คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 193/14 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8460/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีละเมิด: การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้รับผิดชอบทำให้เริ่มนับอายุความ
จำเลยขับรถยนต์บรรทุกชนกับรถยนต์บรรทุกของโจทก์ซึ่ง ป. เป็นผู้ขับเป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์เสียหายและ ป. ได้รับบาดเจ็บ ป. รู้ว่าจำเลยได้ทำละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่วันเกิดเหตุแล้ว โจทก์เป็นภริยาของ ป. และอยู่บ้านเดียวกันเชื่อได้ว่าโจทก์จะต้องรู้ว่าจำเลยเป็นผู้ทำละเมิดต่อโจทก์อย่างช้าก็ในช่วงที่ ป. รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลา 1 ปี 1 เดือนเศษ จึงต้องฟังว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้1 ปีเศษแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
เหตุที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเพราะเหตุที่ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยชำระหนี้ให้บางส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้กระทำต่อเจ้าหนี้
การที่จำเลยนำค่ารักษาพยาบาลไปชำระให้แก่ ป. เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำต่อ ป. และเมื่อมิใช่หนี้ที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์ จึงหาทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7873/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับเหมาช่วงต่อความเสียหายที่เกิดจากการก่อสร้าง และอายุความจากการยอมรับสภาพหนี้
จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงที่ดินโจทก์ ได้ปลูกสร้างอาคารชุดสูง 33 ชั้น จำนวน 4 อาคาร เพื่อขายหรือให้เช่า ระหว่างก่อสร้างอาคารดังกล่าว บ้านและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์เกิดความเสียหาย ดังนี้ จำเลยเป็นเจ้าของโครงการอาคารชุดและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารในโครงการทั้งหมด แม้จำเลยจะทำสัญญาว่าจ้างบริษัทอื่นให้ดำเนินการก่อสร้างในส่วนต่าง ๆ แทน แต่จำเลยก็ยังคงเป็นเจ้าของกิจการก่อสร้างในโครงการทั้งหมด และตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าว เช่น สัญญาซื้อเสาเข็มคอนกรีตปรากฏตามสัญญาว่า จำเลยจะต้องจัดหาสถานที่สำหรับกองเสาเข็มและจัดทำทางเพื่อให้รถบรรทุกเสาเข็มเข้าไปส่งยังจุดทำงานได้โดยสะดวก และสัญญาว่าจ้างตอกเสาเข็มปรากฏตามสัญญาว่า จำเลยต้องรับผิดชอบกรณีที่มีความเสียหายของอาคารข้างเคียงเนื่องจากความสั่นสะเทือนหรือจากแรงดันของดินจากการตอกเสาเข็ม เช่นนี้ถือว่าจำเลยต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ทั้งสองในฐานะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ ตามป.พ.พ.มาตรา 428
คู่ความแถลงร่วมกันให้กรมโยธาธิการประเมินความเสียหายเกี่ยวกับตัวอาคารพิพาทและกรมโยธาธิการได้จัดส่งเอกสารสรุปผลการประเมินราคาค่าก่อสร้างมาให้แล้ว ซึ่งคู่ความยอมรับราคากลางที่กรมโยธาธิการเสนอมาและขออ้างส่งต่อศาล เป็นการแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเกี่ยวกับปริมาณค่าเสียหายของโจทก์ทั้งสองโดยมีเงื่อนไขว่าให้เป็นไปตามที่วิศวกรของกรมโยธาธิการประเมินราคา คู่ความทั้งสองฝ่ายย่อมต้องถูกผูกพันเป็นยุติตามที่วิศวกรของกรมโยธาธิการประเมินราคามา จะโต้แย้งเป็นอย่างอื่น หรืออ้างความเห็นของพยานคนใดมาหักล้างมิได้
