พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างทนายความที่มีส่วนได้เสียทางการเงินเป็นโมฆะ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี
ข้อตกลงในสัญญาว่าจ้างทนายความที่ระบุว่า จำเลยทั้งเก้าตกลงให้ค่าจ้างจำนวนร้อยละ 10 ของจำนวนเงินค่าเสียหาย ดอกเบี้ย และผลประโยชน์ที่ได้รับนอกเหนือจากต้นเงินที่ซื้อขายที่ดิน... มีลักษณะเป็นข้อตกลงที่ให้ทนายความเข้าไปมีส่วนได้เสียในทางการเงินโดยตรงในผลของคดีที่รับว่าความ จึงไม่ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความถือว่าเป็นสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้จะปรากฏว่าตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529 ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 27 (3) (จ) และมาตรา 51 มิได้กำหนดให้การเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความของทนายความเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความเช่นเดียวกับ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2477 และ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2508 ก็มีผลเพียงว่าการทำสัญญาระหว่างทนายความและลูกความทำนองนี้ไม่เป็นการผิดมรรยาททนายความอันเป็นมูลให้ลงโทษตามมาตรา 52 เท่านั้น หามีผลทำให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งเก้าดังกล่าวซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนกลับมีความสมบูรณ์แต่อย่างใดไม่ สัญญาว่าจ้างทนายความระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งเก้าจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทนายโดยมีส่วนแบ่งจากทรัพย์สินที่ได้จากการดำเนินคดีเป็นโมฆะ เนื่องจากขัดหลักจริยธรรมและขัดต่อความสงบเรียบร้อย
วิชาชีพทนายความเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะผูกขาดที่ผู้ที่เป็นทนายความได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย หลายประการ รวมทั้งการห้ามมิให้ผู้ที่มิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้องหรือคำแถลงอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่บุคคลอื่นอย่างผู้ที่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ผู้ที่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความจึงย่อมมีพันธกรณีต่อสังคมที่จะต้องปฏิบัติและดำรงตนให้ต้องกับหลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความ ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความในฐานะที่ทนายความมีส่วนสำคัญในการประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมแก่คู่ความดุจเป็นเจ้าหน้าที่ของศาล ทนายความไม่พึงทำสัญญากับลูกความของตน ในลักษณะที่ตนเองมีส่วนได้เสียโดยตรงในคดีจนกระทบกระเทือนการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
ข้อสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยในส่วนที่ตกลงให้สินจ้างกันอีกร้อยละ 5 ของทุนทรัพย์สินสมรสที่จำเลย จะได้รับแบ่งมานี้ เป็นข้อสัญญาที่ให้ทนายความเข้ามีส่วนได้เสียในทางการเงินโดยตรงในผลของคดี จึงไม่ต้องด้วย หลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความ ย่อมถือว่าเป็นข้อสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 ที่คณะกรรมการสภาทนายความ ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มิได้บัญญัติห้ามมิให้ทนายความเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความอย่าง พ.ร.บ.ทนายความสองฉบับก่อน แต่การวางระเบียบบังคับแก่ทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความกับความสมบูรณ์ของสัญญาระหว่างทนายความและลูกความเป็นคนละส่วนกัน การที่ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 มิได้กำหนดให้การเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความของทนายความเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความ อย่าง พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2477 และ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2508 มีผลเพียงว่าการทำสัญญาในลักษณะนี้ไม่เป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความอันเป็นมูลจะลงโทษตามมาตรา 52 เท่านั้น หามีผลให้ข้อสัญญาซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเนื่องจากไม่ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความกลับมี ความสมบูรณ์แต่ประการใดไม่ สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์จำเลยในส่วนนี้จึงเป็นโมฆะ
