คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 166

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าล่วงเวลา/ทำงานในวันหยุด: มาตรา 165(9) อายุความ 2 ปี มิใช่มาตรา 166 อายุความ 5 ปี
ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดมิใช่จำนวนที่ตกลงไว้แน่นอนแม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาก็ตาม ฉะนั้นจึงไม่อยู่ในบังคับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(8) ใช้บังคับสำหรับบุคคลผู้รับจ้างใช้การงานส่วนบุคคลเรียกร้องเอาเงินค่าจ้างเพื่อแรงงานที่ทำดังนั้นจึงใช้บังคับแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างองค์การของรัฐไม่ได้แต่เนื่องจากค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานของลูกจ้างอันถือเป็นเงินจ้างหรือค่าจ้าง กรณีจึงอยู่ในบังคับของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9) ซึ่งมีอายุความ 2 ปีเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าล่วงเวลา: การตีความ 'คนงาน' ในมาตรา 165(9) และการพิจารณาจำนวนเงินที่ไม่แน่นอน
คำว่า "หัตถกรรม" นั้น ประกอบคำว่า "โรงงาน" เพื่อให้ทราบว่าบุคคลจำพวกที่ 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (9) นี้ หมายถึงผู้ที่ทำงานประจำสถานที่ที่เรียกว่าโรงงานหัตถกรรมเท่านั้น ไม่รวมถึงสถานที่อย่างอื่นด้วย คำว่า "หัตถกรรม" หรือแม้กระทั่งคำว่า "โรงงานหัตถกรรม" หาได้ประกอบคำว่า "คนงาน" "ผู้ช่วยงาน" หรือ "ลูกมือฝึกหัด" ด้วยไม่
การที่ลูกจ้างเรียกร้องเอาค่าล่วงเวลาจากนายจ้าง โดยอ้างว่าจ่ายให้ต่ำกว่าจำนวนที่จะต้องจ่ายเช่นนี้ มีกำหนดอายุความสองปี ตามมาตรา 165 (9) เพราะถือได้ว่าเป็นกรณีคนงานเรียกร้องเอาเงินจ้าง และค่าล่วงเวลานี้ แม้จะมีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาแต่จำนวนเงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างแต่ละคนไม่แน่นอน บางเดือนมากบางเดือนน้อยไม่เท่ากัน จึงมิใช่เงินประเภทที่บัญญัติในมาตรา 166

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าล่วงเวลา: ลูกจ้างเรียกร้องค่าล่วงเวลาจากนายจ้างมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165(9) หากเป็นเงินจ้างที่ไม่แน่นอน
คำว่า 'หัตถกรรม' นั้น ประกอบคำว่า 'โรงงาน' เพื่อให้ทราบว่าบุคคลจำพวกที่ 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(9) นี้ หมายถึงผู้ที่ทำงานประจำสถานที่ที่เรียกว่าโรงงานหัตถกรรมเท่านั้นไม่รวมถึงสถานที่อย่างอื่นด้วย คำว่า 'หัตถกรรม' หรือแม้กระทั่งคำว่า'โรงงานหัตถกรรม' หาได้ประกอบคำว่า 'คนงาน''ผู้ช่วยงาน' หรือ 'ลูกมือฝึกหัด' ด้วยไม่
การที่ลูกจ้างเรียกร้องเอาค่าล่วงเวลาจากนายจ้าง โดยอ้างว่าจ่ายให้ต่ำกว่าจำนวนที่จะต้องจ่ายเช่นนี้ มีกำหนดอายุความสองปี ตามมาตรา 165(9) เพราะถือได้ว่าเป็นกรณีคนงานเรียกร้องเอาเงินจ้าง และค่าล่วงเวลานี้ แม้จะมีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาแต่จำนวนเงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างแต่ละคนไม่แน่นอน บางเดือนมากบางเดือนน้อยไม่เท่ากันจึงมิใช่เงินประเภทที่บัญญัติในมาตรา 166

