พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 170/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินกฎหมาย-การบังคับจำนอง: แม้ตกลงนอกสัญญาแต่ไม่มีสิทธิเรียกคืน/ฟ้องบังคับจำนองได้หากยินดีไถ่ถอน
แม้สัญญาจำนองกำหนดดอกเบี้ยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด แต่ผู้จำนองผู้รับจำนองตกลงกันนอกสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ อันเป็นความผิดทางอาญา เมื่อผู้จำนองชำระดอกเบี้ยให้ไป ย่อมไม่มีสิทธิจะเรียกคืนได้ และไม่มีสิทธิจะเอาดอกเบี้ยส่วนที่ชำระเกินคิดหักชำระต้นเงิน
ผู้รับจำนองฟ้องขอให้ผู้จำนองไถ่ถอนจำนอง ผู้จำนองให้การว่า ผู้รับจำนองไม่ได้บอกกล่าวบังคับจำนอง วันชี้สองสถาน คู่ความแถลงรับว่ายินดีไถ่ถอนการจำนอง เพียงแต่โต้เถียงกันเรื่องจำนวนเงินที่จะไถ่ถอน ดังนี้ถือว่า คู่ความไม่ติดใจโต้เถียงกันเรื่องการบังคับจำนอง เมื่อศาลชี้ขาดถึงจำนวนเงินที่ต้องชำระกัน ก็ชอบจะพิพาทบังคับจำนองไปได้
ผู้รับจำนองฟ้องขอให้ผู้จำนองไถ่ถอนจำนอง ผู้จำนองให้การว่า ผู้รับจำนองไม่ได้บอกกล่าวบังคับจำนอง วันชี้สองสถาน คู่ความแถลงรับว่ายินดีไถ่ถอนการจำนอง เพียงแต่โต้เถียงกันเรื่องจำนวนเงินที่จะไถ่ถอน ดังนี้ถือว่า คู่ความไม่ติดใจโต้เถียงกันเรื่องการบังคับจำนอง เมื่อศาลชี้ขาดถึงจำนวนเงินที่ต้องชำระกัน ก็ชอบจะพิพาทบังคับจำนองไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 170/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินสัญญาและผลบังคับจำนอง: การชำระดอกเบี้ยเกินที่ตกลงกันนอกสัญญาไม่มีสิทธิเรียกคืน และการยินดีไถ่ถอนการจำนองทำให้ศาลชอบที่จะพิพากษาบังคับจำนองได้
แม้สัญญาจำนองกำหนดดอกเบี้ยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด แต่ผู้จำนองผู้รับจำนองตกลงกันนอกสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ อันเป็นความผิดทางอาญา เมื่อผู้จำนองชำระดอกเบี้ยให้ไป ย่อมไม่มีสิทธิจะเรียกคืนได้ และไม่มีสิทธิจะเอาดอกเบี้ยส่วนที่ชำระเกินคิดหักชำระต้นเงิน
ผู้รับจำนองฟ้องขอให้ผู้จำนองไถ่ถอนจำนองผู้จำนองให้การว่า ผู้รับจำนองไม่ได้บอกกล่าวบังคับจำนองวันชี้สองสถานคู่ความแถลงรับว่ายินดีไถ่ถอนการจำนอง เพียงแต่โต้เถียงกันเรื่องจำนวนเงินที่จะไถ่ถอนดังนี้ถือว่า คู่ความไม่ติดใจโต้เถียงกันเรื่องการบังคับจำนองเมื่อศาลชี้ขาดถึงจำนวนเงินที่ต้องชำระกัน ก็ชอบจะพิพากษาบังคับจำนองไปได้
ผู้รับจำนองฟ้องขอให้ผู้จำนองไถ่ถอนจำนองผู้จำนองให้การว่า ผู้รับจำนองไม่ได้บอกกล่าวบังคับจำนองวันชี้สองสถานคู่ความแถลงรับว่ายินดีไถ่ถอนการจำนอง เพียงแต่โต้เถียงกันเรื่องจำนวนเงินที่จะไถ่ถอนดังนี้ถือว่า คู่ความไม่ติดใจโต้เถียงกันเรื่องการบังคับจำนองเมื่อศาลชี้ขาดถึงจำนวนเงินที่ต้องชำระกัน ก็ชอบจะพิพากษาบังคับจำนองไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 170/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินกว่ากฎหมายกำหนด & การบังคับจำนอง: แม้ตกลงนอกสัญญาเรื่องดอกเบี้ยสูง โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน & ศาลชอบพิพากษาบังคับจำนองได้
แม้สัญญาจำนองกำหนดดอกเบี้ยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด. แต่ผู้จำนองผู้รับจำนองตกลงกันนอกสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ อันเป็นความผิดทางอาญา. เมื่อผู้จำนองชำระดอกเบี้ยให้ไป ย่อมไม่มีสิทธิจะเรียกคืนได้. และไม่มีสิทธิจะเอาดอกเบี้ยส่วนที่ชำระเกินคิดหักชำระต้นเงิน.
