พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2058/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาซื้อขายที่ดิน: การรับสภาพหนี้ใหม่ทำให้เริ่มนับอายุความใหม่ได้
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 15658 และตกลงซื้อที่ดินพิพาทซึ่งเป็นถนนที่อยู่ติดกับที่ดินดังกล่าวเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2519 ต่อมาวันที่ 19 ธันวาคม 2521 จำเลยได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 15658 ให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินอันเป็นการชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วน ถือเป็นการรับสภาพหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) อายุความย่อมสะดุดหยุดลง ระยะเวลาทีล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 สัญญาจะซื้อจะขายไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2521 ในวันที่ 27 ตุลาคม 2530 จำเลยทำหนังสือว่าได้รับเงินจำนวน 50,000 บาท จากโจทก์เป็นค่าที่ดินส่วนที่เป็นถนนตามสัญญาจะซื้อจะขายลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2519 ส่วนที่เหลือจะชำระให้ในวันที่ไปทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ ข้อความในหนังสือดังกล่าวบ่งชี้ว่าจำเลยรับว่ายังมีหนี้ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่เป็นถนนให้แก่โจทก์อยู่อีก จึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงอีกครั้งหนึ่ง ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2530 เป็นต้นไป ซึ่งนับถึงวันที่ 22 ตุลาคม 2540 ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง ปัญหาว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะหรือไม่ จึงเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ได้ยกปัญหานี้ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยังมีสิทธิที่จะยกปัญหานี้ขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง แม้ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของถนนในหมู่บ้านที่จำเลยเป็นผู้ดำเนินการจัดสรรที่ดินและตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ก็ตาม แต่ภาระจำยอมนั้นเพียงแต่ทำให้เจ้าของภารยทรัพย์ต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนหรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น และห้ามเจ้าของภารยทรัพย์ประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1387 และ 1389 เท่านั้น เจ้าของภารยทรัพย์ยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดห้ามเจ้าของภารยทรัพย์ขายหรือจำหน่ายจ่ายโอนกรรมสิทธิ์แต่อย่างใด จำเลยในฐานะเจ้าของที่ดินพิพาทจึงมีสิทธิขายที่ดินพิพาทได้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นโมฆะ จำเลยจึงต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์
โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง ปัญหาว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะหรือไม่ จึงเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ได้ยกปัญหานี้ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยังมีสิทธิที่จะยกปัญหานี้ขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง แม้ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของถนนในหมู่บ้านที่จำเลยเป็นผู้ดำเนินการจัดสรรที่ดินและตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ก็ตาม แต่ภาระจำยอมนั้นเพียงแต่ทำให้เจ้าของภารยทรัพย์ต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนหรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น และห้ามเจ้าของภารยทรัพย์ประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1387 และ 1389 เท่านั้น เจ้าของภารยทรัพย์ยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดห้ามเจ้าของภารยทรัพย์ขายหรือจำหน่ายจ่ายโอนกรรมสิทธิ์แต่อย่างใด จำเลยในฐานะเจ้าของที่ดินพิพาทจึงมีสิทธิขายที่ดินพิพาทได้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นโมฆะ จำเลยจึงต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4377/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้างรายเดือนสะดุดหยุดเมื่อลูกหนี้ยอมรับหนี้ แม้จะยังไม่ชำระ
จำเลยที่ 2 ให้การว่าโจทก์ทำงานที่รับจ้างแล้วเสร็จและส่งมอบงานให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2539 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเรียกเงินค่าจ้างเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2541 เกิน 2 ปี จึงขาดอายุความตามกฎหมาย เป็นคำให้การที่ยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความไว้อย่างชัดเจนแล้ว ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาการจ้างโดยแบ่งค่าจ้างเป็นรายงวดหรือรายเดือนและโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตั้งแต่เมื่อใด คดีเริ่มนับอายุความและขาดอายุความในเวลาใดและมาจากสาเหตุใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์และจำเลยที่ 2 จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไป ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความไว้โดยชอบแล้ว
