คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ม. 24

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18527/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์เพลง: การทำซ้ำ, ดัดแปลง, อนุญาตใช้สิทธิ, และความเสียหายต่อชื่อเสียง/เกียรติคุณ
การที่จำเลยจงใจและอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานเพลงจำนวน 142 เพลง ที่โจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์ตามคำฟ้อง ทั้ง ๆ ที่จำเลยทราบดีว่าโจทก์มิได้โอนขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงจำนวน 142 เพลง ดังกล่าวแก่จำเลยนั้น แม้จะมิใช่การทำซ้ำ หรือดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งเพลงอันเป็นงานดนตรีกรรมที่โจทก์มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์อันจะถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27 หรือ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 24 ก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยจงใจทำต่อโจทก์โดยไม่มีสิทธิและผิดต่อกฎหมายเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สินเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ซึ่งจำเลยให้การต่อสู้ว่าสิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์ขาดอายุความ 3 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำละเมิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 แต่มิได้ให้การต่อสู้ว่าสิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์ขาดอายุความในมูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามคำฟ้องขาดอายุความในมูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 หรือไม่ จำเลยย่อมต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการละเมิดดังกล่าวแก่โจทก์
เมื่อลิขสิทธิ์ในเพลงทั้งสิบห้าเพลงดังกล่าวซึ่งเป็นเพลงส่วนหนึ่งของเพลงจำนวน 142 เพลง ตามคำฟ้องและยังคงเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์มิได้โอนลิขสิทธิ์ให้จำเลย การที่จำเลยผลิตและจำหน่ายซีดีเพลงดังกล่าวเป็นการทำซ้ำและดัดแปลงงานดนตรีกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมของโจทก์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27 (1) และการที่จำเลยโดยรู้อยู่แล้วได้นำซีดีซึ่งเป็นสิ่งบันทึกเสียงเพลงที่จำเลยได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ออกขายแก่ประชาชนทั่วไปเพื่อหากำไรและเพื่อการค้ายังเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (1) อีกด้วย เมื่อโจทก์พบการกระทำของจำเลยอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมของโจทก์ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2547 และโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2549 จึงเป็นการฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ภายในกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 63
การชดใช้ค่าเสียหายในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น ศาลมีอำนาจพิพากษาให้ผู้ละเมิดชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ตามสมควร โดยคำนึงถึงความร้ายแรงของความเสียหาย รวมทั้งการสูญเสียประโยชน์และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการบังคับตามสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วยตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 64 การที่จำเลยนำซีดีซึ่งเป็นสิ่งบันทึกเสียงเพลงที่จำเลยได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ออกขายแก่ประชาชนทั่วไปเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า จำเลยย่อมได้รับประโยชน์จากกำไรที่ได้มาจากการขายซีดีดังกล่าวโดยไม่ต้องแบ่งผลกำไรนั้นให้แก่โจทก์ และโจทก์ย่อมสูญเสียประโยชน์ในการแสวงหากำไรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์รวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการบังคับตามสิทธิของโจทก์ด้วย แต่ผลกำไรที่จะเป็นฐานในการกำหนดค่าเสียหายก็ต้องหักต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายออกเสียก่อนด้วยเช่นกัน ทั้งยังต้องคำนึงถึงการที่ซีดีแต่ละชุดมิได้ประกอบด้วยเพลงอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ทั้งหมด จึงต้องเทียบตามสัดส่วนของเพลงอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ในแต่ละชุดด้วย เมื่อเทียบสัดส่วนกับจำนวนเพลงทั้งหมด 6 ชุด จำนวนชุดละ 14 เพลง รวมจำนวน 84 เพลง แล้ว จะเป็นสัดส่วนเพลงของโจทก์ประมาณร้อยละ 10 ของเพลงทั้งหมด อย่างไรก็ดี เมื่อเพลงของโจทก์ทั้งเก้าเพลงดังกล่าวเป็นเพลงดังในอัลบั้มเพลงจำนวน 4 ชุด ในจำนวน 6 ชุด ดังกล่าวซึ่งจำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่น เพลงทั้งเก้าเพลงนี้ย่อมมีความสำคัญกว่าเพลงอื่น จึงเห็นควรกำหนดความสำคัญของเพลงโดยการเทียบสัดส่วนกับเพลงอื่น ๆ ในจำนวน 6 ชุด นั้นเป็นร้อยละ 20 ของเพลงทั้งหมด เพื่อนำไปหาค่าเฉลี่ยผลกำไรที่โจทก์สูญเสียไปหรือที่โจทก์ควรได้รับสำหรับการกำหนดค่าเสียหาย แม้โจทก์มิได้นำสืบถึงผลกำไรที่หักต้นทุนเพื่อให้เห็นถึงผลกำไรที่แท้จริงก็ตาม