ผู้รับจำนองฟ้องขอให้ผู้จำนองไถ่ถอนจำนอง. ผู้จำนองให้การว่า ผู้รับจำนองไม่ได้บอกกล่าวบังคับจำนอง. วันชี้สองสถานคู่ความแถลงรับว่ายินดีไถ่ถอนการจำนอง เพียงแต่โต้เถียงกันเรื่องจำนวนเงินที่จะไถ่ถอน. ดังนี้ถือว่า คู่ความไม่ติดใจโต้เถียงกันเรื่องการบังคับจำนอง. เมื่อศาลชี้ขาดถึงจำนวนเงินที่ต้องชำระกัน ก็ชอบจะพิพากษาบังคับจำนองไปได้.
ผู้รับจำนองฟ้องขอให้ผู้จำนองไถ่ถอนจำนอง. ผู้จำนองให้การว่า ผู้รับจำนองไม่ได้บอกกล่าวบังคับจำนอง. วันชี้สองสถานคู่ความแถลงรับว่ายินดีไถ่ถอนการจำนอง เพียงแต่โต้เถียงกันเรื่องจำนวนเงินที่จะไถ่ถอน. ดังนี้ถือว่า คู่ความไม่ติดใจโต้เถียงกันเรื่องการบังคับจำนอง. เมื่อศาลชี้ขาดถึงจำนวนเงินที่ต้องชำระกัน ก็ชอบจะพิพากษาบังคับจำนองไปได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากและเช่าไม่เป็นโมฆะ แม้กำหนดสินไถ่ต่างราคาขายฝาก หรือทำสัญญาเช่าหลังครบกำหนด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 499 แสดงว่า แม้คู่สัญญาขายฝากกันเป็นเงินเท่าใดก็ตาม ก็ยอมให้คู่สัญญากำหนดเงินสินไถ่แตกต่างจากเงินราคาขายฝากได้และไม่จำกัดจำนวน และเมื่อคู่สัญญาไม่ได้กำหนดสินไถ่ไว้ ก็ให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝากฉะนั้น เมื่อคู่สัญญาระบุจำนวนเงินราคาขายฝากไว้โดยไม่ระบุสินไถ่อีก ผู้ขายฝากก็ไถ่ตามจำนวนเงินที่ระบุไว้นั้น ซึ่งแม้ผิดกับราคาขายฝาก ก็มีผลเช่นเดียวกับระบุสินไถ่ไว้ สัญญาขายฝากไม่เป็นโมฆะ การกำหนดสินไถ่ไม่ใช่เป็นการเรียกดอกเบี้ยเงินกู้ ไม่ขัดประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 ไม่ผิดพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 อัตราค่าเช่านั้นกฎหมายมิได้วางข้อจำกัดอันใดไว้จึงแล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากและเช่าทรัพย์: การกำหนดสินไถ่และอัตราค่าเช่าเป็นไปตามกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 499 แสดงว่า แม้คู่สัญญาขายฝากกันเป็นเงินเท่าใดก็ตาม ก็ยอมให้คู่สัญญากำหนดเงินสินไถ่แตกต่างจากเงินราคาขายฝากได้และไม่จำกัดจำนวน และเมื่อคู่สัญญาไม่ได้กำหนดสินไถ่ไว้ ก็ให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝากฉะนั้น เมื่อคู่สัญญาระบุจำนวนเงินราคาขายฝากไว้โดยไม่ระบุสินไถ่อีกผู้ขายฝากก็ไถ่ตามจำนวนเงินที่ระบุไว้นั้นซึ่งแม้ผิดกับราคาขายฝาก ก็มีผลเช่นเดียวกับระบุสินไถ่ไว้สัญญาขายฝากไม่เป็นโมฆะการกำหนดสินไถ่ไม่ใช่เป็นการเรียกดอกเบี้ยเงินกู้ ไม่ขัดประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 ไม่ผิดพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 อัตราค่าเช่านั้นกฎหมายมิได้วางข้อจำกัดอันใดไว้จึงแล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 730/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้เงินดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: สัญญาที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้าม
