คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 193/14 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9221/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันเช่าซื้อไม่ระงับ แม้มีการทำสัญญารับสภาพหนี้ใหม่ เพราะเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงวิธีการชำระหนี้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมารถยนต์เช่าซื้อได้รับอุบัติเหตุเสียหายทั้งคัน บริษัทผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหาย แต่ยังไม่คุ้มราคาที่เช่าซื้อ จำเลยที่ 1 จึงตกลงทำหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์ยินยอมชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างรวมดอกเบี้ยชำระล่าช้า โดยตกลงผ่อนชำระเป็นรายงวด แต่หนังสือสัญญารับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้ทำขึ้นมิได้มีการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และมิใช่เป็นการทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนี้ หนังสือรับสภาพหนี้เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลาชำระหนี้และวิธีการชำระหนี้ จึงมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงหนี้ใหม่ เมื่อหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อยังไม่ระงับ หนี้ตามสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อย่อมไม่ระงับเช่นกัน จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้าประกันยังไม่หลุดพ้นความรับผิด เพระโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนเงินที่ค้างชำระตามหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ซึ่งเป็นจำนวนหนี้ค่าเช่าซื้อค้างชำระที่จำเลยที่ 2 ต้องรับชำระแก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6404/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าจ้างก่อสร้าง: การรับสภาพหนี้ที่ไม่ชัดเจนไม่ทำให้สะดุดหยุดอายุความ
การรับสภาพหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) ลูกหนี้จะต้องมีเจตนาจะใช้หนี้นั้นต่อเจ้าหนี้โดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ
ตามรายงานประจำวันธุรการจำเลยยอมรับเพียงว่า จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารพาณิชย์กึ่งที่พักอาศัยจริง แต่จำเลยปฏิเสธการชำระเงินค่าจ้างงวดที่ 2 ให้แก่โจทก์ เอกสารดังกล่าวจึงไม่เป็นหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยให้ไว้แก่โจทก์และไม่ทำให้อายุความสิทธิเรียกร้องเงินค่าจ้างก่อสร้างงวดที่ 2 ซึ่งถึงกำหนดชำระสะดุดหยุดลง เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดค่าจ้างก่อสร้างเกินกำหนด 2 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความของดอกเบี้ยค่าปรับจากสัญญาประกันตัว การชำระต้นเงินไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุด
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากการควบคุมของโจทก์และผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด นัดในวันที่ 30 เมษายน 2529 โจทก์จึงมีคำสั่งปรับจำเลย ต่อมาวันที่ 22 มิถุนายน 2535 จำเลยนำค่าปรับจำนวน 106,000 บาท มาชำระแก่โจทก์ แต่ดอกเบี้ยตามฟ้องโจทก์เป็นจำนวนเงินที่แยกออกจากต้นเงินค่าเบี้ยปรับจำนวน 106,000 บาท ดอกเบี้ยจึงเป็นหนี้คนละส่วนกับต้นเงิน ดังนั้น การที่จำเลยชำระต้นเงินจำนวน 106,000 บาท ให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2535 จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้บางส่วนที่จะถือว่าลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้อันมีผลทำให้อายุความ สะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1)
ดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลย เนื่องจากจำเลยผิดสัญญาประกันเป็นดอกเบี้ยค้างชำระมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2529 ถึงวันที่ 22 มิถุนายน 2530 ซึ่งนับถึงวันฟ้องเลยกำหนด 5 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8884/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้ที่มีผลผูกพันตามกฎหมาย แม้ไม่มีการทำหนังสือใหม่
การที่จำเลยได้จัดทำหนังสือภาษาจีนซึ่งมีคำแปลเป็นภาษาไทยอันมีเนื้อหาว่า "จำเลยจะชำระค่าเสียหายของสินค้าจำนวน 25,389 ชุด เป็นเงิน 116,789.40 ดอลลาร์สหรัฐ ผ่อนชำระเดือนเมษายน 2536 แล้วเป็นเงิน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ เดือนกันยายนชำระ 30,000 ดอลลาร์สหรัฐ เงินจำนวนที่เหลือจะแบ่งชำระในเดือนเมษายนและเดือนกันยายน 2537" เป็นการจัดทำเอกสารดังกล่าวขึ้นด้วยความสมัครใจ แม้จะไม่ปรากฏว่าได้มีการทำหนังสือกันใหม่อย่างเป็นทางการก็ตาม หนังสือภาษาจีนดังกล่าวก็เป็นหนังสือรับสภาพหนี้ที่มีผลผูกพันใช้บังคับจำเลยได้ตามกฎหมาย
