คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 166

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4557/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขาดอายุความ ยึดโฉนดได้
โจทก์ฟ้องโดยไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือมาแสดง แต่โจทก์มีหนังสือรับสภาพหนี้มีใจความว่าผู้ตายเป็นหนี้โจทก์ โดยนำโฉนดที่ดินมาให้ยึดถือไว้เป็นประกัน และจำเลยในฐานะทายาทของผู้ตายรับจะชดใช้เงินแก่โจทก์ กับมีลายมือชื่อของจำเลยในสัญญา และโจทก์มี ส. บุตรของโจทก์และในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์และเป็นพยานลงชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้มาเบิกความยืนยันว่า ผู้ตายซึ่งเป็นบิดาของจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์จริงและมารดาพยานซึ่งเป็นพี่ของผู้ตายต้องการช่วยน้อง จึงให้นำโฉนดที่ดินมาวางเป็นประกัน มีการทำสัญญากู้ยืมเงินกันไว้ ต่อมาเมื่อจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ โจทก์ได้คืนสัญญากู้ยืมเงินให้จำเลย โจทก์และ ส. เป็นญาติของจำเลย เชื่อว่า ส. เบิกความไปตามความจริงที่ได้รู้เห็นมา อันเป็นการนำสืบถึงความเป็นมาของมูลหนี้เดิมและหลักทรัพย์ที่นำมาเป็นประกันประกอบกับโจทก์มีโฉนดที่ดินของผู้ตายอยู่ในครอบครอง จึงฟังได้ว่าผู้ตายกู้ยืมเงินโจทก์โดยมีการทำสัญญากู้ยืมเงินกันไว้จริง และมีการคืนให้จำเลยเมื่อมีการทำหนังสือรับสภาพหนี้
การที่ ง. โทรศัพท์แจ้งให้จำเลยทราบว่าผู้ตายเป็นหนี้โจทก์ให้จำเลยไปลงชื่อรับชำระหนี้ มิฉะนั้นจะเอาตำรวจมาจับและต้องติดคุก แสดงว่า ง. ได้แจ้งข้อเท็จจริงในหนังสือให้จำเลยทราบแล้วก่อนที่จะมีการทำหนังสือดังกล่าวขึ้น ส่วนถ้อยคำที่ว่า "ให้จำเลยไปลงชื่อรับชำระหนี้มิเช่นนั้นจะเอาตำรวจมาจับจะต้องติดคุก" นั้น จากพฤติการณ์ที่ผู้ตายเสียชีวิตและยังไม่มีผู้ใดชำระหนี้ การที่ ง. พูดขู่จำเลยดังกล่าว และจำเลยยอมลงลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้ยอมรับผิดจะใช้เงินที่กู้คืนแก่โจทก์ เป็นกรณีที่ ง. ทำไปโดยเชื่อว่าตนมีสิทธิทำได้ตามกฎหมาย ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิตามปกตินิยม หาใช่เป็นการหลอกลวงข่มขู่อันจะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆียะไม่ หนังสือรับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 วรรคหนึ่ง และมาตรา 166
ผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2556 จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้วันที่ 1 พฤษภาคม 2557 เมื่อการทำหนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยต่อโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมทำให้อายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม สะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) โจทก์ไม่ต้องห้ามฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม และต้องเริ่มต้นนับอายุความใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้เดิมนับแต่เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดลง เมื่อกฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความของการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ส่วนหนังสือรับสภาพหนี้ไม่มีอายุความในตัวเองเพียงแต่มีผลทำให้อายุความในมูลหนี้เดิมสะดุดหยุดลง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ได้ภายในกำหนด 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2557 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 และมาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 ภายในกำหนด 10 ปี ดังกล่าว ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การทำหนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยมีข้อตกลงระบุให้โจทก์มีสิทธิยึดโฉนดที่ดินไว้เป็นประกันอันเป็นข้อตกลงที่คู่สัญญาสมัครใจทำต่อกัน ซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จึงมีสิทธิยึดโฉนดที่ดินอันเป็นทรัพย์ที่นำมาประกันไว้จนกว่าจำเลยจะชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยไม่มีสิทธิขอโฉนดที่ดินคืนจนกว่าจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนและไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 720/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงรับแลกเปลี่ยนตั๋วสิทธิขาดอายุความ ผลกระทบต่อหนี้และสิทธิเรียกร้อง