การกู้เงินกันรายเดียว แต่ทำหนังสือเป็นหลักฐานสองฉบับ โดยผู้ให้กู้ให้กู้ยืมเงิน 7,000 บาท และตกลงกันว่า ถ้าผู้กู้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดให้ผู้ให้กู้ฟ้องเอาได้ 14,000 บาทนั้น เห็นได้ว่าประโยชน์ที่ผู้ให้กู้ได้รับนั้นมากเกินส่วนอันสมควรจึงเป็นการที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดขกฎหมาย การเรียกดอกเบี้ยและกำไรอื่นจึงเป็นโมฆะ ผู้กู้จึงยังคงต้องรับผิดเฉพาะเงินต้น 7,000 บาทที่กู้ไปเท่านั้น ส่วนผู้ค้ำประกันเงินกู้ 14,000 บาท มิใช่ค้ำประกันเงินกู้ 7,000 บาท จึงหาต้องรับผิดด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 730/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราและนิติกรรมอำพราง: การกู้เงินที่มีข้อตกลงให้ชำระหนี้สูงเกินจริง
การกู้เงินกันรายเดียว แต่ทำหนังสือเป็นหลักฐานสองฉบับโดยผู้ให้กู้ให้ผู้กู้ยืมเงิน 7,000 บาท และตกลงกันว่า ถ้าผู้กู้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดให้ผู้ให้กู้ฟ้องเอาได้14,000 บาทนั้น เห็นได้ว่าประโยชน์ที่ผู้ให้กู้ได้รับนั้นมากเกินส่วนอันสมควร จึงเป็นการที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายการเรียกดอกเบี้ยและกำไรอื่นจึงเป็นโมฆะ ผู้กู้จึงยังคงต้องรับผิดเฉพาะเงินต้น 7,000 บาทที่กู้ไปเท่านั้นส่วนผู้ค้ำประกันเงินกู้ 14,000บาท มิใช่ค้ำประกันเงินกู้ 7,000 บาทจึงหาต้องรับผิดด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คชำระหนี้กู้ยืมที่มีดอกเบี้ยเกินอัตรา: เช็คยังใช้บังคับได้ แต่ดอกเบี้ยเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็ค ได้ความว่าเป็นเช็คที่ออกให้เพื่อชำระหนี้เดิมซึ่งจำเลยกู้เงินโจทก์โดยมีดอกเบี้ยร้อยละสี่ต่อเดือนรวมอยู่ในจำนวนเงินที่ลงไว้ในเช็คนั้นด้วย ดอกเบี้ยทั้งหมดย่อมตกเป็นโมฆะ ผู้ให้กู้คงมีสิทธิเรียกร้องแต่เฉพาะต้นเงินเท่านั้น สัวนหนึ่งของนิติกรรมที่เป็นโมฆะ คือ การคิดดอกเบี้ยอันเป็นหนี้อุปกรณ์ในนิติกรรมกู้ยืมเท่านั้น แต่ต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานยังสมบูรณ์อยู่ แยกออกจากกันได้ เช็คที่โจทก์นำมาฟ้องนี้เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นเป็นคนละอันกับนิติกรรมกู้ยืมคือ เมื่อกู้ยืมกันแล้วจำเลยออกเช็คเพื่อชำระเงินกู้ โจทก์ยอมรับเอาเช็คนั้นแทนการชำระการชำระหนี้โดยใช้เงินตามมาตรา 321 อันจะมีผลให้หนี้กู้ยืมเดิมระงับไปต่อเมื่อเช็คนี้ได้ใช้เงินแล้ว โจทก์มีสิทธิอาศัยเช็คนี้เป็นมูลฟ้องจำเลยได้ เป็นแต่จำเลยมีสิทธิยกข้อที่ว่าดอกเบี้ยเกินอัตราตกเป็นโมฆะขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ เมื่อจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์เกินกว่าที่ตนต้องผูกพันไป จำเลยก็ต้องรับผิดเพียงเท่าที่ต้องผูกพัน แต่จะไม่ยอมรับผิดตามเช็คเสียเลยหาได้ไม่ กรณีหาใช่เรื่องเช็คนี้ตกเป็นโมฆะทั้งหมดหรือบางส่วนไม่.
