พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินฟ้องในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ศาลต้องพิจารณาตามฟ้องที่กล่าวอ้างเท่านั้น
ปัญหาว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าภาพยนตร์วีดีโอเทปของกลางเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยมิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ จึง ไม่มี สิทธิที่จะอัดเทปดังกล่าวแล้วนำออกให้ผู้อื่นเช่า ซึ่งถือว่า เป็นการนำออกโฆษณา โดยมิได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 13อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เป็นความผิดตามมาตรา 24 และ 25และลงโทษตาม มาตรา 43 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว นั้นชอบหรือไม่ปรากฏว่าโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยได้กระทำ ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยการขาย ให้เช่า หรือเสนอขาย เสนอให้เช่า หรือนำออกโฆษณาซึ่งภาพยนตร์วีดีโอเทปเพื่อการค้า โดยรู้อยู่แล้ว ว่าภาพยนตร์วีดีโอเทปดังกล่าวเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์และลิขสิทธิ์ ดังกล่าวเป็นของโจทก์ซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ อันเป็นความผิดตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27 และ 44 วรรคสอง ซึ่งมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างจากความผิดตามมาตรา 24,25 และ 43 วรรคสอง กล่าวคือความผิด ตามมาตรา 27 และ 44 วรรคสอง เป็นการกระทำ แก่งานที่ผู้กระทำความผิดรู้อยู่แล้วว่างานนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิด ลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โดยขาย ให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอขาย เสนอให้เช่า หรือเสนอให้เช่าซื้อ นำออกโฆษณา แจกจ่าย นำหรือสั่ง เข้ามาในราชอาณาจักรแต่ความผิดตามมาตรา 24,25 และ 43 วรรคสอง เป็นการกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยทำซ้ำหรือดัดแปลง หรือนำออกโฆษณาโดยมิได้รับอนุญาตตามมาตรา 13 เมื่อโจทก์มิได้บรรยาย ฟ้องถึงการกระทำความผิดของจำเลยตามมาตรา 24,25 และ 43 วรรคสอง แม้โจทก์จะอ้างบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็ไม่อาจลงโทษ จำเลยในข้อหาความผิดตามบทมาตราดังกล่าวได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยโดยฟังข้อเท็จจริงว่าการกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 24,25 และ 43 วรรคสอง ย่อมมีผลเท่ากับวินิจฉัย ว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามมาตรา 27 และ 44 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ เดียวกันไปในตัว และเมื่อโจทก์ไม่ฎีกาขอให้ลงโทษ จำเลยในข้อหาความผิดตามมาตรา 27 และ 44 วรรคสอง ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องผิดฐานความผิด ศาลไม่อาจลงโทษเกินกว่าที่ฟ้องได้ แม้จะอ้างบทมาตรานั้นในคำขอท้ายฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยได้กระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยการขายให้เช่าหรือเสนอขายเสนอให้เช่าหรือนำออกโฆษณาซึ่งภาพยนตร์วีดีโอเทปเพื่อการค้าโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ.2521มาตรา27และ44วรรคสองซึ่งมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างจากความผิดตามมาตรา24,25และ43วรรคสองกล่าวคือความผิดตามมาตรา27และ44วรรคสองเป็นการกระทำแก่งานที่ผู้กระทำความผิดรู้อยู่แล้วว่างานนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยขายให้เช่าให้เช่าซื้อหรือเสนอขายเสนอให้เช่าหรือเสนอให้เช่าซื้อนำออกโฆษณาแจกจ่ายนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรแต่ความผิดตามมาตรา24,25และ43วรรคสองเป็นการกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยทำซ้ำหรือดัดแปลงหรือนำออกโฆษณาโดยมิได้รับอนุญาตตามมาตรา13เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงการกระทำความผิดของจำเลยตามมาตรา24,25และ43วรรคสองแม้โจทก์จะอ้างบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้องก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดตามบทมาตราดังกล่าวได้เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่กล่าวในฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ต้องระบุองค์ประกอบความผิดให้ถูกต้องตามบทกฎหมายที่ฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยได้กระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยการขาย ให้เช่า หรือเสนอขาย เสนอให้เช่า หรือนำออกโฆษณาซึ่งภาพยนตร์วีดีโอเทปเพื่อการค้า โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา27 และ 44 วรรคสอง