หนี้ที่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในคดีนี้มีมูลกรณีจากการที่ลูกหนี้เป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็คของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. ซึ่งประสบปัญหาวิกฤตขาดเงินทุนหมุนเวียน จนกระทั่งเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2528 ศาลแพ่งได้มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์บริษัทดังกล่าวเด็ดขาด ซึ่งลูกหนี้ได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็คไปขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว ต่อมาเจ้าหนี้โดยอนุมัติธนาคารแห่งประเทศไทยตกลงเข้าช่วยเหลือประชาชนผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. โดยการรับแลกเปลี่ยนตั๋วเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของเจ้าหนี้ ลูกหนี้ตกลงนำตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็คไปเปลี่ยนแก่เจ้าหนี้ โดยทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องไว้แก่เจ้าหนี้ ในวันเดียวกันเจ้าหนี้ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่ลูกหนี้เป็นจำนวนเงิน 986,000 บาท และเพื่อเป็นการตอบแทนในการที่ลูกหนี้ได้รับตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยเจ้าหนี้ ลูกหนี้ตกลงมอบสิทธิในการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าวให้แก่เจ้าหนี้ โดยมีข้อตกลงตามหนังสือสัญญาต่างตอบแทนการรับตั๋วสัญญาใช้เงินด้วยว่าในกรณีที่ลูกหนี้ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าว ให้ถือว่าตั๋วสัญญาใช้เงินที่เจ้าหนี้ออกให้เป็นการต่างตอบแทนการมอบสิทธิในการรับชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. เป็นอันยกเลิกไม่มีมูลหนี้ต่อกัน หลังจากนั้นลูกหนี้ได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินขายลดให้แก่เจ้าหนี้ในราคา 417,877.51 บาท โดยทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องแก่เจ้าหนี้ และได้รับเงินจำนวนดังกล่าวจากเจ้าหนี้ไปในวันเดียวกัน แต่ต่อมาในคดีล้มละลายหมายดังกล่าวศาลสั่งให้ลูกหนี้ได้รับชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 80,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ส่วนเช็คจำนวน 906,000 บาท ศาลไม่อนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ เพราะขาดอายุความดังนั้นตั๋วสัญญาใช้เงินที่เจ้าหนี้ออกให้แก่ลูกหนี้ในการตกลงรับแลกเปลี่ยนตั๋ว ซึ่งไม่อาจแบ่งแยกชำระได้ย่อมเป็นอันยกเลิกไม่มีมูลหนี้ต่อกัน ตามข้อตกลงตามหนังสือสัญญาต่างตอบแทนการรับตั๋วสัญญาใช้เงิน ลูกหนี้ที่ 2 ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินจากเจ้าหนี้ต่อไป จึงไม่อาจนำตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวไปทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง (ขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน) ได้ ลูกหนี้ต้องคืนเงินค่าขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 417,837.51 บาท แก่เจ้าหนี้
เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เจ้าหนี้ออกให้แก่ลูกหนี้ ตามข้อตกลงรับแลกเปลี่ยนตั๋วเป็นอันยกเลิกไม่มีมูลหนี้ต่อกันเช่นนี้ ความตกลงทั้งหลายเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อรับแลกเปลี่ยนตั๋วระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ย่อมเป็นอันยกเลิกไป รวมทั้งข้อตกลงการมอบสิทธิให้เจ้าหนี้ในการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของศาลแพ่งด้วย เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าว กรณีไม่มีเหตุให้ต้องกำหนดเงื่อนไขในการที่เจ้าหนี้จะได้ชำระหนี้ในคดีนี้ว่า หากเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าวแล้วเพียงใดให้สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ในคดีนี้ลดลงไปเพียงนั้น และเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์จะต้องไปว่ากล่าวแก่เจ้าหนี้ต่างหาก เพื่อมิให้เจ้าหนี้ไปใช้สิทธิรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายหมายเลขแดงที่ ล.274/2528 ซ้ำซ้อนกับคดีนี้ต่อไป
