คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 166

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 554/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เบิกเงินเกินบัญชี ดอกเบี้ยทบต้น และอายุความฟ้องร้อง
ในกรณีที่ธนาคารโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ให้ร่วมกันใช้หนี้เบิกเงินเกินบัญชี ซึ่งต่อมาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การขาดนัดพิจารณาและมิได้อุทธรณ์ฎีกานั้น เมื่อมูลกรณีเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้ของลูกหนี้ร่วมอันไม่อาจแบ่งแยกได้ และศาลฎีกาเห็นว่าศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสามร่วมกันเสียดอกเบี้ยทบต้นไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาก็ย่อมให้คำพิพากษาที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยทบต้นมีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) และมาตรา 247
จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารโจทก์โดยมีข้อตกลงว่าหากจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงิน และเงินมีไม่พอจ่าย ก็ให้ธนาคารโจทก์ถือจ่ายไปตามคำสั่ง เป็นเงินเท่าใดให้ถือว่ายอดเงินที่จ่ายเกินนั้นเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชี โดยจำเลยยอมให้คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนดังนั้น ระหว่างระยะเวลาที่จำเลยเบิกเงินเกินบัญชี จนถึงวันที่ธนาคารโจทก์ทวงถามและถือว่าจำเลยผิดนัดนั้น ดอกเบี้ยทบต้นที่ธนาคารโจทก์คิดเอากับจำเลยตามข้อตกลงจึงกลายเป็นต้นเงิน ฉะนั้น ในกรณีที่ธนาคารโจทก์ฟ้องเรียกเงินดอกเบี้ยจากจำเลยก่อนผิดนัดจึงเป็นเรื่องฟ้องเรียกต้นเงิน ไม่ใช่เรียกดอกเบี้ยค้างส่ง (ต้องใช้อายุความตามมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หาใช่ตามมาตรา 166 ไม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 554/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เบิกเงินเกินบัญชี, ดอกเบี้ยทบต้น, อายุความฟ้องเรียกต้นเงิน, ลูกหนี้ร่วม, การเลิกสัญญา
ในกรณีที่ธนาคารโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ให้ร่วมกันใช้หนี้เบิกเงินเกินบัญชี ซึ่งต่อมาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การขาดนัดพิจารณาและมิได้อุทธรณ์ฎีกานั้น เมื่อมูลกรณีเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้ของลูกหนี้ร่วมอันไม่อาจแบ่งแยกได้ และศาลฎีกาเห็นว่าศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสามร่วมกันเสียดอกเบี้ยทบต้นไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาก็ย่อมให้คำพิพากษาที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยทบต้นมีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) และมาตรา 247
จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารโจทก์โดยมีข้อตกลงว่าหากจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงิน และเงินมีไม่พอจ่ายก็ให้ธนาคารโจทก์ถือจ่ายไปตามคำสั่ง เป็นเงินเท่าใดให้ถือว่ายอดเงินที่จ่ายเกินนั้นเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชี โดยจำเลยยอมให้คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือน ดังนั้น ระหว่างระยะเวลาที่จำเลยเบิกเงินเกินบัญชี จนถึงวันที่ธนาคารโจทก์ทวงถามและถือว่าจำเลยผิดนัดนั้น ดอกเบี้ยทบต้นที่ธนาคารโจทก์คิดเอากับจำเลยตามข้อตกลงจึงกลายเป็นต้นเงิน ฉะนั้น ในกรณีที่ธนาคารโจทก์ฟ้องเรียกเงินดอกเบี้ยจากจำเลยก่อนผิดนัดจึงเป็นเรื่องฟ้องเรียกต้นเงิน ไม่ใช่เรียกดอกเบี้ยค้างส่ง (ต้องใช้อายุความตาม มาตรา 164แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หาใช่ตามมาตรา 166 ไม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้, สัญญาค้ำประกัน, เบิกเกินบัญชี, อายุความดอกเบี้ย, การพิสูจน์ลายมือชื่อ
สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันที่ทำขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ของธนาคาร. และจำเลยได้ลงชื่อในสัญญานั้นด้วย. เมื่อศาลได้พิจารณาสัญญาดังกล่าวนี้เปรียบเทียบกับลายเซ็นตัวอย่างที่จำเลยมอบให้ธนาคารไว้และกับลายเซ็นของจำเลยในใบแต่งทนายแล้ว. เชื่อว่าเป็นลายเซ็นของบุคคลคนเดียวกัน ประกอบกับมีพยานบุคคลมายืนยันด้วย. สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันจึงไม่ใช่สัญญาปลอม.