ซึ่งมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างจากความผิดตามมาตรา 24,25 และ 43 วรรคสอง กล่าวคือ ความผิดตามมาตรา 27และ 44 วรรคสองเป็นการกระทำแก่งานที่ผู้กระทำความผิดรู้อยู่แล้วว่างานนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โดยขาย ให้เช่าให้เช่าซื้อ หรือเสนอขาย เสนอให้เช่า หรือเสนอให้เช่าซื้อ นำออกโฆษณา แจกจ่าย นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร แต่ความผิดตามมาตรา 24,25 และ 43 วรรคสอง เป็นการกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยทำซ้ำ หรือดัดแปลง หรือนำออกโฆษณาโดยมิได้รับอนุญาตตามมาตรา 13 เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงการกระทำความผิดของจำเลยตามมาตรา 24,25 และ 43 วรรคสอง แม้โจทก์จะอ้างบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดตามบทมาตราดังกล่าวได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา192 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานภาพยนตร์ต่างประเทศ: การโฆษณาครั้งแรกในประเทศภาคีอนุสัญญาเบอร์นไม่เพียงพอต่อการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ ต้องมีการจำหน่ายสำเนา
ปรากฏตามเอกสารที่โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาทำขึ้นพร้อมคำแปลและอ้างเป็นพยานว่า พ. รองประธานกรรมการอาวุโสของโจทก์ยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ยืนยันว่า โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาท ด. ที่ปรึกษาสมาคมลงชื่อรับรองลายมือชื่อของพ.ว่าเป็นผู้ได้รับมอบอำนาจให้มาลงนามของโจทก์ร.โนตารีปับลิกมลรัฐนิวยอร์ก รับรองว่า พ.และด. ทำการปฏิญาณต่อหน้าตนน. เสมียนเคาน์ตี้และจ่าศาลของศาลซูพรีมคอร์ต แห่งมลรัฐนิวยอร์กประจำเคาน์ตี้ออฟนิวยอร์กรับรองว่าร.เป็นโนตารีปับลิกประจำมลรัฐนิวยอร์กและเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ย.กงศุล ใหญ่ ไทย ณ มลรัฐนิวยอร์กรับรองลายมือชื่อของน. ดังนี้ จะเห็นได้ว่าเอกสารดังกล่าวมีการรับรองกันมาตามลำดับเนื้อความแห่งเอกสารนั้นย่อมมีอยู่จริง จึงนำมาฟังประกอบคำเบิกความของ ล. กรรมการบริษัท ซ. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้ว่า ภาพยนตร์พิพาทเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ ทั้งบริษัท ซ. ได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้นำภาพยนตร์ของโจทก์มาทำวีดีโอเทปซ้ำเพื่อออกจำหน่ายแก่สมาชิกในประเทศไทยติดต่อกันมาได้ 3 ปีแล้ว โจทก์มอบอำนาจให้บริษัทซ. ปกป้องลิขสิทธิ์และฟ้องร้องตามหนังสือมอบอำนาจ ย่อมแสดงให้เห็นว่าโจทก์เป็นผู้สร้างภาพยนตร์พิพาทขึ้นเอง ภาพยนตร์พิพาทจึงเป็นงานสร้างสรรค์ของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ของโจทก์ได้ ขณะเกิดเหตุประเทศสหรัฐอเมริกายังไม่ได้เข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมทำ ณ กรุงเบอร์น ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอยู่แล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2474 โดยเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาดังกล่าวฉบับที่ทำ ณ กรุงเบอร์น เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1908และสำเร็จบริบูรณ์ด้วยโปรโตคล เพิ่มเติม ลงนาม ณ กรุงเบอร์นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1914 แต่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 ก็มิได้มีบทบัญญัติกีดกันงานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศที่มิได้เป็นภาคีในอนุสัญญาเบอร์น เพื่อไม่ให้ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใด ทั้งนี้โดยที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2526ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 159 ของ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ได้กำหนดเงื่อนไขการให้ความคุ้มครองแก่งานดังกล่าวไว้ในมาตรา 4 ว่า"งานอันมีลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1)... ในกรณีที่ได้โฆษณาแล้ว การโฆษณาต้องกระทำเป็นครั้งแรกในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา..." ด้วยเหตุนี้งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศนอกภาคีอนุสัญญาเบอร์น อย่างเช่นงานของประเทศสหรัฐอเมริกาย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ หากได้กระทำการโฆษณาเป็นครั้งแรกในประเทศใดประเทศหนึ่งที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาเบอร์น เมื่อปรากฏว่าประเทศแคนาดาเป็นประเทศภาคีประเทศหนึ่งในอนุสัญญาดังกล่าว งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศสหรัฐอเมริกาจึงอาจได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศสหรัฐอเมริกาจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ก็ต่อเมื่อได้มีการโฆษณางานนั้นตามความหมายของเงื่อนไขการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย ฉะนั้น การทำให้ปรากฏซึ่งภาพยนตร์โดยการนำออกฉายเป็นครั้งแรกในประเทศแคนาดาแม้จะถือเป็นการโฆษณา แต่ก็มิใช่การโฆษณางานในความหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯและมาตรา 4(1) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว หากแต่เป็นเพียงการโฆษณาในความหมายของคำว่า "โฆษณา" ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ซึ่งใช้เฉพาะในกรณีที่ต้องการทราบความหมายของการนำออกโฆษณาอันเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวประการหนึ่งของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13(2) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวและในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์โดยการโฆษณาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันเท่านั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงเพียงว่า โจทก์นำภาพยนตร์พิพาททั้งสองเรื่องไปฉายโฆษณาเป็นครั้งแรกในประเทศแคนาดาเท่านั้น หาได้ปรากฏว่าโจทก์ได้นำก๊อปปี้ฟิล์มภาพยนตร์พิพาทอันเป็นสำเนาจำลองออกจำหน่ายโดยให้ก๊อปปี้ฟิล์มภาพยนตร์นั้นมีปรากฏต่อสาธารณชนเป็นจำนวนมากพอสมควรแต่อย่างใดไม่ งานภาพยนตร์ของโจทก์จึงไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์: การได้มาซึ่งสิทธิและการคุ้มครองทางกฎหมาย กรณีครอบครองปรปักษ์ไม่สามารถใช้ได้กับลิขสิทธิ์
เมื่อจำเลยทั้งสองอ้างว่า โจทก์ขายลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทให้แก่ป. ต่อมา ป. ขายต่อให้จำเลยที่ 1 อีกทอดหนึ่ง แต่จำเลยทั้งสองไม่มีหลักฐานการซื้อขายลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทระหว่าง ป. กับโจทก์เป็นหนังสือมาแสดงต่อศาล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พุทธศักราช 2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า ลิขสิทธิ์นั้นโอนได้ แต่การโอนสิทธิหรือใช้ประโยชน์เช่นนั้นไม่สมบูรณ์เว้นแต่จะได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อเจ้าของหรือตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจโดยชอบจากเจ้าของลิขสิทธิ์ จึงฟังได้ว่าโจทก์ขายลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทให้ ป. ไม่มีลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทที่จะขายให้จำเลย เพลงพิพาทยังเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์อยู่ เมื่อโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองละเมิดลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาท โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง ในแผ่นเสียงที่ผลิตออกจำหน่ายก่อนจำเลยทั้งสองจะซื้อลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทจาก ป. ที่กระดาษกลางแผ่นเสียงมีข้อความระบุว่า เนื้อร้องและทำนองเป็นของผู้ใด ใครเป็นผู้ขับร้อง จำเลยทั้งสองจึงทราบดีว่าโจทก์เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้องเพลงพิพาทจำเลยทั้งสองมิได้ซื้อลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทจาก ป. โดยสุจริตเพราะหากจำเลยทั้งสองสุจริตจริงก่อนซื้อจำเลยทั้งสองน่าจะให้ป. แสดงหลักฐานว่า ป. ได้ซื้อลิขสิทธิ์มาจากโจทก์แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ขอให้ ป. แสดงหลักฐานดังกล่าวและจำเลยทั้งสองไม่มีหลักฐานการซื้อลิขสิทธิ์จากโจทก์มาแสดง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำที่มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์แล้ว โจทก์เพิ่งทราบว่า จำเลยทั้งสองละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เมื่อเดือนกรกฎาคม 2529 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2529จึงเป็นการฟ้องคดีภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่นโดยอายุการครอบครองหรือการครอบครองปรปักษ์นั้น มีได้เฉพาะกับทรัพย์สินเพียง 2 ประเภท คือ อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ซึ่งบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4ทรัพย์สิน มุ่งให้ความคุ้มครองในเรื่องกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในทรัพย์สินดังกล่าวเป็นสำคัญ ส่วนลิขสิทธิ์แม้จะเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง แต่เป็นทรัพย์สินอีกประเภทหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ จนไม่อาจจัดเป็นทรัพย์สินในความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ได้ กล่าวคือลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "ลิขสิทธิ์""งาน" และ "ผู้สร้างสรรค์" กับมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันได้ให้ความหมายของคำว่า "สิทธิแต่ผู้เดียว" ไว้โดยเฉพาะแล้ว สิทธิในงานอันมีลิขสิทธิ์ตามที่กฎหมายให้ความคุ้มครองจึงต่างกับสิทธิในกรรมสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1336 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิในลิขสิทธิ์เป็นสิทธิในนามธรรมซึ่งเป็นการให้ความคุ้มครองแก่รูปแบบของการแสดงออกซึ่งความคิดของผู้สร้างสรรค์ เป็นผลงาน 8 ประเภทตามคำจำกัดความของคำว่า"งาน" ดังกล่าวข้างต้น การจะได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์งานจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ส่วนผู้อื่นซึ่งมิใช่ผู้สร้างสรรค์ งานอาจได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8มาตรา 12 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเท่านั้น และลิขสิทธิ์มิได้มีอายุแห่งการคุ้มครองโดยไม่จำกัดเวลาอย่างกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 แต่มีอายุแห่งการคุ้มครองจำกัดและสิ้นอายุแห่งการคุ้มครองได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 ถึงมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์มิได้บัญญัติให้ผู้ใดอาจมีลิขสิทธิ์ได้โดยการครอบครองปรปักษ์ ทั้งสภาพของลิขสิทธิ์ก็ไม่อาจมีการครอบครองเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 13 ดังเช่นสิทธิในกรรมสิทธิ์บนอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีการครอบครองได้ สิ่งที่จำเลยทั้งสองครอบครองไว้จึงเป็นเพียงการครอบครองแผ่นกระดาษที่มีเนื้อเพลงพิพาทอันเป็นสังหาริมทรัพย์เท่านั้น มิได้ก่อให้เกิดสิทธิในลิขสิทธิ์ได้แต่อย่างใด การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์จะได้มาโดยทางใดได้บ้างเป็นเรื่องที่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วดังกล่าวข้างต้น เมื่อไม่มีกฎหมายให้สิทธิแก่ผู้ใดได้มาซึ่งลิขสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจอ้างว่าได้ลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะเรียกสำนวนคดีอาญาเรื่องอื่นของศาลชั้นต้นมาเป็นพยานของศาลในคดีนี้ ซึ่งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 239 และ 240 แต่เท่าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาและพิพากษามา มิได้ใช้ข้อเท็จจริงอันเกิดจากสำนวนคดีดังกล่าวเลย ไม่ทำให้คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองต้องเสียไป คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์ต้องปรากฏว่าผู้กระทำรู้ว่างานนั้นละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น การกระทำโดยตรงหรือทางอ้อมก็ถือเป็นการละเมิดได้
การละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521มีได้ 2 กรณี คือ กรณีที่เป็นการทำละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรงตามมาตรา 24 ซึ่งได้แก่การกระทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือการนำออกโฆษณาซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 13 กับกรณีที่กฎหมายให้ถือว่าเป็นการละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา 27ซึ่งได้แก่การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 27(1)ถึง (5) แต่งานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรงอีกต่อหนึ่ง ดังนั้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 27จึงต้องปรากฏว่าผู้กระทำรู้อยู่แล้วว่างานนั้นทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4594/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำคดีเครื่องหมายการค้า: ประเด็นสิทธิและประเภทของสิทธิที่อ้าง (ลิขสิทธิ์ vs. เครื่องหมายการค้า)
คดีก่อนโจทก์ฟ้องในสาระสำคัญว่าโจทก์มีลิขสิทธิ์ในภาพการ์ตูนรูปสุนัขชื่อ สนูปปี้ (SNOOPY) ประเด็นในคดีก่อนมีว่าโจทก์มีลิขสิทธิ์ในภาพการ์ตูนสนูปปี้และจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์หรือไม่ ส่วนคดีนี้ แม้ฟ้องโจทก์จะได้กล่าวถึงคำว่าลิขสิทธิ์อยู่บ้าง แต่ก็มิได้เอาเรื่องลิขสิทธิ์เป็นมูลฟ้องคดี หากแต่กล่าวอ้างว่าโจทก์ใช้ภาพการ์ตูนรูปสุนัขชื่อสนูพี้ (SNOOPY) เป็นภาพและชื่อในการค้าและเครื่องหมายการค้าในสินค้าของโจทก์ โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย ซึ่งเป็นเรื่องอ้างสิทธิเครื่องหมายการค้า ประเด็นในคดีจึงมีว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าภาพการ์ตูนรูปสุนัขชื่อสนูพี้และคำว่า SNOOPYดีกว่าจำเลยหรือไม่ ประเด็นที่จะวินิจฉัยในคดีนี้จึงไม่ใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยมาแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีก่อนฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำอันจะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์ภาพวาดจากการทำซ้ำเพื่อจำหน่าย แม้จะขายภาพต้นฉบับไปแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าขายลิขสิทธิ์ไปด้วย
