คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 166

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ: สิทธิเรียกร้องค่าเช่าและข้อต่อสู้, อายุความค่าเช่า, การบอกเลิกสัญญา
โจทก์ให้จำเลยเช่าตึกแถวไม่มีหนังสือเช่า จำเลยยกขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ ไม่แต่เพียงฟ้องผู้เช่าไม่ได้เท่านั้น
อายุความฟ้องเรียกค่าเช่าตึกแถวรายเดือนที่ค้างชำระมีอายุความ 5 ปี ตาม มาตรา166
การบอกเลิกสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องค่าไฟฟ้าไม่เคลือบคลุม อายุความ 10 ปี เหตุเป็นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไม่ใช่พ่อค้า
ฟ้องเรียกเงินค่ากระแสไฟฟ้าที่ค้างชำระ แม้ไม่บรรยายว่าจำเลย ใช้ไฟฟ้าจากเลขวัดหน่วยที่เท่าใดถึงหน่วยที่เท่าใด ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุมเพราะเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบ
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์ดำเนินกิจการสาธารณูปโภคซึ่งต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ประโยชน์ของรัฐและประชาชน ดังที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพ.ศ.2503 มาตรา 6,8,41 หาใช่เป็นการประกอบกิจการค้าหากำไรตามปกติไม่ โจทก์จึงมิใช่เป็นพ่อค้าตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) สิทธิเรียกร้องค่ากระแสไฟฟ้าของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี และโดยที่ค่ากระแสไฟฟ้าประจำเดือนมิใช่จำนวนเงินที่ตกลงไว้แน่นอน แม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลากรณีก็ไม่ต้องด้วยอายุความห้าปีตามมาตรา 166 จึงต้องนำอายุความทั่วไปซึ่งมีกำหนดสิบปีตามมาตรา 164มาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าไฟฟ้า-กิจการไฟฟ้าสาธารณูปโภค-ฟ้องเคลือบคลุม: ศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องอายุความและรายละเอียดฟ้อง
ฟ้องเรียกเงินค่ากระแสไฟฟ้าที่ค้างชำระ แม้ไม่บรรยายว่าจำเลยใช้ไฟฟ้าจากเลขวัดหน่วยที่เท่าใดถึงหน่วยที่เท่าใดก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบ
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์ดำเนินกิจการสาธารณูปโภคซึ่งต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ประโยชน์ของรัฐและประชาชนดังที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ.2503 มาตรา 6, 8, 41 หาใช่เป็นการประกอบกิจการค้าหากำไรตามปกติไม่ โจทก์จึงมิใช่เป็นพ่อค้าตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) สิทธิเรียกร้องค่ากระแสไฟฟ้าของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี และโดยที่ค่ากระแสไฟฟ้าประจำเดือนมิใช่จำนวนเงินที่ตกลงไว้แน่นอน แม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลากรณีก็ไม่ต้องด้วยอายุความห้าปีตามมาตรา 166 จึงต้องนำอายุความทั่วไปซึ่งมีกำหนดสิบปีตามมาตรา 164 มาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนังสือรับสภาพหนี้: ฟ้องข้าม 5 ปี คดีขาดอายุความ
ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้เงินดอกเบี้ยที่ค้างให้โจทก์ ต่อมาลูกหนี้ตายโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทของลูกหนี้ให้รับผิดต่อโจทก์เกินกว่า 5 ปีนับแต่วันที่ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาโอนสิทธิ์เช่า: เงินค่าตอบแทนไม่ใช่เงินผ่อนทุน แต่เป็นผลประโยชน์จากการทำสัญญา ใช้ อายุความ 10 ปี