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีในวงเงิน 50,000 บาท. ต่อมาจำเลยได้นำเงินเข้าบัญชีผลักใช้หนี้เป็นคราวๆ แสดงถึงฐานะของจำเลยว่ามีทางจะชำระหนี้ได้. ธนาคารจึงยอมให้เบิกเงินเกินกว่าสัญญากู้อันเป็นประเพณีของธนาคาร. การเบิกเงินเกินบัญชีนี้ถือว่าเป็นเรื่องของบัญชีเดินสะพัด.ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ. จำเลยเบิกเงินไปมากกว่าวงเงินที่ทำสัญญากู้ไว้ ต้องรับผิดในยอดเงินที่เกินนั้น. ส่วนผู้ค้ำประกันคงต้องรับผิดในวงเงินเท่าที่ทำสัญญาค้ำประกันไว้เท่านั้น.
อายุความใช้สิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยค้างส่ง. เมื่อจำเลยไม่ได้ยกเอาอายุความขึ้นต่อสู้.เรื่องดอกเบี้ยนี้ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน. ธนาคารจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเกินกว่า 5 ปี. ทั้งนี้จะเรียกดอกเบี้ยทบต้นได้เฉพาะที่ลูกหนี้ยังไม่ได้ผิดนัด. เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ต่อแต่นั้นไปเจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้. คงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยตามธรรมดา(ฎีกาที่ 658-659/2511).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญากู้และการค้ำประกัน, การเบิกเงินเกินบัญชี, และดอกเบี้ย
สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันที่ทำขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ของธนาคาร และจำเลยได้ลงชื่อในสัญญานั้นด้วย เมื่อศาลได้พิจารณาสัญญาดังกล่าวนี้เปรียบเทียบกันลายเซ็นตัวอย่างที่จำเลยมอบให้ธนาคารไว้ และกับลายเซ็นของจำเลยในใบแต่งทนายแล้ว เชื่อว่าลายเซ็นของบุคคลคนเดียวกัน ประกอบกับมีพยานบุคคลมายืนยันด้วย สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันจึงไม่ใช่สัญญาปลอม
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีในวงเงิน 50,000 บาท ต่อมาจำเลยได้นำเงินเข้าบัญชีผลักใช้หนี้เป็นคราวๆ ถึงฐานะของจำเลยว่ามีทางจะชำระหนี้ได้ ธนาคารจึงยอมให้เบิกเงินเกินบัญชีสัญญากู้อันเป็นประเพณีของธนาคาร การเบิกเงินเกินกว่านี้ถือว่าเป็นเรื่องของบัญชีเดินสะพัดซึ่งไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ จำเลยเบิกเงินไปมากกว่าวงเงินที่ทำสัญญากู้ไว้ ต้องรับผิดในยอดเงินที่เกินนั้น ส่วนผู้ค้ำประกันคงต้องรับผิดในวงเงินเท่าที่ทำสัญญาค้ำประกันไว้เท่านั้น
อายุความใช้สิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยค้างส่ง เมื่อจำเลยไม่ได้ยกเอาอายุความขึ้นต่อสู้ เรื่องดอกเบี้ยนี้ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ธนาคารจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเกินกว่า 5 ปี ทั้งนี้จะเรียกดอกเบี้ยทบต้นได้เฉพาะที่ลูกหนี้ยังไม่ได้ผิดนัด เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ต่อแต่นั้นไปเจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ คงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยตามธรรมดา (ฎีกาที่ 658 - 659/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้และค้ำประกัน, การเบิกเงินเกินบัญชี, ดอกเบี้ยทบต้น, อายุความ, และการพิสูจน์ลายมือชื่อ
สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันที่ทำขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ของธนาคารและจำเลยได้ลงชื่อในสัญญานั้นด้วย เมื่อศาลได้พิจารณาสัญญาดังกล่าวนี้เปรียบเทียบกับลายเซ็นตัวอย่างที่จำเลยมอบให้ธนาคารไว้และกับลายเซ็นของจำเลยในใบแต่งทนายแล้ว เชื่อว่าเป็นลายเซ็นของบุคคลคนเดียวกัน ประกอบกับมีพยานบุคคลมายืนยันด้วย สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันจึงไม่ใช่สัญญาปลอม
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีในวงเงิน 50,000 บาท ต่อมาจำเลยได้นำเงินเข้าบัญชีผลักใช้หนี้เป็นคราวๆ แสดงถึงฐานะของจำเลยว่ามีทางจะชำระหนี้ได้ ธนาคารจึงยอมให้เบิกเงินเกินกว่าสัญญากู้อันเป็นประเพณีของธนาคาร การเบิกเงินเกินบัญชีนี้ถือว่าเป็นเรื่องของบัญชีเดินสะพัด ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ จำเลยเบิกเงินไปมากกว่าวงเงินที่ทำสัญญากู้ไว้ ต้องรับผิดในยอดเงินที่เกินนั้น ส่วนผู้ค้ำประกันคงต้องรับผิดในวงเงินเท่าที่ทำสัญญาค้ำประกันไว้เท่านั้น
อายุความใช้สิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยค้างส่ง เมื่อจำเลยไม่ได้ยกเอาอายุความขึ้นต่อสู้ เรื่องดอกเบี้ยนี้ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ธนาคารจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเกินกว่า 5 ปี ทั้งนี้จะเรียกดอกเบี้ยทบต้นได้เฉพาะที่ลูกหนี้ยังไม่ได้ผิดนัด เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ต่อแต่นั้นไปเจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ คงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยตามธรรมดา(ฎีกาที่ 658-659/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเช่า: มาตรา 166 เป็นบททั่วไปใช้บังคับกับคดีค่าเช่าค้างชำระ แม้มีบทบัญญัติเฉพาะในลักษณะเช่าทรัพย์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 อยู่ในลักษณะ 6เรื่องอายุความในบรรพ 1 อันว่าด้วยหลักทั่วไป ซึ่งระบุไว้ชัดถึงการฟ้องเรียกค่าเช่าทรัพย์สินค้างส่ง ส่วนมาตรา 563 เป็นบทบัญญัติอยู่ในหมวด 3 เรื่องหน้าที่และความรับผิดของผู้เช่าในลักษณะเช่าทรัพย์แห่งบรรพ 3 อันว่าด้วยเอกเทศสัญญา ข้อความที่ว่าผู้ให้เช่าจะฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่านั้น ย่อมหมายถึงการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้เช่าโดยทั่วไป เมื่อมาตรา 166 ซึ่งเป็นบททั่วไปได้บัญญัติถึงเรื่องค่าเช่าค้างส่งไว้ชัดแจ้งโดยเฉพาะ จึงต้องยกมาใช้ปรับแก่คดี แม้มาตรา 563 จะอยู่ในลักษณะเช่าทรัพย์ ก็หาได้ลบล้างมาตรา 166 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเช่าทรัพย์: มาตรา 166 เป็นบททั่วไปที่ใช้บังคับ แม้มีบทบัญญัติเฉพาะในลักษณะเช่าทรัพย์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 อยู่ในลักษณะ 6เรื่องอายุความในบรรพ 1 