โจทก์ร่วมขายภาพวาดสีน้ำมันขนาด 12 นิ้วฟุตคูณ 15 นิ้วฟุตอันเป็นงานจิตรกรรมซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม ราคาเพียงภาพละ 300 บาท ให้ อ. และ ม. ดังนี้ เชื่อได้ว่าโจทก์ร่วมขายภาพดังกล่าวเป็นภาพ ๆ ไป หาได้ขายลิขสิทธิ์ในภายให้ไปด้วยไม่ ถ้าโจทก์ร่วมอนุญาตให้นำภาพดังกล่าวไปพิมพ์ได้ก็จะต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือไว้เมื่อจำเลยที่ 1ที่ 2 ได้ทำซ้ำซึ่งภาพวาดนั้นเป็นบัตรอวยพร ปีใหม่ออกจำหน่ายแก่ประชาชนโดยมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ร่วม จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3705/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์งานที่ผิดกฎหมาย: งานสร้างสรรค์ที่มีภาพลามก ไม่สามารถอ้างลิขสิทธิ์ได้ และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ลิขสิทธิ์ที่บุคคลสามารถเป็นเจ้าของได้ จะต้องเป็นลิขสิทธิ์ในงานที่ตนสร้างสรรค์โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อปรากฏว่าวีดีโอเทปของกลาง 1ที่โจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ มีบทแสดงการร่วมเพศระหว่างหญิงและชายบางตอนอันเป็นภาพลามก ซึ่งผู้ใดทำหรือมีไว้หรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการค้า เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 งานของโจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่งานสร้างสรรค์ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. 2521 โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ ไม่ใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) และไม่มีอำนาจฟ้อง
วีดีโอเทปของกลาง 2 ที่จำเลยอ้างส่งต่อศาลในระหว่างการพิจารณา ไม่ใช่ของกลางที่พนักงานสอบสวนได้ยึดไว้ในคดี และโจทก์มิได้มีคำขอให้ริบ แม้วีดีโอเทปดังกล่าวจะมีภาพลามกรวมอยู่ด้วยอย่างเดียวกันกับวีดีโอเทปของกลาง 1 ศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งริบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ริบจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยไม่ริบวีดีโอเทปดังกล่าวได้.
วีดีโอเทปของกลาง 2 ที่จำเลยอ้างส่งต่อศาลในระหว่างการพิจารณา ไม่ใช่ของกลางที่พนักงานสอบสวนได้ยึดไว้ในคดี และโจทก์มิได้มีคำขอให้ริบ แม้วีดีโอเทปดังกล่าวจะมีภาพลามกรวมอยู่ด้วยอย่างเดียวกันกับวีดีโอเทปของกลาง 1 ศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งริบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ริบจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยไม่ริบวีดีโอเทปดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3705/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาลามกไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ลิขสิทธิ์ที่บุคคลสามารถเป็นเจ้าของได้ จะต้องเป็นลิขสิทธิ์ในงานที่ตนสร้างสรรค์โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อปรากฏว่าวีดีโอเทปของกลาง 1 ที่โจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ มีบทแสดงการร่วมเพศระหว่างหญิงและชายบางตอนอันเป็นภาพลามก ซึ่งผู้ใดทำหรือมีไว้หรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการค้า เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 งานของโจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่งานสร้างสรรค์ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. 2521 โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ ไม่ใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) และไม่มีอำนาจฟ้อง
วีดีโอเทปของกลาง 2 ที่จำเลยอ้างส่งต่อศาลในระหว่างการพิจารณา ไม่ใช่ของกลางที่พนักงานสอบสวนได้ยึดไว้ในคดี และโจทก์มิได้มีคำขอให้ริบ แม้วีดีโอเทปดังกล่าวจะมีภาพลามกรวมอยู่ด้วยอย่างเดียวกันกับวีดีโอเทปของกลาง 1 ศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งริบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ริบจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยไม่ริบวีดีโอเทปดังกล่าวได้.
วีดีโอเทปของกลาง 2 ที่จำเลยอ้างส่งต่อศาลในระหว่างการพิจารณา ไม่ใช่ของกลางที่พนักงานสอบสวนได้ยึดไว้ในคดี และโจทก์มิได้มีคำขอให้ริบ แม้วีดีโอเทปดังกล่าวจะมีภาพลามกรวมอยู่ด้วยอย่างเดียวกันกับวีดีโอเทปของกลาง 1 ศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งริบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ริบจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยไม่ริบวีดีโอเทปดังกล่าวได้.