แม้คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ แต่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นหยิบยกมาตรา 193/14 (1) แห่ง ป.พ.พ. ขึ้นวินิจฉัยก็เพื่อบ่งชี้ว่า การทำหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวมีผลผูกพันบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยส่งสินค้าไม่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้าโจทก์ ต่อมาจำเลยยินยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วยการทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าหนังสือภาษาจีนดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้จึงเป็นการวินิจฉัยถึงที่มาแห่งมูลหนี้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้อง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงชอบที่จะวินิจฉัยว่าหนังสือภาษาจีนดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ได้
ที่โจทก์บรรยายในคำแก้ฎีกาว่าขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในจำนวนหนี้ที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์นั้น เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ซึ่งโจทก์ต้องทำเป็นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เมื่อโจทก์มิได้ยื่นเป็นฎีกาจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาที่จะวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6885/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฝากทรัพย์: การชำระดอกเบี้ยรายปีเป็นการรับสภาพหนี้ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. ฟ้องเรียกเงินฝากที่ อ. ฝากไว้คืนจากจำเลย ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดเพื่อใช้เงินบำเหน็จ ค่าฝากทรัพย์ชดใช้เงินค่าใช้จ่าย และใช้ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 671 จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
แม้ตามสำเนาสมุดเงินฝากประจำมีการแสดงยอดเงินคงเหลือครั้งสุดท้ายนับถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่ตามระเบียบการฝากเงินประจำโดยใช้สมุดคู่ฝากที่ปรากฏในสำเนาสมุดเงินฝากประจำข้อ 3 ระบุว่า การฝากทุก ๆ รายการจำเลยถือว่าผู้ฝากประจำตกลงฝากประจำมีกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันเดือนปีที่ปรากฏของแต่ละรายการนั้น ๆ และข้อ 4 ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยจำเลยคำนวณให้เช่นเดียวกับเงินฝากประจำอื่น ดังนี้ ?ฯลฯ ฝากตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไปและได้ฝากครบกำหนดระเวลานั้น คำนวณดอกเบี้ยให้ร้อยละ 8 ต่อปี กับข้อ 5 ระบุว่า ระเบียบการนอกจากนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบและประเพณีพึงปฏิบัติของธนาคารทุกประการ โดยระเบียบและประเพณีและข้อตกลงดังกล่าวจำเลยต้องแสดงยอดเงินฝากคงเหลือของเงินฝากแต่ละรายการพร้อมดอกเบี้ยทุกระยะ 1 ปี ต่อครั้งให้แก่ผู้ฝาก แม้จะยังมิได้แสดงไว้ในสำเนาสมุดเงินฝาก ก็ถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติการชำระดอกเบี้ยทุกระยะเวลา 1 ปี อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อ ผู้ฝากด้วย การชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงและอายุความจะสะดุดหยุดลงเรื่อยไปทุกระยะเวลา 1 ปี ฉะนั้น แม้โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกเงินฝากคืนพร้อมดอกเบี้ยหลังจากที่จำเลยปฏิเสธการจ่ายเงินประมาณเกือบสองปีแล้ว ก็ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของทายาทต่อหนี้ของผู้ตาย: ทายาทรับผิดเฉพาะในทรัพย์มรดก
จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทของ ด.ยอมรับสภาพหนี้ของ ด.ต่อโจทก์ มีผลผูกพันกองมรดกของ ด.เท่านั้นที่จะต้องรับผิดในหนี้สินตามที่ปรากฏในหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่อาจถือได้ถึงขนาดว่าจำเลยยอมเข้าผูกพันตนเป็นลูกหนี้แทนในลักษณะแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ จำเลยจึงมิใช่ลูกหนี้โดยตรงของโจทก์