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2542)
ข้อสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยในส่วนที่ตกลงให้สินจ้างกันอีกร้อยละ 5 ของทุนทรัพย์สินสมรสที่จำเลย จะได้รับแบ่งมานี้ เป็นข้อสัญญาที่ให้ทนายความเข้ามีส่วนได้เสียในทางการเงินโดยตรงในผลของคดี จึงไม่ต้องด้วย หลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความ ย่อมถือว่าเป็นข้อสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 ที่คณะกรรมการสภาทนายความ ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มิได้บัญญัติห้ามมิให้ทนายความเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความอย่าง พ.ร.บ.ทนายความสองฉบับก่อน แต่การวางระเบียบบังคับแก่ทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความกับความสมบูรณ์ของสัญญาระหว่างทนายความและลูกความเป็นคนละส่วนกัน การที่ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 มิได้กำหนดให้การเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความของทนายความเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความ อย่าง พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2477 และ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2508 มีผลเพียงว่าการทำสัญญาในลักษณะนี้ไม่เป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความอันเป็นมูลจะลงโทษตามมาตรา 52 เท่านั้น หามีผลให้ข้อสัญญาซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเนื่องจากไม่ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความกลับมี ความสมบูรณ์แต่ประการใดไม่ สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์จำเลยในส่วนนี้จึงเป็นโมฆะ
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2542)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างว่าความที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นโมฆะ
นิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 นั้น นอกจากเป็นกรณีที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายหรือเป็นการพ้นวิสัยแล้วยังมีกรณีที่เป็นการขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอีกด้วย ซึ่งหมายความว่า แม้การกระทำนั้นจะไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง ตามที่กฎหมาย บัญญัติไว้เลย แต่ถ้าเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้วนิติกรรมนั้นก็ย่อม ตกเป็นโมฆะเช่นกัน แม้การที่โจทก์เรียกค่าจ้างว่าความจากจำเลยโดยใช้ วิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้ จากคู่ความนั้นจะไม่เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 และข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 สัญญาจ้างว่าความจึงไม่ตกเป็นโมฆะเพราะเหตุ ดังกล่าวก็ตาม แต่สัญญาจ้างว่าความฉบับพิพาท ซึ่งเดิมโจทก์มิได้มีส่วนได้เสียในที่ดินที่จำเลยกับบุคคลอื่นพิพาทกันเลยการที่โจทก์ได้ค่าจ้างว่าความเป็นที่ดิน 200 ตารางวาอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่จำเลยพิพาทกับบุคคลอื่นนั้น ย่อมทำให้ โจทก์เป็นผู้เข้าไปมีส่วนได้เสียในที่ดินดังกล่าวโดยตรง เพราะ หากจำเลยต้องแพ้คดีแล้ว โจทก์ก็จะไม่ได้ค่าจ้างว่าความเนื่องจาก จำเลยพิพาทกับบุคคลอื่นเกี่ยวกับที่ดินที่โจทก์จะได้รับส่วนแบ่ง เป็นค่าจ้างตามฟ้องนั้นทั้งแปลง ดังนี้ สัญญาจ้างว่าความฉบับพิพาท จึงมีลักษณะเป็นการรับโอนสิทธิในการดำเนินคดีของจำเลย มาจัดการให้โดยขอรับส่วนแบ่งจากที่ดินดังกล่าวเป็นค่าตอบแทน เมื่อจำเลยชนะคดี อันเป็นการช่วยเหลือยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่น เป็นความกันวัตถุประสงค์ของสัญญาจ้างว่าความดังกล่าวจึงขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะสัญญาจ้างว่าความ: การรับส่วนแบ่งทรัพย์สินพิพาทขัดต่อความสงบเรียบร้อย
นิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 นั้น นอกจากเป็นกรณีที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการพ้นวิสัยแล้วยังมีกรณีที่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอีกด้วยซึ่งหมายความว่า แม้การกระทำนั้นจะไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เลย แต่ถ้าเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้วนิติกรรมนั้นก็ย่อมตกเป็นโมฆะเช่นกัน
แม้การที่โจทก์เรียกค่าจ้างว่าความจากจำเลยโดยใช้วิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้จากคู่ความนั้นจะไม่เป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 และข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความพ.ศ. 2529 สัญญาจ้างว่าความจึงไม่ตกเป็นโมฆะเพราะเหตุดังกล่าวก็ตาม แต่สัญญาจ้างว่าความฉบับพิพาท ซึ่งเดิมโจทก์มิได้มีส่วนได้เสียในที่ดินที่จำเลยกับบุคคลอื่นพิพาทกันเลยการที่โจทก์ได้ค่าจ้างว่าความเป็นที่ดิน 200 ตารางวา อันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่จำเลยพิพาทกับบุคคลอื่นนั้น ย่อมทำให้โจทก์เป็นผู้เข้าไปมีส่วนได้เสียในที่ดินดังกล่าวโดยตรง เพราะหากจำเลยต้องแพ้คดีแล้ว โจทก์ก็จะไม่ได้ค่าจ้างว่าความเนื่องจากจำเลยพิพาทกับบุคคลอื่นเกี่ยวกับที่ดินที่โจทก์จะได้รับส่วนแบ่งเป็นค่าจ้างตามฟ้องนั้นทั้งแปลง ดังนี้ สัญญาจ้างว่าความฉบับพิพาทจึงมีลักษณะเป็นการรับโอนสิทธิในการดำเนินคดีของจำเลยมาจัดการให้โดยขอรับส่วนแบ่งจากที่ดินดังกล่าวเป็นค่าตอบแทนเมื่อจำเลยชนะคดี อันเป็นการช่วยเหลือยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นเป็นความกันวัตถุประสงค์ของสัญญาจ้างว่าความดังกล่าวจึงขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะ
แม้การที่โจทก์เรียกค่าจ้างว่าความจากจำเลยโดยใช้วิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้จากคู่ความนั้นจะไม่เป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 และข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความพ.ศ. 2529 สัญญาจ้างว่าความจึงไม่ตกเป็นโมฆะเพราะเหตุดังกล่าวก็ตาม แต่สัญญาจ้างว่าความฉบับพิพาท ซึ่งเดิมโจทก์มิได้มีส่วนได้เสียในที่ดินที่จำเลยกับบุคคลอื่นพิพาทกันเลยการที่โจทก์ได้ค่าจ้างว่าความเป็นที่ดิน 200 ตารางวา อันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่จำเลยพิพาทกับบุคคลอื่นนั้น ย่อมทำให้โจทก์เป็นผู้เข้าไปมีส่วนได้เสียในที่ดินดังกล่าวโดยตรง เพราะหากจำเลยต้องแพ้คดีแล้ว โจทก์ก็จะไม่ได้ค่าจ้างว่าความเนื่องจากจำเลยพิพาทกับบุคคลอื่นเกี่ยวกับที่ดินที่โจทก์จะได้รับส่วนแบ่งเป็นค่าจ้างตามฟ้องนั้นทั้งแปลง ดังนี้ สัญญาจ้างว่าความฉบับพิพาทจึงมีลักษณะเป็นการรับโอนสิทธิในการดำเนินคดีของจำเลยมาจัดการให้โดยขอรับส่วนแบ่งจากที่ดินดังกล่าวเป็นค่าตอบแทนเมื่อจำเลยชนะคดี อันเป็นการช่วยเหลือยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นเป็นความกันวัตถุประสงค์ของสัญญาจ้างว่าความดังกล่าวจึงขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9259/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างทนายความโดยแบ่งผลประโยชน์จากทรัพย์สินที่ได้คืนเป็นโมฆะ
