คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 193/14 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5419/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้ต้องทำโดยลูกหนี้เอง สัญญาที่ตัวแทนไม่มีอำนาจทำแทน ไม่มีผลผูกพัน
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) ผู้ที่จะรับสภาพหนี้ได้มีเฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ทำสัญญารับใช้หนี้แทน ซ. ลูกหนี้ของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.4 ขึ้นแต่ไม่มีผลบังคับเพราะ น. คู่สัญญาผู้กระทำการแทนโจทก์กระทำการโดยปราศจากอำนาจ แม้ฟังได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้แสดงเจตนาเพียงฝ่ายเดียวผูกพันตนเข้ารับชำระหนี้แก่โจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์ อันเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว ก็ไม่มีลักษณะของลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) ไม่มีผลบังคับตามกฎหมายจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5419/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้โดยบุคคลภายนอกและผลผูกพันตามกฎหมาย
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (1) ผู้ที่จะรับสภาพหนี้ได้มีเฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ทำสัญญารับใช้หนี้แทน ซ.ลูกหนี้ของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.4 ขึ้น แต่ไม่มีผลบังคับเพราะ น.คู่สัญญาผู้กระทำการแทนโจทก์กระทำการโดยปราศจากอำนาจแม้ฟังได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้แสดงเจตนาเพียงฝ่ายเดียวผูกพันตนเข้ารับชำระหนี้แก่โจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์ อันเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว ก็ไม่มีลักษณะของลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (1) ไม่มีผลบังคับตามกฎหมายจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5419/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้ต้องเป็นลูกหนี้เท่านั้น สัญญาที่บุคคลภายนอกรับแทนลูกหนี้ไม่มีผลบังคับ
การรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 วรรคหนึ่งผู้ที่จะรับสภาพหนี้ได้มีเฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกทำสัญญารับใช้หนี้แทน ซ. ลูกหนี้ของโจทก์แต่ไม่มีผลบังคับเพราะ น. คู่สัญญาผู้กระทำการแทนโจทก์กระทำการโดยปราศจากอำนาจ แม้ฟังว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้แสดงเจตนาฝ่ายเดียวผูกพันตนเข้ารับชำระหนี้แก่โจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์อันเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว ก็ไม่มีลักษณะของลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามบทกฎหมายดังกล่าว ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันตามสัญญารับใช้หนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ผ่อนชำระ: สิทธิเรียกร้องขาดอายุความเมื่อฟ้องพ้น 5 ปีนับจากวันผิดนัด แม้มีการชำระหนี้บางส่วน
การที่บ. ผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนตามตารางกำหนดชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ยืมโดยตกลงผ่อนชำระงวดที่1ถึงงวดที่5งวดละ27,800บาทงวดที่6จำนวน26,642.41บาทงวดที่7จำนวน47,450บาทแล้วลดหลั่นกันไปแต่ละเดือนจนถึงงวดสุดท้ายจำนวน22,950บาทรวมทั้งหมด57งวดถือได้ว่าบ. ตกลงชำระหนี้เพื่อผ่อนทุนเป็นงวดๆตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/33(2)สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ5ปีโจทก์ฟ้องคดีวันที่16พฤศจิกายน2536เป็นเวลาเกินกว่า5ปีนับแต่วันที่9มกราคม2523ซึ่งเป็นวันที่บ. ผิดนัดและโจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้บ. ชำระหนี้ทั้งหมดได้คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา193/33(2) โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้บ. ชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่9มกราคม2523แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเมื่อวันที่7กรกฎาคม2531ภายหลังเวลาที่คดีขาดอายุความแล้วและที่บ.ชำระหนี้แก่โจทก์ไปจำนวนหนึ่งนั้นก็เป็นการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความแล้วเช่นนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องรับสภาพหนี้การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของโจทก์และการที่บ.ชำระหนี้โจทก์ไปบางส่วนจึงไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง สำหรับจำเลยที่1ที่2และส. บิดาจำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันนั้นถือตามอายุความของลูกหนี้เมื่อคดีเกี่ยวกับบ.ลูกหนี้ขาดอายุความแล้วคดีที่เกี่ยวกับจำเลยที่1ที่2และส. บิดาจำเลยที่3ผู้ค้ำประกันก็ย่อมขาดอายุความไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ผ่อนชำระ และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