แม้จำเลยจะเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกแต่ก็รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่มิใช่ทรัพย์มรดก ประกอบกับหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่ ด.ก่อขึ้นเอง หาก ด.ยังคงมีชีวิตอยู่ด.อาจถูกฟ้องขอให้ล้มละลายได้ ด.จึงมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายล้มละลายต่อโจทก์และเป็นหน้าที่และความรับผิดโดยเฉพาะของ ด. ไม่ใช่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่จำเลยผู้เป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ ด.โจทก์จึงนำหนี้ตามฟ้องมาฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด.ให้ล้มละลายไม่ได้ แต่ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ด.ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 82

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้ของทายาทผู้จัดการมรดก ไม่ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ และจำกัดความรับผิดเฉพาะทรัพย์มรดก
จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทของ ด. ยอมรับสภาพหนี้ของ ด. ต่อโจทก์ มีผลผูกพันกองมรดกของ ด. เท่านั้นที่จะต้องรับผิดในหนี้สินตามที่ปรากฏในหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่อาจถือได้ถึงขนาดว่าจำเลยยอมเข้าผูกพันตนเป็นลูกหนี้แทนในลักษณะแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ จำเลยจึงมิใช่ลูกหนี้โดยตรงของโจทก์
แม้จำเลยจะเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกแต่ก็รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่มิใช่ทรัพย์มรดก ประกอบกับหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่ ด. ก่อขึ้นเอง หาก ด. ยังคงมีชีวิตอยู่ ด. อาจถูกฟ้องขอให้ล้มละลายได้ ด. จึงมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายล้มละลายต่อโจทก์และเป็นหน้าที่และความรับผิดโดยเฉพาะของ ด. ไม่ใช่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่จำเลยผู้เป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ ด. โจทก์จึงนำหนี้ตามฟ้องมาฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด. ให้ล้มละลายไม่ได้แต่ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ด. ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 82

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล การสูญหาย/เสียหายของสินค้า และการตกลงกันของผู้ขนส่งและผู้ส่งของ
โจทก์ระบุชื่อฟ้องจำเลยที่ 2 ว่า "พ.ในฐานะผู้จัดการสายเดินเรือเมอร์ก สาขากรุงเทพฯ" และบรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ว่า "จำเลยที่ 2เป็นตัวแทนบริหารงานและธุรกิจของจำเลยที่ 1 สาขาในประเทศไทยมีอำนาจเช่น ดำเนินกิจการประจำวันโดยทั่วไปของบริษัทดังกล่าวในประเทศไทยลงนามในเอกสารต่าง ๆ ดำเนินการฟ้องร้องและต่อสู้ในศาลไทย ใช้และลงชื่อในนามสาขาของบริษัทและมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการสายเดินเรือเมอร์กสาขากรุงเทพฯ เป็นการกล่าวบรรยายฟ้องถึงสถานภาพของ พ. โดยเฉพาะว่ามาเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 และสาขาของจำเลยที่ 1 คือสายเดินเรือเมอร์กสาขากรุงเทพฯ อย่างไร ซึ่งเห็นได้ชัดว่า พ.เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1ในประเทศไทยและได้รับแต่งตั้งจากจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการสายเดินเรือเมอร์ก สาขากรุงเทพฯ ด้วยเท่านั้น การที่ พ.มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการสายเดินเรือเมอร์กสาขากรุงเทพฯ จึงอยู่ในคนละสถานภาพกับสายเดินเรือเมอร์ก สาขากรุงเทพฯกรณีตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้อง พ. ในฐานะส่วนตัวเป็นจำเลยที่ 2
จำเลยที่ 2 เป็นเพียงตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1ให้ทำการแทนในประเทศไทยเท่านั้น ทั้งไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 2เป็นผู้รับขนร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญารับขนส่งสินค้าที่โจทก์รับประกันภัย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
