คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 819

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18531/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค่าที่ดินและการยึดหน่วงทรัพย์สินของตัวแทน: สิทธิของตัวแทนในการยึดหน่วงจนกว่าจะได้รับชำระหนี้
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนโจทก์ซื้อที่ดินจากธนาคาร น. โดยได้ออกเงินทดรองชำระราคาที่ดินพิพาทแทนโจทก์ไปและใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทไว้แทนโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงชอบที่จะเรียกเอาเงินชดใช้จากโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 816 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ค้างชำระค่าที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของโจทก์ชอบที่จะยึดหน่วงทรัพย์สินอย่างใดๆ ของตัวการอันตกอยู่ในความครอบครองของตนเพราะเป็นตัวแทนนั้นเอาไว้ได้จนกว่าจะได้รับเงินบรรดาค้างชำระแก่ตนเพราะการเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 819 จำเลยที่ 1 จึงไม่จำต้องส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) และจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จนกว่าโจทก์จะได้ชำระค่าที่ดินพิพาทจนครบถ้วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้และการเปลี่ยนแปลงสถานะเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
ปัญหาว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันซึ่งเมื่อฟ้องคดีต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10(2) หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยเพิ่งยกขึ้นมาเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ แม้เดิมโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันเพราะเป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงเหนือใบหุ้น ซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลย แต่เมื่อโจทก์และจำเลยได้ตกลงแปลงหนี้ใหม่โดยทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหนี้มีประกันเดิมของโจทก์ย่อมระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ตามผลของ ป.พ.พ. มาตรา 349 และเมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้ให้สิทธิโจทก์ยึดถือใบหุ้นไว้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันอีกต่อไป โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 6.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากเจ้าหนี้มีประกันเป็นหนี้ไม่มีประกัน ส่งผลต่อข้อกำหนดการฟ้องคดีล้มละลาย
การฟ้องคดีล้มละลายในกรณีที่โจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกัน ปัญหาว่าโจทก์ต้องปฏิบัติตามมาตรา 10(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกเป็นประเด็นต่อสู้ไว้ เพิ่งมีประเด็นขึ้นในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ โจทก์ออกเงินชำระหนี้ค่าซื้อหุ้นในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยเมื่อจำเลยไม่ชำระเงินค่าซื้อหุ้น โจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นดังกล่าวที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ไว้ได้จนกว่าจะได้รับเงินที่ค้างชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 819 ดังนี้โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันเพราะเป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงเหนือใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์ของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 6 แต่เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยยอมให้โจทก์มีสิทธิขายใบหุ้นที่โจทก์ยึดหน่วงไว้เพื่อชำระหนี้โจทก์ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้มีประกันเดิมจึงระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงไม่ต้องบอกกล่าวในฟ้องตามที่ระบุไว้ในมาตรา 10(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงและการฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้มีประกันต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ได้ออกเงินทดรองชำระค่าหุ้นแทนจำเลยไปในฐานะตัวแทนซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นตัวการโจทก์ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นเหล่านั้นที่ยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ได้จนกว่าจำเลยจะชำระเงินที่โจทก์ออกทดรองแทนจำเลยไปตาม ป.พ.พ.มาตรา241,244และ819 การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามพ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้นไม่ทำให้สิทธิยึดหน่วงของโจทก์ตาม ป.พ.พ.เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่ดังนั้นเมื่อโจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลยโจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายมาตรา6และในการฟ้องให้จำเลยล้มละลายนั้นโจทก์จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายมาตรา10(2)โดยกล่าวมาในฟ้องว่าถ้าจำเลยล้มละลายแล้วโจทก์ยอมสละหุ้นของจำเลยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายหรือตีราคาหุ้นดังกล่าวมาในฟ้องด้วยมิฉะนั้นแล้วฟ้องของโจทก์ย่อมเป็นฟ้องที่ไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงหุ้นและการฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้มีประกันต้องปฏิบัติตามมาตรา 10(2) พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายอ้างว่าโจทก์เป็นตัวแทนซื้อหุ้นของบริษัทให้แก่จำเลยผู้เป็นตัวการ โจทก์ได้ออกเงินทดรองชำระค่าหุ้นดังกล่าวแทนจำเลยไปก่อน เช่นนี้โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นสำหรับหุ้นที่โจทก์ซื้อแทนจำเลยและยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ได้จนกว่าจำเลยจะชำระเงินที่โจทก์ทดรองออกแทนจำเลยไปก่อน ทั้งนี้ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241, 244 และ 819 แม้การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 ก็เป็นเรื่องจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์เท่านั้น สิทธิยึดหน่วงของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หาได้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่ เมื่อโจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลย โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 6 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1725/2528) ฉะนั้นการที่ฟ้องให้จำเลยล้มละลายโจทก์จึงต้องปฏิบัติตาม มาตรา 10 (2) โดยกล่าวมาในฟ้องว่าถ้าจำเลยล้มละลายแล้วโจทก์ยอมสละหุ้นของจำเลยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหุ้นดังกล่าวมาในฟ้องด้วย เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงหุ้นและการฟ้องล้มละลาย เจ้าหนี้มีประกันต้องปฏิบัติตามมาตรา 10(2) พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายอ้างว่าโจทก์เป็นตัวแทนซื้อหุ้นของบริษัทให้แก่จำเลยผู้เป็นตัวการโจทก์ได้ออกเงินทดรองชำระค่าหุ้นดังกล่าวแทนจำเลยไปก่อนเช่นนี้โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นสำหรับหุ้นที่โจทก์ซื้อแทนจำเลยและยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ได้จนกว่าจำเลยจะชำระเงินที่โจทก์ทดรองออกแทนจำเลยไปก่อนทั้งนี้ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา241,244และ819แม้การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพ.ศ.2517ก็เป็นเรื่องจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์เท่านั้นสิทธิยึดหน่วงของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หาได้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่เมื่อโจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลยโจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา6(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1725/2528)ฉะนั้นการที่ฟ้องให้จำเลยล้มละลายโจทก์จึงต้องปฏิบัติตามมาตรา10(2)โดยกล่าวมาในฟ้องว่าถ้าจำเลยล้มละลายแล้วโจทก์ยอมสละหุ้นของจำเลยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายหรือตีราคาหุ้นดังกล่าวมาในฟ้องด้วยเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ตกภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ และสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นของตัวแทน
พระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 เป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติไว้เพื่อกิจการซื้อขายหุ้นใน ตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะการซื้อขายหุ้นใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจึงไม่ตกอยู่ใน บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129เมื่อการซื้อขายหุ้นดังกล่าวได้กระทำตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งออกตามความใน มาตรา 15(8) แห่ง พระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงไม่ตกเป็นโมฆะ
โจทก์เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ซื้อหุ้นตามคำสั่งของจำเลยลูกค้าแล้ว และได้รับใบหุ้นและ ตราสารโอนหุ้นมาแล้ว โจทก์จะต้องเก็บรักษาไว้แทนจำเลยเพื่อส่งมอบให้จำเลยเมื่อจำเลยชำระเงิน ที่โจทก์ออกทดรอง ซื้อหุ้นดังกล่าวจนครบหากจำเลยไม่ชำระแม้โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวโดยมิได้ส่งมอบและโอนหุ้นนั้นให้ จำเลยเสียก่อนก็ดีหรือมิได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่จำเลยก็ดีโจทก์ ก็มีอำนาจฟ้อง ขอให้จำเลยชำระหนี้ค่าหุ้นที่โจทก์ออกทดรองแทนจำเลยไปได้ เพราะแม้ต่างฝ่ายต่างมีหนี้ที่จะต้องชำระต่อกัน แต่ก็ มิใช่หนี้ตาม สัญญาต่างตอบแทนแต่โจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนมีสิทธิ ยึดหน่วงใบหุ้นนั้นไว้ จนกว่าโจทก์จะได้รับเงินบรรดาที่ ค้างชำระเพราะเป็นตัวแทนจากจำเลย ผู้เป็นตัวการ เมื่อจำเลย ชำระเงินบรรดาที่ค้างชำระดังกล่าวแล้วโจทก์ ก็จะต้อง ส่งมอบใบหุ้นพร้อมกับตราสารโอนหุ้นให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ตกภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ และสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นของตัวแทน
พระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 เป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติไว้เพื่อกิจการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะ การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย ์มาตรา 1129 ้เมื่อการซื้อขายหุ้นดังกล่าวได้กระทำตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งออกตามความใน มาตรา 15 (8) แห่งพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงไม่ตกเป็นโมฆะ
โจทก์เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ซื้อหุ้นตามคำสั่งของจำเลยลูกค้าแล้ว และได้รับใบหุ้นและตราสารโอนหุ้นมาแล้ว โจทก์จะต้องเก็บรักษาไว้แทนจำเลย เพื่อส่งมอบให้จำเลยเมื่อจำเลยชำระเงิน ที่โจทก์ออกทด]อง ซื้อหุ้นดังกล่าวจนครบหากจำเลยไม่ชำระแม้โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวโดยมิได้ส่งมอบและโอนหุ้นนั้นให้จำเลยเสียก่อนก็ดีหรือมิได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่จำเลยก็ดี โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง ขอให้จำเลยชำระหนี้ค่าหุ้นที่โจทก์ออกทดรองแทนจำเลยไปได้เพราะแม้ต่างฝ่ายต่างมีหนี้ที่จะต้องชำระต่อกัน แต่ก็มิใช่หนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนแต่โจทก์ ซึ่งเป็นตัวแทนมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นนั้นไว้ จนกว่าโจทก์จะได้รับเงินบรรดาที่ค้างชำระเพราะเป็นตัวแทนจากจำเลยผู้เป็นตัวการ เมื่อจำเลยชำระเงินบรรดาที่ค้างชำระดังกล่าวแล้ว โจทก์ ก็จะต้องส่งมอบใบหุ้นพร้อมกับตราสารโอนหุ้นให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2489/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนซื้อขายหุ้นโดยชอบ แม้ชื่อผู้ถือหุ้นยังไม่เปลี่ยน และความรับผิดชอบต่อการส่งมอบหุ้น
จำเลยเป็นนายหน้าและตัวแทนของโจทก์เพื่อทำการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นเป็นกรณีพิเศษ การจดทะเบียนโอนหุ้นเป็นชื่อลูกค้าต้องเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างลูกค้ากับสมาชิกผู้ซื้อโดยไม่มีระเบียบข้อบังคับให้สมาชิกผู้ซื้อต้องโอนชื่อในหุ้นที่ซื้อมาให้เป็นชื่อของลูกค้าก่อน เพราะลูกค้ายังมิได้ชำระเงินและไม่สะดวกในการสั่งขายหุ้นนั้นต่อไปโจทก์ยอมผูกพันตนและรับผลการปฏิบัติของจำเลยตลอดมา ดังนี้ เมื่อจำเลยซื้อหุ้นให้โจทก์ตามคำสั่งของโจทก์แล้วนำใบหุ้นพร้อมตราสารการโอนหุ้นมาเก็บรักษาไว้เพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์ และขณะเดียวกันก็ยึดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ด้วย แม้จะยังมิได้ใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นก็ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนโดยชอบ จำเลยโอนหุ้นที่ซื้อแทนโจทก์เป็นชื่อโจทก์เนื่องจากบริษัทประกาศปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น ต่อมาจำเลยโอนหุ้นดังกล่าวให้แก่ลูกค้ารายอื่นไปแต่เมื่อจำเลยยังมีหุ้นของบริษัทนั้นพร้อมที่จะส่งมอบให้โจทก์และต่อมาจำเลยก็ส่งมอบใบตอบรับตราสารการโอนหุ้นมีค่าเท่ากับใบหุ้นให้โจทก์ครบถ้วน ดังนี้ แม้โจทก์จะเข้าใจว่าจำเลยขายหุ้นของโจทก์ไปโดยพลการ เมื่อโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่าได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยประการใดจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนโดยไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงและสถานะเจ้าหนี้มีประกันจากการเป็นตัวแทนซื้อหุ้น
เจ้าหนี้ได้ออกเงินชำระหนี้ค่าซื้อหุ้นแทนจำเลยไปในฐานะเป็นตัวแทนซื้อหุ้นให้จำเลยในตลาดหลักทรัพย์เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นเหล่านั้นอันตกอยู่ในความครอบครองของเจ้าหนี้ไว้ได้จนกว่าจะได้รับเงินบรรดาค้างชำระแก่ตนเพราะการเป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 819 การที่เจ้าหนี้เป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทนย่อมถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483มาตรา 6เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้โดยขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันคือใบหุ้น แล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ได้ตามมาตรา 96(3)
of 2