การที่ บ. ผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนตามตารางกำหนดชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ยืมโดยตกลงผ่อนชำระงวดที่ 1 ถึงงวดที่ 5 งวดละ 27,800 บาทงวดที่ 6 จำนวน 26,642.41 บาท งวดที่ 7 จำนวน 47,450 บาทแล้วลดหลั่นกันไปแต่ละเดือนจนถึงงวดสุดท้ายจำนวน 22,950 บาทรวมทั้งหมด 57 งวด ถือได้ว่า บ. ตกลงชำระหนี้เพื่อผ่อนทุนเป็นงวด ๆ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(2)สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี โจทก์ฟ้องคดีวันที่16 พฤศจิกายน 2536 เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่9 มกราคม 2523 ซึ่งเป็นวันที่ บ. ผิดนัดและโจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ บ. ชำระหนี้ทั้งหมดได้คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 193/33(2) โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ บ. ชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่9 มกราคม 2523 แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2531 ภายหลังเวลาที่คดีขาดอายุความแล้วและที่ บ.ชำระหนี้แก่โจทก์ไปจำนวนหนึ่งนั้นก็เป็นการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความแล้วเช่นนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องรับสภาพหนี้ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของโจทก์และการที่บ.ชำระหนี้โจทก์ไปบางส่วน จึงไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง สำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ส. บิดาจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันนั้น ถือตามอายุความของลูกหนี้ เมื่อคดีเกี่ยวกับบ.ลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว คดีที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 2และ ส. บิดาจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันก็ย่อมขาดอายุความไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการผ่อนชำระ - สิทธิเรียกร้องขาดอายุความเมื่อฟ้องเกิน 5 ปีนับจากวันผิดนัด
การที่ บ.ผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนตามตารางกำหนดชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ยืมโดยตกลงผ่อนชำระงวดที่ 1 ถึงงวดที่ 5 งวดละ 27,800 บาท งวดที่ 6 จำนวน 26,642.41 บาท งวดที่ 7 จำนวน47,450 บาท แล้วลดหลั่นกันไปแต่ละเดือนจนถึงงวดสุดท้ายจำนวน 22,950 บาทรวมทั้งหมด 57 งวด ถือได้ว่า บ.ตกลงชำระหนี้เพื่อผ่อนทุนเป็นงวด ๆ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/33 (2) สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 16 พฤศจิกายน 2536 เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ 9 มกราคม2523 ซึ่งเป็นวันที่ บ.ผิดนัดและโจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ บ.ชำระหนี้ทั้งหมดได้คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 193/33 (2)
โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ บ.ชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 9มกราคม 2523 แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 7กรกฎาคม 2531 ภายหลังเวลาที่คดีขาดอายุความแล้ว และที่ บ.ชำระหนี้แก่โจทก์ไปจำนวนหนึ่งนั้นก็เป็นการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความแล้วเช่นนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องรับสภาพหนี้ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของโจทก์และการที่บ.ชำระหนี้โจทก์ไปบางส่วน จึงไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
สำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ส.บิดาจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันนั้น ถือตามอายุความของลูกหนี้ เมื่อคดีเกี่ยวกับ บ.ลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว คดีที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ส.บิดาจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันก็ย่อมขาดอายุความไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความและการบอกกล่าวบังคับจำนอง: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องไม่ขาดอายุความ และการบอกกล่าวบังคับจำนองชอบแล้ว
จำเลยที่1ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์โจทก์ได้มีมติให้จำเลยที่1ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอมได้มีหนังสือร้องเรียนไปยังกรมส่งเสริมสหกรณ์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเกี่ยวกับการยุบตัวของข้าวเปลือกอีกครั้งหนึ่งหลังจากนั้นคณะกรรมการดำเนินการได้ประชุมเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2535 พิจารณาหาผู้รับผิดชอบชดใช้ข้าวเปลือกขาดบัญชีและมีมติในวันเดียวกันนั้นให้จำเลยที่ 1 รับผิดชอบใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยให้ชดใช้ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ร่วมประชุมและทำหนังสือยินยอมชดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนข้าวที่หายไปต่อโจทก์หนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2535 และเริ่มนับใหม่ต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 172 เดิม (มาตรา 193/14 (1) ใหม่)โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2536 ภายในอายุความ1ปีมาตรา448คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ มาตรา 728 การบังคับจำนองนั้นผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดไว้ในคำบอกกล่าวนั้นไม่ได้ระบุว่าต้องส่งคำบอกกล่าวโดยทางจดหมายลงทะเบียนตอบรับแต่อย่างใดพนักงานของโจทก์ไปส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ยอมรับจึงได้ทำบันทึกไว้ท้ายคำบอกกล่าวว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ยอมรับผู้ส่งจึงได้วางหนังสือไว้ต่อหน้าผู้รับและต่อหน้าพยานการบอกกล่าวบังคับจำนองชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการซื้อขายสินค้าเพื่อกิจการของลูกหนี้: 5 ปี, การยอมรับหนี้ทำให้สะดุด