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาผ่อนชำระหนี้: การฟ้องเรียกหนี้ที่เกิน 5 ปี ถือขาดอายุความ
ในสัญญากู้ที่โจทก์อาศัยเป็นหลักฐานฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ต้นเงินกู้นั้นได้มีข้อตกลงให้จำเลยผ่อนส่งได้เป็น รายเดือน ๆ ละ 500 บาท และต่อมาจำเลยยังได้นำเอาหมูตีใช้หนี้ไปแล้วคิดเป็นเงิน 3,500 บาท คงค้างชำระอีก 9,000 บาท ดังนี้ การฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระต้นเงินตามสัญญากู้ตามฟ้องจึงถือได้ว่า เรียกเอาจำนวนเงินอันพึงส่งนอกจากดอกเบี้ย เพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ อันมีกำหนดอายุความห้าปี ตามนัยที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องหนี้เงินกู้รายเดือน: การผ่อนชำระเป็นงวดๆ มีอายุความ 5 ปี
ในสัญญากู้ที่โจทก์อาศัยเป็นหลักฐานฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ต้นเงินกู้นั้นได้มีข้อตกลงให้จำเลยผ่อนส่งได้เป็นรายเดือน ๆ ละ 500 บาท และต่อมาจำเลยยังได้นำเอาหมูตีใช้หนี้ไปแล้วคิดเป็นเงิน 3,500 บาท คงค้างชำระอีก9,000 บาท ดังนี้ การฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระต้นเงินตามสัญญากู้ตามฟ้องจึงถือได้ว่า เรียกเอาจำนวนเงินอันพึงส่งนอกจากดอกเบี้ยเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ อันมีกำหนดอายุความห้าปี ตามนัยที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2687/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นเป็นโมฆะ แต่ดอกเบี้ยธรรมดาตามสัญญากู้ไม่เป็นโมฆะ และศาลไม่ยกอายุความขึ้นวินิจฉัยหากจำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้
สัญญากู้กล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ยไว้สองข้อคือ ข้อ 2. ว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือนนับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป และข้อ 5. ว่าถ้าหากผิดสัญญาชำระดอกเบี้ยผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ด้วย ดังนี้ ข้อสัญญาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 เฉพาะการคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญากู้ข้อ 5 เท่านั้น แต่การคิดดอกเบี้ยตามข้อ 2 ไม่เป็นโมฆะ เพราะเป็นการคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
แม้มาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติให้เรียกดอกเบี้ยค้างส่งได้ภายในกำหนดห้าปี แต่ปรากฏว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นสู้ไว้ ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2687/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นเป็นโมฆะ แต่ดอกเบี้ยธรรมดาไม่เป็นโมฆะ และศาลไม่ยกอายุความขึ้นวินิจฉัยเอง
สัญญากู้กล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ยไว้สองข้อคือ ข้อ 2 ว่าผู้กู้ ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือนนับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป และข้อ 5 ว่าถ้าหากผิดสัญญาชำระดอกเบี้ยผู้กู้ยอมให้ ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ด้วย ดังนี้ ข้อสัญญาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 เฉพาะการคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญากู้ข้อ 5 เท่านั้นแต่การคิดดอกเบี้ยตามข้อ 2 ไม่เป็นโมฆะเพราะเป็นการคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
แม้มาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติให้เรียกดอกเบี้ยค้างส่งได้ภายในกำหนดห้าปี แต่ปรากฏว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเล่นแชร์: ความรับผิดของหัวหน้าวงแชร์แม้ลูกวงแชร์ชำระหนี้ด้วยเช็คแล้วแต่เช็คถูกปฏิเสธ
โจทก์จำเลยทั้งสองกับพวกได้เล่นแชร์กัน โดยจำเลยทั้งสองได้ทำหนังสือสัญญาให้โจทก์มีใจความว่า จำเลยทั้งสองเป็นหัวหน้าก่อตั้งวงแชร์ หากจำเลยทั้งสองหรือสมาชิกแชร์วงนี้ไม่ชำระหนี้ ประพฤติผิดสัญญาหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ด้วยเหตุใดก็ตาม จำเลยขอรับผิดชอบชดใช้หนี้ให้แก่โจทก์แทนจนครบถ้วน ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าลูกวงแชร์จ่ายเช็คชำระค่าแชร์ให้แก่โจทก์ 2 ฉบับ ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าว โจทก์จึงยังไม่ได้รับชำระหนี้ หนี้เดิมตามสัญญาเล่นแชร์จึงยังไม่ระงับไป และแม้โจทก์จะมิได้ดำเนินการใด ๆ กับผู้ออกเช็คจนเช็คขาดอายุความ ก็หาเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองพ้นความรับผิดตามสัญญาเล่นแชร์ที่ทำไว้กับโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเล่นแชร์: ความรับผิดของหัวหน้าวงแชร์แม้เช็คไม่ผ่าน – หนี้ไม่ระงับแม้ไม่ฟ้องผู้ออกเช็ค
โจทก์จำเลยทั้งสองกับพวกได้เล่นแชร์กัน โดยจำเลยทั้งสองได้ทำหนังสือสัญญาให้โจทก์มีใจความว่า จำเลยทั้งสองเป็นหัวหน้าก่อตั้งวงแชร์ หากจำเลยทั้งสองหรือสมาชิกแชร์วงนี้ไม่ชำระหนี้ ประพฤติผิดสัญญาหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จะด้วยเหตุใดก็ตาม จำเลยขอรับผิดชอบชดใช้หนี้ให้แก่โจทก์แทนจนครบถ้วน ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าลูกวงแชร์จ่ายเช็คชำระค่าแชร์ให้แก่โจทก์ 2 ฉบับธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าว โจทก์จึงยังไม่ได้รับชำระหนี้ หนี้เดิมตามสัญญาเล่นแชร์จึงยังไม่ระงับไป และแม้โจทก์จะมิได้ดำเนินการใด ๆ กับผู้ออกเช็คจนเช็คขาดอายุความ ก็หาเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองพ้นความรับผิดตามสัญญาเล่นแชร์ที่ทำไว้กับโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่ากระแสไฟฟ้า: การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไม่ใช่พ่อค้า, ใช้ อายุความ 10 ปี
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดำเนินกิจการสาธารณูปโภคตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ.2503 มิใช่เป็นพ่อค้าตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) การเรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้าจึงไม่ใช่มีอายุความเพียง 2 ปี และโดยที่ค่ากระแสไฟฟ้าประจำเดือนมิใช่จำนวนเงินที่ตกลงกันไว้แน่นอน แม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา กรณีก็ไม่ต้องด้วยอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 166 จึงต้องนำอายุความทั่วไปมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 164 มาใช้บังคับในเรื่องสิทธิเรียกร้องค่ากระแสไฟฟ้า
of 13