แต่ได้ความว่าโจทก์ขายแผ่นซีดีที่มีเพลงอันเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์แผ่นละ 100 บาทเศษ หากขายได้ 50,000 แผ่น จะได้กำไรแผ่นละ 30 บาทเศษ อัตราผลกำไรดังกล่าวเป็นอัตรากำไรที่เหมาะสมในการดำเนินธุรกิจ จึงเห็นสมควรนำมาเทียบเคียงและกำหนดค่าประมาณในการคำนวณหาผลกำไร โดยกำหนดผลกำไรให้เป็นอัตราร้อยละ 30 ของยอดขายจำนวน 36,000,000 บาท ตามที่โจทก์นำสืบและจำเลยมิได้โต้แย้ง เมื่อคำนวณแล้วได้ผลกำไรจากการขายเพลงทั้งหมดในซีดีทั้งหกชุดเป็นเงินจำนวน 10,800,000 บาท เมื่อนำสัดส่วนเพลงดังของโจทก์ซึ่งเท่ากับร้อยละ 20 ของเพลงทั้งหมดมาคำนวณจากผลกำไรดังกล่าวแล้ว จะได้ค่าเสียหายที่โจทก์สูญเสียไปหรือที่โจทก์ควรได้รับจากกำไรเป็นเงิน 2,160,000 บาท จึงเห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้จำนวน 2,160,000 บาท
การที่จำเลยแอบอ้างว่าโจทก์ได้ขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงจำนวน 142 เพลง ตามคำฟ้องให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในเพลงจำนวนดังกล่าว จำเลยนำเพลงนั้นไปอนุญาตให้ผู้อื่นใช้ลิขสิทธิ์ตามสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์จำนวน 15 ฉบับ และที่จำเลยอ้างต่อบริษัทที่จัดเก็บลิขสิทธิ์เพลงของโจทก์ว่าเพลงที่จัดเก็บลิขสิทธิ์นั้นเป็นลิขสิทธิ์ของจำเลย กับการที่จำเลยได้ทำซ้ำและดัดแปลงงานเพลงจำนวน 15 เพลง อันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์แล้วผลิตเป็นซีดีสิ่งบันทึกเสียงเพลงออกจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์นั้นมิใช่การละเมิดสิทธิในธรรมสิทธิ (Moral right) ของโจทก์ผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์โดยการบิดเบือน ตัดทอน ดัดแปลง หรือทำโดยประการอื่นในลักษณะเดียวกันจนเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของโจทก์ผู้สร้างสรรค์งานเพลงดังกล่าวเพราะจำเลยมิได้ดัดแปลงหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อร้องหรือทำนองเพลงจำนวน 142 เพลง ตามคำฟ้องให้ผิดแผกแตกต่างไปจากเนื้อร้องหรือทำนองเพลงที่โจทก์ได้แต่งขึ้นในลักษณะที่เป็นถ้อยคำหยาบคาย ลามก หรือให้ผิดเพี้ยนไปจากที่โจทก์ประสงค์จะสื่อสารไปถึงผู้ฟังเพลงแต่อย่างใด ทั้งการกระทำดังกล่าวก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการที่จำเลยใช้สิทธิของโจทก์ผู้สร้างสรรค์งานดนตรีกรรมในอันที่จะแสดงว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์งานดังกล่าวโดยมิชอบ เพราะจำเลยยังคงระบุในสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงจำนวน 15 ฉบับ ว่าโจทก์เป็นผู้แต่งคำร้องและทำนองเพลงดังกล่าว มิได้บิดเบือนว่าจำเลยเป็นผู้สร้างสรรค์งานเพลงนั้นขึ้นแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยดังกล่าวทั้งหมดจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิในธรรมสิทธิ (Moral right) ของโจทก์ผู้สร้างสรรค์งานดนตรีกรรมจนเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของโจทก์ผู้สร้างสรรค์ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 15 หรือ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 18 โจทก์ไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในส่วนนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8452/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดลิขสิทธิ์วรรณกรรมจากภาพยนตร์วิดีโอ: ความรับผิดของผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และผู้ประกอบการ
ตามสัญญาอนุญาตให้สร้างภาพยนตร์ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์กำหนดว่าโจทก์อนุญาตให้จำเลยร่วมที่ 2 นำนวนิยายเรื่องดาวพระศุกร์ ซึ่งเป็นงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ 35 มิลลิเมตร ได้ 1 ครั้ง เพื่อจัดฉายตามโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศภายใน 7 ปี ดังนี้ แม้จำเลยร่วมที่ 2 จะสร้างภาพยนตร์เรื่องดาวพระศุกร์โดยได้รับอนุญาตจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมนวนิยายดังกล่าวตามสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ อันเป็นการนำเอางานอันมีลิขสิทธิ์มาดัดแปลงและจำเลยร่วมที่ 2 มีลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ที่ดัดแปลงขึ้นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 9 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่ทำสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ แต่สิทธิในลิขสิทธิ์สำหรับงานภาพยนตร์ดังกล่าวของจำเลยร่วมที่ 2 ที่ได้มาตามสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ดังกล่าวมีจำกัดอยู่เพียงสิทธิในการโฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งภาพยนตร์นั้นด้วยการฉายตามโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศภายใน 7 ปี เท่านั้น จำเลยร่วมที่ 2 ไม่มีสิทธิในการทำซ้ำหรือดัดแปลง นำออกโฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งภาพยนตร์นั้นด้วยวิธีอื่น ไม่อาจให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานภาพยนตร์นั้น หรือให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์ในงานยนตร์นั้นแก่ผู้อื่นได้ ตลอดจนไม่อาจอนุญาตให้ผู้อื่นทำซ้ำหรือดัดแปลงนำออกโฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานภาพยนตร์นั้น หรือไม่อาจอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิในการให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานภาพยนตร์นั้นตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 13 และ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 (ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2537) มาตรา 15 ได้ การที่จำเลยร่วมที่ 2 นำภาพยนตร์เรื่องดาวพระศุกร์ที่ตนสร้างขึ้นไปบันทึกเป็นวิดีโอเทปในรูปของงานโสตทัศนวัสดุหรือภาพยนตร์ แล้วนำวิดีโอนั้นออกจำหน่ายและให้เช่า จึงเป็นการทำซ้ำงานวรรณกรรมนวนิยายเรื่องดาวพระศุกร์อันเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งมีอยู่ในภาพยนตร์นั้น โดยไม่มีสิทธิที่จะทำได้ตามสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ และไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมนั้น การกระทำดังกล่าวของจำเลยร่วมที่ 2 ย่อมเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมนวนิยายเรื่องดาวพระศุกร์ของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 24 (1) หรือ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27 (1)
เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นนำภาพยนตร์เรื่องดาวพระศุกร์ซึ่งมีงานวรรณกรรมนวนิยายเรื่องดังกล่าวอันเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์รวมอยู่ด้วยไปทำซ้ำโดยวิธีอื่น ซึ่งรวมถึงการบันทึกเป็นม้วนวิดีโอเทปภาพยนตร์ได้ การที่จำเลยร่วมที่ 1 แม้ว่าจะได้รับอนุญาตจากจำเลยร่วมที่ 2 ให้นำภาพยนตร์ดังกล่าวที่จำเลยร่วมที่ 2 สร้างขึ้นไปบันทึกเป็นวิดีโอเทปและนำออกจำหน่ายตามสัญญาที่ทำกับจำเลยร่วมที่ 2 ก็ไม่มีสิทธิที่จะทำซ้ำงานภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นวิดีโอเทปภาพยนตร์และนำม้วนวิดีโอเทปนั้นออกจำหน่ายได้รวมทั้งอนุญาตให้บริษัทจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 3 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2 นำม้วนมาสเตอร์เทปภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวไปผลิตเป็นวิดีโอเทปออกจำหน่ายได้เช่นกัน
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 ได้บัญญัติให้ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี แต่อย่างไรก็ดี ไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดจะชนะคดีเต็มตามข้อหาหรือแต่บางส่วน ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีนั้นเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง หรือให้คู่ความแต่ละฝ่ายเสียค่าฤชาธรรมเนียมส่วนของตนหรือตามส่วนแห่งค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายได้เสียไปก็ได้ ตามที่ศาลจะใช้ดุลพินิจ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง ซึ่งเห็นได้ว่าการสั่งให้คู่ความฝ่ายใดรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมจำนวนมากน้อยเพียงใด เป็นดุลพินิจของศาล มีเพียงดุลพินิจในการสั่งเกี่ยวกับค่าทนายความซึ่งเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งเท่านั้นที่ต้องเป็นไปตามอัตราค่าทนายความในตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยอื่นใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยไม่ได้แยกให้จำเลยแต่ละคนชดใช้เท่ากับจำนวนเงินที่จำเลยแต่ละคนต้องชดใช้แก่โจทก์ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้า SAB ของโจทก์โดยจำเลยในการประกวดราคา ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองโดยไม่สุจริตได้ร่วมกันกระทำละเมิดด้วยการเอาชื่อทางการค้าคำว่า SAB และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามเอกสารท้ายฟ้องไปใช้ในการประกวดราคาผลิตภัณฑ์เครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโนมัติทั้งสองครั้งโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ และร่วมกันจัดทำแคตตาล็อกผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของ SABที่มีรูปแบบ ภาพจำลอง คำบรรยายเหมือนคล้าย และละเมิดลิขสิทธิ์ในรูปภาพจำลองเป็นเหตุให้คณะกรรมการเปิดซองประกวดราคาหลงเชื่อว่าผลิตภัณฑ์ตามใบประกวดราคาทั้งสองครั้งที่จำเลยทั้งสองร่วมกันทำและยื่นต่อคณะกรรมการเปิดซองประกวดเป็นผลิตภัณฑ์ของโจทก์และอยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ และได้พิจารณาซื้อเครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโนมัติตามใบประกวดราคาทั้งสองครั้งที่จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเสนอแทนการรับซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโนมัติของแท้ของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายโดยไม่อาจขายสินค้าของโจทก์ได้ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนี้ เห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเกี่ยวกับความเสียหายของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนรายละเอียดว่าโจทก์เสียหายอย่างไรจึงเป็นค่าเสียหายจำนวนตามฟ้องนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยทั้งสองได้เสนอขายสินค้าแก่ ร. โดยระบุไปตามความเป็นจริงว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศโปแลนด์ มิใช่สินค้าของโจทก์ที่ผลิตในประเทศสวีเดน จำเลยทั้งสองหาได้ระบุว่าสินค้าที่เสนอขายเป็นผลิตภัณฑ์ของโจทก์ที่ประเทศสวีเดนไม่ ทั้งปรากฎตามเงื่อนไขรายละเอียดของการประกวดราคาว่า ร. ต้องการซื้อเครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโนมัติที่ผลิตโดย SAB ประเทศสวีเดน หรือเทียบเท่า มิได้ระบุว่าต้องการซื้อเฉพาะสินค้าของโจทก์เท่านั้นประกอบกับเหตุที่ประธานกรรมการเปิดซองประกวดราคาของ ร.