พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4557/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขาดอายุความ ยึดโฉนดได้
โจทก์ฟ้องโดยไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือมาแสดง แต่โจทก์มีหนังสือรับสภาพหนี้มีใจความว่าผู้ตายเป็นหนี้โจทก์ โดยนำโฉนดที่ดินมาให้ยึดถือไว้เป็นประกัน และจำเลยในฐานะทายาทของผู้ตายรับจะชดใช้เงินแก่โจทก์ กับมีลายมือชื่อของจำเลยในสัญญา และโจทก์มี ส. บุตรของโจทก์และในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์และเป็นพยานลงชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้มาเบิกความยืนยันว่า ผู้ตายซึ่งเป็นบิดาของจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์จริงและมารดาพยานซึ่งเป็นพี่ของผู้ตายต้องการช่วยน้อง จึงให้นำโฉนดที่ดินมาวางเป็นประกัน มีการทำสัญญากู้ยืมเงินกันไว้ ต่อมาเมื่อจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ โจทก์ได้คืนสัญญากู้ยืมเงินให้จำเลย โจทก์และ ส. เป็นญาติของจำเลย เชื่อว่า ส. เบิกความไปตามความจริงที่ได้รู้เห็นมา อันเป็นการนำสืบถึงความเป็นมาของมูลหนี้เดิมและหลักทรัพย์ที่นำมาเป็นประกันประกอบกับโจทก์มีโฉนดที่ดินของผู้ตายอยู่ในครอบครอง จึงฟังได้ว่าผู้ตายกู้ยืมเงินโจทก์โดยมีการทำสัญญากู้ยืมเงินกันไว้จริง และมีการคืนให้จำเลยเมื่อมีการทำหนังสือรับสภาพหนี้
การที่ ง. โทรศัพท์แจ้งให้จำเลยทราบว่าผู้ตายเป็นหนี้โจทก์ให้จำเลยไปลงชื่อรับชำระหนี้ มิฉะนั้นจะเอาตำรวจมาจับและต้องติดคุก แสดงว่า ง. ได้แจ้งข้อเท็จจริงในหนังสือให้จำเลยทราบแล้วก่อนที่จะมีการทำหนังสือดังกล่าวขึ้น ส่วนถ้อยคำที่ว่า "ให้จำเลยไปลงชื่อรับชำระหนี้มิเช่นนั้นจะเอาตำรวจมาจับจะต้องติดคุก" นั้น จากพฤติการณ์ที่ผู้ตายเสียชีวิตและยังไม่มีผู้ใดชำระหนี้ การที่ ง. พูดขู่จำเลยดังกล่าว และจำเลยยอมลงลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้ยอมรับผิดจะใช้เงินที่กู้คืนแก่โจทก์ เป็นกรณีที่ ง. ทำไปโดยเชื่อว่าตนมีสิทธิทำได้ตามกฎหมาย ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิตามปกตินิยม หาใช่เป็นการหลอกลวงข่มขู่อันจะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆียะไม่ หนังสือรับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 วรรคหนึ่ง และมาตรา 166
ผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2556 จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้วันที่ 1 พฤษภาคม 2557 เมื่อการทำหนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยต่อโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมทำให้อายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม สะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) โจทก์ไม่ต้องห้ามฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม และต้องเริ่มต้นนับอายุความใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้เดิมนับแต่เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดลง เมื่อกฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความของการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ส่วนหนังสือรับสภาพหนี้ไม่มีอายุความในตัวเองเพียงแต่มีผลทำให้อายุความในมูลหนี้เดิมสะดุดหยุดลง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ได้ภายในกำหนด 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2557 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 และมาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 ภายในกำหนด 10 ปี ดังกล่าว ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การทำหนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยมีข้อตกลงระบุให้โจทก์มีสิทธิยึดโฉนดที่ดินไว้เป็นประกันอันเป็นข้อตกลงที่คู่สัญญาสมัครใจทำต่อกัน ซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จึงมีสิทธิยึดโฉนดที่ดินอันเป็นทรัพย์ที่นำมาประกันไว้จนกว่าจำเลยจะชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยไม่มีสิทธิขอโฉนดที่ดินคืนจนกว่าจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนและไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์
การที่ ง. โทรศัพท์แจ้งให้จำเลยทราบว่าผู้ตายเป็นหนี้โจทก์ให้จำเลยไปลงชื่อรับชำระหนี้ มิฉะนั้นจะเอาตำรวจมาจับและต้องติดคุก แสดงว่า ง. ได้แจ้งข้อเท็จจริงในหนังสือให้จำเลยทราบแล้วก่อนที่จะมีการทำหนังสือดังกล่าวขึ้น ส่วนถ้อยคำที่ว่า "ให้จำเลยไปลงชื่อรับชำระหนี้มิเช่นนั้นจะเอาตำรวจมาจับจะต้องติดคุก" นั้น จากพฤติการณ์ที่ผู้ตายเสียชีวิตและยังไม่มีผู้ใดชำระหนี้ การที่ ง. พูดขู่จำเลยดังกล่าว และจำเลยยอมลงลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้ยอมรับผิดจะใช้เงินที่กู้คืนแก่โจทก์ เป็นกรณีที่ ง. ทำไปโดยเชื่อว่าตนมีสิทธิทำได้ตามกฎหมาย ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิตามปกตินิยม หาใช่เป็นการหลอกลวงข่มขู่อันจะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆียะไม่ หนังสือรับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 วรรคหนึ่ง และมาตรา 166
ผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2556 จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้วันที่ 1 พฤษภาคม 2557 เมื่อการทำหนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยต่อโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมทำให้อายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม สะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) โจทก์ไม่ต้องห้ามฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม และต้องเริ่มต้นนับอายุความใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้เดิมนับแต่เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดลง เมื่อกฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความของการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ส่วนหนังสือรับสภาพหนี้ไม่มีอายุความในตัวเองเพียงแต่มีผลทำให้อายุความในมูลหนี้เดิมสะดุดหยุดลง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ได้ภายในกำหนด 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2557 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 และมาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 ภายในกำหนด 10 ปี ดังกล่าว ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การทำหนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยมีข้อตกลงระบุให้โจทก์มีสิทธิยึดโฉนดที่ดินไว้เป็นประกันอันเป็นข้อตกลงที่คู่สัญญาสมัครใจทำต่อกัน ซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จึงมีสิทธิยึดโฉนดที่ดินอันเป็นทรัพย์ที่นำมาประกันไว้จนกว่าจำเลยจะชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยไม่มีสิทธิขอโฉนดที่ดินคืนจนกว่าจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนและไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5740/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ไม่มีผลผูกพันเมื่อโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์การจ่ายเงินกู้ให้แก่ผู้รับประโยชน์ได้จริง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้ดำเนินคดีแทน เท่ากับวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 จะฎีกาโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยอ้างเหตุใหม่ว่าสัญญากู้ตามที่ระบุในหนังสือมอบอำนาจไม่ตรงกับสัญญากู้ที่โจทก์นำสืบโดยไม่ได้ให้การในข้อนี้ไว้หาได้ไม่ เนื่องจากเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาโดยชอบในชั้นอุทธรณ์และไม่ใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ขณะทำสัญญากู้จำเลยที่ 1 ถูกจับกุมในข้อหากระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ และถูกควบคุมตัวอยู่ที่สถานีตำรวจ ตามที่ ส. ร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว ย่อมเป็นการควบคุมตัวของเจ้าพนักงานโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่ทนายโจทก์กับ ส. แจ้งแก่จำเลยที่ 1 ว่า หากไม่ทำสัญญากู้กับโจทก์ก็จะดำเนินคดีอาญาในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คต่อไปนั้น เป็นการขู่ว่าจะดำเนินคดีตามกฎหมายแก่จำเลยที่ 1 อันเป็นสิทธิที่ ส. ผู้ทรงเช็คสามารถกระทำได้ ทั้งหากจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิดก็มีสิทธิที่จะต่อสู้คดีไม่จำต้องกลัว และยังได้ความจากข้อนำสืบของโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโจทก์เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ให้แก่ ส. ตามเช็ค จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ถูกข่มขู่ให้ทำสัญญากู้ อันจะทำให้สัญญากู้เป็นโมฆียะ
โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่า โจทก์ได้ชำระเงินตามสัญญากู้ให้แก่ ส. แทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าโจทก์ได้ชำระเงินตามสัญญากู้ให้แก่ ส. เป็นการชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้รับเงินตามสัญญากู้แล้ว สัญญากู้ดังกล่าวจึงไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
ขณะทำสัญญากู้จำเลยที่ 1 ถูกจับกุมในข้อหากระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ และถูกควบคุมตัวอยู่ที่สถานีตำรวจ ตามที่ ส. ร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว ย่อมเป็นการควบคุมตัวของเจ้าพนักงานโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่ทนายโจทก์กับ ส. แจ้งแก่จำเลยที่ 1 ว่า หากไม่ทำสัญญากู้กับโจทก์ก็จะดำเนินคดีอาญาในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คต่อไปนั้น เป็นการขู่ว่าจะดำเนินคดีตามกฎหมายแก่จำเลยที่ 1 อันเป็นสิทธิที่ ส. ผู้ทรงเช็คสามารถกระทำได้ ทั้งหากจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิดก็มีสิทธิที่จะต่อสู้คดีไม่จำต้องกลัว และยังได้ความจากข้อนำสืบของโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโจทก์เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ให้แก่ ส. ตามเช็ค จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ถูกข่มขู่ให้ทำสัญญากู้ อันจะทำให้สัญญากู้เป็นโมฆียะ
โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่า โจทก์ได้ชำระเงินตามสัญญากู้ให้แก่ ส. แทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าโจทก์ได้ชำระเงินตามสัญญากู้ให้แก่ ส. เป็นการชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้รับเงินตามสัญญากู้แล้ว สัญญากู้ดังกล่าวจึงไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7122/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการทำสัญญาแทนบริษัท และอายุความสัญญาชำระหนี้
จำเลยทำบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.3 โดยเจตนาจะชดใช้หนี้ที่สามีจำเลยซื้อรถแทรกเตอร์ดังกล่าวให้แก่โจทก์แทนสามีจำเลย หาใช่เป็นการชำระหนี้ให้แก่ก. กรรมการผู้มีอำนาจคนหนึ่งของโจทก์เป็นการส่วนตัวไม่ และเมื่อโจทก์เป็นนิติบุคคลโดย ก. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจคนหนึ่ง ก. มีฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ตามกฎหมาย ก. มีอำนาจทำบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.3 แทนโจทก์โดยไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากโจทก์อีก บันทึกข้อตกลงที่ ก. ทำแทนโจทก์จึงผูกพันจำเลย
สามีจำเลยซื้อรถแทรกเตอร์ 1 คัน จากบริษัทโจทก์ในราคา 1,400,000 บาท และชำระหนี้ไปบางส่วน คงค้างอยู่ 550,000 บาท การที่จำเลยยอมผูกพันเข้าชำระหนี้ดังกล่าวแทนสามีจำเลยกับโจทก์ตามบันทึกข้อตกลงเอกสารหมาย จ.3 ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งคู่ความกระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นการขืนใจลูกหนี้และไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 มิใช่มีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34(1)
ก. ได้พูดขู่จำเลยให้ยอมทำบันทึกข้อตกลงว่าเป็นหนี้จำนวน 550,000 บาท แล้วจะไม่ดำเนินคดีเอาความผิดแก่ อ. เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่
สามีจำเลยซื้อรถแทรกเตอร์ 1 คัน จากบริษัทโจทก์ในราคา 1,400,000 บาท และชำระหนี้ไปบางส่วน คงค้างอยู่ 550,000 บาท การที่จำเลยยอมผูกพันเข้าชำระหนี้ดังกล่าวแทนสามีจำเลยกับโจทก์ตามบันทึกข้อตกลงเอกสารหมาย จ.3 ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งคู่ความกระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นการขืนใจลูกหนี้และไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 มิใช่มีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34(1)
ก. ได้พูดขู่จำเลยให้ยอมทำบันทึกข้อตกลงว่าเป็นหนี้จำนวน 550,000 บาท แล้วจะไม่ดำเนินคดีเอาความผิดแก่ อ. เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7122/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันหนี้แทนกัน, สัญญาโดยสมัครใจ, อายุความ 10 ปี, การข่มขู่ที่ไม่ถึงขั้น
จำเลยทำบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.3 โดยเจตนาจะชดใช้หนี้ที่สามีจำเลยซื้อรถแทรกเตอร์ดังกล่าวให้แก่โจทก์แทนสามีจำเลย หาใช่เป็นการชำระหนี้ให้แก่ ก.กรรมการผู้มีอำนาจคนหนึ่งของโจทก์เป็นการส่วนตัวไม่และเมื่อโจทก์เป็นนิติบุคคลโดย ก.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจคนหนึ่ง ก.มีฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ตามกฎหมาย ก.มีอำนาจทำบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.3แทนโจทก์โดยไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากโจทก์อีก บันทึกข้อตกลงที่ ก.ทำแทนโจทก์จึงผูกพันจำเลย
สามีจำเลยซื้อรถแทรกเตอร์ 1 คัน จากบริษัทโจทก์ในราคา1,400,000 บาท และชำระหนี้ไปบางส่วน คงค้างอยู่ 550,000 บาท การที่จำเลยยอมผูกพันเข้าชำระหนี้ดังกล่าวแทนสามีจำเลยกับโจทก์ตามบันทึกข้อตกลงเอกสารหมาย จ.3 ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งคู่ความกระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นการขืนใจลูกหนี้และไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 มิใช่มีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1)
ก.ได้พูดขู่จำเลยให้ยอมทำบันทึกข้อตกลงว่าเป็นหนี้จำนวน550,000 บาท แล้วจะไม่ดำเนินคดีเอาความผิดแก่ อ.เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยมตาม ป.พ.พ.มาตรา 165 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่
สามีจำเลยซื้อรถแทรกเตอร์ 1 คัน จากบริษัทโจทก์ในราคา1,400,000 บาท และชำระหนี้ไปบางส่วน คงค้างอยู่ 550,000 บาท การที่จำเลยยอมผูกพันเข้าชำระหนี้ดังกล่าวแทนสามีจำเลยกับโจทก์ตามบันทึกข้อตกลงเอกสารหมาย จ.3 ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งคู่ความกระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นการขืนใจลูกหนี้และไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 มิใช่มีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1)
ก.ได้พูดขู่จำเลยให้ยอมทำบันทึกข้อตกลงว่าเป็นหนี้จำนวน550,000 บาท แล้วจะไม่ดำเนินคดีเอาความผิดแก่ อ.เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยมตาม ป.พ.พ.มาตรา 165 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่