พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18550/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีป้ายตามขอบเขตกำหนด และการพิจารณาประเภทป้ายตามลักษณะโครงสร้างและข้อความ
ตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (3) (ข) ท้าย พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534 ระบุว่า "ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ" ย่อมแสดงให้เห็นว่าป้ายที่แม้มีเพียงบางส่วนของอักษรไทยอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศก็ถือเป็นป้ายตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (3) (ข) โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีอักษรไทยอยู่ที่ส่วนใดของป้ายอีกหรือไม่ ดังนั้น เมื่อป้ายรายการที่ 4 มีข้อความอักษรไทยอยู่ใต้และต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ จึงเป็นป้ายตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (3) (ข)
สำหรับป้ายรายการที่ 2 และที่ 5 ส่วนบนมีอักษรไทยว่า "โตโยต้า" มีอักษรต่างประเทศว่า "TOYOTA" และมีสัญลักษณ์ ส่วนล่างมีอักษรไทยว่า "โตโยต้าหนองคาย แผนกขาย ศูนย์บริการ แผนกอะไหล่และศูนย์บริการตัวถังและสี" อยู่บนวัสดุปิดผิวเรียบประเภทอลูมิเนียม แม้ส่วนบนและส่วนล่างข้อความจะอยู่บนวัสดุปิดผิวที่ต่างระดับกันและมีขนาดต่างกัน แต่ข้อความทั้งส่วนบนและส่วนล่างต่างก็อยู่บนวัสดุปิดผิวเรียบซึ่งเป็นอลูมิเนียมและสีเดียวกันและอยู่บนโครงสร้างที่ได้ทำในคราวเดียวกัน ทั้งในส่วนข้อความหรือสัญลักษณ์ทั้งส่วนบนและส่วนล่างก็ล้วนเป็นข้อความและสัญลักษณ์แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าของโจทก์ ทำให้ป้ายส่วนบนและส่วนล่างมีลักษณะเป็นป้ายที่มีความต่อเนื่องกันอย่างไม่อาจแยกออกจากกันได้และเป็นป้ายที่มีอักษรไทยอยู่ใต้และต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ จึงเป็นป้ายตาม (3) (ข)
ส่วนกรณีการคำนวณพื้นที่เพื่อเสียภาษีป้ายนั้น ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534 มาตรา 17 ระบุว่า ให้คำนวณภาษีป้ายตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (6) และ (7) และตามอัตราภาษีป้ายที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (6) (ก) ระบุว่า ถ้าเป็นป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้ให้เอาส่วนกว้างที่สุดคูณด้วยส่วนยาวที่สุดของขอบเขตป้ายเป็นตารางเซนติเมตร จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการคำนวณพื้นที่เพื่อเสียภาษีป้ายที่มีขอบเขตนั้นให้คำนวณพื้นที่โดยเอาส่วนกว้างที่สุดคูณด้วยส่วนยาวที่สุดของขอบเขตป้าย
สำหรับป้ายรายการที่ 2 และที่ 5 ส่วนบนมีอักษรไทยว่า "โตโยต้า" มีอักษรต่างประเทศว่า "TOYOTA" และมีสัญลักษณ์ ส่วนล่างมีอักษรไทยว่า "โตโยต้าหนองคาย แผนกขาย ศูนย์บริการ แผนกอะไหล่และศูนย์บริการตัวถังและสี" อยู่บนวัสดุปิดผิวเรียบประเภทอลูมิเนียม แม้ส่วนบนและส่วนล่างข้อความจะอยู่บนวัสดุปิดผิวที่ต่างระดับกันและมีขนาดต่างกัน แต่ข้อความทั้งส่วนบนและส่วนล่างต่างก็อยู่บนวัสดุปิดผิวเรียบซึ่งเป็นอลูมิเนียมและสีเดียวกันและอยู่บนโครงสร้างที่ได้ทำในคราวเดียวกัน ทั้งในส่วนข้อความหรือสัญลักษณ์ทั้งส่วนบนและส่วนล่างก็ล้วนเป็นข้อความและสัญลักษณ์แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าของโจทก์ ทำให้ป้ายส่วนบนและส่วนล่างมีลักษณะเป็นป้ายที่มีความต่อเนื่องกันอย่างไม่อาจแยกออกจากกันได้และเป็นป้ายที่มีอักษรไทยอยู่ใต้และต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ จึงเป็นป้ายตาม (3) (ข)
