฯ ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ จำเลยไม่มีสิทธินำเงินดอกเบี้ยที่ชำระเกินไปหักเงินต้นให้ลดน้อยลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407
การจำนองมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224
การจำนองมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดกฎหมาย สัญญาจำนอง และอำนาจฟ้องบังคับจำนอง
โจทก์คิดดอกเบี้ยร้อยละ 60 ต่อปีซึ่งเกินอัตราดอกเบี้ยตามป.พ.พ. มาตรา 654 และเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ฯ ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ จำเลยไม่มีสิทธินำเงินดอกเบี้ยที่ชำระเกินไปหักเงินต้นให้ลดน้อยลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407
การจำนองมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224.
การจำนองมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแลกเช็คไม่ใช่การให้กู้ยืมเงิน การหักดอกเบี้ยล่วงหน้าจึงไม่ผิดตาม พ.ร.บ.เรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
สัญญาแลกเช็คเป็นเงินสดหรือขายลดเช็คนั้นเป็นสัญญาอีกอย่างหนึ่งต่างหากจากการให้กู้ยืมเงินตามความหมายของพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 การที่โจทก์หักดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า15 บาท จ่ายต้นเงินให้เพียง 85 บาท จึงมิใช่กรณีเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราอันจะเป็นความผิดตามกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจากการยืมข้าวเปลือก - ผลประโยชน์ตอบแทนไม่ใช่ดอกเบี้ยตามกฎหมาย - ประกาศห้ามตกข้าวถูกยกเลิก
การยืมข้าวเปลือกซึ่งตกลงให้ดอกเบี้ยเป็นข้าวเปลือกในอัตรา 1 ถังต่อข้าวเปลือกที่ยืม 2 ถังนั้นมิใช่ดอกเบี้ยตามความหมายของกฎหมาย เพราะผลประโชน์ที่เรียกเป็นดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นได้จากหนี้เงินเท่านั้น เมื่อตกลงจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนในการยืมข้าวเปลือกกันไว้อย่างไร (แม้คำนวณแล้วผลประโยชน์ตอบแทนจะสูงเกินกว่าร้อยละห้าสิบต่อปี) ผู้ยืมจะต้องชำระให้ตามข้อตกลงนั้น
ประกาศห้ามมิให้ตกข้าวแก่ชาวนา จ.ศ. 1239 ได้ถูกยกเลิกไปแล้วโดย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งได้รวบรวมข้อบัญญัติต่าง ๆ ในทางแพ่งทั้งหมดขึ้นใช้บังคับ(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1981/2511
ประกาศห้ามมิให้ตกข้าวแก่ชาวนา จ.ศ. 1239 ได้ถูกยกเลิกไปแล้วโดย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งได้รวบรวมข้อบัญญัติต่าง ๆ ในทางแพ่งทั้งหมดขึ้นใช้บังคับ(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1981/2511
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจากการยืมข้าวเปลือก: ผลประโยชน์ตอบแทนไม่ใช่ดอกเบี้ยตามกฎหมาย, ประกาศห้ามตกข้าวถูกยกเลิก
การยืมข้าวเปลือกซึ่งตกลงให้ดอกเบี้ยเป็นข้าวเปลือกในอัตรา1 ถังต่อข้าวเปลือกที่ยืม 2 ถังนั้นมิใช่ดอกเบี้ยตามความหมายของกฎหมาย เพราะผลประโยชน์ที่เรียกเป็นดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นได้จากหนี้เงินเท่านั้น เมื่อตกลงจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนในการยืมข้าวเปลือกกันไว้อย่างไร (แม้คำนวณแล้วผลประโยชน์ตอบแทนจะสูงเกินกว่าร้อยละสิบห้าต่อปี) ผู้ยืมก็จะต้องชำระให้ตามข้อตกลงนั้น
ประกาศห้ามมิให้ตกข้าวแก่ชาวนา จ.ศ.1239 ได้ถูกยกเลิกไปแล้วโดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งได้รวบรวมข้อบัญญัติต่างๆ ในทางแพ่งทั้งหมดขึ้นใช้บังคับ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1981/2511)
ประกาศห้ามมิให้ตกข้าวแก่ชาวนา จ.ศ.1239 ได้ถูกยกเลิกไปแล้วโดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งได้รวบรวมข้อบัญญัติต่างๆ ในทางแพ่งทั้งหมดขึ้นใช้บังคับ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1981/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจากสัญญาเช่าข้าวเปลือก: ไม่ใช่ดอกเบี้ยตามกฎหมายหากไม่ใช่หนี้เงิน, ประกาศห้ามตกข้าวถูกยกเลิก
การยืมข้าวเปลือกซึ่งตกลงให้ดอกเบี้ยเป็นข้าวเปลือกในอัตรา 1 ถังต่อข้าวเปลือกที่ยืม 2 ถังนั้นมิใช่ดอกเบี้ยตามความหมายของกฎหมาย. เพราะผลประโยชน์ที่เรียกเป็นดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นได้จากหนี้เงินเท่านั้น. เมื่อตกลงจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนในการยืมข้าวเปลือกกันไว้อย่างไร.(แม้คำนวณแล้วผลประโยชน์ตอบแทนจะสูงเกินกว่าร้อยละสิบห้าต่อปี). ผู้ยืมก็จะต้องชำระให้ตามข้อตกลงนั้น
ประกาศห้ามมิให้ตกข้าวแก่ชาวนา จ.ศ.1239 ได้ถูกยกเลิกไปแล้วโดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.ซึ่งได้รวบรวมข้อบัญญัติต่างๆในทางแพ่งทั้งหมดขึ้นใช้บังคับ.(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1981/2511).
ประกาศห้ามมิให้ตกข้าวแก่ชาวนา จ.ศ.1239 ได้ถูกยกเลิกไปแล้วโดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.ซึ่งได้รวบรวมข้อบัญญัติต่างๆในทางแพ่งทั้งหมดขึ้นใช้บังคับ.(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1981/2511).