พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาให้ทุนการศึกษาและการผิดสัญญาชดใช้เงินทุน กรณีจำเลยไม่ทำสัญญาเพิ่มเติมและลาออก
จำเลยทำหนังสือสัญญาไว้ให้แก่โจทก์ในการที่จำเลยไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกามีกำหนด 2 ปี. โดยจำเลยจะได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่ม ฯลฯ ตลอดระยะเวลาที่ไปศึกษา. เมื่อจำเลยกลับมาจากต่างประเทศแล้ว จำเลยจะทำงานให้โจทก์ไม่ต่ำกว่า 4 ปี. ถ้าหากจำเลยผิดสัญญาจำเลยยินยอมชดใช้เงินที่ได้รับไปจนครบ. ต่อมาจำเลยขอลาศึกษาต่ออีก 2 ปี. โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบว่าอนุมัติให้ลาต่ออีก 2 ปีต่อจากที่ได้รับอนุมัติครั้งแรก ได้ส่งแบบฟอร์มสัญญากับสัญญาค้ำประกันไปให้จำเลยเพื่อกรอกข้อความและทำสัญญาไว้เป็นหลักฐานให้แก่โจทก์.จำเลยไม่ยอมเซ็นสัญญา. ผลจึงมีว่าจำเลยคงได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษามีกำหนด 2 ปีในตอนแรกเท่านั้น. ต่อมาปรากฏว่าจำเลยยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งหน้าที่ตั้งแต่หมดกำหนดวันลา. และโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยไปพบกับเลขาอนุกรรมการทำการสอบสวนฐานจำเลยขัดคำสั่ง ฯลฯ. แต่จำเลยไม่มาตามกำหนด. โจทก์จึงมีคำสั่งปลดจำเลยจึงเห็นได้ว่าโจทก์สั่งปลดจำเลยภายหลังที่จำเลยยื่นใบลาออกแล้ว. ดังนี้ แม้จำเลยจะไม่ได้รับหนังสือของโจทก์.ซึ่งมีความว่า ไม่อนุมัติให้จำเลยลาออก. การที่จำเลยขอลาออกเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยเองเป็นฝ่ายผิดสัญญา. จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์ตามสัญญา.
ป.พ.พ.มาตรา 165(9) เป็นบทบัญญัติในเรื่องคนงาน ฯลฯเรียกเอาค่าจ้างและเงินอื่นอันได้ตกลงกันว่าจะจ่ายให้แทนหรือให้เป็นส่วนหนึ่งของเงินจ้าง รวมทั้งค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป. กับนายจ้างเรียกเอาเงินเช่นว่านั้นอันตนได้จ่ายล่วงหน้าไปแล้วนั้นก็ด้วยเหมือนกัน. ส่วนมาตรา166 เป็นเรื่องการเรียกเอาเงินค้างจ่ายคือเงินปีเงินเดือน ฯลฯ. โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยฐานผิดสัญญาที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้ซึ่งไม่ใช่เงินเดือนหรือเงินจ้างที่โจทก์ทดรองให้จำเลยไป. ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว.
ป.พ.พ.มาตรา 165(9) เป็นบทบัญญัติในเรื่องคนงาน ฯลฯเรียกเอาค่าจ้างและเงินอื่นอันได้ตกลงกันว่าจะจ่ายให้แทนหรือให้เป็นส่วนหนึ่งของเงินจ้าง รวมทั้งค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป. กับนายจ้างเรียกเอาเงินเช่นว่านั้นอันตนได้จ่ายล่วงหน้าไปแล้วนั้นก็ด้วยเหมือนกัน. ส่วนมาตรา166 เป็นเรื่องการเรียกเอาเงินค้างจ่ายคือเงินปีเงินเดือน ฯลฯ. โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยฐานผิดสัญญาที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้ซึ่งไม่ใช่เงินเดือนหรือเงินจ้างที่โจทก์ทดรองให้จำเลยไป. ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีเช่า และผลของการผ่อนชำระหนี้หลังหมดอายุความ สิทธิเรียกร้องค่าเช่ามีอายุความ 2 ปี
ในการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดี ศาลต้องสืบพยานตามประเด็นในข้อพิพาทซึ่งหมายถึงปัญหาใด ๆ ไม่ว่าปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่รับ และศาลจดลงไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท แล้วพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้น จำเลยให้การแก้ฟ้องเดิมของโจทก์ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ โจทก์เพิ่มเติมฟ้องว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ เพราะจำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์สองคราว เป็นการชำระหนี้บางส่วน อายุความสะดุดหยุดลงจำเลยให้การปฏิเสธไม่รับรอง คดีจึงมีประเด็นว่าจำเลยได้ชำระหนี้ให้ดังโจทก์อ้างหรือไม่ ซึ่งโจทก์ย่อมนำสืบได้ และโจทก์มีหน้าที่นำสืบได้ตามประเด็นนี้เท่านั้น โจทก์จะนำสืบถึงการที่จำเลยชำระหนี้คราวอื่นอีกไม่ได้ เป็นการสืบฟ้องนอกประเด็น
สิทธิ์เรียกร้องเอาค่าเช่าค้างโดยบุคคลจำพวกที่ค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6) มีอายุความ 2 ปี และจะฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าเช่าค้างตามหนังสือรับสภาพหนี้ก็ต้องฟ้องภายใน 2 ปีนับแต่วันรับสภาพหนี้
การรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 ต้องเป็นการรับสภาพหนี้ภายในกำหนดอายุความ ถ้าเป็นระยะเวลาที่พ้นกำหนดอายุความแล้ว ก็ไม่มีอะไรจะสะดุดหยุดลงอีก