ส่วนกรณีการคำนวณพื้นที่เพื่อเสียภาษีป้ายนั้น ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534 มาตรา 17 ระบุว่า ให้คำนวณภาษีป้ายตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (6) และ (7) และตามอัตราภาษีป้ายที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (6) (ก) ระบุว่า ถ้าเป็นป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้ให้เอาส่วนกว้างที่สุดคูณด้วยส่วนยาวที่สุดของขอบเขตป้ายเป็นตารางเซนติเมตร จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการคำนวณพื้นที่เพื่อเสียภาษีป้ายที่มีขอบเขตนั้นให้คำนวณพื้นที่โดยเอาส่วนกว้างที่สุดคูณด้วยส่วนยาวที่สุดของขอบเขตป้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18437/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีป้ายประเภท 3(ข) ถูกต้องตามกฎหมาย โดยคำนวณจากพื้นที่ป้ายที่มีขอบเขตกำหนด และอัตราภาษีที่กำหนด
ตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (3) (ข) ท้าย พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534 ระบุว่า "ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ"ย่อมแสดงให้เห็นว่าป้ายที่แม้มีเพียงบางส่วนของอักษรไทยอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศก็ถือเป็นป้ายตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (3) (ข) โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีอักษรไทยอยู่ที่ส่วนใดของป้ายอีกหรือไม่ ดังนั้น เมื่อป้ายรายการที่ 8 มีข้อความอักษรไทยอยู่ใต้และต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ จึงเป็นป้ายตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (3) (ข)
สำหรับป้ายรายการที่ 1, 2 และที่ 6 ส่วนบนมีอักษรไทยว่า "โตโยต้า" มีอักษรต่างประเทศว่า "TOYOTA" และมีสัญลักษณ์ ส่วนล่างมีอักษรไทยว่า "โตโยต้าหนองคาย แผนกขาย ศูนย์บริการ แผนกอะไหล่ และศูนย์บริการตัวถังและสี" อยู่บนวัสดุปิดผิวเรียบประเภทอลูมิเนียม แม้ส่วนบนและส่วนล่างข้อความจะอยู่บนวัสดุปิดผิวที่ต่างระดับกันและมีขนาดต่างกัน แต่ข้อความทั้งส่วนบนและส่วนล่างต่างก็อยู่บนวัสดุปิดผิวเรียบซึ่งเป็นอลูมิเนียมและสีเดียวกันและอยู่บนโครงสร้างที่ได้ทำในคราวเดียวกัน ทั้งในส่วนข้อความหรือสัญลักษณ์ทั้งส่วนบนและส่วนล่างก็ล้วนเป็นข้อความและสัญลักษณ์ แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าของโจทก์ ทำให้ป้ายส่วนบนและส่วนล่างมีลักษณะเป็นป้ายที่มีความต่อเนื่องกันอย่างไม่อาจแยกออกจากกันได้ และเป็นป้ายที่มีอักษรไทยอยู่ใต้และต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ จึงเป็นป้ายตาม (3) (ข)
ส่วนกรณีการคำนวณพื้นที่เพื่อเสียภาษีป้ายนั้นตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534 มาตรา 17 ระบุว่า ให้คำนวณภาษีป้ายตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (6) และ (7) และตามอัตราภาษีป้ายที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (6) (ก) ระบุว่า ถ้าเป็นป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้ให้เอาส่วนกว้างที่สุดคูณด้วยส่วนยาวที่สุดของขอบเขตป้ายเป็นตารางเซนติเมตร จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการคำนวณพื้นที่เพื่อเสียภาษีป้ายที่มีขอบเขตนั้น ให้คำนวณพื้นที่โดยเอาส่วนกว้างที่สุดคูณด้วยส่วนที่ยาวที่สุดของขอบเขตป้าย