หนี้เงินที่ลูกหนี้ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้เกิดขึ้นเนื่องจากข้อตกลงรับแลกเปลี่ยนตั๋วเป็นอันยกเลิกไม่มีมูลหนี้ต่อกัน ลูกหนี้มีหน้าที่คืนเงินจำนวนที่รับไปจากเจ้าหนี้พร้อมดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลาที่รับไว้เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2529จนถึงวันที่ 6 พฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 100 และดอกเบี้ยในกรณีเช่นนี้ไม่ถือเป็นดอกเบี้ยค้างส่ง อันมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่ และอายุความของดอกเบี้ยจากเช็ค: กรณีไม่ถือเป็นการแปลงหนี้และดอกเบี้ยเกินอายุความ
หนังสือยินยอมให้ผ่อนชำระหนี้เอกสารหมาย ล.2 เป็นเพียงหนังสือของโจทก์ที่มีถึง ป. แจ้งว่าโจทก์ยอมรับการขอผ่อนชำระหนี้ต่าง ๆ ของ ถ.ที่มีต่อโจทก์เป็นรายเดือนตามที่ ป.เสนอขอผ่อนชำระหนี้แทนมา หาใช่เป็นการทำสัญญาระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับ ป.ลูกหนี้คนใหม่แต่ประการใดไม่ ทั้งหนังสือดังกล่าวก็ไม่ได้พูดถึงหนี้ของจำเลยที่มีต่อโจทก์เลย กรณีจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ หนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์จึงยังคงมีอยู่เช่นเดิมไม่ระงับสิ้นไป
หนังสือรับสภาพหนี้และรับใช้หนี้ของ ท.ที่ทำไว้แก่โจทก์ตามเอกสารหมาย ล.1 เป็นเพียงหนังสือที่ ท.ทำขึ้นฝ่ายเดียว โดย ท.ยอมตนเข้าเป็นลูกหนี้ของโจทก์เพื่อชำระหนี้ตามเช็คที่ ท.เป็นผู้สั่งจ่ายซึ่ง ถ.และจำเลยนำมาทำสัญญาขายลดไว้แก่โจทก์ โดยโจทก์กับ ท.มิได้มีการทำสัญญากันเพื่อให้หนี้ของจำเลยที่มีต่อโจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คระงับสิ้นไป และมาบังคับตามหนี้ดังที่ระบุไว้ในเอกสารหมาย ล.1 แต่อย่างใด กรณีจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลยมาเป็น ท. หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คของจำเลยจึงไม่ระงับสิ้นไป
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม คือมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดเวลาใช้เงิน
ฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างส่งเกิน 5 ปีนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ฟ้องโจทก์ส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยค้างส่งจึงขาดอายุความ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเอาแก่จำเลยนั้น จำเลยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในปัญหานี้ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 249วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่และการเรียกร้องหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค: อายุความและข้อโต้แย้ง
หนังสือยินยอมให้ผ่อนชำระหนี้เอกสารหมายล.2เป็นเพียงหนังสือของโจทก์ที่มีถึง ป. แจ้งว่าโจทก์ยอมรับการขอผ่อนชำระหนี้ต่างๆของ ถ. ที่มีต่อโจทก์เป็นรายเดือนตามที่ ป. เสนอขอผ่อนชำระหนี้แทนมาหาใช่เป็นการทำสัญญาระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับ ป. ลูกหนี้คนใหม่แต่ประการใดไม่ทั้งหนังสือดังกล่าวก็ไม่ได้พูดถึงหนี้ของจำเลยที่มีต่อโจทก์เลยกรณีจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้หนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์จึงยังคงมีอยู่เช่นเดิมไม่ระงับสิ้นไป หนังสือรับสภาพหนี้และรับใช้หนี้ของ ท. ที่ทำไว้แก่โจทก์ตามเอกสารหมายล.1เป็นเพียงหนังสือที่ ท.ทำขึ้นฝ่ายเดียวโดย ท. ยอมตนเข้าเป็นลูกหนี้ของโจทก์เพื่อชำระหนี้ตามเช็คที่ ท.เป็นผู้สั่งจ่ายซึ่ง ถ. และจำเลยนำมาทำสัญญาขายลดไว้แก่โจทก์โดยโจทก์กับ ท. มิได้มีการทำสัญญากันเพื่อให้หนี้ของจำเลยที่มีต่อโจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คระงับสิ้นไปและมาบังคับตามหนี้ดังที่ระบุไว้ในเอกสารหมายล.1แต่อย่างใดกรณีจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลยมาเป็น ท. หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คของจำเลยจึงไม่ระงับสิ้นไป สิทธิเรียกร้องตามสัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมคือมีอายุความ10ปีนับแต่วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดเวลาใช้เงิน ฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างส่งเกิน4ปีนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คฟ้องโจทก์ส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยค้างส่งจึงขาดอายุความโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเอาแก่จำเลยนั้นจำเลยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในปัญหานี้ว่าไม่ถูกต้องอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6063/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดี, การเลื่อนคดี, คำสั่งศาล, การบังคับคดี, การชำระหนี้