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาโอนสิทธิ์การเช่าตึกแถวซึ่งโจทก์ทำการก่อสร้างในที่ดินของผู้อื่นให้แก่จำเลย เพื่อเป็นค่าตอบแทน จำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งโดยจ่ายบางส่วนในวันทำสัญญา และในวันเข้าอยู่ในตึกแถว ส่วนที่เหลือตกลงแบ่งชำระกันเป็น 2 งวด งวดแรกชำระแล้ว คงค้างชำระงวดหลังซึ่งนานเกิน 5 ปีแล้ว ดังนี้ เงินตามสัญญาที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์นั้นเป็นค่าตอบแทนในการที่โจทก์ยอมตกลงทำสัญญาให้จำเลยได้รับโอนสิทธิ์การเช่าตึกแถวซึ่งตามปกติธรรมดาแล้วจำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ทั้งหมด แต่เพื่อผ่อนผันแบ่งเบาภาระให้จำเลย จึงได้ทำสัญญาเป็นแบ่งงวดชำระ จำนวนเงินดังกล่าวเป็นผลประโยชน์ที่โจทก์ควรจะได้รับจากการที่ยอมให้จำเลยเข้าทำสัญญาเช่าตึกแถว มิใช่เงินอันพึงส่งเพื่อผ่อนทุนคืนโดยตรงเป็นงวด ๆ และไม่ใช่การเรียกเอาเงินค้างจ่าย เช่น เงินปี เงินเดือนหรือเงินอื่น ๆ ที่เป็นทำนองเดียวกันที่มีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา จึงไม่เป็นสิทธิ์เรียกร้องที่กำหนดอายุความไว้ 5 ปี ตามความในมาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิ์เรียกร้องของโจทก์เข้าลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เฉพาะเป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความทั่วไปกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องจากสัญญาเช่าและการโอนสิทธิเช่า: สิทธิเรียกร้องลักษณะสัญญาต่างตอบแทนมีอายุความ 10 ปี
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าตึกแถวซึ่งโจทก์ทำการก่อสร้างในที่ดินของผู้อื่นให้แก่จำเลย เพื่อเป็นค่าตอบแทน จำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งโดยจ่ายบางส่วนในวันทำสัญญาและในวันเข้าอยู่ในตึกแถวส่วนที่เหลือตกลงแบ่งชำระกันเป็น 2 งวด งวดแรกชำระแล้ว คงค้างชำระงวดหลังซึ่งนานเกิน 5 ปีแล้ว ดังนี้เงินตามสัญญาที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์นั้นเป็นค่าตอบแทนในการที่โจทก์ยอมตกลงทำสัญญาให้จำเลยได้รับโอนสิทธิการเช่าตึกแถวซึ่งตามปกติธรรมดาแล้วจำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ทั้งหมด แต่เพื่อผ่อนผันแบ่งเบาภาระให้จำเลย จึงได้ทำสัญญาเป็นแบ่งงวดชำระ จำนวนเงินดังกล่าวเป็นผลประโยชน์ที่โจทก์ควรจะได้รับจากการที่ยอมให้จำเลยเข้าทำสัญญาเช่าตึกแถว มิใช่เงินอันพึงส่งเพื่อผ่อนทุนคืนโดยตรงเป็นงวดๆ และไม่ใช่การเรียกเอาเงินค้างจ่าย เช่น เงินปีเงินเดือน หรือเงินอื่นๆ ที่เป็นทำนองเดียวกันที่มีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา จึงไม่เป็นสิทธิเรียกร้องที่กำหนดอายุความไว้ 5 ปี ตามความในมาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิเรียกร้องของโจทก์เข้าลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เฉพาะเป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความทั่วไปกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 720/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุมและการยกอายุความ: ศาลฎีกาชี้ว่ารายละเอียดมูลหนี้ไม่จำเป็นต้องระบุในฟ้อง และอายุความเป็นข้อต่อสู้ต้องยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
ฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ ซึ่งโจทก์ได้ส่งสำเนาสัญญากู้มาพร้อมกับฟ้องแล้วแม้ในฟ้องจะได้กล่าวถึงที่มาหรือมูลหนี้ของสัญญากู้ฉบับที่โจทก์ฟ้อง แต่ไม่ได้กล่าวรายละเอียดต่าง ๆ ของที่มาหรือมูลหนี้นั้นไว้ด้วย ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ปัญหาการเรียกดอกเบี้ยค้างชำระได้เกิน 5 ปีหรือไม่ เป็นปัญหาเรื่องอายุความซึ่งศาลจะหยิบยกขึ้นพิจารณาได้ก็ต่อเมื่อจำเลยได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ฉะนั้นปัญหาเรื่องอายุความจึงมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์จึงฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 720/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม-อายุความ: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการกล่าวถึงที่มาของหนี้ในฟ้องไม่จำเป็นต้องละเอียด และอายุความเป็นข้อต่อสู้ต้องยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
ฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ ซึ่งโจทก์ได้ส่งสำเนาสัญญากู้มาพร้อมกับฟ้องแล้วแม้ในฟ้องจะได้กล่าวถึงที่มาหรือมูลหนี้ของสัญญากู้ฉบับที่โจทก์ฟ้อง แต่ไม่ได้กล่าวรายละเอียดต่างๆ ของที่มาหรือมูลหนี้นั้นไว้ด้วย ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ปัญหาการเรียกดอกเบี้ยค้างชำระได้เกิน 5 ปีหรือไม่ เป็นปัญหาเรื่องอายุความ ซึ่งศาลจะหยิบยกขึ้นพิจารณาได้ก็ต่อเมื่อจำเลยได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ฉะนั้น ปัญหาเรื่องอายุความจึงมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ จึงฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้จากการเปลี่ยนแปลงวิธีการชำระหนี้ การเรียกร้องหนี้แต่ละงวด
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ ครั้นวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2506 จำเลยทำหนังสือรับรองหนี้สินว่ายังเป็นหนี้โจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงินจำนวนหนึ่ง และยอมผ่อนชำระให้โจทก์เป็นรายเดือนภายในสิ้นเดือนของทุกๆเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2506 เป็นต้นไป ถือได้ว่าหนังสือรับรองหนี้สินดังกล่าวนี้ โจทก์จำเลยตกลงเปลี่ยนวิธีการชำระหนี้ใหม่ โดยเรียกเอาดอกเบี้ยค้างส่งและเรียกเอาจำนวนเงินอันจะพึงส่งเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินคืนได้แต่ละงวด งวดละเดือนเริ่มแต่วันที่ 31 มีนาคม 2506 เป็นต้นไป จน ถึงวันที่ 30 เมษายน 2508 เป็นงวดสุดท้าย แต่โจทก์เพิ่งฟ้องคดีเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2513เป็นเวลาเกิน 5 ปี นับแต่กำหนดวันชำระงวดสุดท้ายเป็นต้นมาฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้จากการเปลี่ยนแปลงวิธีการชำระหนี้
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ ครั้นวันที่ 25กุมภาพันธ์ 2506 จำเลยทำหนังสือรับรองหนี้สินว่ายังเป็นหนี้โจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงินจำนวนหนึ่ง และยอมผ่อนชำระให้โจทก์เป็นรายเดือนภายในสิ้นเดือนของทุกๆเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2506 เป็นต้นไป ถือได้ว่าหนังสือรับรองหนี้สินดังกล่าวนี้ โจทก์จำเลยตกลงเปลี่ยนวิธีการชำระหนี้ใหม่ โดยเรียกเอาดอกเบี้ยค้างส่ง และเรียกเอาจำนวนเงินอันจะพึงส่ง เพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินคืนได้แต่ละงวด งวดละเดือน เริ่มแต่วันที่ 31 มีนาคม 2506 เป็นต้นไป จน ถึงวันที่ 30 เมษายน 2508 เป็นงวดสุดท้าย แต่โจทก์เพิ่งฟ้องคดีเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2513 เป็นเวลาเกิน 5 ปี นับแต่กำหนดวันชำระงวดสุดท้ายเป็นต้นมา ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166
of 13