พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11571/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้และการรับสภาพหนี้จากการชำระหนี้บางส่วนและการขายหลักทรัพย์ประกัน
จำเลยกับบริษัทหลักทรัพย์ อ. เจ้าหนี้เดิม ทำบันทึกข้อตกลงแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ฯ สิทธิเรียกร้องที่จะมีต่อกันต่อไปก็ต้องเป็นไปตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ย่อมมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2540 แม้ตามบันทึกข้อตกลงตอนแรกให้ถือว่าจำเลยผิดสัญญา เจ้าหนี้เดิมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันที ไม่ว่าหนี้เดิมจะถึงกำหนดแล้วหรือไม่ก็ตาม อันแสดงว่าเจ้าหนี้เดิมอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ผิดนัดดังกล่าวเป็นต้นไปซึ่งเป็นวันเริ่มนับอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ก็ตาม แต่ตามข้อ 3 ใบบันทึกข้อตกลงระบุว่า เจ้าหนี้เดิมยังมีสิทธิที่จำหน่ายจ่ายโอนหลักทรัพย์ที่เป็นประกันตามควรแก่กรณีเพื่อเป็นการปกป้องสิทธิของเจ้าหนี้เดิมและเพื่อชำระหนี้ที่จำเลยมีอยู่ตามบันทึกนี้ อันเป็นกรณีที่จำเลยตกลงให้เจ้าหนี้เดิมขายหลักทรัพย์ที่เป็นประกันได้ไว้ล่วงหน้า จึงไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยทราบหรือรอให้จำเลยตกลงให้จำเลยตกลงในขณะขายอีกครั้งหนึ่งดังที่จำเลยฎีกา เมื่อต่อมาวันที่ 13 พฤษภาคม 2541 เจ้าหนี้เดิมบังคับขายหลักทรัพย์ (หุ้น) นำเงินไปหักชำระหนี้ที่จำเลยมีอยู่บางส่วน ย่อมถือว่าเป็นกรณีที่จำเลยชำระหนี้แก่เจ้าหนี้เดิมตามข้อตกลงข้อ 3 ดังกล่าว ซึ่งนับได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้เดิมด้วยการชำระหนี้ให้บางส่วน อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) เมื่อนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2541 ถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2540 แม้ตามบันทึกข้อตกลงตอนแรกให้ถือว่าจำเลยผิดสัญญา เจ้าหนี้เดิมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันที ไม่ว่าหนี้เดิมจะถึงกำหนดแล้วหรือไม่ก็ตาม อันแสดงว่าเจ้าหนี้เดิมอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ผิดนัดดังกล่าวเป็นต้นไปซึ่งเป็นวันเริ่มนับอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ก็ตาม แต่ตามข้อ 3 ใบบันทึกข้อตกลงระบุว่า เจ้าหนี้เดิมยังมีสิทธิที่จำหน่ายจ่ายโอนหลักทรัพย์ที่เป็นประกันตามควรแก่กรณีเพื่อเป็นการปกป้องสิทธิของเจ้าหนี้เดิมและเพื่อชำระหนี้ที่จำเลยมีอยู่ตามบันทึกนี้ อันเป็นกรณีที่จำเลยตกลงให้เจ้าหนี้เดิมขายหลักทรัพย์ที่เป็นประกันได้ไว้ล่วงหน้า จึงไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยทราบหรือรอให้จำเลยตกลงให้จำเลยตกลงในขณะขายอีกครั้งหนึ่งดังที่จำเลยฎีกา เมื่อต่อมาวันที่ 13 พฤษภาคม 2541 เจ้าหนี้เดิมบังคับขายหลักทรัพย์ (หุ้น) นำเงินไปหักชำระหนี้ที่จำเลยมีอยู่บางส่วน ย่อมถือว่าเป็นกรณีที่จำเลยชำระหนี้แก่เจ้าหนี้เดิมตามข้อตกลงข้อ 3 ดังกล่าว ซึ่งนับได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้เดิมด้วยการชำระหนี้ให้บางส่วน อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) เมื่อนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2541 ถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13570/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องตามสัญญาและการวินิจฉัยชี้ขาดอนุญาโตตุลาการที่คลาดเคลื่อน
การที่อนุญาโตตุลาการตีความว่าคู่สัญญามีเจตนาที่แท้จริงและแน่นอนว่าจะให้มีการใช้อนุญาโตตุลาการภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายไทยในการระงับข้อพิพาท และตีความให้ใช้ พ.ร.บ อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันบังคับนั้น เป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบของอนุญาโตตุลาการและมิใช่เป็นการใช้อำนาจนอกขอบเขตอำนาจ ทั้งไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ผู้คัดค้านยื่นข้อเรียกร้องเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.2005 (พ.ศ.2548) แต่ผู้คัดค้านพิมพ์ปีที่ยื่นข้อเรียกร้องเป็น ค.ศ.2004 (พ.ศ.2547) อนุญาโตตุลาการจึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า นับตั้งแต่การชำระเงินครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546 จนถึงวันที่ผู้เรียกร้อง (ผู้คัดค้าน) ยื่นข้อเรียกร้องต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2547 สิทธิเรียกร้องของผู้เรียกร้อง (ผู้คัดค้าน) ไม่ขาดอายุความ แต่ความจริงผู้คัดค้านยื่นข้อเรียกร้องต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 ซึ่งสิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านสิ้นสุดตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2548 แล้ว ผู้คัดค้านยื่นข้อเรียกร้องเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 จึงขาดอายุความ เมื่อคู่พิพาทตกลงให้ใช้กฎหมายไทยในการระงับข้อพิพาทและข้อพิพาทนี้เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างทำของซึ่งมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ มาตรา 193/34 (1) การชำระหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546 เป็นการรับสภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้บางส่วน ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามมาตรา 193/14 (1) และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น อายุความการใช้สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านจึงสิ้นสุดวันที่ 16 พฤษภาคม 2548 เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาดังกล่าวสิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านจึงเป็นอันขาดอายุความ ผู้ร้องมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ การที่อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นเรื่องอายุความโดยผิดหลงเช่นนี้หากมีการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มีเหตุให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเสียตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 (2) (ข) และกรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 45 (1) ผู้ร้องจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้
ผู้คัดค้านยื่นข้อเรียกร้องเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.2005 (พ.ศ.2548) แต่ผู้คัดค้านพิมพ์ปีที่ยื่นข้อเรียกร้องเป็น ค.ศ.2004 (พ.ศ.2547) อนุญาโตตุลาการจึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า นับตั้งแต่การชำระเงินครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546 จนถึงวันที่ผู้เรียกร้อง (ผู้คัดค้าน) ยื่นข้อเรียกร้องต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2547 สิทธิเรียกร้องของผู้เรียกร้อง (ผู้คัดค้าน) ไม่ขาดอายุความ แต่ความจริงผู้คัดค้านยื่นข้อเรียกร้องต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 ซึ่งสิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านสิ้นสุดตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2548 แล้ว ผู้คัดค้านยื่นข้อเรียกร้องเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 จึงขาดอายุความ เมื่อคู่พิพาทตกลงให้ใช้กฎหมายไทยในการระงับข้อพิพาทและข้อพิพาทนี้เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างทำของซึ่งมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ มาตรา 193/34 (1) การชำระหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546 เป็นการรับสภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้บางส่วน ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามมาตรา 193/14 (1) และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น อายุความการใช้สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านจึงสิ้นสุดวันที่ 16 พฤษภาคม 2548 เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาดังกล่าวสิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านจึงเป็นอันขาดอายุความ ผู้ร้องมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ การที่อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นเรื่องอายุความโดยผิดหลงเช่นนี้หากมีการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มีเหตุให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเสียตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 (2) (ข) และกรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 45 (1) ผู้ร้องจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8032/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าจ้างจากการรับเหมาก่อสร้าง: โจทก์ไม่ใช่ช่างฝีมือ อายุความ 2 ปีนับจากวันชำระหนี้
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์ให้รื้อถอนและต่อเติมโครงหลังคาเหล็กโรงสีข้าวของจำเลยที่ 1 โดยจ้างเหมาค่าแรงต่อตารางเมตร โจทก์เป็นฝ่ายจัดหาเครื่องมือสำหรับใช้ในการทำงาน ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายจัดหาสัมภาระ การทำงานของโจทก์จึงเป็นการรับเหมาก่อสร้างเป็นลักษณะของการรับจ้างทำของชนิดหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 แม้โจทก์ลงมือทำงานด้วยก็หาทำให้โจทก์เป็นช่างฝีมือตามมาตรา 193/34 (1) ไม่ ความรับผิดของผู้ว่าจ้างจึงไม่อยู่ในอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5) โจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าจ้างจากผู้ว่าจ้างจึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับจากการนั้น ต้องเรียกร้องเอาภายใน 2 ปี นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/34 (7)
โจทก์ส่งมอบงานก่อสร้างประมาณเดือนมีนาคม 2545 และจำเลยที่ 1 ชำระค่าจ้างครั้งสุดท้ายวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 อายุความจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ครั้งสุดท้ายตามมาตรา 193/14 (1) ประกอบมาตรา 193/15 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2547 เกิน 2 ปี แล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
โจทก์ส่งมอบงานก่อสร้างประมาณเดือนมีนาคม 2545 และจำเลยที่ 1 ชำระค่าจ้างครั้งสุดท้ายวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 อายุความจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ครั้งสุดท้ายตามมาตรา 193/14 (1) ประกอบมาตรา 193/15 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2547 เกิน 2 ปี แล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องล้มละลาย: ผลของการชำระหนี้บางส่วนและการสะดุดหยุดของอายุความ
การนำมูลหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/32 ให้มีกำหนดอายุความ 10 ปี ในการนับอายุความนั้น มาตรา 193/12 บัญญัติว่า อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป คดีนี้ศาลมีคำพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2542 กำหนดให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวด งวดที่ 1 ถึงงวดที่ 12 ตกลงผ่อนชำระงวดละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท โดยเริ่มชำระงวดแรกในวันที่ 30 กรกฎาคม 2542 ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความตั้งแต่การชำระหนี้งวดแรกเช่นนี้การเริ่มนับอายุความจึงเริ่มนับแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2542 แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์หลายครั้ง โดยครั้งสุดท้ายได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2545 ดังนั้น การที่จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วนย่อมมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้วระยะเวลาที่ล่วงพ้นไปก่อนนั้นย่อมไม่นับเข้ามาในอายุความตามมาตรา 193/15 การที่โจทก์นำมูลตามคำพิพากษาตามยอมมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2552 จึงยังไม่ล่วงพ้นอายุความตามมาตรา 193/32 โจทก์จึงมีสิทธินำหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14381/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนชำระหนี้ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ และมีผลสะดุดอายุความ