รับซื้อสินค้าของจำเลยที่ 1 เนื่องจากราคาต่ำสุดและใช้แทนของเดิมได้ จึงได้เสนอให้ ร.รับซื้อไว้ ขณะตรวจรับก็ได้ทำการทดสอบและตรวจสอบก่อนปรากฎว่าใช้การได้กรรมการตรวจสอบมิได้หลงเชื่อหรือหลงผิดในข้ออ้างที่ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของ SABหรือไม่ ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสองยังไม่เป็นการละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้าคำว่า SAB ของโจทก์
แม้รูปแบบภาพจำลองและคำบรรยายในแคตตาล็อกผลิตภัณฑ์เครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโนมัติที่ทำขึ้นในประเทศสวีเดนเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อ้างว่าถูกโต้แย้งสิทธิและโจทก์เป็นเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์นั้น แต่แคตตาล็อกที่จำเลยทั้งสองเสนอต่อ ร.เป็นแคตตาล็อกที่จำเลยทั้งสองได้รับมาจากประเทศโปแลนด์ มิใช่แคตตาล็อกที่จำเลยทั้งสองจัดทำขึ้นโดยลอกเลียนแคตตาล็อกของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงยังไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอขายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าที่ได้รับอนุญาตจากผู้ผลิตเดิม ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองโดยไม่สุจริตได้ร่วมกันกระทำละเมิดด้วยการเอาชื่อทางการค้าคำว่าSABและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามเอกสารท้ายฟ้องไปใช้ในการประกวดราคาผลิตภัณฑ์เครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโนมัติทั้งสองครั้งโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์และร่วมกันจัดทำแคตตาล็อกผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของSAB ที่มีรูปแบบภาพจำลองคำบรรยายเหมือนคล้ายและละเมิดลิขสิทธิ์ในรูปภาพจำลองเป็นเหตุให้คณะกรรมการเปิดซองประกวดราคาหลงเชื่อว่าผลิตภัณฑ์ตามใบประกวดราคาทั้งสองครั้งที่จำเลยทั้งสองร่วมกันทำและยื่นต่อคณะกรรมการเปิดซองประกวดเป็นผลิตภัณฑ์ของโจทก์และอยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และได้พิจารณาซื้อเครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโนมัติตามใบประกวดราคาทั้งสองครั้งที่จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเสนอแทนการรับซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโตมัติของแท้ของโจทก์ทำให้โจทก์เสียหายโดยไม่อาจขายสินค้าของโจทก์ได้ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ดังนี้เห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเกี่ยวกับความเสียหายของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วส่วนรายละเอียดว่าโจทก์เสียหายอย่างไรจึงเป็นค่าเสียหายจำนวนตามฟ้องนั้นเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยทั้งสองได้เสนอขายสินค้าแก่ร.โดยระบุไปตามความเป็นจริงว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศโปแลนด์ มิใช่สินค้าของโจทก์ที่ผลิตในประเทศสวีเดนจำเลยทั้งสองหาได้ระบุว่าสินค้าที่เสนอขายเป็นผลิตภัณฑ์ของโจทก์ที่ประเทศสวีเดนไม่ทั้งปรากฎตามเงื่อนไขรายละเอียดของการประกวดราคาว่าร.ต้องการซื้อเครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโนมัติที่ผลิตโดยSAB ประเทศสวีเดน หรือเทียบเท่ามิได้ระบุว่าต้องการซื้อเฉพาะสินค้าของโจทก์เท่านั้นประกอบกับเหตุที่ประธานกรรมการเปิดซองประกวดราคาของร.รับซื้อสินค้าของจำเลยที่1เนื่องจากราคาต่ำสุดและใช้แทนของเดิมได้จึงได้เสนอให้ร.รับซื้อไว้ขณะตรวจรับก็ได้ทำการทดสอบและตรวจสอบก่อนปรากฎว่าใช้การได้กรรมการตรวจสอบมิได้หลงเชื่อหรือหลงผิดในข้ออ้างที่ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของSAB หรือไม่ดังนี้การกระทำของจำเลยทั้งสองยังไม่เป็นการละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้าคำวาSAB ของโจทก์ แม้รูปแบบภายจำลองและคำบรรยายในแคตตาล๊อกผลิตภัณฑ์เครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโนมัติที่ทำขึ้นในประเทศสวีเดนเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ.2521อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อ้างว่าถูกโต้แย้งสิทธิและโจทก์เป็นเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์นั้นแต่แคตตาล็อกที่จำเลยทั้งสองเสนอต่อร.เป็นแคตตาล็อกที่จำเลยทั้งสองได้รับมาจากประเทศโปแลนด์มิใช่แคตตาล็อกที่จำเลยทั้งสองจัดทำขึ้นโดยลอกเลียนแคตตาล็อกของโจทก์การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงยังไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6379/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลิขสิทธิ์งานศิลปะประยุกต์: การออกแบบปากกา การละเมิดลิขสิทธิ์ และการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์