สำหรับป้ายรายการที่ 1, 2 และที่ 6 ส่วนบนมีอักษรไทยว่า "โตโยต้า" มีอักษรต่างประเทศว่า "TOYOTA" และมีสัญลักษณ์ ส่วนล่างมีอักษรไทยว่า "โตโยต้าหนองคาย แผนกขาย ศูนย์บริการ แผนกอะไหล่ และศูนย์บริการตัวถังและสี" อยู่บนวัสดุปิดผิวเรียบประเภทอลูมิเนียม แม้ส่วนบนและส่วนล่างข้อความจะอยู่บนวัสดุปิดผิวที่ต่างระดับกันและมีขนาดต่างกัน แต่ข้อความทั้งส่วนบนและส่วนล่างต่างก็อยู่บนวัสดุปิดผิวเรียบซึ่งเป็นอลูมิเนียมและสีเดียวกันและอยู่บนโครงสร้างที่ได้ทำในคราวเดียวกัน ทั้งในส่วนข้อความหรือสัญลักษณ์ทั้งส่วนบนและส่วนล่างก็ล้วนเป็นข้อความและสัญลักษณ์ แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าของโจทก์ ทำให้ป้ายส่วนบนและส่วนล่างมีลักษณะเป็นป้ายที่มีความต่อเนื่องกันอย่างไม่อาจแยกออกจากกันได้ และเป็นป้ายที่มีอักษรไทยอยู่ใต้และต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ จึงเป็นป้ายตาม (3) (ข)
ส่วนกรณีการคำนวณพื้นที่เพื่อเสียภาษีป้ายนั้นตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534 มาตรา 17 ระบุว่า ให้คำนวณภาษีป้ายตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (6) และ (7) และตามอัตราภาษีป้ายที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (6) (ก) ระบุว่า ถ้าเป็นป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้ให้เอาส่วนกว้างที่สุดคูณด้วยส่วนยาวที่สุดของขอบเขตป้ายเป็นตารางเซนติเมตร จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการคำนวณพื้นที่เพื่อเสียภาษีป้ายที่มีขอบเขตนั้น ให้คำนวณพื้นที่โดยเอาส่วนกว้างที่สุดคูณด้วยส่วนที่ยาวที่สุดของขอบเขตป้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12488/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของป้ายที่หมดกรรมสิทธิ์แล้ว ไม่ต้องเสียภาษีป้าย แม้จะยื่นแบบแสดงรายการไว้
ตามมาตรา 7, 12, 17, 30 และ 33 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ผู้ที่เป็นเจ้าของป้ายมีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายเป็นรายปีตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยผู้เป็นเจ้าของป้ายต้องยื่นแบบแสดงรายการต่อราชการส่วนท้องถิ่นภายในเดือนมีนาคมของปี ตามแบบและวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแบบแสดงรายการแล้วจะทำการประเมินภาษีป้ายแล้วแจ้งการประเมินไปยังเจ้าของป้าย หากเจ้าของป้ายผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้อง ก็มีสิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมายได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน เมื่อผู้บริหารท้องถิ่นมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อุทธรณ์ทราบ ผู้อุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวโดยฟ้องคดีต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ หากผู้อุทธรณ์ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าวผู้อุทธรณ์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาล
โจทก์ทำสัญญาให้สิทธิและดูแลบำรุงรักษาศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง รวม 250 หลัง แก่จำเลย โจทก์บอกเลิกสัญญาดังกล่าวเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543 เป็นผลให้บรรดาวัสดุก่อสร้างและสิ่งก่อสร้างที่ดำเนินการแล้วรวมทั้งป้ายโฆษณาที่ติดตั้งไว้ที่ศาลาที่พักผู้โดยสารดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามสัญญา โจทก์จึงเป็นเจ้าของป้ายทั้งหมดนับแต่วันที่บอกเลิกสัญญาดังกล่าว เมื่อจำเลยมิได้เป็นเจ้าของป้ายพิพาทในปี 