จำเลยที่ 2 ต้องชำระค่าจ้างแก่โจทก์เป็นรายเดือน กล่าวคือ เมื่อโจทก์ทำงานให้จำเลยที่ 2 ครบเสร็จสิ้นในเดือนใด จำเลยที่ 2 จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ทันทีในวันสิ้นงวดเดือนนั้น หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระอายุความต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 และหากอายุความสะดุดหยุดลงสำหรับค่าจ้างในเดือนใดก็จะมีผลต่อค่าจ้างของเดือนนั้นเท่านั้น ดังนั้นโจทก์ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจเป็นที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างรับจ้างดูแลกิจการของจำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิเรียกเอาสินจ้างที่พึงได้รับได้ตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นงวดเดือนเป็นต้นไปในแต่ละงวดเดือนที่จำเลยที่ 2 ผิดนัด ซึ่งมาตรา 193/34 (7) กำหนดอายุความเรียกร้องไว้ 2 ปี
จำเลยที่ 2 ค้างชำระค่าจ้างให้โจทก์ 2 งวดเดือนหลังสุดซึ่งโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2539 และวันที่ 21 เมษายน 2539 ปรากฏว่า ส. กรรมการโครงการได้มีหนังสือแจ้งตอบการทวงถามให้ชำระหนี้ไปยังโจทก์โดย ส. ยอมรับว่าจำเลยที่ 2 ติดค้างค่าจ้างทำงานตามที่โจทก์ทวงถามมาจริงแต่ขอชำระให้บางส่วนซึ่งเป็นค่าจ้างสำหรับ 2 งวดเดือนแรก ส่วนที่เหลือสำหรับงวด 2 เดือนสุดท้ายนั้น จำเลยที่ 2 จะชำระให้ ต่อมาเมื่อได้มีการเริ่มกิจกรรมใหม่ของโครงการตามที่ได้มีการเจรจากันไว้แล้ว ดังนั้นหนังสือดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการกระทำใด ๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ได้รับหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1) และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นไปตามมาตรา 193/15 วรรคสอง เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2541 จึงเกินกำหนดเวลา 2 ปี ค่าจ้างที่ยังค้างชำระโจทก์อยู่ในแต่ละงวดเดือนของ 2 งวดเดือนหลังก็ยังขาดอายุความอยู่ดี
จำเลยที่ 2 ต้องชำระค่าจ้างแก่โจทก์เป็นรายเดือน กล่าวคือ เมื่อโจทก์ทำงานให้จำเลยที่ 2 ครบเสร็จสิ้นในเดือนใด จำเลยที่ 2 จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ทันทีในวันสิ้นงวดเดือนนั้น หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระอายุความต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 และหากอายุความสะดุดหยุดลงสำหรับค่าจ้างในเดือนใดก็จะมีผลต่อค่าจ้างของเดือนนั้นเท่านั้น ดังนั้นโจทก์ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจเป็นที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างรับจ้างดูแลกิจการของจำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิเรียกเอาสินจ้างที่พึงได้รับได้ตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นงวดเดือนเป็นต้นไปในแต่ละงวดเดือนที่จำเลยที่ 2 ผิดนัด ซึ่งมาตรา 193/34 (7) กำหนดอายุความเรียกร้องไว้ 2 ปี
จำเลยที่ 2 ค้างชำระค่าจ้างให้โจทก์ 2 งวดเดือนหลังสุดซึ่งโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2539 และวันที่ 21 เมษายน 2539 ปรากฏว่า ส. กรรมการโครงการได้มีหนังสือแจ้งตอบการทวงถามให้ชำระหนี้ไปยังโจทก์โดย ส. ยอมรับว่าจำเลยที่ 2 ติดค้างค่าจ้างทำงานตามที่โจทก์ทวงถามมาจริงแต่ขอชำระให้บางส่วนซึ่งเป็นค่าจ้างสำหรับ 2 งวดเดือนแรก ส่วนที่เหลือสำหรับงวด 2 เดือนสุดท้ายนั้น จำเลยที่ 2 จะชำระให้ ต่อมาเมื่อได้มีการเริ่มกิจกรรมใหม่ของโครงการตามที่ได้มีการเจรจากันไว้แล้ว ดังนั้นหนังสือดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการกระทำใด ๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ได้รับหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1) และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นไปตามมาตรา 193/15 วรรคสอง เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2541 จึงเกินกำหนดเวลา 2 ปี ค่าจ้างที่ยังค้างชำระโจทก์อยู่ในแต่ละงวดเดือนของ 2 งวดเดือนหลังก็ยังขาดอายุความอยู่ดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7982/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันสัญญาจ้างแรงงาน, อายุความ, และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกันเมื่อมีการทำสัญญาใหม่
โจทก์รับจำเลยที่ 1 เข้าทำงานโดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานระหว่างทำงานจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพนี้มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ยอมรับว่าได้รับเงินจากลูกค้าแล้วไม่นำเงินส่งแก่โจทก์และขอชำระเงินดังกล่าวในวันทำสัญญาบางส่วน ส่วนที่เหลือจะชำระในวันรุ่งขึ้นจำนวนหนึ่งและจะผ่อนชำระอีกจำนวนหนึ่ง โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน ดังนี้ หนี้ที่จำเลยที่ 1 ตกลงชำระให้แก่โจทก์คือหนี้ที่จำเลยที่ 1 ผูกพันต่อโจทก์อยู่แล้ว มิใช่เป็นเรื่องจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตกลงผูกนิติสัมพันธ์กันใหม่อันมีผลให้หนี้เดิมของจำเลยที่ 1 ระงับไป การตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 ระงับไป การตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ไม่ได้เปลี่ยนสาระสำคัญแห่งหนี้อันจะมีผลให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด
ความรับผิดของจำเลยที่ 1 เป็นความรับผิดตามสัญญาจ้างแรงงานซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ซึ่งอายุความเริ่มนับแต่ต้นปี 2541 เมื่อมีการทุจริตเกิดขึ้น จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2543 อายุความย่อมสะดุดหยุดลงโดยระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และมาตรา 193/15 และการที่อายุความสะดุดหยุดลงนี้ย่อมมีผลเป็นโทษแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันด้วย