สิทธิ์เรียกร้องเอาค่าเช่าค้างโดยบุคคลจำพวกที่ค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6) มีอายุความ 2 ปี และจะฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าเช่าค้างตามหนังสือรับสภาพหนี้ก็ต้องฟ้องภายใน 2 ปีนับแต่วันรับสภาพหนี้
การรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 ต้องเป็นการรับสภาพหนี้ภายในกำหนดอายุความ ถ้าเป็นระยะเวลาที่พ้นกำหนดอายุความแล้ว ก็ไม่มีอะไรจะสะดุดหยุดลงอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีค่าเช่าและการสะดุดหยุดของอายุความ: การผ่อนชำระหลังอายุความพ้นกำหนด
ในการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดี ศาลต้องสืบพยานตามประเด็นในข้อพิพาท ซึ่งหมายถึงปัญหาใด ๆ ไม่ว่าปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่รับ และศาลจดลงไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท แล้วพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้น จำเลยให้การแก้ฟ้องเดิมของโจทก์ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความโจทก์เพิ่มเติมฟ้องว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ เพราะจำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์สองคราวเป็นการชำระหนี้บางส่วนอายุความสะดุดหยุดลงจำเลยให้การปฏิเสธไม่รับรอง คดีจึงมีประเด็นว่าจำเลยได้ชำระหนี้ให้ดังโจทก์อ้างหรือไม่ ซึ่งโจทก์ย่อมนำสืบได้ และโจทก์มีหน้าที่นำสืบได้ตามประเด็นนี้เท่านั้น โจทก์จะนำสืบถึงการที่จำเลยชำระหนี้คราวอื่นอีกไม่ได้ เป็นการสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
สิทธิเรียกร้องเอาค่าเช่าค้างโดยบุคคลจำพวกที่ค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6) มีอายุความ 2 ปี และจะฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าเช่าค้างตามหนังสือรับสภาพหนี้ก็ต้องฟ้องภายใน 2 ปีนับแต่วันรับสภาพหนี้
การรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172ต้องเป็นการรับสภาพหนี้ภายในกำหนดอายุความ ถ้าเป็นระยะเวลาที่พ้นกำหนดอายุความแล้ว ก็ไม่มีอะไรจะสะดุดหยุดลงอีก
สิทธิเรียกร้องเอาค่าเช่าค้างโดยบุคคลจำพวกที่ค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6) มีอายุความ 2 ปี และจะฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าเช่าค้างตามหนังสือรับสภาพหนี้ก็ต้องฟ้องภายใน 2 ปีนับแต่วันรับสภาพหนี้
การรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172ต้องเป็นการรับสภาพหนี้ภายในกำหนดอายุความ ถ้าเป็นระยะเวลาที่พ้นกำหนดอายุความแล้ว ก็ไม่มีอะไรจะสะดุดหยุดลงอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1625/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับเงินเดือนข้าราชการที่ถูกไล่ออก: การหมดอายุความฟ้องละเมิด
ตามพระราชบัญญัติเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ พ.ศ. 2502 มาตรา 7(1) และพระราชบัญญัติว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนและเงินอื่นๆ ให้แก่ผู้ถูกสั่งพักราชการ พ.ศ.2488 มาตรา 5(1) นั้น เป็นเรื่องให้จ่ายเงินเดือนแก่ผู้ถูกสั่งพักราชการโดยผลของการสอบสวนปรากฏว่าข้าราชการผู้นั้นไม่มีความผิด หรือไม่มีมลทินมัวหมองเท่านั้น แต่ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ามีความผิด และทางราชการได้มีคำสั่งไล่ข้าราชการคนใดออกจากราชการไปแล้ว กรณีเช่นนี้ ตามกฎหมายดังกล่าวกลับห้ามมิให้จ่ายเงินเดือนระหว่างพักราชการให้แก่ข้าราชการซึ่งถูกไล่ออกจากราชการนั้นด้วย
กระทรวงเศรษฐการมีคำสั่งให้ไล่โจทก์ออกจากราชการฐานผิดวินัย เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องร้องต่อศาลเสียภายในกำหนดอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 จะใช้อายุความ 5 ปีตามมาตรา 166 หาได้ไม่
กระทรวงเศรษฐการมีคำสั่งให้ไล่โจทก์ออกจากราชการฐานผิดวินัย เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องร้องต่อศาลเสียภายในกำหนดอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 จะใช้อายุความ 5 ปีตามมาตรา 166 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1625/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับเงินเดือนข้าราชการพักราชการที่ถูกไล่ออก และอายุความฟ้องละเมิด
ตามพระราชบัญญัติเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการพ.ศ.2502 มาตรา 7(1) และพระราชบัญญัติว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนและเงินอื่นให้แก่ผู้ถูกสั่งพักราชการ พ.ศ.2488 มาตรา 5(1) นั้นเป็นเรื่องให้จ่ายเงินเดือนแก่ผู้ถูกสั่งพักราชการโดยผลของการสอบสวนปรากฏว่าข้าราชการผู้นั้นไม่มีความผิด หรือไม่มีมลทินมัวหมองเท่านั้นแต่ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ามีความผิด และทางราชการได้มีคำสั่งไล่ข้าราชการคนใดออกจากราชการไปแล้ว กรณีเช่นนี้ ตามกฎหมายดังกล่าวกลับห้ามมิให้จ่ายเงินเดือนระหว่างพักราชการให้แก่ข้าราชการซึ่งถูกไล่ออกจากราชการนั้นด้วย
กระทรวงเศรษฐการมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการฐานผิดวินัยเมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องร้องต่อศาลเสียภายในกำหนดอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 จะใช้อายุความ5 ปีตามมาตรา 166 หาได้ไม่
กระทรวงเศรษฐการมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการฐานผิดวินัยเมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องร้องต่อศาลเสียภายในกำหนดอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 จะใช้อายุความ5 ปีตามมาตรา 166 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้จากการกู้ยืมเงิน ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืม หรือมีการเวนคืน/แทงเพิกถอนสัญญา
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยกู้โจทก์จำเลยต่อสู้ว่าได้ชำระเงินกู้ให้โจทก์แล้วและฟ้องแย้งเรียกเงินที่ชำระเกินคืนจากโจทก์ด้วย เช่นนี้ เมื่อหนังสือสัญญากู้ยังอยู่ที่โจทก์ โดยยังมิได้แทงเพิกถอนในเอกสารว่าได้มีการชำระหนี้หรือมีเอกสารที่มีลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้มาแสดง ย่อมจะฟังว่าจำเลยได้ชำระเงินกู้แก่โจทก์แล้วหาได้ไม่
(อ้างฎีกาที่ 513/2501)
(อ้างฎีกาที่ 513/2501)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามสัญญากู้ จำเป็นต้องมีหลักฐานการรับเงินที่ชัดเจนจากผู้ให้กู้ หรือการเวนคืน/แทงเพิกถอนสัญญา
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยกู้โจทก์ จำเลยต่อสู้ว่าได้ชำระเงินกู้ให้โจทก์แล้วและฟ้องแย้งเรียกเงินที่ชำระเกินคืนจากโจทก์ด้วย เช่นนี้เมื่อหนังสือสัญญากู้ยังอยู่ที่โจทก์โดยยังมิได้แทงเพิกถอนในเอกสารว่าได้มีการชำระหนี้หรือมีเอกสารที่มีลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้มาแสดงย่อมจะฟังว่าจำเลยได้ชำระเงินกู้แก่โจทก์แล้วหาได้ไม่
(อ้างฎีกาที่ 513/2501)
(อ้างฎีกาที่ 513/2501)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายกรณีถูกปลดออกจากราชการ: ละเมิดสิทธิรับราชการ vs. ผิดสัญญาจ้าง
กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการฐานผิดวินัย แต่การสั่งตั้งกรรมการพิจารณาโทษที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการนั้นเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องละเมิดสิทธิในการรับราชการของโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่ ฉะนั้น การที่โจทก์จะฟ้องเรียกเงินเดือนที่ไม่ได้รับระหว่างถูกปลดจากราชการย่อมต้องใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 จะใช้อายุความ 5 ปี ตามมาตรา 166 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดสิทธิข้าราชการ: ไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน ใช้ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448
กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการฐานผิดวินัยแต่การสั่งตั้งกรรมการพิจารณาโทษที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการนั้นเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายดังนี้ กรณีเป็นเรื่องละเมิดสิทธิในการรับราชการของโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่ฉะนั้น การที่โจทก์จะฟ้องเรียกเงินเดือนที่ไม่ได้รับในระหว่างถูกปลดจากราชการย่อมต้องใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 จะใช้อายุความ 5 ปี ตามมาตรา 166 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค้างชำระ: สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยยังไม่ขาดอายุความ แม้ฟ้องเรียกเกิน 5 ปี
กฎหมายมิได้ห้ามคิดเอาดอกเบี้ยจากต้นเงินกู้เกิน 5 ปี เป็นแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิฟ้องเรียกดอกเบี้ยที่ค้างส่งหรือค้างชำระว่า ให้มีกำหนดอายุความ 5 ปีเท่านั้น
จำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นเป็นประเด็นต่อสู้ไว้ จะมายกข้อนี้ขึ้นในชั้นฎีกาหาได้ไม่
จำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นเป็นประเด็นต่อสู้ไว้ จะมายกข้อนี้ขึ้นในชั้นฎีกาหาได้ไม่