การก่อสร้างอาคารตามโครงการของจำเลยเริ่มตั้งแต่ปี 2533 จนถึงปี 2537 ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่อาคารและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ทั้งสองนั้น เป็นผลมาจากการดำเนินการก่อสร้างของจำเลยมิได้เกิดขึ้นครั้งเดียวแล้วเสร็จสิ้นไปหากแต่เกิดต่อเนื่องกันมาเป็นระยะ ๆ ตราบเท่าที่ยังมีการก่อสร้างตามโครงการของจำเลย โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536 จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยได้ให้ พ. เข้าไปซ่อมบ้านของโจทก์ทั้งสองจนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2535 อันถือเป็นการที่ลูกหนี้ได้กระทำการอันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้รายนี้ เป็นผลให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7873/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการก่อสร้างอาคาร, อายุความ, การยอมรับสภาพหนี้
จำเลยเป็นเจ้าของโครงการอาคารชุดและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารในโครงการทั้งหมดแม้จำเลยจะทำสัญญาว่าจ้างบริษัทอื่นให้ดำเนินการก่อสร้างในส่วนต่าง ๆแทน แต่จำเลยก็ยังคงเป็นเจ้าของกิจการก่อสร้างในโครงการทั้งหมดและตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าว เช่น สัญญาซื้อเสาเข็มคอนกรีตว่า จำเลยจะต้องจัดหาสถานที่สำหรับกองเสาเข็มและจัดทำทางเพื่อให้รถบรรทุกเสาเข็มเข้าไปส่งยังจุดทำงานได้โดยสะดวก และสัญญาว่าจ้างตอกเสาเข็มว่าจำเลยต้องรับผิดชอบกรณีที่มีความเสียหายของอาคารข้างเคียงเนื่องจากความสั่นสะเทือนหรือจากแรงดันของดินจากการตอกเสาเข็ม เช่นนี้ถือว่าจำเลยต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกในฐานะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428
คำแถลงของคู่ความมีลักษณะเป็นการแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเกี่ยวกับปริมาณค่าเสียหายของโจทก์โดยมีเงื่อนไขว่าให้เป็นไปตามที่วิศวกรของกรมโยธาธิการประเมินราคา คู่ความทั้งสองฝ่ายย่อมต้องถูกผูกพันเป็นยุติตามที่วิศวกรของกรมโยธาธิการประเมินราคามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1) คู่ความจะโต้แย้งเป็นอย่างอื่นหรืออ้างความเห็นของพยานคนใดมาหักล้างมิได้
การก่อสร้างอาคารตามโครงการของจำเลยเริ่มตั้งแต่ปี 2533จนถึงปี 2537 ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่อาคารและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์นั้น เป็นผลมาจากการดำเนินการก่อสร้างของจำเลย มิได้เกิดขึ้นครั้งเดียวแล้วเสร็จสิ้นไป หากแต่เกิดต่อเนื่องกันมาเป็นระยะ ๆ ตราบเท่าที่ยังมีการก่อสร้างตามโครงการของจำเลย จำเลยได้ให้ พ. เข้าไปซ่อมบ้านของโจทก์จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2535 อันถือเป็นการที่ลูกหนี้ได้กระทำการอันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้รายนี้เป็นผลให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างช่างฝีมือ: การสะดุดหยุด และการรับสภาพหนี้ ทำให้ระยะเวลาเริ่มนับใหม่
จำเลยที่ 1 ว่าจ้างโจทก์ตกแต่ง จัดทำและติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ภายในอาคาร โจทก์ทำงานเสร็จและส่งมอบแล้ว แต่มีงานที่ต้องซ่อมแซมอีกเล็กน้อย ส่วนจำเลยที่ 1 ชำระค่าจ้างเกือบครบแล้ว โดยตกลงกันให้ชำระเงินที่ค้าง เมื่อโจทก์ซ่อมแซมงานดังกล่าวเสร็จ กรณีจึงเข้าลักษณะโจทก์ผู้เป็นช่างฝีมือเรียกเอาค่าการงานที่ได้ทำจากจำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้าง ซึ่งมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)