กรณีที่จะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 850 กล่าวคือ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน แต่ตามบันทึกการเจรจาตกลงชดใช้ชำระหนี้ค่าปรับที่นามีความว่า เมื่อเดือนมกราคม 2541 โจทก์ได้รับจ้างใช้รถแทรกเตอร์ปรับที่นาให้จำเลยในราคา 20,000 บาท จำเลยชำระเงินให้โจทก์บางส่วนแล้ว ในวันทำบันทึกจำเลยชำระเงินให้โจทก์อีก 2,000 บาท ส่วนที่ค้างชำระ 12,000 บาท จำเลยขอผ่อนชำระเป็น 2 งวด งวดที่ 1 ในวันที่ 30 เมษายน 2542 เป็นเงิน 6,000 บาท และงวดที่ 2 ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2542 เป็นเงิน 6,000 บาท ดังนี้จะเห็นได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์เพียงฝ่ายเดียวยอมผ่อนผันให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ซึ่งถึงกำหนดชำระแล้วได้ อันเป็นการที่โจทก์สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาของโจทก์เองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 192 วรรคสอง บันทึกดังกล่าวจึงหาใช่สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ หากแต่เป็นเพียงกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาจ้างทำของตามมาตรา 193/14 (1) อันเป็นผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเท่านั้น โจทก์ในฐานะผู้รับจ้างต้องเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับภายในกำหนด 2 ปี ตามมาตรา 193/14 (7) โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเกินกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ค่าจ้างค้างชำระแต่ละงวดถึงกำหนด คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13839/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่เคลือบคลุม, อายุความรับผิดสินค้าชำรุด, การยอมรับสภาพหนี้, การแก้ไขสินค้า
จำเลยได้บรรยายฟ้องแย้งให้เข้าใจได้แล้วว่า อุปกรณ์ที่สั่งซื้อจากโจทก์ซึ่งมีความบกพร่องต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ไขคือ อุปกรณ์ระบบควบคุมเครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์ตรวจจับควัน และอุปกรณ์วาล์วผีเสื้อปิดเปิดน้ำ ซึ่งโจทก์ก็ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า สินค้าอุปกรณ์ดังกล่าวที่ส่งให้จำเลยมิได้ชำรุดบกพร่อง แต่สามารถใช้การได้ดี ความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดจากความผิดพลาดจากระบบติดตั้งของจำเลยเอง แสดงว่าโจทก์เข้าใจข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องแย้งเป็นอย่างดี ส่วนค่าใช้จ่ายในการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวที่จำเลยต้องว่าจ้างผู้ชำนาญรายใดมาดำเนินการแก้ไขเป็นรายละเอียดที่จำเลยสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา จำเลยได้บรรยายฟ้องแย้งไว้โดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ดังนั้น ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เคลือบคลุม
ภายหลังจากจำเลยได้รับแจ้งจากบริษัท ซ. ให้ทราบถึงค่าใช้จ่ายในการแก้ไขความชำรุดบกพร่องของสินค้าตามหนังสือลงวันที่ 15 ตุลาคม 2542 เอกสารหมาย ล.9 และจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบถึงค่าใช้จ่ายนั้นแล้ว โจทก์ได้มาดำเนินการแก้ไขในระบบให้จำเลย แต่ไม่อาจแก้ไขให้สมบูรณ์ได้ ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ผู้เป็นลูกหนี้ได้กระทำการใด ๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายแล้วว่าโจทก์ยอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของจำเลยแล้ว อายุความจึงสะดุดหยุดลงนับแต่เวลาดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) แม้จำเลยจะมิได้นำสืบให้เห็นว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นวันเวลาใดก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าเป็นระยะเวลาภายหลังวันที่ 15 ตุลาคม 2542 อันเป็นวันที่บริษัท ซ. เจ้าของสินค้ามีหนังสือแจ้งจำเลยถึงจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงแก้ไข เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2543 ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดลง จึงต้องเริ่มนับอายุความใหม่นับแต่วันดังกล่าวถึงวันที่ 27 มีนาคม 2543 อันเป็นวันฟ้องแย้ง จึงยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2543 และแม้จะนับแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2542 ถึงวันที่ 27 มีนาคม 2543 อันเป็นวันฟ้องแย้ง ก็ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2542 เช่นกัน ดังนั้น สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ผู้ขายรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์ตามฟ้องแย้งของจำเลยจึงยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 474
