พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องให้การต่อสู้ชัดแจ้งในประเด็นที่โจทก์ฟ้อง หากนำสืบข้อเท็จจริงนอกประเด็น ศาลไม่รับฟัง
ศาลแรงงานกลางจะรับฟังข้อเท็จจริงใดหรือไม่ขึ้นอยู่กับคำให้การของจำเลยว่าได้ให้การต่อสู้ไว้อย่างไร แม้การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานกลางจะมีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานกลางและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 บัญญัติไว้โดยเฉพาะ แต่พระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 31 ก็บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติ นี้โดยอนุโลม การที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ไม่ได้บังคับว่าจำเลยจะต้องยื่นคำให้การ กรณีจำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การเป็นหนังสือแม้พระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 39 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลบันทึกคำให้การของจำเลย และถ้าจำเลยไม่ยอมให้การมาตรา 39 วรรคสองให้ศาลจดบันทึกไว้ ก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่ใช้บังคับเมื่อจำเลยไม่ให้การเป็นหนังสือหรือไม่ยอมให้การเท่านั้น หาใช่เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่จำเลยที่จะนำสืบพยานนอกเหนือข้อต่อสู้ในคำให้การไม่และเมื่อจำเลยให้การเป็นหนังสือก็ต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยจำเลยต้องให้การต่อสู้โดยชัดแจ้ง เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยจ่ายเงินเดือนค่าจ้างสอนให้โจทก์ไม่ครบ แล้วจำเลยให้การว่าไม่เคยจ่ายเงินเดือนไม่ครบโดยมิได้ให้การต่อสู้ว่า ที่จำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบเพราะโจทก์สมัครใจให้จำเลยหักเงินเป็นค่าบริจาคแก่นักเรียนข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบเพราะโจทก์สมัครใจให้จำเลยหักเงินดังกล่าว จึงเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงนอกประเด็นข้อพิพาท โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย โดยจำเลยจ่ายค่าจ้างให้เป็นรายเดือนมีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา ค่าจ้างนี้คือเงินเดือน อายุความที่จะเรียกร้องเอาค่าจ้างค้างจ่ายดังกล่าว มีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3212/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ดอกเบี้ยและเงินกู้: ลูกหนี้ร่วมและผู้รับผิดชอบหนี้
การเรียกเอาดอกเบี้ยค้างส่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์และรับเงินครบถ้วนเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม2518 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ย ครั้นวันที่ 1 ธันวาคม 2526 จำเลยที่ 2ถึงที่ 5 ทำสัญญารับใช้หนี้เงินกู้โดยยอมชำระดอกเบี้ยค้างส่งทั้งหมดของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 21 กันยายน2527 คดีโจทก์สำหรับหนี้ดอกเบี้ยค้างส่งจึงไม่ขาดอายุความแต่จำเลยที่ 1 มิได้ทำสัญญารับใช้หนี้เงินกู้ดังกล่าวด้วย จึงย่อมไม่ต้องถูกผูกพันโดยสัญญาดังกล่าว โจทก์มีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างส่งได้เพียงภายใน 5 ปี นับแต่วันฟ้องย้อนหลังลงไป อายุความฟ้องร้องเรียกคืนเงินกู้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3212/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้เงินกู้และดอกเบี้ย: การคำนวณอายุความตามสัญญาและข้อตกลง
การเรียกเอาดอกเบี้ยค้างส่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์และรับเงินครบถ้วนเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2518 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ย ครั้นวันที่ 1 ธันวาคม 2526 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ทำสัญญารับใช้หนี้เงินกู้โดยยอมชำระดอกเบี้ยค้างส่งทั้งหมดของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2527 คดีโจทก์สำหรับหนี้ดอกเบี้ยค้างส่งจึงไม่ขาดอายุความแต่จำเลยที่ 1 มิได้ทำสัญญารับใช้หนี้เงินกู้ดังกล่าวด้วย จึงย่อมไม่ต้องถูกผูกพันโดยสัญญาดังกล่าว โจทก์มีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างส่งได้เพียงภายใน 5 ปี นับแต่วันฟ้องย้อนหลังลงไป
อายุความฟ้องร้องเรียกคืนเงินกู้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
อายุความฟ้องร้องเรียกคืนเงินกู้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2749/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการผ่อนชำระหนี้: การเริ่มนับอายุความแต่ละงวด และผลกระทบต่อการฟ้องร้อง
เมื่อเงินประกันของโจทก์ที่จำเลยมีหน้าที่ต้องคืนโจทก์นั้นโจทก์ได้ตกลงยอมให้จำเลยผ่อนชำระคืนโจทก์เป็นงวด ๆ งวดละเดือนการที่โจทก์มาฟ้องเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลย เป็นการเรียกเอาจำนวนเงินอันพึงส่งเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ มีกำหนดเวลาแน่นอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จึงมีกำหนดอายุความห้าปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2749/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการฟ้องเรียกหนี้ผ่อนชำระ: การฟ้องเรียกแต่ละงวดมีอายุความ 5 ปีนับจากวันครบกำหนดชำระ
เมื่อเงินประกันของโจทก์ที่จำเลยมีหน้าที่ต้องคืนโจทก์นั้นโจทก์ได้ตกลงยอมให้จำเลยผ่อนชำระคืนโจทก์เป็นงวด ๆ งวดละเดือนการที่โจทก์มาฟ้องเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลย จึงเป็นการเรียกเอาจำนวนเงินอันพึงส่งเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ มีกำหนดเวลาแน่นอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 มีกำหนดอายุความห้าปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ไม่ใช่เงินปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 แต่มีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