จำเลยที่ 1 ชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายบางส่วนให้แก่โจทก์วันที่ 3 พฤษภาคม 2534 ฉะนั้น ต้องเริ่มนับอายุความ ตั้งแต่วันดังกล่าว ซึ่งถือว่าจำเลยรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องโดยชำระหนี้ให้บางส่วน อายุความย่อม สะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) การนับระยะเวลาจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2534 และครบ 2 ปี ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2536 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 23 กันยายน 2537 คดีจึงขาดอายุความ แต่ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2536 อันเป็นระยะเวลาก่อนโจทก์ฟ้องซึ่งคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 1 มีหนังสือทักท้วงโจทก์ว่า ยอดหนี้รายพิพาทที่โจทก์ทวงถามมานั้นไม่ถูกต้อง อีกทั้งเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2537 จำเลยที่ 1 ยังมีหนังสือแจ้งขอให้โจทก์ลดเงินที่ค้างลงอีก 30,000 บาท และขอให้โจทก์ไปซ่อมแซมงานในส่วนที่ค้างอยู่ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่ายังเป็นหนี้โจทก์อยู่ อันเป็นการรับสภาพความรับผิดซึ่งมีผลเท่ากับเป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/24 ดั้งนั้น เมื่อนับจากวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวถึงวันฟ้อง ไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงยัง ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเดินสะพัด, อายุความ, และการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันกับโจทก์ซึ่งเป็นธนาคารแล้วจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินเกินกว่าจำนวนเงินที่จำเลยมีอยู่ในบัญชีและโจทก์ยอมผ่อนผันยอมจ่ายไปให้ โจทก์ได้หักทอนบัญชีทุกเดือนและคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำนวนเงินที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในเดือนนั้นส่วนอัตราดอกเบี้ยโจทก์คิดตามอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าได้ซึ่งเกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีโจทก์และจำเลยถือปฏิบัติต่อกันเช่นนี้เป็นเวลาหลายปีมีการนำเงินเข้าและถอนเงินจากบัญชีหลายสิบครั้ง แสดงว่าโจทก์จำเลยตกลงให้หักทอนบัญชีหนี้อันเกิดแต่กิจการในระหว่างกันและคงชำระหนี้ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือถือได้ว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกันโดยปริยาย จำเลยไม่ได้นำเงินเข้าหรือถอนเงินจากบัญชีนั้นเป็นเวลาถึง 5 ปีเศษ โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยถอนเงินจากบัญชี แสดงว่าโจทก์และจำเลยไม่ประสงค์จะเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป โจทก์หักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยจึงเลิกกันโดยปริยายนับแต่วันนั้น การที่ต่อมาจำเลยนำเงินเข้าบัญชีและโจทก์นำไปหักใช้หนี้ จึงเป็นการนำเงินเข้าเพื่อชำระหนี้หาทำให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดซึ่งเลิกกันไปแล้ว เกิดขึ้นมาใหม่หรือกลับมามีผลไม่ แม้การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีในภายหลังดังกล่าวจะไม่มีผลต่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่เลิกไปแล้ว แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการชำระหนี้บางส่วน ย่อมมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1)ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนหน้านั้นไม่นับเข้าในอายุความ และให้เริ่มนับใหม่ตั้งแต่เวลานั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/15 สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ต้นเงินตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30ส่วนอายุความเรียกดอกเบี้ยค้างชำระมีอายุความ 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินค้า/บริการจากบัตรเครดิต: การทดรองจ่ายไม่ใช่การเบิกเงินเกินบัญชี