โจทก์เป็นบริษัทจำกัด ประกอบกิจการโรงงานผลิตอาหารสัตว์ทุกชนิดเพื่อจำหน่าย ส่วนจำเลยมีอาชีพตั้งฟาร์มเลี้ยงกุ้ง และเป็นลูกค้าโจทก์ โดยซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์การเลี้ยงกุ้งจากโจทก์เพื่อนำไปเลี้ยงกุ้ง เมื่อจำเลยซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์การเลี้ยงกุ้งไปเพื่อเลี้ยงกุ้งจำหน่าย หาได้ซื้อไปเพื่อเลี้ยงกุ้งไว้บริโภคเอง กรณีจึงตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1) ตอนท้ายที่ว่าเว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง ดังนั้น อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ จึงมีกำหนด 5 ปี หาใช่ 2 ปี ไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ลงชื่อยอมรับยอดหนี้ตามบันทึกลงวันที่ 1 ตุลาคม 2533 อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลง เมื่อนับระยะเวลาจากวันดังกล่าวถึงวันที่ 23 เมษายน 2536ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 5 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการซื้อขายอาหารสัตว์: กรณีซื้อเพื่อกิจการค้ามีอายุความ 5 ปี
โจทก์เป็นบริษัทจำกัดประกอบกิจการโรงงานผลิตอาหารสัตว์ทุกชนิดเพื่อจำหน่ายส่วนจำเลยมีอาชีพตั้งฟาร์มเลี้ยงกุ้งและเป็นลูกค้าโจทก์โดยซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์การเลี้ยงกุ้งจากโจทก์เพื่อนำไปเลี้ยงกุ้งเมื่อจำเลยซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์การเลี้ยงกุ้งไปเพื่อเลี้ยงกุ้งจำหน่ายหาได้ซื้อไปเพื่อเลี้ยงกุ้งไว้บริโภคเองกรณีจึงตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34(1)ตอนท้ายที่ว่าเว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเองดังนั้นอายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนด5ปีหาใช่2ปีไม่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ลงชื่อยอมรับยอดหนี้ตามบันทึกลงวันที่1ตุลาคม2533อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเมื่อนับระยะเวลาจากวันดังกล่าวถึงวันที่23เมษายน2536ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด5ปีฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6187/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้, การรับสภาพหนี้, และขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้
คำฟ้องบรรยายว่า นับตั้งแต่ปี 2522 เป็นต้นมาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กู้เงินไปจากโจทก์ด้วยวิธีการนำเช็คมาขายลดและกู้เงินแบบทั่วไปหลายครั้ง ทุกครั้งที่กู้เงินไปก็ได้รับเงินไปครบถ้วนทุกครั้งและจำเลยทั้งสามได้ร่วมกันทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์หลายครั้งครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2531 คำฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้ได้บรรยายสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโดยชัดเจนแล้ว ส่วนการขายลดเช็คกี่ครั้ง กู้เงินกี่ครั้ง ครั้งละเท่าใดนั้นเป็นรายละเอียดของลูกหนี้ตามหนังสือรับสารภาพหนี้ ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมประเด็นเรื่องนี้ในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้รวมถึงจำเลยที่ 2 ด้วยจึงเป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งถึงแม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ในประเด็นนี้ไว้ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้ การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์โดย ผ. และ น.กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญลงในหนังสือมอบอำนาจเป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์จึงเป็นการกระทำของบริษัทโจทก์ แม้ต่อมา ผ. และ น.จะพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์หนังสือมอบอำนาจนี้หาระงับไปไม่ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวระบุว่ามอบอำนาจให้ ป. หรือ อ. คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์ได้เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวมีอำนาจกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทมากกว่าครั้งเดียวได้ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7(2) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อ ป. ร่วมกับ น.มอบอำนาจช่วงให้ ว. ฟ้องและดำเนินคดีนี้แทนโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้เป็นลูกหนี้มาทำสัญญารับสภาพหนี้ไว้กับโจทก์เป็นสัญญา 2 ฝ่ายอันมีลักษณะเป็นสัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่งมาตรา 350มิได้บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด ดังนี้จึงหาจำต้องให้เจ้าหนี้และลูกหนี้คนใหม่ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายไม่ และบทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็มิได้กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องแจ้งการเปลี่ยนตัวลูกหนี้คนใหม่ให้ลูกหนี้คนเดิมทราบ เมื่อไม่ปรากฏว่าได้ทำขึ้นโดยขืนใจลูกหนี้เดิมแล้ว สัญญาแปลงหนี้ใหม่ดังกล่าวจึงใช้บังคับได้
of 10