ก่อนที่จะมีการแต่งตั้งทนายจำเลยคนใหม่ จำเลยขอเลื่อนคดีมาแล้ว 4 นัด นอกจากนี้ระหว่างสืบพยานโจทก์ จำเลยก็ขอเลื่อนคดีหลายครั้งโดยอ้างเหตุว่ากำลังเจรจาจะชำระหนี้โจทก์และอยู่ระหว่างขายทรัพย์จำนอง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีเจตนาหน่วงเหนี่ยวให้คดีชักช้าโดยปราศจากเหตุอันสมควร ทั้ง ๆ ที่ศาลชั้นต้นได้สั่งกำชับว่าจะไม่ให้เลื่อนคดีอีกไม่ว่าด้วยเหตุผลใด จำเลยก็หาได้ตระหนักถึงคำสั่งกำชับของศาลดังกล่าวไม่ แม้จำเลยจะแต่งตั้งทนายคนใหม่ ก็ชอบที่จะให้ทนายคนใหม่เตรียมคดีให้พร้อมก่อนวันนัดหาใช่นำเอาเหตุแห่งการแต่งตั้งทนายคนใหม่มาเป็นข้ออ้างเพื่อไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีเช่นนี้ไม่ จึงเป็นการประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานจำเลยโดยไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจึงชอบแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองและตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์ที่ยึด โดยให้จำเลยนำเงินมาวางเพื่อชำระหนี้โจทก์เดือนละไม่ต่ำกว่า 100,000 บาททุกวันที่ 1 ของเดือน หากเดือนใดผิดนัดให้ดำเนินการขายทอดตลาดทันทีเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 307 จำเลยจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลดังกล่าว ทรัพย์สินของจำเลยจึงจะไม่ถูกขายทอดตลาด จำเลยจะมาขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้หาได้ไม่ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลโจทก์ก็ชอบที่จะบังคับคดีได้ทันที จำนวนเงินที่จำเลยต้องชำระรวมทั้งดอกเบี้ยย่อมเป็นไปตามคำพิพากษาของศาล ดังนั้น ในชั้นบังคับคดีจำเลยจึงหามีสิทธิโต้แย้งว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เพียง 5 ปีเท่านั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องค่าธรรมเนียมประทานบัตร, การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียม, และอายุความหนี้เงิน
โจทก์เป็นกรมในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตร การฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรที่ค้างชำระจึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไม่จำต้องมอบอำนาจให้ ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 55 จำเลยซึ่งเป็นผู้ถือประทานบัตรมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรเป็นรายปีค่าธรรมเนียมนั้นกฎหมายให้เรียกเก็บตามกฎกระทรวงอันหมายถึงกฎกระทรวงที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเรียกเก็บปีใดกฎกระทรวงฉบับใดใช้บังคับอยู่จำเลยต้องชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กฎกระทรวงฉบับนั้นกำหนดไว้ จำเลยยกอายุความเรื่องเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 563 ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ แต่ฎีกาโดยยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งแก้ไขใหม่เป็นมาตรา 193/30 ขึ้นฎีกา จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 เงินค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรที่ค้างชำระเป็นหนี้เงิน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ดอกเบี้ยค้างชำระส่วนที่เกิน 5 ปี นับจากวันฟ้องย้อนหลังไปขาดอายุความประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ซึ่งแก้ไขใหม่เป็นมาตรา 193/33