อันว่าด้วยหลักทั่วไปซึ่งระบุไว้ชัดถึงการฟ้องเรียกค่าเช่าทรัพย์สินค้างส่งส่วนมาตรา 563 เป็นบทบัญญัติอยู่ในหมวด 3 เรื่องหน้าที่และความรับผิดของผู้เช่าในลักษณะเช่าทรัพย์แห่งบรรพ 3 อันว่าด้วยเอกเทศสัญญาข้อความที่ว่าผู้ให้เช่าจะฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่านั้นย่อมหมายถึงการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้เช่าโดยทั่วไปเมื่อมาตรา 166 ซึ่งเป็นบททั่วไปได้บัญญัติถึงเรื่องค่าเช่าค้างส่งไว้ชัดแจ้งโดยเฉพาะ จึงต้องยกมาใช้ปรับแก่คดีแม้มาตรา 563 จะอยู่ในลักษณะเช่าทรัพย์ ก็หาได้ลบล้างมาตรา 166 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องเรียกค่าเช่า: เลือกใช้บทบัญญัติทั่วไป (มาตรา 166) เมื่อมีบทบัญญัติเฉพาะเจาะจง (มาตรา 563) แล้ว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 อยู่ในลักษณะ 6เรื่องอายุความในบรรพ 1 อันว่าด้วยหลักทั่วไป. ซึ่งระบุไว้ชัดถึงการฟ้องเรียกค่าเช่าทรัพย์สินค้างส่ง. ส่วนมาตรา 563 เป็นบทบัญญัติอยู่ในหมวด 3 เรื่องหน้าที่และความรับผิดของผู้เช่าในลักษณะเช่าทรัพย์แห่งบรรพ 3 อันว่าด้วยเอกเทศสัญญา. ข้อความที่ว่าผู้ให้เช่าจะฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่านั้น. ย่อมหมายถึงการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้เช่าโดยทั่วไป. เมื่อมาตรา 166 ซึ่งเป็นบททั่วไปได้บัญญัติถึงเรื่องค่าเช่าค้างส่งไว้ชัดแจ้งโดยเฉพาะ จึงต้องยกมาใช้ปรับแก่คดี. แม้มาตรา 563 จะอยู่ในลักษณะเช่าทรัพย์ ก็หาได้ลบล้างมาตรา 166 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาหลังได้รับอนุมัติลาศึกษาต่อ และผลของการไม่ทำสัญญาเพิ่มเติม
จำเลยทำหนังสือสัญญาไว้ให้แก่โจทก์ในการที่จำเลยไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกามีกำหนด 2 ปี โดยจำเลยจะได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่ม ฯลฯ ตลอดระยะเวลาที่ไปศึกษา เมื่อจำเลยกลับมาจากต่างประเทศแล้ว จำเลยจะทำงานให้โจทก์ไม่ต่ำกว่า 4 ปี ถ้าหากจำเลยผิดสัญญาจำเลยยินยอมชดใช้เงินที่ได้รับไปจนครบ ต่อมาจำเลยขอลาศึกษาต่ออีก 2 ปี โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบว่าอนุมัติให้ลาต่ออีก 2 ปีต่อจากที่ได้รับอนุมัติครั้งแรก ได้ส่งแบบฟอร์มสัญญากับสัญญาค้ำประกันไปให้จำเลยเพื่อกรอกข้อความและทำสัญญาไว้เป็นหลักฐานให้แก่โจทก์จำเลยไม่ยอมเซ็นสัญญา ผลจึงมีว่าจำเลยคงได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษามีกำหนด 2 ปีในตอนแรกเท่านั้นต่อมาปรากฏว่าจำเลยยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งหน้าที่ตั้งแต่หมดกำหนดวันลา และโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยไปพบกับเลขาอนุกรรมการทำการสอบสวนฐานจำเลยขัดคำสั่ง ฯลฯ แต่จำเลยไม่มาตามกำหนด โจทก์จึงมีคำสั่งปลดจำเลยจึงเห็นได้ว่าโจทก์สั่งปลดจำเลยภายหลังที่จำเลยยื่นใบลาออกแล้ว ดังนี้ แม้จำเลยจะไม่ได้รับหนังสือของโจทก์ซึ่งมีความว่า ไม่อนุมัติให้จำเลยลาออก