คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 ม. 32

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15586/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนคดีแรงงาน: การฟ้องจำเลยซ้ำในฐานะคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนและสำนักงานประกันสังคม
คดีก่อนโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคนต่างด้าวฟ้อง ส. กับพวกในฐานะคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน คำฟ้องระบุว่าแนวปฏิบัติตามหนังสือที่ รส 0711/ว751 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2544 กำหนดเงื่อนไขการรับเงินทดแทนของลูกจ้างต่างด้าวจากกองทุนเงินทดแทนไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุให้คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีคำวินิจฉัยไม่จ่ายเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนให้โจทก์ที่ 1 เนื้อหาคำฟ้องเป็นเช่นเดียวกับคำฟ้องคดีนี้ที่มุ่งประสงค์ให้เพิกถอนแนวปฏิบัติฉบับเดียวกันโดยโจทก์ที่ 1 อ้างว่าแนวปฏิบัติไม่มีผลบังคับเพื่อขอรับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทน จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 บัญญัติให้มีกองทุนเงินทดแทนขึ้นในสำนักงานประกันสังคม (จำเลย) เพื่อจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง ทรัพย์สินของกองทุนเงินทดแทนตกเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานประกันสังคม โดยให้คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนทำหน้าที่ปฏิบัติงานให้แก่สำนักงานประกันสังคมหรืออาจมอบหมายให้สำนักงานประกันสังคมเป็นผู้ปฏิบัติแทนได้ การที่คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีมติโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 32 กำหนดแนวปฏิบัติให้ความคุ้มครองแรงงานต่างด้าวที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ซึ่งต่อมาสำนักงานประกันสังคมถือปฏิบัติตามมตินั้นโดยจัดทำหนังสือวางแนวปฏิบัติแจ้งต่อสำนักงานประกันสังคมจังหวัด คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนกับสำนักงานประกันสังคมจึงเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเดียวกัน หากการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ที่ 1 สำนักงานประกันสังคมต้องรับผิด การที่โจทก์ที่ 1 ฟ้อง ส. กับพวกในฐานะคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเป็นจำเลยในคดีก่อน กับฟ้องสำนักงานประกันสังคมเป็นจำเลยในคดีนี้ จึงเป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกันโดยคู่ความเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อคดีนี้เป็นคดีแรงงาน ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 สำหรับเรื่องที่ไม่ได้บัญญัติไว้ก็ให้นำบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 31 จึงนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาใช้ในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17259/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่ใช่ลูกหนี้ส่วนตัว การฟ้องให้เพิกถอนคำวินิจฉัยจึงเป็นการฟ้องในฐานะคณะกรรมการ
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 14 เป็นคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมแต่งตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 31 มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 32 (5) ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 52
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 14 เป็นการฟ้องในฐานะที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 14 เป็นคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่ใช่ฟ้องให้ชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสามเป็นการส่วนตัว จำเลยที่ 2 ถึงที่ 14 จึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินทดแทนให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน การฟ้องเป็นคณะบุคคล และอำนาจฟ้อง
การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนกระทำในรูปคณะบุคคลอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 แม้คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจะมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนก็มีผลผูกพันกรรมการทุกคนไม่ว่าจะได้เข้าร่วมประชุมพิจารณาวินิจฉัยด้วยหรือไม่ ดังนั้น การฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจึงไม่ใช่เป็นการฟ้องคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนในฐานะส่วนตัว แต่เป็นการฟ้องในทางตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมาย คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนทั้งคณะจึงถูกฟ้องเป็นจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน: จำเลยคือคณะกรรมการในฐานะตำแหน่งหน้าที่
การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนกระทำในรูปคณะบุคคลอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 แม้คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจะมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนก็มีผลผูกพันกรรมการทุกคนไม่ว่าจะได้เข้าร่วมประชุมพิจารณาวินิจฉัยด้วยหรือไม่ ดังนั้น การฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจึงไม่ใช่เป็นการฟ้องคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนในฐานะส่วนตัวแต่เป็นการฟ้องในทางตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมาย คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนทั้งคณะจึงถูกฟ้องเป็นจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7493/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนในการระงับจ่ายเงินทดแทนระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ขัดต่อหลักการตามพรบ.เงินทดแทนมาตรา 54
ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทนพ.ศ.2537มาตรา32(5)คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีอำนาจที่จะวินิจฉัยชี้ขาดว่าเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ให้จ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์หรือไม่แต่จะมีคำสั่งระงับการจ่ายเงินทดแทนเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของนายจ้างหาได้ไม่เพราะการมีคำสั่งดังกล่าวย่อมมีผลเป็นการทุเลาการปฎิบัติตามคำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่อันเป็นการขัดต่อมาตรา54