2544 จำเลยจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีป้ายในปีภาษี 2544 แม้จำเลยจะยื่นแบบแสดงรายการไว้ต่อเจ้าพนักงานของโจทก์ก็ตาม การที่เจ้าพนักงานของโจทก์ประเมินให้จำเลยเสียภาษีป้ายสำหรับป้ายโฆษณาดังกล่าวในปีภาษี 2544 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานของโจทก์ แต่คำสั่งของเจ้าพนักงานของโจทก์ที่สั่งให้จำเลยชำระภาษีป้ายตามการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีผลให้จำเลยต้องชำระภาษีป้ายจำนวนตามฟ้อง และจำเลยสามารถยกขึ้นต่อสู้ได้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานเป็นการไม่ชอบได้
โจทก์ทำสัญญาให้สิทธิและดูแลบำรุงรักษาศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง รวม 250 หลัง แก่จำเลย โจทก์บอกเลิกสัญญาดังกล่าวเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543 เป็นผลให้บรรดาวัสดุก่อสร้างและสิ่งก่อสร้างที่ดำเนินการแล้วรวมทั้งป้ายโฆษณาที่ติดตั้งไว้ที่ศาลาที่พักผู้โดยสารดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามสัญญา โจทก์จึงเป็นเจ้าของป้ายทั้งหมดนับแต่วันที่บอกเลิกสัญญาดังกล่าว เมื่อจำเลยมิได้เป็นเจ้าของป้ายพิพาทในปี 2544 จำเลยจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีป้ายในปีภาษี 2544 แม้จำเลยจะยื่นแบบแสดงรายการไว้ต่อเจ้าพนักงานของโจทก์ก็ตาม การที่เจ้าพนักงานของโจทก์ประเมินให้จำเลยเสียภาษีป้ายสำหรับป้ายโฆษณาดังกล่าวในปีภาษี 2544 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานของโจทก์ แต่คำสั่งของเจ้าพนักงานของโจทก์ที่สั่งให้จำเลยชำระภาษีป้ายตามการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีผลให้จำเลยต้องชำระภาษีป้ายจำนวนตามฟ้อง และจำเลยสามารถยกขึ้นต่อสู้ได้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานเป็นการไม่ชอบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3681/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีป้ายต้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหากมิได้ประเมินภาษี
โจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐมีอำนาจหน้าที่จัดเก็บภาษีป้ายตามกฎหมายแต่ขั้นตอนการจัดเก็บภาษีป้ายของโจทก์ที่กระทำต่อจำเลยในกรณีที่ ตรวจพบว่าจำเลยเปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายเดิมซึ่งจำเลยได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้แล้วอันจะเป็นเหตุให้จำเลยต้องเสียภาษีป้ายอีกในป้ายเดียวกัน กลับไม่มี รายละเอียดแสดงขั้นตอนนับแต่ บ. ตรวจสอบพบว่าจำเลยได้เปลี่ยนแปลง แก้ไขป้ายเดิมว่าเหตุใดจึงตรวจพบ ไม่มีรายงานต่อผู้บังคับบัญชาหรือ ขออนุมัติไปตรวจสอบและเมื่อตรวจสอบแล้วก็หามีรายงานเสนอต่อ ผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับผลการตรวจสอบดังกล่าวนี้ไม่เป็นการผิดปกติวิสัยของการปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการจัดเก็บภาษีป้ายในกรณีที่ผู้เสียภาษีมิได้ยื่นแบบแสดงรายการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการ เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความ ซึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 14 วรรคสองแห่ง พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป้าย(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 มาตรา 9 บังคับให้เจ้าของป้ายต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 15 วัน นับแต่วันเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความ แต่จำเลยมิได้ยื่นแบบดังกล่าวพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องประเมินภาษีป้ายเช่นเดียวกับกรณีปกติและแจ้งการประเมินเป็นหนังสือให้เจ้าของป้ายทราบตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 17 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 มาตรา 10 ประกอบด้วยมาตรา 29 เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำมาสืบไม่มีน้ำหนักให้เชื่อว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ประเมินภาษีป้ายของจำเลยสำหรับกรณีที่ จำเลยได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายเดิม พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ย่อม ไม่มีอำนาจที่จะออกหนังสือแจ้งการประเมินอันเป็นการข้ามขั้นตอน ของบทบัญญัติแห่งกฎหมายได้ ดังนั้น การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ ส่งหนังสือแจ้งการประเมิน (ภ.ป.3) ไปยังจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์มิได้มีการประเมิน ให้จำเลยเสียภาษีป้าย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียภาษีป้าย แม้ว่า จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาจะถือว่าจำเลยยอมรับ ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้องหาได้ไม่ เพราะขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 การที่ศาลภาษีอากรพิจารณาจากพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมานั้นแล้ว วินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ทำการ ประเมินภาษีป้ายและแจ้งการประเมินภาษีป้ายสำหรับกรณีที่จำเลย เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในป้ายเดิมนั้นจึงชอบแล้ว และเมื่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ของโจทก์มิได้ทำการประเมินภาษีป้ายสำหรับกรณีดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระภาษีป้ายส่วนที่จำเลย ได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในป้ายเดิมนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีป้าย: ป้ายชื่อทั่วไปต้องเสียภาษี การประเมินโดยเจ้าหน้าที่มอบอำนาจชอบด้วยกฎหมาย
ตามบทบัญญัติมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 มิได้ระบุว่า ป้ายจะต้องแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่มีลักษณะเฉพาะ ดังนั้นป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่มีลักษณะทั่วไป ก็เป็นป้ายตามความหมายแห่งมาตรา ดังกล่าว ป้ายของโจทก์ซึ่งมีข้อความว่า 'สำนักงานแพทย์ สิวฝ้า โรคผิวหนังและโรคทั่วไป' เป็นป้ายแสดงชื่อซึ่งมีลักษณะทั่วไป จึงเป็นป้ายซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน
เมื่อนายกเทศมนตรี ได้แจ้งเตือนให้โจทก์ไปชำระภาษีป้ายย้อนหลัง 5 ปี โจทก์มอบอำนาจให้ อ. เป็นผู้นำเงินไปชำระค่าภาษีป้าย อ. ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายประจำปี เอกสารทุกฉบับระบุว่า อ. เป็นผู้มายื่นแทนโจทก์ผู้เป็นเจ้าของป้ายการกระทำของ อ. ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำแทนโจทก์หรือในนามของโจทก์ ด้านหลังเอกสารดังกล่าวทุกฉบับ มีรายการประเมินภาษีป้ายลงนามโดย ร. ผู้รักษาการแทนสมุห์บัญชีซึ่งนายกเทศมนตรีมีคำสั่งให้สมุห์บัญชีหรือผู้รักษาการแทนเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินภาษีป้าย ร. จึงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจประเมินภาษีป้ายและถือว่ามีการประเมินภาษีป้ายโดยชอบแล้ว.