เงินสมทบกองทุนเงินทดแทนที่นายจ้างต้องชำระให้แก่กองทุนเงินทดแทน หาใช่เงินปีตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ไม่ เมื่อไม่มีกฎหมายใดกำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ไม่ใช่เงินปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 แต่มีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 164
เงินสมทบกองทุนเงินทดแทนที่ นายจ้าง ต้อง ชำระให้แก่กองทุนเงินทดแทน หาใช่เงินปีตาม ความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ไม่ เมื่อไม่มีกฎหมายใด กำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความสิบปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้าง, การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, และขอบเขตการพิจารณาคดีแรงงานที่ไม่ผูกพันคดีอาญา
การฟ้องคดีเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เป็นการฟ้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา 49 ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติส่วนหนึ่งที่เกี่ยวด้วยการคุ้มครองแรงงาน หาใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไม่ ศาลแรงงานกลางไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
จำเลยจ่ายค่าจ้างเดือนละสองครั้ง กลางเดือนกับสิ้นเดือนโจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2525 วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างได้ย่อมเริ่มนับแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2525 เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 สิทธิเรียกร้องค่าจ้างเช่นว่านี้เกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานและเกิดแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีกำหนดอายุความสองปีตามมาตรา 165 (9)
จำเลยจ่ายค่าจ้างเดือนละสองครั้ง กลางเดือนกับสิ้นเดือนโจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2525 วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างได้ย่อมเริ่มนับแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2525 เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 สิทธิเรียกร้องค่าจ้างเช่นว่านี้เกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานและเกิดแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีกำหนดอายุความสองปีตามมาตรา 165 (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้าง, การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, และขอบเขตการพิจารณาคดีแรงงานที่แยกจากคดีอาญา
การฟ้องคดีเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เป็นการฟ้องตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานมาตรา 49 ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติส่วนหนึ่งที่เกี่ยวด้วยการคุ้มครองแรงงาน หาใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไม่ศาลแรงงานกลางไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา จำเลยจ่ายค่าจ้างเดือนละสองครั้ง กลางเดือนกับสิ้นเดือนโจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2525 วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างได้ย่อมเริ่มนับแต่วันที่ 31 ตุลาคม2525 เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169สิทธิเรียกร้องค่าจ้างเช่นว่านี้เกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานและเกิดแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีกำหนดอายุความสองปีตามมาตรา 165(9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้าง แรงงาน: ศาลแรงงานพิจารณาจากข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณา ไม่ผูกติดคำพิพากษาคดีอาญา
การฟ้องคดีเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เป็นการฟ้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา 49 ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติส่วนหนึ่งที่เกี่ยวด้วยการคุ้มครองแรงงานหาใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไม่ ศาลแรงงานกลางไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
จำเลยจ่ายค่าจ้างเดือนละสองครั้ง กลางเดือนกับสิ้นเดือนโจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2525 วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างได้ย่อมเริ่มนับแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2525เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 สิทธิเรียกร้องค่าจ้างเช่นว่านี้เกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานและเกิดแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีกำหนดอายุความสองปีตามมาตรา 165(9).
จำเลยจ่ายค่าจ้างเดือนละสองครั้ง กลางเดือนกับสิ้นเดือนโจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2525 วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างได้ย่อมเริ่มนับแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2525เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 สิทธิเรียกร้องค่าจ้างเช่นว่านี้เกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานและเกิดแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีกำหนดอายุความสองปีตามมาตรา 165(9).