สินเชื่อบัตรเครดิตที่เจ้าหนี้ให้แก่ลูกค้าเพื่อซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าและสถานประกอบการค้า เจ้าหนี้ได้ออกบัตรเครดิตให้แก่ลูกค้า แล้วลูกค้าของเจ้าหนี้สามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าและสถานประกอบการที่มีข้อตกลงกับเจ้าหนี้ โดยลูกค้าไม่ต้อง ชำระราคาสินค้าและการใช้บริการด้วยเงินสดแต่ร้านค้า และสถานประกอบการจะส่งรายการค่าใช้จ่ายไปเรียกเก็บเงิน จากเจ้าหนี้เมื่อเจ้าหนี้ชำระเงินให้แก่ร้านค้าและสถานประกอบการ แทนลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตไปแล้วจะเรียกเก็บเงินจากลูกค้า ผู้ใช้บัตรเครดิตภายหลัง อันเป็นการเรียกเอาเงินที่เจ้าหนี้ ได้ออกทดรองไป แต่การเบิกเงินเกินบัญชีเป็นการเบิกเงิน จากโจทก์ไปโดยตรงหาใช่เจ้าหนี้ออกเงินทดรองแทนลูกค้า ของเจ้าหนี้ไปก่อนดังเช่นกรณีลูกค้าใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้า และบริการไม่ การให้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงิน เกินบัญชีจึงมีลักษณะแตกต่างกัน แม้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงินเกินบัญชีต่างมีวงเงิน กำหนดไว้เหมือนกัน ก็เป็นเพียงการจำกัดมิให้ลูกค้าใช้บัตรเครดิต ซื้อสินค้าและบริการเกินไปกว่าวงเงินที่กำหนดไว้ในการให้ สินเชื่อบัตรเครดิต และจำกัดมิให้ลูกค้าเบิกเงินจาก บัญชีเงินฝากกระแสรายวันเกินกว่าวงเงินที่กำหนดใน สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ทั้งการที่เจ้าหนี้ทดรองจ่ายเงิน ค่าสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ร้านค้าและสถานประกอบการ แทนลูกค้าไปก่อน แล้วนำไปหักออกจากวงเงินที่ให้สินเชื่อ บัตรเครดิตก็ด้วยจุดประสงค์เพื่อมิให้เกินกำหนดวงเงินที่เจ้าหนี้ให้สินเชื่อบัตรเครดิตเท่านั้น หาได้ทำให้หนี้เงินที่เจ้าหนี้ออก ทดรองไปสิ้นสุดลงและตกเป็นหนี้ตามวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิตไม่ จำนวนเงินที่เจ้าหนี้จ่ายค่าซื้อสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ ร้านค้าและสถานประกอบการยังคงเป็นเงินที่เจ้าหนี้ ออกทดรองแทนลูกหนี้ไป และในการให้การบริการแก่ลูกค้า ผู้ใช้บัตรเครดิต เจ้าหนี้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ รวมทั้ง ดอกเบี้ยด้วย เจ้าหนี้จึงเป็นผู้ประกอบการค้าทำการงานต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตกรุงไทยของเจ้าหนี้ และการที่ เจ้าหนี้ชำระเงินแก่ร้านค้าและผู้ประกอบการแทนลูกค้า ผู้ใช้บัตรเครดิตไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงิน จากลูกหนี้ภายหลัง เป็นการเรียกเอาเงินที่เจ้าหนี้ ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ผู้ประกอบการค้ารับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไป มีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)ลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ครั้งสุดท้ายเป็นบางส่วนเป็นการรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว ตามมาตรา 193/14(1) ประกอบมาตรา 193/15 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าว เมื่อพ้นกำหนด 2 ปีแล้ว สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความ ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1) คดีล้มละลาย เจ้าหนี้ฎีกาว่า เจ้าหนี้ยังมิได้บอกกล่าว ทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา เจ้าหนี้ยังไม่อาจ บังคับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ได้อายุความจึงยัง ไม่เริ่มนับนั้น เจ้าหนี้เพิ่งจะยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้น โต้เถียงในชั้นฎีกาเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องเจ้าหนี้บัตรเครดิตและการล้มละลาย: การเบิกเงินเกินบัญชีกับสินเชื่อบัตรเครดิตมีลักษณะต่างกัน