ตามกฎข้อบังคับของการท่าเรือแห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับที่ท่าเรือกรุงเทพอันเป็นท่าปลายทางในขณะเกิดเหตุไม่อนุญาตให้ผู้ขนส่งมอบสินค้าอันตรายให้เจ้าหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยผู้ขนส่งต้องเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ได้เช่าพื้นที่จากการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อใช้เก็บสินค้าอันตรายและจัดให้มีเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ดูแลรักษาสินค้านั้นเอง จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบของไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลใด ๆ ซึ่งกฎหมายหรือกฎข้อบังคับที่ใช้อยู่ณ ท่าปลายทางกำหนดให้ผู้ขนส่งต้องมอบของที่ขนถ่ายขึ้นจากเรือไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลดังกล่าว อันจะทำให้สินค้านั้นพ้นไปจากความดูแลของจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มาตรา 40(3) และมาตรา 39 แต่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังคงเก็บรักษาดูแลสินค้าไว้เพื่อส่งมอบแก่ผู้รับตราส่งต่อไป
เรือของจำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้ามาถึงท่าเรือกรุงเทพอันเป็นท่าปลายทางเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2536 อันเป็นโอกาสแรกที่จะส่งมอบของได้และเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2536 จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงผู้รับตราส่งยอมรับผิดไม่เกินความรับผิดสูงสุดของผู้ขนส่ง อันถือได้ว่าเป็นการยอมรับสภาพหนี้ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) และโจทก์ ฟ้องคดีนี้วันที่ 20 เมษายน 2537 ซึ่งอยู่ภายในเวลา 1 ปี นับแต่ วันที่จำเลยที่ 1 ยอมรับสภาพหนี้ คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ตามใบตราส่งด้านหลังซึ่งมีเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะชดใช้ค่าเสียหายในข้อ 11.3 ว่า กรณีสินค้าสูญหายหรือเสียหายให้คิดค่าเสียหายไม่เกิน 2 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักรวม 1 กิโลกรัมในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโจทก์คิดอัตราแลกเปลี่ยน1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 25.5 บาท และตามรายการสินค้า (Packinglist)สินค้าที่เสียหาย 2 หน่วย มีน้ำหนักรวม 848 กิโลกรัม เป็นน้ำหนักสุทธิ818 กิโลกรัม จึงคิดเป็นค่าเสียหายสูงสุดตามที่ระบุในใบตราส่งที่คิด2 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 กิโลกรัม ของน้ำหนักรวม 848 กิโลกรัม เป็นเงิน1,696 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวเป็นเงิน 43,248 บาท แต่ถ้าคิดตามการจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58ตามหน่วยการขนส่ง 2 หน่วย ค่าเสียหายหน่วยละ 10,000 บาท เป็นเงิน20,000 บาท หรือคิดตามน้ำหนักสุทธิกิโลกรัมละ 30 บาท จากน้ำหนักสุทธิ818 กิโลกรัม เป็นเงิน 24,540 บาท เห็นได้ว่าการคิดค่าเสียหายตามข้อจำกัดความรับผิดที่กำหนดในใบตราส่งเป็นเงิน 43,248 บาท ดังกล่าว สูงกว่าค่าเสียหายที่คิดตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มาตรา 58 ดังนี้ย่อมเป็นกรณีที่ผู้ส่งของและผู้ขนส่งตกลงกำหนดความรับผิดของผู้ขนส่งสูงกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา 58 จึงไม่นำการจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58 มาใช้บังคับตามบทบัญญัติมาตรา 60(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล, การสูญหาย/เสียหายของสินค้า, ข้อตกลงระหว่างผู้ส่งและผู้ขนส่ง, การจำกัดความรับผิดตามกฎหมาย
จำเลยที่ 2 มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการสายเดินเรือเมอร์ก สาขากรุงเทพฯ จึงอยู่ในคนละสถานภาพกับสายเดินเรือเมอร์ก สาขากรุงเทพฯ กรณีตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลย ในฐานะส่วนตัวเป็นจำเลย มิใช่เป็นการฟ้องสายเดินเรือเมอร์ก สาขากรุงเทพฯ เป็นจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นเพียงตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 ให้ทำการแทนในประเทศไทยเท่านั้น ทั้งทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับขนร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญารับขนส่งสินค้าเครื่องดับเพลิงที่โจทก์รับประกันภัยเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