เมื่อนายกเทศมนตรี ได้แจ้งเตือนให้โจทก์ไปชำระภาษีป้ายย้อนหลัง 5 ปี โจทก์มอบอำนาจให้ อ. เป็นผู้นำเงินไปชำระค่าภาษีป้าย อ. ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายประจำปี เอกสารทุกฉบับระบุว่า อ. เป็นผู้มายื่นแทนโจทก์ผู้เป็นเจ้าของป้ายการกระทำของ อ. ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำแทนโจทก์หรือในนามของโจทก์ ด้านหลังเอกสารดังกล่าวทุกฉบับ มีรายการประเมินภาษีป้ายลงนามโดย ร. ผู้รักษาการแทนสมุห์บัญชีซึ่งนายกเทศมนตรีมีคำสั่งให้สมุห์บัญชีหรือผู้รักษาการแทนเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินภาษีป้าย ร. จึงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจประเมินภาษีป้ายและถือว่ามีการประเมินภาษีป้ายโดยชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีป้าย: การประเมินถูกต้องตามอำนาจ แม้ผู้ประเมินเป็นข้าราชการรักษาการ และการมอบอำนาจชำระภาษี
ตามบทบัญญัติมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510มิได้ระบุว่า ป้ายจะต้องแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่มีลักษณะเฉพาะ ดังนั้น ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่มีลักษณะทั่วไป ก็เป็นป้ายตามความหมายแห่งมาตราดังกล่าวป้ายของโจทก์ซึ่งมีข้อความว่า "สำนักงานแพทย์ สิวฝ้า โรคผิวหนังและโรคทั่วไป" เป็นป้ายแสดงชื่อซึ่งมีลักษณะทั่วไปจึงเป็นป้ายที่โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน เมื่อนายกเทศมนตรีได้แจ้งเตือนให้โจทก์ไปชำระภาษีป้ายย้อนหลัง5 ปี โจทก์มอบอำนาจให้ อ. เป็นผู้นำเงินไปชำระค่าภาษีป้ายอ. ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายประจำปี เอกสารทุกฉบับระบุว่าอ.เป็นผู้มายื่นแทนโจทก์ผู้เป็นเจ้าของป้ายการกระทำของอ.ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำแทนโจทก์หรือในนามของโจทก์ ด้านหลังเอกสารดังกล่าวทุกฉบับ มีรายการประเมินภาษีป้ายลงนามโดย ร. ผู้รักษาการแทนสมุห์บัญชีซึ่งนายกเทศมนตรีมีคำสั่งให้สมุห์บัญชีหรือผู้รักษาการแทนเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินภาษีป้าย ร. จึงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจประเมินภาษีป้ายและถือว่ามีการประเมินภาษีป้ายโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีป้าย: ป้ายชื่อทั่วไปต้องเสียภาษี, การประเมินโดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายชอบด้วยกฎหมาย
ตามบทบัญญัติมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 มิได้ระบุว่า ป้ายจะต้องแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่มีลักษณะเฉพาะ ดังนั้น ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่มีลักษณะทั่วไป ก็เป็นป้ายตามความหมายแห่งมาตรา ดังกล่าว ป้ายของโจทก์ซึ่งมีข้อความว่า 'สำนักงานแพทย์ สิว ฝ้า โรคผิวหนังและโรคทั่วไป' เป็นป้ายแสดงชื่อซึ่งมีลักษณะทั่วไป จึงเป็นป้ายซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน
เมื่อนายกเทศมนตรี ได้แจ้งเตือนให้โจทก์ไปชำระภาษีป้ายย้อนหลัง 5 ปี โจทก์มอบอำนาจให้ อ. เป็นผู้นำเงินไปชำระค่าภาษีป้าย อ. ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายประจำปี เอกสารทุกฉบับระบุว่า อ. เป็นผู้มายื่นแทนโจทก์ผู้เป็นเจ้าของป้ายการกระทำของ อ. ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำแทนโจทก์หรือในนามของโจทก์ ด้านหลังเอกสารดังกล่าวทุกฉบับ มีรายการประเมินภาษีป้ายลงนามโดย ร. ผู้รักษาการแทนสมุห์บัญชีซึ่งนายกเทศมนตรีมีคำสั่งให้สมุห์บัญชีหรือผู้รักษาการแทนเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินภาษีป้าย ร. จึงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจประเมินภาษีป้ายและถือว่ามีการประเมินภาษีป้ายโดยชอบแล้ว