การที่จำเลยขอลาออกเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยเองเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์ตามสัญญา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9) เป็นบทบัญญัติในเรื่องคนงาน ฯลฯ เรียกเอาค่าจ้างและเงินอื่นอันได้ตกลงกันว่าจะจ่ายให้แทนหรือให้เป็นส่วนหนึ่งของเงินจ้าง รวมทั้งค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป กับนายจ้างเรียกเอาเงินเช่นว่านั้นอันตนได้จ่ายล่วงหน้าไปแล้วนั้นก็ด้วยเหมือนกันส่วนมาตรา166 เป็นเรื่องการเรียกเอาเงินค้างจ่ายคือเงินปีเงินเดือน ฯลฯ โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยฐานผิดสัญญาที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้ซึ่งไม่ใช่เงินเดือนหรือเงินจ้างที่โจทก์ทดรองให้จำเลยไป ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาการศึกษาและทำงานชดใช้เงิน - การอนุมัติลาต่อต้องทำสัญญาเป็นหลักฐาน
จำเลยทำหนังสือสัญญาไว้ให้แก่โจทก์ในการที่จำเลยไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกามีกำหนด 2 ปี โดยจำเลยจะได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่ม ฯลฯ ตลอดระยะเวลาที่ไปศึกษา เมื่อจำเลยกลับมาจากต่างประเทศแล้ว จำเลยจะทำงานให้โจทก์ไม่ต่ำกว่า 4 ปี. ถ้าหากจำเลยผิดสัญญาจำเลยยินยอมชดใช้เงินที่ได้รับไปจนครบ ต่อมาจำเลยขอลาศึกษาต่ออีก 2 ปี โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบว่าอนุมัติให้ลาต่ออีก 2 ปีต่อจากที่ได้รับอนุมัติครั้งแรก ได้ส่งแบบฟอร์มสัญญากับสัญญาค้ำประกันไปให้จำเลยเพื่อกรอกข้อความและทำสัญญาไว้เป็นหลักฐานให้แก่โจทก์ จำเลยไม่ยอมเซ็นสัญญา ผลจึงมีว่าจำเลยคงได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษามีกำหนด 2 ปีในตอนแรกเท่านั้น ต่อมาปรากฏว่าจำเลยยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งหน้าที่ตั้งแต่หมดกำหนดวันลา และโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยไปพบกับเลขาอนุกรรมการทำการสอบสวนฐานจำเลยขัดคำสั่ง ฯลฯ แต่จำเลยไม่มาตามกำหนด โจทก์จึงมีคำสั่งปลดจำเลยจึงเห็นได้ว่าโจทก์สั่งปลดจำเลยภายหลังที่จำเลยยื่นใบลาออกแล้ว ดังนี้ แม้จำเลยจะไม่ได้รับหนังสือของโจทก์ซึ่งมีความว่า ไม่อนุมัติให้จำเลยลาออก การที่จำเลยขอลาออกเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยเองเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์ตามสัญญา
ป.พ.พ.มาตรา 165(9) เป็นบทบัญญัติในเรื่องคนงาน ฯลฯ เรียกเอาค่าจ้างและเงินอื่นอันได้ตกลงกันว่าจะจ่ายให้แทนหรือให้เป็นส่วนหนึ่งของเงินจ้าง รวมทั้งค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป กับนายจ้างเรียกเอาเงินเช่นว่านั้นอันตนได้จ่ายล่วงหน้าไปแล้วนั้นก็ด้วยเหมือนกัน ส่วนมาตรา166 เป็นเรื่องการเรียกเอาเงินค้างจ่ายคือเงินปีเงินเดือน ฯลฯ โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยฐานผิดสัญญาที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้ซึ่งไม่ใช่เงินเดือนหรือเงินจ้างที่โจทก์ทดรองให้จำเลยไป ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
of 13