ก่อนที่โจทก์ที่ 1 จะผลิตปากกา ค.และปากกาล.ออกจำหน่ายได้ต้องมีการดำเนินงานเป็นขั้นตอนหลายขั้นตอน ตั้งแต่การออกสำรวจและทำการวิจัยทางการตลาด เพื่อทราบความนิยมและความต้องการของผู้ใช้ปากกาลูกลื่น แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยมาให้กรรมการและลูกจ้างของโจทก์ทั้งสี่ทำการคิดค้นรูปทรงและลวดลายของปากกา โดยยกร่างในกระดาษและปรึกษาหารือกันจนได้รูปทรงและลวดลายเป็นที่พอใจ จึงได้มีการเขียนแบบทำหุ่นจำลองออกแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์กับหุ่นจำลองของปากกาดังกล่าว ซึ่งเป็นงานสร้างสรรค์รูปทรงที่เกี่ยวกับทำแม่พิมพ์และผลิตปากกาทั้งสองแบบดังกล่าวออกจำหน่ายถือได้ว่ากรรมการและลูกจ้างของโจทก์ทั้งสี่ดังกล่าวเป็นผู้ทำและก่อให้เกิดงานในแบบปากกาทั้งสองแบบดังกล่าวขึ้น โดยความคิดริเริ่มของตนเอง แบบปากกา ค. และแบบปากกา ล. เป็นงานสร้างสรรค์อันเกิดจากการนำเอาการสร้างแบบพิมพ์รูปลักษณะของปากกาและแบบแม่พิมพ์ซึ่งเขียนด้วยลายเส้นประกอบเป็นรูปทรงอันเข้าลักษณะศิลปกรรมประเภทงานจิตรกรรมและงานสร้างแม่พิมพ์กับหุ่นจำลองของปากกาดังกล่าวซึ่งเป็นงานสร้างสรรค์รูปทรงที่เกี่ยวกับปริมาตรที่สัมผัสและจับต้องได้ อันเข้าลักษณะศิลปกรรมประเภทงานประติมากรรมมาประกอบเข้าด้วยกันและสร้างขึ้นเป็นปากกาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการขีดเขียนและเพื่อประโยชน์ทางการค้าอันเป็นประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงานจิตรกรรมและประติมากรรมดังกล่าวจึงเป็นงานศิลปประยุกต์อันอาจได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 11 ถึงที่ 13 ได้ร่วมกันทำซ้ำและดัดแปลงแบบปากกา ค. และจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3และจำเลยที่ 11 ร่วมกันทำซ้ำและดัดแปลงแบบปากกา ล. ของโจทก์ทั้งสี่โดยการทำแม่พิมพ์เลียนแบบและปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมแบบปากกาทั้งสองแบบดังกล่าวจากแบบพิมพ์หุ่นจำลอง แม่พิมพ์ และเอกสารเกี่ยวกับการจัดทำปากกาดังกล่าวที่จำเลยที่ 11 ลักเอาไป แล้วจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ผลิตปากกา จ. และปากกา ต. ออกจำหน่ายโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นการทำซ้ำและดัดแปลงแบบปากกาที่โจทก์ทั้งสี่เป็นผู้มีลิขสิทธิ์เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทำให้โจทก์ทั้งสี่เสียผลประโยชน์ในทางการค้าและได้รับความเสียหาย จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสี่ โจทก์ที่ 2 ต้องจัดทำกล่องพิเศษบรรจุปากกา ค. ทำให้ต้องเพิ่มต้นทุนการผลิตอีกด้ามละ 21 สตางค์ เพื่อป้องกันมิให้เสียลูกค้าไป เป็นเรื่องที่โจทก์ที่ 2 ลงทุนเพิ่มเติมเพื่อเป็นการจูงใจผู้บริโภคและให้สินค้าของโจทก์ที่ 2 จำหน่ายได้ดีขึ้นเป็นเรื่องปกติธรรมดาของการค้าขาย ไม่แน่ชัดว่าเป็นความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 11ถึงที่ 13 โจทก์ที่ 2 จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดลิขสิทธิ์พจนานุกรม: ศาลกำหนดค่าเสียหายจากการลอกเลียนแบบและจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 เรื่อง ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 30 และข้อ 29 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ได้บัญญัติให้โจทก์เป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวงใด มีฐานะเป็นกรมและให้อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โจทก์จึงเป็นนิติบุคคลจำพวกทบวงการเมืองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 72(เดิม) และ 73(เดิม) ส.นายกราชบัณฑิตยสถานได้ประชุมราชบัณฑิตทุกสำนักและจัดวางระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานว่าด้วยการปฏิบัติงานทั่วไปของนายก อุปนายก และเลขาธิการราชบัณฑิตยสถานขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 20(2) ประกอบมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติราชบัณฑิตสถานพ.ศ. 2485 ระเบียบการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นโมฆะตามข้อ 6 ของระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานกำหนดว่าให้นายกราชบัณฑิตสถานเป็นผู้แทนราชบัณฑิตยสถานซึ่งเป็นนิติบุคคล ดังนั้นตามกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการจัดการควบคุมทบวงการเมืองโจทก์จึงถือได้ว่าในขณะฟ้องคดีโจทก์มี บ.นายกราชบัณฑิตยสถานเป็นผู้แทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75(เดิม) โจทก์โดยบ.