เมื่อนายกเทศมนตรี ได้แจ้งเตือนให้โจทก์ไปชำระภาษีป้ายย้อนหลัง 5 ปี โจทก์มอบอำนาจให้ อ. เป็นผู้นำเงินไปชำระค่าภาษีป้าย อ. ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายประจำปี เอกสารทุกฉบับระบุว่า อ. เป็นผู้มายื่นแทนโจทก์ผู้เป็นเจ้าของป้ายการกระทำของ อ. ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำแทนโจทก์หรือในนามของโจทก์ ด้านหลังเอกสารดังกล่าวทุกฉบับ มีรายการประเมินภาษีป้ายลงนามโดย ร. ผู้รักษาการแทนสมุห์บัญชีซึ่งนายกเทศมนตรีมีคำสั่งให้สมุห์บัญชีหรือผู้รักษาการแทนเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินภาษีป้าย ร. จึงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจประเมินภาษีป้ายและถือว่ามีการประเมินภาษีป้ายโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ภาษีป้ายเกินกำหนดระยะเวลา และหนังสือแจ้งผลการหารือไม่ใช่การแจ้งการประเมิน
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายแต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ตรวจสอบแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้อง จึงทำการประเมินใหม่แล้วแจ้งไปยังโจทก์ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีป้ายลงวันที่ 1 มีนาคม 2526 โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 3 เดือนเดียวกันแต่มิได้อุทธรณ์ กลับโต้แย้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มีหนังสือหารือผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ตอบมายังจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 คำนวณภาษีป้ายถูกต้องแล้ว ต่อมาวันที่ 24 พฤษภาคม 2526 จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบผลการหารือจำเลยที่ 3 กับให้โจทก์นำค่าภาษีป้ายพร้อมเงินเพิ่มไปชำระภายใน 7 วันนับแต่วันรับหนังสือ ครั้นวันที่ 1 มิถุนายน 2526 โจทก์จึงอุทธรณ์การประเมินภาษีป้ายต่อผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่ 3 ดังนี้ หนังสือลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2526 เป็นการแจ้งให้โจทก์นำภาษีป้ายพร้อมเงินเพิ่มตามที่ได้แจ้งการประเมินไว้แล้วตามหนังสือของจำเลยที่ 1 ลงวันที่ 1 มีนาคม 2526 ไปชำระแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น หาใช่หนังสือแจ้งการประเมินไม่ อุทธรณ์ของโจทก์จึงยื่นเกินกว่า 30 วันนับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งการประเมิน การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว
เมื่อหนังสือฉบับลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2526 มิใช่การแจ้งการประเมิน ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ทั้งกำหนดเวลาอุทธรณ์การประเมินก็มิใช่อายุความ จะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาปรับหาได้ไม่
เมื่อหนังสือฉบับลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2526 มิใช่การแจ้งการประเมิน ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ทั้งกำหนดเวลาอุทธรณ์การประเมินก็มิใช่อายุความ จะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาปรับหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ภาษีป้ายต้องยื่นภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน การแจ้งให้ชำระภาษีไม่ใช่การแจ้งการประเมิน