ภายหลังจากจำเลยได้รับแจ้งจากบริษัท ซ. ให้ทราบถึงค่าใช้จ่ายในการแก้ไขความชำรุดบกพร่องของสินค้าตามหนังสือลงวันที่ 15 ตุลาคม 2542 เอกสารหมาย ล.9 และจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบถึงค่าใช้จ่ายนั้นแล้ว โจทก์ได้มาดำเนินการแก้ไขในระบบให้จำเลย แต่ไม่อาจแก้ไขให้สมบูรณ์ได้ ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ผู้เป็นลูกหนี้ได้กระทำการใด ๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายแล้วว่าโจทก์ยอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของจำเลยแล้ว อายุความจึงสะดุดหยุดลงนับแต่เวลาดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) แม้จำเลยจะมิได้นำสืบให้เห็นว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นวันเวลาใดก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าเป็นระยะเวลาภายหลังวันที่ 15 ตุลาคม 2542 อันเป็นวันที่บริษัท ซ. เจ้าของสินค้ามีหนังสือแจ้งจำเลยถึงจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงแก้ไข เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2543 ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดลง จึงต้องเริ่มนับอายุความใหม่นับแต่วันดังกล่าวถึงวันที่ 27 มีนาคม 2543 อันเป็นวันฟ้องแย้ง จึงยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2543 และแม้จะนับแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2542 ถึงวันที่ 27 มีนาคม 2543 อันเป็นวันฟ้องแย้ง ก็ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2542 เช่นกัน ดังนั้น สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ผู้ขายรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์ตามฟ้องแย้งของจำเลยจึงยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 474
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7953/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความในคดีละเมิด: ผลของการยอมรับสภาพหนี้และการปฏิเสธความรับผิดชอบ
การที่จำเลยทำหนังสือว่าจะซ่อมแซมทาวน์เฮาส์ของโจทก์ เป็นกรณีที่จำเลยกระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิดที่จำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถือว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ได้รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) ซึ่งขณะที่จำเลยทำหนังสือทั้งสองฉบับนั้นยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 1 ปี ตามสิทธิเรียกร้องที่คู่ความทั้งสองฝ่ายยอมรับตรงกันว่าเหตุละเมิดเกิดขึ้นในกลางปี 2541 อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมสะดุดหยุดลง ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความและให้เริ่มนับอายุความใหม่ แต่จะนับอายุความใหม่ก็ต่อเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลงเวลาใดก็ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7848/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินค้า และผลของการรับสภาพหนี้ต่ออายุความ
สิทธิเรียกร้องจากการที่จำเลยทั้งสามซื้อสินค้าจากโจทก์ เพื่อส่งขายให้แก่ลูกค้าอันมิใช่ซื้อไปเพื่อใช้เป็นการเฉพาะภายในบริษัทจำเลยที่ 1 ย่อมมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) มิใช่อายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)