นายกราชบัณฑิตยสถานย่อมมีอำนาจฟ้องคดีได้เองโดยตรง ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะผู้บังคับบัญชาก่อนโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นข้อที่ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 4 ได้ให้บทนิยามคำว่า "ผู้สร้างสรรค์" ไว้ว่า ผู้ทำหรือก่อให้เกิดงานโดยความคิดริเริ่มของตนเองซึ่งมีความหมายว่า การจะเป็นผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์นั้น ความสำคัญมิได้อยู่ที่ว่างานที่อ้างว่าได้สร้างสรรค์ขึ้นเป็นงานใหม่หรือไม่ แต่อยู่ที่ว่าบุคคลผู้นั้นได้ทำหรือก่อให้เกิดงานโดยได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์และงานดังกล่าวมีที่มาหรือต้นกำเนิดจากบุคคลผู้นั้นโดยบุคคลผู้นั้นมิได้คัดลอกหรือทำซ้ำ หรือดัดแปลงมาจากงานอันมีลิขสิทธิ์อื่น ดังนั้น แม้การจัดทำพจนานุกรมจะมีวิธีจัดทำแบบเดียวกับวิธีที่ใช้มาแต่โบราณ โจทก์ก็อาจเป็นผู้สร้างสรรค์และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในพจนานุกรมนั้นได้ หากการจัดทำพจนานุกรมของโจทก์เป็นงานที่ได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์ด้วยการให้บทนิยามหรือความหมายของคำต่าง ๆ พร้อมภาพประกอบความหมายของคำบางคำโดยการแสดงออกซึ่งความคิดริเริ่มตามลีลาของโจทก์เองและโดยมิได้ทำซ้ำหรือดัดแปลงจากงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาต งานจัดทำพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 เป็นงานที่โจทก์ได้ทำขึ้นโดยใช้ความอุตสาหะวิริยะในการสร้างสรรค์และมีที่มาจากโจทก์เอง ถือว่าโจทก์เป็นผู้ทำหรือก่อให้เกิดงานโดยความคิดริเริ่มของตนเอง และเป็น "ผู้สร้างสรรค์" ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 4 แม้โจทก์จะได้จัดทำพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525ขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีและคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่โจทก์เป็นส่วนราชการมีฐานะเทียบเท่ากรม โจทก์ย่อมมีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นในความควบคุมของตนตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 12 เมื่อข้อฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเรื่องที่มิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คำและบทนิยามในพจนานุกรมของจำเลยซ้ำกับคำและบทนิยามในพจนานุกรมของโจทก์ในลักษณะลอกมาทุกตัวอักษรประมาณ 14,000 คำ และดัดแปลงโดยสลับที่บทนิยามบ้าง เปลี่ยนตัวอย่างใหม่หรือตัดออกบ้างเพิ่มเติมหรือตัดข้อความในบทนิยามของโจทก์ออกบ้าง ประมาณ19,000 คำ ส่วนการทำซ้ำหรือดัดแปลงภาพประกอบบทนิยามในพจนานุกรมของโจทก์มีประมาณ 130 ภาพ การจัดทำรูปเล่มและการพิมพ์ข้อความที่ปกนอกและปกในของพจนานุกรมทั้งสองล้วนมีลักษณะลอกเลียนแบบกันแตกต่างกันแต่เพียงสี และก่อนฟ้องคดีจำเลยที่ 5 ในฐานะกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 2 เคยมีหนังสือถึงโจทก์ยอมรับผิดในการละเมิดทั้งปวง ดังนี้ พจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 ที่จำเลยที่ 1 เป็นประธานคณะผู้จัดทำและจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 5พิมพ์ออกจำหน่าย จึงได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ของโจทก์อันเป็นงานวรรณกรรมและงานศิลปกรรมรวมอยู่ด้วย ด้วยการทำซ้ำหรือดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนอันเป็นสาระสำคัญโดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดงานขึ้นใหม่และโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ การละเมิดลิขสิทธิ์อันเป็นทรัพย์สินทางปัญญา ถือเป็นการละเมิดอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดค่าเสียหายดังกล่าวศาลอาจกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 438 วรรคแรก ค่าเสียหายที่โจทก์อ้างว่าจำเลยลวงขายพจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 โดยทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นพจนานุกรมของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายทางการค้าคิดเป็นเงิน1,000,000 บาท นั้น แม้จะฟังว่าจำเลยได้ลวงขายดังกล่าว แต่โจทก์เป็นส่วนราชการ ซึ่งไม่มีวัตถุประสงค์ทางการค้า ย่อมมิใช่ผู้ต้องเสียหายเพราะการลวงขายนั้น ประชาชนที่ถูกหลอกลวงเท่านั้นที่เป็นผู้เสียหายมิใช่โจทก์ ทั้งความเสียหายเพราะการลวงขายพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ก็มิได้ให้ความคุ้มครองแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ในอันที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดได้ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ โจทก์มิได้ลงทุนพิมพ์และจำหน่ายหนังสือพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 เอง แต่โจทก์อนุญาตให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ.เป็นผู้จัดพิมพ์และจำหน่าย โดยห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวตกลงให้ค่าแห่งลิขสิทธิ์แก่โจทก์เป็นเงินร้อยละ 10 ของราคาจำหน่ายต่อเล่มตามที่กำหนดไว้ในสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ เงินที่ได้จากการจำหน่ายหนังสือพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ทั้งหมดมิได้ตกเป็นของโจทก์ แม้จะฟังว่าเหตุที่หนังสือพจนานุกรมดังกล่าวยังเหลือค้างจำหน่ายอยู่อีกประมาณ 10,000 เล่ม เป็นเพราะหนังสือพจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 ของจำเลยได้แย่งส่วนแบ่งการตลาดของหนังสือพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2525 ไป โจทก์ก็มิใช่ผู้ต้องเสียหายเพราะเหตุนั้น จึงไม่อาจกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์ได้ การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อลิขสิทธิ์ของโจทก์แต่ไม่ปรากฏว่าภายหลังที่โจทก์ฟ้องจำเลยยังคงพิมพ์หนังสือพจนานุกรมของจำเลยโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์อยู่ต่อไปจึงไม่มีค่าเสียหายในอนาคตที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์อันพึงได้จากการอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ในพจนานุกรมของโจทก์ที่ศาลจะกำหนดให้ได้อีก ในพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เขียนคำนำในฐานะประธานคณะผู้จัดทำและคำนำฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 ระบุชัดแจ้งว่า คณะผู้จัดทำเป็นผู้ตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องจากการพิมพ์ครั้งที่ 1ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำพจนานุกรมดังกล่าว และต้องร่วมรับผิดด้วย โจทก์ทราบเรื่องที่จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในพจนานุกรมของโจทก์จากรายงานของเจ้าหน้าที่โจทก์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม2531 โจทก์จึงได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาปัญหาลิขสิทธิ์และอื่น ๆ เกี่ยวกับพจนานุกรมของจำเลย เมื่อวันที่ 27กรกฎาคม 2531 และโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2532ยังไม่พ้นกำหนดสามปีตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ปัญหาที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมิได้ให้การในข้อนี้ไว้แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ การที่ศาลจะมีคำสั่งให้บรรดาสิ่งที่ได้ทำขึ้นอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยผู้กระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเท่านั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นคดีแพ่ง ศาลจึงไม่อาจสั่งให้บรรดาสิ่งของดังกล่าวตกเป็นของโจทก์และให้จำเลยส่งมอบแก่โจทก์ได้ ที่มาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521บัญญัติว่า "ในกรณีที่นิติบุคคลกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่ากรรมการ ทุกคนของนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ร่วมกระทำผิดกับนิติบุคคลนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำของนิติบุคคลนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย"นั้น เป็นบทบัญญัติที่อยู่ในหมวด 7 บทกำหนดโทษของพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งใช้บังคับได้เฉพาะแก่คดีอาญาไม่อาจนำมาปรับใช้แก่คดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งได้ เมื่อพจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในพจนานุกรมของโจทก์ และจำเลยที่ 5มิได้ให้การปฏิเสธว่ามิได้มีส่วนในการจัดทำพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 5ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ประธานคณะผู้จัดทำ และจำเลยที่ 2จัดทำพจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์แล้ว จำเลยที่ 5 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของทบวงการเมือง: ราชบัณฑิตยสถานมีอำนาจฟ้องได้เองโดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 เรื่อง ปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 30 และข้อ 29 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ได้บัญญัติให้โจทก์เป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวงใด มีฐานะเป็นกรมและให้อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โจทก์จึงเป็นนิติบุคคลจำพวกทบวงการเมืองตามป.พ.พ. มาตรา 72 (เดิม) และ 73 (เดิม)
ส. นายกราชบัณฑิตยสถานได้ประชุมราชบัณฑิตทุกสำนักและจัดวางระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานว่าด้วยการปฏิบัติงานทั่วไปของนายก อุปนายก และเลขาธิการราชบัณฑิตยสถานขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 20 (2) ประกอบมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2485 ระเบียบการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นโมฆะ ตามข้อ 6 ของระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานกำหนดว่าให้นายกราชบัณฑิตยสถานเป็นผู้แทนราชบัณฑิตยสถานซึ่งเป็นนิติบุคคล ดังนั้น ตามกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการจัดการควบคุมทบวงการเมืองโจทก์ จึงถือได้ว่าในขณะฟ้องคดีโจทก์มี บ.นายกราชบัณฑิตยสถานเป็นเป็นผู้แทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 75 (เดิม)โจทก์โดย บ.นายกราชบัณฑิตยสถานย่อมมีอำนาจฟ้องคดีได้เองโดยตรง ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในฐานะผู้บังคับบัญชาก่อนโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง(ปรีชา - เฉลิมวณิชย์ - สมาน เวทวินิจ - สังเวียน รัตนมุง)ศาลแพ่ง นายสุเมธ อุปนิสากรศาลอุทธรณ์ นายสุทธิ นิชโรจน์
นายปริญญา ดีผดุง - ตรวจ/ย่อ
นายวิชัย วิวิตเสวี - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
สุมาลี พ/ท



















คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ การรับรองเอกสาร และการมอบอำนาจทางกฎหมาย