จำเลยทำสัญญากับโจทก์ซึ่งไม่ได้ประกอบอาชีพทนายความว่าจำเลยว่าจ้างสำนักงานทนายความ บ.ว่าความเรียกร้องที่ดินคืนจาก พ. ทั้งนี้จำเลยให้สำนักงานทนายความ บ.โดยโจทก์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นไปก่อน หากได้เงินหรือที่ดินคืน จำเลยจะใช้คืนและจะให้บำเหน็จค่าจ้าง โดยหากได้ที่ดินกลับคืนมาจำนวน 5 ไร่เศษ จะแบ่งที่ดินให้จำนวน 2 ไร่ หากได้ที่ดินน้อยกว่านี้จะแบ่งให้ลดหย่อนลงตามส่วน สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาระหว่างโจทก์ผู้แทนสำนักงานทนายความบ.กับจำเลย โจทก์จึงเป็นผู้ทำสัญญาดังกล่าวแทนทนายความในสำนักงานทนายความ บ.แม้ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 27 (3) (จ) และมาตรา 51 จะมิได้มีข้อห้ามทนายความเรียกค่าจ้างว่าความโดยวิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความ สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายก็ตาม แต่การเรียกค่าจ้างว่าความโดยวิธีดังกล่าวเป็นการให้ทนายความเข้าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีทำนองเป็นการซื้อขายความกันและเป็นการยุยงส่งเสริมให้เป็นความกัน สัญญาดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9259/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างทนายความโดยแบ่งส่วนจากทรัพย์สิน: โมฆะเนื่องจากขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม
จำเลยทำสัญญากับโจทก์ซึ่งไม่ได้ประกอบอาชีพทนายความว่าจำเลยว่าจ้างสำนักงานทนายความบ.ว่าความเรียกร้องที่ดินคืนจากพ. ทั้งนี้จำเลยให้สำนักงานทนายความบ. โดยโจทก์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นไปก่อนหากได้เงินหรือที่ดินคืนจำเลยจะใช้คืนและจะให้บำเหน็จค่าจ้างโดยหากได้ที่ดินกลับคืนมาจำนวน5ไร่เศษจะแบ่งที่ดินให้จำนวน2ไร่หากได้ที่ดินน้อยกว่านี้จะแบ่งให้ลดหย่อนลงตามส่วนสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาระหว่างโจทก์ผู้แทนสำนักงานทนายความบ. กับจำเลยโจทก์จึงเป็นผู้ทำสัญญาดังกล่าวแทนทนายความในสำนักงานทนายความบ.แม้ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความพ.ศ.2529ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528มาตรา27(3)(จ)และมาตรา51จะมิได้มีข้อห้ามทนายความเรียกค่าจ้างว่าความโดยวิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความสัญญาดังกล่าวจึงไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายก็ตามแต่การเรียกค่าจ้างว่าความโดยวิธีดังกล่าวเป็นการให้ทนายความเข้าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีทำนองเป็นการซื้อขายความกันและเป็นการยุยงส่งเสริมให้เป็นความกันสัญญาดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9259/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างทนายความโดยแบ่งส่วนจากทรัพย์สิน: โมฆะเพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม
จำเลยทำสัญญากับโจทก์ซึ่งไม่ได้ประกอบอาชีพทนายความว่าจำเลยว่าจ้างสำนักงานทนายความ บ.ว่าความเรียกร้องที่ดินคืนจาก พ. ทั้งนี้จำเลยให้สำนักงานทนายความ บ. โดยโจทก์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นไปก่อน หากได้เงินหรือที่ดินคืน จำเลยจะใช้คืนและจะให้บำเหน็จค่าจ้าง โดยหากได้ที่ดินกลับคืนมาจำนวน 5 ไร่เศษ จะแบ่งที่ดินให้จำนวน 2 ไร่หากได้ที่ดินน้อยกว่านี้จะแบ่งให้ลดหย่อนลงตามส่วนสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาระหว่างโจทก์ผู้แทนสำนักงานทนายความ บ. กับจำเลยโจทก์จึงเป็นผู้ทำสัญญาดังกล่าวแทนทนายความในสำนักงานทนายความ บ.แม้ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528มาตรา 27(3)(จ) และมาตรา 51 จะมิได้มีข้อห้ามทนายความเรียกค่าจ้างว่าความโดยวิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความสัญญาดังกล่าวจึงไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายก็ตาม แต่การเรียกค่าจ้างว่าความโดยวิธีดังกล่าวเป็นการให้ทนายความเข้าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีทำนองเป็นการซื้อขายความกันและเป็นการยุยงส่งเสริมให้เป็นความกันสัญญาดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น