ตามกฎข้อบังคับของการท่าเรือแห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับที่ท่าเรือกรุงเทพอันเป็นท่าปลายทาง ในขณะเกิดเหตุไม่อนุญาตให้ผู้ขนส่งมอบสินค้าอันตรายให้เจ้าหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยผู้ขนส่งต้องเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ได้เช่าพื้นที่จากการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อใช้เก็บสินค้าอันตรายและจัดให้มีเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ดูแลรักษาสินค้านั้นเอง จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบของไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลใด ๆ ซึ่งกฎหมายหรือกฎข้อบังคับที่ใช้อยู่ ณ ท่าปลายทางกำหนดให้ผู้ขนส่งต้องมอบของที่ขนถ่ายขึ้นจากเรือไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลดังกล่าว อันจะทำให้สินค้านั้นพ้นไปจากความดูแลของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 40 (3) และมาตรา 39 แต่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังคงเก็บรักษาดูแลสินค้าไว้เพื่อส่งมอบแก่ผู้รับตราส่งต่อไป
เรือของจำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้ามาถึงท่าเรือกรุงเทพอันเป็นท่าปลายทางเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2536 อันเป็นโอกาสแรกที่จะส่งมอบของได้ และเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2536 จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงผู้รับตราส่งยอมรับผิดไม่เกินความรับผิดสูงสุดของผู้ขนส่ง อันถือได้ว่าเป็นการยอมรับสภาพหนี้ ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 20 เมษายน 2537 ซึ่งอยู่ภายในเวลา 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยอมรับสภาพหนี้ คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ตามใบตราส่งด้านหลังซึ่งมีเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะชดใช้ค่าเสียหายในข้อ 11.3 ว่า กรณีสินค้าสูญหายหรือเสียหายให้คิดค่าเสียหายไม่เกิน 2 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักรวม 1 กิโลกรัม ในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโจทก์คิดอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 25.5 บาท และตามรายการสินค้า (Packing list) สินค้าที่เสียหาย 2 หน่วย มีน้ำหนักรวม 848 กิโลกรัม เป็นน้ำหนักสุทธิ 818 กิโลกรัม จึงคิดเป็นค่าเสียหายสูงสุดตามที่ระบุในใบตราส่งที่คิด 2 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 กิโลกรัม ของน้ำหนักรวม 848 กิโลกรัมเป็นเงิน 1,696 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวเป็นเงิน 43,248 บาท แต่ถ้าคิดตามการจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58 ตามหน่วยการขนส่ง 2 หน่วย ค่าเสียหายหน่วยละ 10,000 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท หรือคิดตามน้ำหนักสุทธิกิโลกรัมละ 30 บาท จากน้ำหนักสุทธิ 818 กิโลกรัม เป็นเงิน 24,540 บาท เห็นได้ว่าการคิดค่าเสียหายตามข้อจำกัดความรับผิดที่กำหนดในใบตราส่งเป็นเงิน 43,248 บาท ดังกล่าว สูงกว่าค่าเสียหายที่คิดตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 58 ดังนี้ ย่อมเป็นกรณีที่ผู้ส่งของและผู้ขนส่งตกลงกำหนดความรับผิดของผู้ขนส่งสูงกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา 58 จึงไม่นำการจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58 มาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติมาตรา 60 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8460/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีละเมิด: การรับสภาพหนี้ต่อผู้เสียหายโดยตรงเท่านั้นที่ทำให้สะดุดหยุดอายุความ
จำเลยขับรถยนต์บรรทุกชนกับรถยนต์บรรทุกของโจทก์ซึ่ง ป.เป็นผู้ขับ เป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์เสียหายและ ป.ได้รับบาดเจ็บ ป.รู้ว่าจำเลยได้ทำละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่วันเกิดเหตุแล้ว โจทก์เป็นภริยาของ ป.และอยู่บ้านเดียวกันเชื่อได้ว่าโจทก์จะต้องรู้ว่าจำเลยเป็นผู้ทำละเมิดต่อโจทก์อย่างช้าก็ในช่วงที่ ป.รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลา 1 ปี 1 เดือนเศษ จึงต้องฟังว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้1 ปีเศษแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
เหตุที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเพราะเหตุที่ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยชำระหนี้ให้บางส่วนตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (1)ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้กระทำต่อเจ้าหนี้
การที่จำเลยนำค่ารักษาพยาบาลไปชำระให้แก่ ป. เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำต่อ ป. และเมื่อมิใช่หนี้ที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์ จึงหาทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1)ไม่
of 10