โจทก์กล่าวในฟ้องแล้วว่า กฎหมายของประเทศอังกฤษ ซึ่งใช้บังคับครอบคลุมไปถึงเมืองฮ่องกงที่เป็นอาณานิคม ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ทำ ณ กรุงเบอร์น ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ย่อมมีความหมายว่ากฎหมายของเมืองฮ่องกงให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทยแล้ว เอกสารสำคัญที่คู่ความจะต้องปฏิบัติ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา47 วรรคสาม นั้นต้องเป็นเอกสารที่ศาลมีเหตุอันควรสงสัย หรือคู่ความอีกฝ่ายยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นเอกสารแท้จริงหรือไม่จึงให้ศาลมีอำนาจสั่งให้คู่ความยื่นเอกสาร ตามวิธีการในวรรคสามนี้ ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ร่วมเบิกความเป็นพยานว่า โจทก์ร่วมได้มอบอำนาจตามเอกสารหมาย จ.10 และ จ.11 โดยจำเลยมิได้นำสืบหักล้าง ศาลจึงไม่มีเหตุอันควรสงสัย และเมื่อจำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า เอกสารนั้นมิใช่หนังสือมอบอำนาจแท้จริงจึงไม่มีเหตุต้องวินิจฉัยว่าหนังสือมอบอำนาจได้ทำถูกต้องตามป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม หรือไม่ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติให้สิทธิในเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษาจำนวนกึ่งหนึ่งแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ เพื่อบรรเทาความเสียหายและเป็นการชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่ง ถือได้ว่าเป็นบทบัญญัติพิเศษซึ่งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องในคดีอาญา และไม่มีกฎหมายใดบังคับให้โจทก์ต้องระบุขอเงินค่าปรับมาในคำขอท้ายฟ้องคดีอาญา แม้โจทก์มิได้ขอไว้ในคำขอท้ายฟ้องผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ก็มีสิทธิได้รับเงินค่าปรับที่จำเลยชำระตามคำพิพากษากึ่งหนึ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์ทางอ้อม: จำเลยต้องพิสูจน์ได้ว่างานที่นำออกให้เช่าไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์โดยทางตรงตามมาตรา 24 และละเมิดลิขสิทธิ์โดยทางอ้อมตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27 คำขออื่นให้ยกจำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวความผิดตามมาตรา 24 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องตามข้อความในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯมาตรา 42 ว่า "ฯลฯ และกฎหมายของประเทศนั้นได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าวฯลฯ" แต่กล่าวในฟ้องเพียงว่าทั้งประเทศไทยและฮ่องกงซึ่งเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษต่างให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว โดยไม่มีคำว่า "กฎหมาย"อยู่หน้าประเทศก็ตาม การกล่าวว่าทั้งสองประเทศต่างให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าวก็มีความหมายว่ากฎหมายของทั้งสองประเทศได้ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์นั้นแล้ว เพราะทุกประเทศต้องปกครองโดยกฎหมาย ฟ้องของโจทก์ส่วนนี้จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 แล้ว แต่ที่โจทก์ฟ้องว่า ในวันเวลาเกิดเหตุจำเลยโดยรู้อยู่แล้วว่าภาพยนต์วีดีโอเทปตามฟ้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมได้บังอาจนำเอาภาพยนต์วีดีโอเทปดังกล่าวออกให้เช่าเสนอให้เช่าแก่ประชาชนทั่วไปเพื่อการค้าอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ปรากฏว่าภาพยนต์วีดีโอเทปที่จำเลยนำออกให้เช่า เสนอให้เช่านั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น จำเลยอาจนำเอางานที่ได้ทำขึ้นโดยชอบออกให้เช่า เสนอให้เช่าก็ได้อันหาใช่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์โดยทางอ้อมตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27แต่อย่างไรไม่ ฟ้องของโจทก์ไม่เป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2951/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ: การคุ้มครองตามอนุสัญญาเบอร์น และข้อกำหนดในการฟ้องคดี
คดีความผิดเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าวีดีทัศน์ของโจทก์ตามฟ้อง เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายเมืองฮ่องกงซึ่งประเทศอังกฤษภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมทำ ณ กรุงเบอร์น นำเมืองฮ่องกง ซึ่งเป็นอาณานิคมของตนเข้าผูกพันตามอนุสัญญาดังกล่าว และประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยแต่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่ากฎหมายของเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าวด้วย และถ้อยคำที่โจทก์บรรยายในฟ้องว่า ทั้งประเทศไทยและเมืองฮ่องกงต่างได้ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งกันและกันรวมถึงงานภาพยนตร์วีดีทัศน์ด้วย ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวจึงได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามกฎหมายไทยนั้น ก็ไม่อาจแปลไปได้ว่า กฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ของเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญา ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าวีดีทัศน์ตามฟ้องมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญา ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
of 3