สินเชื่อบัตรเครดิตที่เจ้าหนี้ให้แก่ลูกค้าเพื่อซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าและสถานประกอบการเจ้าหนี้ได้ออกบัตรเครดิตให้แก่ลูกค้า แล้วลูกค้าของเจ้าหนี้สามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าและสถานประกอบการที่มีข้อตกลงกับเจ้าหนี้ โดยลูกค้าไม่ต้องชำระราคาสินค้าและการใช้บริการด้วยเงินสดแต่ร้านค้าและสถานประกอบการจะส่งรายการค่าใช้จ่ายไปเรียกเก็บเงินจากเจ้าหนี้เมื่อเจ้าหนี้ชำระเงินให้แก่ร้านค้าและสถานประกอบการแทนลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตไปแล้วจะเรียกเก็บเงินจากลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตภายหลัง อันเป็นการเรียกเอาเงินที่เจ้าหนี้ได้ออกทดรองไป แต่การเบิกเงินเกินบัญชีเป็นการเบิกเงินจากโจทก์ไปโดยตรงหาใช่เจ้าหนี้ออกเงินทดรองแทนลูกค้าของเจ้าหนี้ไปก่อนดังเช่นกรณีลูกค้าใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าและบริการไม่ การให้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงินเกินบัญชีจึงมีลักษณะแตกต่างกัน
แม้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงินเกินบัญชีต่างมีวงเงินกำหนดไว้เหมือนกัน ก็เป็นเพียงการจำกัดมิให้ลูกค้าใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าและบริการเกินไปกว่าวงเงินที่กำหนดไว้ในการให้สินเชื่อบัตรเครดิต และจำกัดมิให้ลูกค้าเบิกเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเกินกว่าวงเงินที่กำหนดในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ทั้งการที่เจ้าหนี้ทดรองจ่ายเงินค่าสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ร้านค้าและสถานประกอบการแทนลูกค้าไปก่อน แล้วนำไปหักออกจากวงเงินที่ให้สินเชื่อบัตรเครดิตก็ด้วยจุดประสงค์เพื่อมิให้เกินกำหนดวงเงินที่เจ้าหนี้ให้สินเชื่อบัตรเครดิตเท่านั้น หาได้ทำให้หนี้เงินที่เจ้าหนี้ออกทดรองไปสิ้นสุดลงและตกเป็นหนี้ตามวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิตไม่ จำนวนเงินที่เจ้าหนี้จ่ายค่าซื้อสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ร้านค้าและสถานประกอบการยังคงเป็นเงินที่เจ้าหนี้ออกทดรองแทนลูกหนี้ไป และในการให้การบริการแก่ลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิต เจ้าหนี้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ รวมทั้งดอกเบี้ยด้วย เจ้าหนี้จึงเป็นผู้ประกอบการค้าทำการงานต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตกรุงไทยของเจ้าหนี้ และการที่เจ้าหนี้ชำระเงินแก่ร้านค้าและผู้ประกอบการแทนลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ภายหลัง เป็นการเรียกเอาเงินที่เจ้าหนี้ได้ออกเงินทดรองไป
สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ผู้ประกอบการค้ารับทำการงานต่าง ๆเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไป มีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (7)ลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ครั้งสุดท้ายเป็นบางส่วนเป็นการรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว ตามมาตรา193/14 (1) ประกอบมาตรา 193/15 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนด 2 ปีแล้ว สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความ ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (1)
คดีล้มละลาย เจ้าหนี้ฎีกาว่า เจ้าหนี้ยังมิได้บอกกล่าวทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา เจ้าหนี้ยังไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ได้อายุความจึงยังไม่เริ่มนับนั้น เจ้าหนี้เพิ่งจะยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นโต้เถียงในชั้นฎีกาเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมล่วงหน้าในสัญญาค้ำประกัน สัญญารับสภาพหนี้ไม่เป็นการแปลงหนี้
ตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 3 ตกลงกับโจทก์ว่า หากมีการผ่อนเวลาชำระหนี้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อ ภายในประเทศ หรือขยายเวลาอนุญาตให้ไปศึกษาต่อแก่ จำเลยที่ 1 ไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้ถือว่าจำเลยที่ 3 ได้ตกลง ให้ความยินยอมในการผ่อนชำระหนี้หรือขยายระยะเวลานั้น ด้วยทุกครั้งและยังรับเป็นผู้ค้ำประกันตามสัญญาดังกล่าว ตลอดไป เป็นข้อตกลงของจำเลยที่ 3 ที่ให้ความยินยอมล่วงหน้า ดังนั้น สัญญารับสภาพหนี้ซึ่งโจทก์ขยายเวลาชำระหนี้ ให้แก่จำเลยที่ 1 จึงถือว่าได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 แล้ว ซึ่งการทำสัญญารับสภาพหนี้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นการทำขึ้นเพื่อรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องซึ่ง จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์อันเป็นเหตุให้อายุความ สะดุดหยุดลงเท่านั้น มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 กับโจทก์ ได้ตกลงเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้อันจะทำ ให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่แต่อย่างใด จำเลยที่ 3 จึงยังต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6038/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าสินค้า: การชำระหนี้บางส่วนไม่สะดุดอายุความเมื่อยังไม่ถึงกำหนดชำระทั้งหมด
จำเลยได้สั่งซื้อสินค้าประเภทอุปกรณ์เครื่องยนต์จากโจทก์ในราคา 100,000 บาท ตกลงเงื่อนไขการชำระเงินไว้ว่าให้จำเลยชำระร้อยละ30 ของราคาสินค้าในวันส่งของ ส่วนที่เหลือจ่ายเป็นเช็คล่วงหน้าจำนวน 6 ฉบับถึงกำหนดชำระทุก 30 วัน ดังนั้น จำเลยต้องชำระเงินจำนวน 34,000 บาทซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยในวันส่งของนั้นเอง ส่วนค่าสินค้าจำนวน66,000 บาท ที่จำเลยชำระเป็นเช็คจำนวน 6 ฉบับ ถึงกำหนดชำระเงินทุก 30 วันตามลำดับ เป็นการผ่อนชำระค่าสินค้าเป็นคราว ๆ มิใช่เป็นการรับสภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้บางส่วนของเงินจำนวน 34,000 บาท อายุความจึงไม่สะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (1)
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบมีอายุความ 2 ปี นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1) ประกอบมาตรา 193/12 เมื่อนับจากวันที่โจทก์ส่งสินค้าให้จำเลยถึงวันฟ้องเกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6038/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีซื้อขายสินค้า: การผ่อนชำระไม่สะดุดอายุความ
จำเลยได้สั่งซื้อสินค้าประเภทอุปกรณ์เครื่องยนต์จากโจทก์ในราคา 100,000 บาท ตกลงเงื่อนไข การชำระเงินไว้ว่าให้จำเลยชำระร้อยละ 30 ของราคาสินค้าในวันส่งของ ส่วนที่เหลือจ่ายเป็นเช็คล่วงหน้าจำนวน 6 ฉบับถึงกำหนดชำระทุก 30 วัน ดังนั้นจำเลยต้องชำระเงินจำนวน 34,000 บาท ซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยในวันส่งของนั้นเองส่วนค่าสินค้าจำนวน 66,000 บาท ที่จำเลยชำระเป็นเช็คจำนวน 6 ฉบับ ถึงกำหนดชำระเงินทุก 30 วันตามลำดับ เป็นการผ่อนชำระค่าสินค้าเป็นคราว ๆ มิใช่เป็นการรับสภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้บางส่วนของเงินจำนวน 34,000 บาท อายุความจึงไม่สะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) สิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบมีอายุความ 2 ปีนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1)ประกอบมาตรา 193/12 เมื่อนับจากวันที่โจทก์ส่งสินค้าให้จำเลยถึงวันฟ้องเกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
of 10