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายแต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ตรวจสอบแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้องจึงทำการประเมินใหม่แล้วแจ้งไปยังโจทก์ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีป้ายลงวันที่1มีนาคม2526โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่3เดือนเดียวกันแต่มิได้อุทธรณ์กลับโต้แย้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1จำเลยที่1มีหนังสือหารือผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่3จำเลยที่3ตอบมายังจำเลยที่1ว่าจำเลยที่1คำนวณภาษีป้ายถูกต้องแล้วต่อมาวันที่24พฤษภาคม2526จำเลยที่1มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบผลการหารือจำเลยที่3กับให้โจทก์นำค่าภาษีป้ายพร้อมเงินเพิ่มไปชำระภายใน7วันนับแต่วันรับหนังสือครั้นวันที่1มิถุนายน2526โจทก์จึงอุทธรณ์การประเมินภาษีป้ายต่อผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่3ดังนี้หนังสือลงวันที่24พฤษภาคม2526เป็นการแจ้งให้โจทก์นำภาษีป้ายพร้อมเงินเพิ่มตามที่ได้แจ้งการประเมินไว้แล้วตามหนังสือของจำเลยที่1ลงวันที่1มีนาคม2526ไปชำระแก่จำเลยที่1เท่านั้นหาใช่หนังสือแจ้งการประเมินไม่อุทธรณ์ของโจทก์จึงยื่นเกินกว่า30วันนับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งการประเมินการที่จำเลยที่1มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว เมื่อหนังสือฉบับลงวันที่24พฤษภาคม2526มิใช่การแจ้งการประเมินย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา173ทั้งกำหนดเวลาอุทธรณ์การประเมินก็มิใช่อายุความจะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาปรับหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีป้าย: เลือกวิธีคำนวณแบบ ก. หรือ ข. แบบใดแบบหนึ่งตามเจตนารมณ์ของกฎหมายภาษีอากร
ป้ายพิพาทคำนวณพื้นที่ได้สองแบบ คือ ตามแบบ ก. หรือ แบบ ข.แบบบัญชีอัตราภาษีป้ายท้ายพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ถ้าคำนวณตามแบบ ก. คือถือว่าป้ายมีขอบเขตเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1,200 เซนติเมตรยาว 3,000 เซนติเมตร แม้ด้านบนมีตัวอักษร ที ในภาษาอังกฤษล้ำออกจากขอบเขต 75 เซนติเมตรก็ตาม จะถือว่าป้ายมีความกว้าง 1,275 เซนติเมตรไม่ได้เพราะด้านบนของตัวอักษร ที นั้นไม่ใช่ขอบเขตของป้ายตามแบบ ก. ของบัญชีอัตราภาษีป้ายดังกล่าว ถ้าคำนวณตามแบบ ข. คือถือเอาตัวอักษร ภาพหรือเครื่องหมายเป็นเกณฑ์ ป้ายจะมีความกว้าง 1,205 เซนติเมตร และยาว 2,650เซนติเมตร จะวัดขอบเขตของป้ายเข้าไว้ในเนื้อที่ป้ายด้วยไม่ได้ เพราะขอบเขตของป้ายมิใช่ตัวอักษร ภาพหรือเครื่องหมาย
จริงอยู่ตามบัญชีอัตราภาษีป้ายดังกล่าวไม่ได้ห้ามการคำนวณเนื้อที่ป้ายโดยวิธีคำนวณแบบ ก. และ ข. รวมกันโดยตรงก็ดี แต่พระราชบัญญัติภาษีป้ายเป็นกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร หากจะต้องตีความเพราะตัวบทกฎหมายไม่แจ้งชัดเช่นนี้ ก็ต้องตีความโดยเคร่งครัดในทางที่ไม่เป็นโทษแก่ราษฎรผู้จะต้องเสียภาษีอากรเมื่อพิเคราะห์บัญญัติ ที่เกี่ยวข้องในพระราชบัญญัตินี้แล้วอนุมานได้ว่าเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัตินี้ คือ จะต้องประเมินภาษีป้ายโดยเลือกคำนวณเนื้อที่ป้ายเฉพาะแบบใดแบบหนึ่งในสองแบบนี้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เลือกคำนวณตามแบบ ก. แล้ว ก็ต้องคำนวณตามแบบนั้น
จริงอยู่ตามบัญชีอัตราภาษีป้ายดังกล่าวไม่ได้ห้ามการคำนวณเนื้อที่ป้ายโดยวิธีคำนวณแบบ ก. และ ข. รวมกันโดยตรงก็ดี แต่พระราชบัญญัติภาษีป้ายเป็นกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร หากจะต้องตีความเพราะตัวบทกฎหมายไม่แจ้งชัดเช่นนี้ ก็ต้องตีความโดยเคร่งครัดในทางที่ไม่เป็นโทษแก่ราษฎรผู้จะต้องเสียภาษีอากรเมื่อพิเคราะห์บัญญัติ ที่เกี่ยวข้องในพระราชบัญญัตินี้แล้วอนุมานได้ว่าเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัตินี้ คือ จะต้องประเมินภาษีป้ายโดยเลือกคำนวณเนื้อที่ป้ายเฉพาะแบบใดแบบหนึ่งในสองแบบนี้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เลือกคำนวณตามแบบ ก. แล้ว ก็ต้องคำนวณตามแบบนั้น