(ประชุมใหญ่ ครั้ง 7/2506)
(ประชุมใหญ่ ครั้ง 7/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คกับการชำระหนี้เดิม: ดอกเบี้ยเกินอัตราไม่ทำให้เช็คเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คได้ความว่าเป็นเช็คที่ออกให้เพื่อชำระหนี้เดิมซึ่งจำเลยกู้เงินโจทก์โดยมีดอกเบี้ยร้อยละสี่ต่อเดือนรวมอยู่ในจำนวนเงินที่ลงไว้ในเช็คนั้นด้วย ดอกเบี้ยทั้งหมดย่อมตกเป็นโมฆะผู้ให้กู้คงมีสิทธิเรียกร้องแต่เฉพาะต้นเงินเท่านั้น ส่วนหนึ่งของนิติกรรมที่เป็นโมฆะ คือ การคิดดอกเบี้ยอันเป็นหนี้อุปกรณ์ในนิติกรรมกู้ยืมเท่านั้นแต่ต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานยังสมบูรณ์อยู่ แยกออกจากกันได้เช็คที่โจทก์นำมาฟ้องนี้เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นเป็นคนละอันกับนิติกรรมกู้ยืมคือ เมื่อกู้ยืมกันแล้วจำเลยออกเช็คเพื่อชำระเงินกู้ โจทก์ยอมรับเอาเช็คนั้นแทนการชำระหนี้โดยใช้เงินตามมาตรา 321 อันจะมีผลให้หนี้กู้ยืมเดิมระงับไปต่อเมื่อเช็คนี้ได้ใช้เงินแล้วโจทก์มีสิทธิอาศัยเช็คนี้เป็นมูลฟ้องจำเลยได้เป็นแต่จำเลยมีสิทธิยกข้อที่ว่าดอกเบี้ยเกินอัตราตกเป็นโมฆะขึ้นต่อสู้โจทก์ได้เมื่อจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์เกินกว่าที่ตนต้องผูกพันไป จำเลยก็ต้องรับผิดเพียงเท่าที่ต้องผูกพันแต่จะไม่ยอมรับผิดตามเช็คเสียเลยหาได้ไม่กรณีหาใช่เรื่องเช็คนี้ตกเป็นโมฆะทั้งหมดหรือบางส่วนไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2506)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราในสัญญากู้ยืม: แยกพิจารณาต้นเงินและดอกเบี้ยได้, การใช้เงินกู้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ตกลงกู้เงิน 40000 บาทคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 บาทต่อเดือนเป็นเวลา 10 เดือนเป็นเงิน 2000 บาท เอารวมไว้เป็นเงินกู้ด้วย เมื่อกรณีเป็นที่พึงสันนิษฐานได้ว่า คู่สัญญามีเจตนาที่จะแยกการกู้เงินและเรียกดอกเบี้ยออกต่างหากจากกันแล้ว ส่วนดอกเบี้ยที่เรียกเกินอัตราก็ตกเป็นโมฆะ แต่ต้นเงินกู้หาเป็นโมฆะด้วยไม่
การใช้เงินกู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมา แสดงหรือได้เวนคืนเอกสาร หรือได้แทงเพิกถอนลงไว้แล้วเท่านั้น ทั้งนี้จะเป็นตัวผู้กู้ชำระเองหรือบุคคลที่ 3 เป็นผู้ชำระก็เช่นเดียวกัน เพราะมาตรา 653 มิได้บัญญัติยกเว้นถึงตัวบุคคลผู้ชำระหนี้ไว้เลย
การใช้เงินกู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมา แสดงหรือได้เวนคืนเอกสาร หรือได้แทงเพิกถอนลงไว้แล้วเท่านั้น ทั้งนี้จะเป็นตัวผู้กู้ชำระเองหรือบุคคลที่ 3 เป็นผู้ชำระก็เช่นเดียวกัน เพราะมาตรา 653 มิได้บัญญัติยกเว้นถึงตัวบุคคลผู้ชำระหนี้ไว้เลย