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1553/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องเงินทดรองจ่ายในวงแชร์: สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์เล่นแชร์กับจำเลยโดยโจทก์เป็นนายวง จำเลยประมูลแชร์ได้และออกเช็คให้แก่ลูกวงคนอื่น ๆ ไว้ เมื่อเช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ในฐานะนายวงได้ชำระเงินตามเช็คไปแล้ว โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยอันเป็นการเรียกเงินที่ออกทดรองไปก่อนคืน สิทธิเรียกร้องเช่นนี้ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2777/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกหนี้จากการผ่อนชำระ: เริ่มนับแต่วันผิดนัดค้างชำระงวดแรก ไม่ใช่งวดสุดท้าย
เดิมจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดและตั๋วแลกเงินพร้อมดอกเบี้ย ต่อมาได้ทำสัญญารับว่ายังเป็นหนี้โจทก์ในต้นเงินและดอกเบี้ย โดยตกลงชำระเป็นรายเดือน เริ่มชำระเดือนแรกภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2524 เดือนต่อไปชำระภายในวันที่ 13 ของเดือนและจะชำระให้เสร็จใน 54 เดือน หากผิดนัดเดือนหนึ่งเดือนใดให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด และยอมให้ฟ้องร้องบังคับคดีได้ถือได้ว่าโจทก์จำเลยได้ตกลงเปลี่ยนแปลงวิธีการชำระหนี้ใหม่โดยรวมเอาต้นเงินและดอกเบี้ยค้างส่งถึงวันทำสัญญาเพื่อผ่อนคืนเป็นงวด การฟ้องร้องจึงอยู่ภายในบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 มีอายุความ 5 ปี จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาเพียงเดือนแรก แล้วผิดนัดไม่ชำระตั้งแต่เดือนที่สอง ประจำวันที่ 13 มีนาคม 2524 และผิดนัดตลอดมาถือว่าจำเลยผิดนัดทั้งหมดทุกงวด ดังนั้น สิทธิเรียกร้องเงินทั้งหมดจึงเกิดขึ้นแล้ว อายุความฟ้องร้องเรียกเงินจำนวนที่ค้างจากจำเลยจึงเริ่มตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2524 มิใช่เริ่มนับเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้งวดสุดท้าย โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่15 กรกฎาคม 2531 จึงเกิน 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 169 ประกอบมาตรา 166 ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2777/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกหนี้ตามสัญญาเปลี่ยนแปลงวิธีการชำระหนี้ เริ่มนับจากวันผิดนัดค้างชำระงวดแรก ไม่ใช่งวดสุดท้าย
โจทก์จำเลยตกลงเปลี่ยนแปลงวิธีการชำระหนี้ใหม่โดยรวมเอาเงินต้นและดอกเบี้ยค้างส่งถึงวันทำสัญญาเพื่อผ่อนคืนเป็นงวด งวดละเดือน จำนวน 54 เดือน หากจำเลยผิดนัดเดือนใดให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด การฟ้องร้องจึงเป็นเรื่องต้องอยู่ภายในบังคับแห่ง ป.พ.พ มาตรา 166 มีอายุความ5 ปี
จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาเพียงเดือนแรก ต่อมาเดือนที่ 2 คือวันที่ 13 มีนาคม2524 จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตลอดมา ถือว่าจำเลยผิดนัดทั้งหมดทุกงวด สิทธิเรียกร้องเงินคืนทั้งหมดจึงมีขึ้นแล้ว อายุความฟ้องร้องเรียกเงินจำนวนที่ค้างจากจำเลยจึงเริ่มตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2524แล้ว หาใช่เริ่มนับอายุความเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้งวดสุดท้ายไม่ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15กรกฎาคม 2531 เกิน 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 169 ประกอบมาตรา 166 ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความทั้งสิ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบรายละเอียดการรับเงินกู้ไม่เป็นการนอกฟ้อง และอายุความดอกเบี้ยเริ่มนับจากเวลาที่อาจฟ้องเรียกได้
ในคำฟ้องและสัญญากู้ระบุว่าจำเลยที่ 1 รับเงินจำนวน1,500,000 บาท ไปจากโจทก์ครบถ้วนในวันทำสัญญากู้ และประเด็นข้อพิพาทมีว่าจำเลยที่ 1 รับเงินตามสัญญากู้ไปจากโจทก์ครบถ้วนแล้วหรือไม่ดังนี้ การที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 รับเงินไปจากโจทก์ก่อนวันทำสัญญากู้บ้าง ในวันทำสัญญากู้บ้าง และหลังวันทำสัญญากู้บ้างนั้น เป็นการนำสืบถึงที่มาหรือรายละเอียดในการที่จำเลยที่ 1รับเงินไปจากโจทก์ ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น และไม่เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร การฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างส่งภายใน 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 166นั้น อายุความ 5 ปี ต้องนับตั้งแต่เวลาที่อาจฟ้องเรียกเอาดอกเบี้ยได้ ไม่ใช่นับตั้งแต่วันที่ผู้กู้รับเงินกู้ไปจากผู้ให้กู้.
of 13