การที่จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ขอผ่อนชำระหนี้งวดแรกภายในเดือนมกราคม 2543 ย่อมมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงโดยระยะเวลาที่ล่วงไปนั้นไม่นับเข้าในอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และมาตรา 193/15 เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินงวดแรกแก่โจทก์ตามที่รับสภาพหนี้ไว้ เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจึงสิ้นสุดลงในวันที่ 31 มกราคม 2543 และเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 30 ธันวาคม 2547 ฟ้องโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ ส่วนจำเลยที่ 3 ไม่ปรากฏว่ายอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทน กรณีจึงไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 3 ได้รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ด้วย ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 3 จึงขาดอายุความ
การที่จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ขอผ่อนชำระหนี้งวดแรกภายในเดือนมกราคม 2543 ย่อมมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงโดยระยะเวลาที่ล่วงไปนั้นไม่นับเข้าในอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และมาตรา 193/15 เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินงวดแรกแก่โจทก์ตามที่รับสภาพหนี้ไว้ เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจึงสิ้นสุดลงในวันที่ 31 มกราคม 2543 และเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 30 ธันวาคม 2547 ฟ้องโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ ส่วนจำเลยที่ 3 ไม่ปรากฏว่ายอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทน กรณีจึงไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 3 ได้รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ด้วย ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 3 จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4618/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการเช่าและการชำระหนี้บางส่วนทำให้หนี้ส่วนที่เหลือไม่ขาดอายุความ
การนับอายุความนั้นต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 เมื่อโจทก์กับจำเลยตกลงชำระค่าเช่าเป็นรายเดือนและจำเลยต้องชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับใบแจ้งหนี้ เมื่อพ้นกำหนดเวลา 30 วันแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับสิทธิเรียกร้องค่าเช่าค้างชำระได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้สัญญาเช่าสิ้นสุดหรือให้จำเลยส่งมอบเครื่องจักรคืนโจทก์ก่อน อายุความเรียกค่าเช่าค้างชำระ 2 ปี จึงเริ่มนับแต่วันที่จำเลยได้รับใบแจ้งหนี้ในแต่ละฉบับ
เมื่อนับจากวันที่พ้นกำหนดชำระหนี้ในใบแจ้งหนี้แต่ละฉบับถึงวันฟ้องคือ วันที่ 16 กรกฎาคม 2547 มีเพียงหนี้ตามใบแจ้งหนี้เอกสารหมาย จ.15 และ จ.16 เพียง 2 ฉบับ ซึ่งจำเลยต้องชำระหนี้ภายในวันที่ 29 สิงหาคม 2545 และวันที่ 18 ตุลาคม 2545 เท่านั้นที่ไม่เกิน 2 ปี ส่วนหนี้ตามใบแจ้งหนี้เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.14 รวม 8 ฉบับ ซึ่งถึงกำหนดชำระภายในระหว่างวันที่ 3 มกราคม 2545 ถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2545 เกิน 2 ปีแล้ว แต่จำเลยได้นำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วนรวม 3 ครั้ง โดยชำระครั้งสุดท้ายวันที่ 23 กรกฎาคม 2545 ซึ่งจำเลยย่อมทราบแล้วว่าจำเลยมีหนี้ที่ถึงกำหนดต้องชำระตามใบแจ้งหนี้ เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.14 รวม 8 ฉบับ เพราะวันที่ถึงกำหนดชำระตามใบแจ้งหนี้เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.14 รวม 8 ฉบับ อยู่ระหว่างวันที่ 3 มกราคม 2545 ถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2545ซึ่งเป็นวันก่อนที่จำเลยชำระหนี้ครั้งสุดท้าย การที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์หลายจำนวนและนำเงินมาผ่อนชำระหนี้โดยไม่ระบุว่าชำระหนี้รายใด ถือว่าเป็นการชำระหนี้บางส่วนของหนี้ทั้งหมดแล้ว อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงทั้งหมดในวันที่ 23 กรกฎาคม 2545 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในวันที่ 16 กรกฎาคม 2547 ยังไม่เกิน 2 ปี หนี้ตามใบแจ้งหนี้เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.14 รวม 8 ฉบับ จึงไม่ขาดอายุความ หนี้ของโจทก์ทั้งหมดตามใบแจ้งหนี้เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.16 รวมทั้งสิ้น 10 ฉบับ จึงไม่ขาดอายุความด้วย ส่วนวิธีการชำระหนี้กรณีที่จำเลยไม่ได้ระบุว่าให้ชำระหนี้ตามใบแจ้งหนี้ฉบับใด จึงต้องนำไปชำระหนี้ที่ถึงกำหนดก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง
โจทก์ไม่ได้นำสืบให้ศาลเห็นว่าโจทก์ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้กับกรมสรรพากรอันจะมีสิทธิและหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลย จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยรับผิดค่าภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่โจทก์ได้
เมื่อนับจากวันที่พ้นกำหนดชำระหนี้ในใบแจ้งหนี้แต่ละฉบับถึงวันฟ้องคือ วันที่ 16 กรกฎาคม 2547 มีเพียงหนี้ตามใบแจ้งหนี้เอกสารหมาย จ.15 และ จ.16 เพียง 2 ฉบับ ซึ่งจำเลยต้องชำระหนี้ภายในวันที่ 29 สิงหาคม 2545 และวันที่ 18 ตุลาคม 2545 เท่านั้นที่ไม่เกิน 2 ปี ส่วนหนี้ตามใบแจ้งหนี้เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.14 รวม 8 ฉบับ ซึ่งถึงกำหนดชำระภายในระหว่างวันที่ 3 มกราคม 2545 ถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2545 เกิน 2 ปีแล้ว แต่จำเลยได้นำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วนรวม 3 ครั้ง โดยชำระครั้งสุดท้ายวันที่ 23 กรกฎาคม 2545 ซึ่งจำเลยย่อมทราบแล้วว่าจำเลยมีหนี้ที่ถึงกำหนดต้องชำระตามใบแจ้งหนี้ เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.14 รวม 8 ฉบับ เพราะวันที่ถึงกำหนดชำระตามใบแจ้งหนี้เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.14 รวม 8 ฉบับ อยู่ระหว่างวันที่ 3 มกราคม 2545 ถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2545ซึ่งเป็นวันก่อนที่จำเลยชำระหนี้ครั้งสุดท้าย การที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์หลายจำนวนและนำเงินมาผ่อนชำระหนี้โดยไม่ระบุว่าชำระหนี้รายใด ถือว่าเป็นการชำระหนี้บางส่วนของหนี้ทั้งหมดแล้ว อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงทั้งหมดในวันที่ 23 กรกฎาคม 2545 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในวันที่ 16 กรกฎาคม 2547 ยังไม่เกิน 2 ปี หนี้ตามใบแจ้งหนี้เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.14 รวม 8 ฉบับ จึงไม่ขาดอายุความ หนี้ของโจทก์ทั้งหมดตามใบแจ้งหนี้เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.16 รวมทั้งสิ้น 10 ฉบับ จึงไม่ขาดอายุความด้วย ส่วนวิธีการชำระหนี้กรณีที่จำเลยไม่ได้ระบุว่าให้ชำระหนี้ตามใบแจ้งหนี้ฉบับใด จึงต้องนำไปชำระหนี้ที่ถึงกำหนดก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง
โจทก์ไม่ได้นำสืบให้ศาลเห็นว่าโจทก์ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้กับกรมสรรพากรอันจะมีสิทธิและหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลย จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยรับผิดค่าภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4618/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้หลายจำนวน การชำระหนี้บางส่วน และผลกระทบต่ออายุความ การชำระหนี้ก่อนและหลังฟ้อง
ใบแจ้งหนี้ทั้งหมดที่โจทก์ส่งให้จำเลยรวม 10 ฉบับ มีเพียงหนี้ตามใบแจ้งหนี้ ฉบับที่ 9 และ 10 เท่านั้นที่ไม่เกิน 2 ปี ส่วนหนี้ตามใบแจ้งหนี้ ฉบับที่ 1 ถึง 8 เกิน 2 ปีแล้ว แต่หลังจากนั้นจำเลยนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วน กรณีเป็นการที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์หลายจำนวนและนำเงินมาผ่อนชำระโดยไม่ระบุว่าชำระหนี้รายใด ถือว่าเป็นการชำระหนี้บางส่วนของหนี้ทั้งหมด อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงทั้งหมดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) โจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย ดังนั้น หนี้ของโจทก์ทั้งหมดตามใบแจ้งหนี้ทั้ง 10 ฉบับ จึงไม่ขาดอายุความ และกรณีที่จำเลยไม่ได้ระบุว่าชำระหนี้ตามใบแจ้งหนี้ฉบับใด จึงต้องนำไปชำระหนี้ที่ถึงกำหนดก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง ที่โจทก์นำไปชำระหนี้ตามใบแจ้งหนี้ฉบับแรก ซึ่งเป็นหนี้ที่ถึงกำหนดชำระก่อน จึงเป็นการนำไปชำระหนี้ถูกต้องแล้ว