ความรับผิดของจำเลยที่ 1 เป็นความรับผิดตามสัญญาจ้างแรงงานซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ซึ่งอายุความเริ่มนับแต่ต้นปี 2541 เมื่อมีการทุจริตเกิดขึ้น จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2543 อายุความย่อมสะดุดหยุดลงโดยระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และมาตรา 193/15 และการที่อายุความสะดุดหยุดลงนี้ย่อมมีผลเป็นโทษแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7563/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบัตรเครดิต: การรับสภาพหนี้และการผ่อนผันสิทธิเรียกร้อง
จำเลยนำบัตรซิตี้แบงก์วีซ่าและบัตรซิตี้แบงก์มาสเตอร์การ์ดไปใช้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2541 และวันที่ 26 พฤศจิกายน 2540 โจทก์ส่งใบแจ้งยอดบัญชีกำหนดให้ชำระเงินคืนโจทก์ภายในวันที่ 25 พฤษภาคม และวันที่ 2 มกราคม 2541 ตามลำดับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ภายในเวลาที่โจทก์กำหนด โจทก์ย่อมใช้บังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระได้เมื่อครบกำหนดตามใบแจ้งยอดบัญชีและเริ่มนับอายุความแห่งสิทธินับแต่นั้นมา ต่อมาจำเลยชำระหนี้บางส่วนครั้งสุดท้ายตามบัตรซิตี้แบงก์วีซ่าและซิตี้แบงก์มาสเตอร์การ์ดเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541 และวันที่ 6 ตุลาคม 2541 อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และมาตรา 193/15 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2543 จึงพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่เริ่มนับอายุความใหม่ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ แม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์แจ้งยอดบัญชีให้จำเลยชำระตามบัตรซิตี้แบงก์วีซ่าและซิตี้แบงก์มาสเตอร์การ์ดครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2542 และวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 ตามลำดับก็ตามแต่เมื่อหลังจากที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้แล้ว จำเลยไม่เคยใช้บัตรเครดิตของโจทก์และโจทก์ก็มิได้ออกเงินทดรองให้แก่สถานประกอบกิจการต่าง ๆ แทนจำเลยอีก ใบแจ้งยอดหนี้ที่โจทก์ส่งให้จำเลยแต่ละเดือนต่อมาล้วนเป็นการคิดบวกดอกเบี้ยที่จำเลยผิดนัดและเบี้ยปรับที่ชำระล่าช้าเข้ากับต้นเงินที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์เท่านั้น การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยเมื่ออาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้จึงเป็นกรณีที่โจทก์ผ่อนผันไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยเอง มิใช่โจทก์ไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความคดีจึงหาได้เริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างทั้งหมดตามใบแจ้งยอดหนี้ครั้งสุดท้ายโดยไม่ผ่อนผันให้แก่จำเลยอีกต่อไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7155/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่าเบี้ยประกันภัย: การรับสภาพหนี้ใหม่และการฟื้นฟูกิจการ
ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคสอง บัญญัติว่า ในการเรียกให้ใช้หรือให้คืนเบี้ยประกันภัย ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลา 2 ปี นับแต่วันซึ่งสิทธิจะเรียกให้ใช้หรือคืนเบี้ยประกันภัยถึงกำหนด ดังนั้น แม้ลูกหนี้และกลุ่มบริษัทในเครือเดียวกันได้มีหนังสือรับสภาพหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยและขอผ่อนชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้ อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ แต่ลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เลย เมื่อนับถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงล่วงเลยกำหนดเวลา 2 ปีแล้ว การที่ลูกหนี้ร่วมกับผู้ร้องขอที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้โดยระบุชื่อเจ้าหนี้รายนี้เป็นเจ้าหนี้รายหนึ่งในจำนวนเจ้าหนี้หลายรายทั้งลูกหนี้ได้มีหนังสือถึงเจ้าหนี้ให้ตรวจสอบและยืนยันยอดตามที่ปรากฏในบัญชีของลูกหนี้จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่ลูกหนี้ได้รับสภาพความรับผิดต่อเจ้าหนี้โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ ซึ่งสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการที่ลูกหนี้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือมีกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความผิดตามมาตรา 193/35 ดังนั้น เมื่อนับแต่วันที่ลูกหนี้รับสภาพความรับผิดถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อยู่ภายในกำหนดเวลา 2 ปี สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4543/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้ภาษีอากรหลังการชำระบัญชี: ผลของการแจ้งการประเมินภาษีและการสั่งบังคับ
แม้มูลหนี้ตามฟ้องจะเป็นหนี้ค่าภาษีอากร แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและผู้ชำระบัญชีของห้างุ้นส่วนจำกัด น. ซึ่งจดทะเบียนเสร็จสิ้นการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2530 จึงมีอายุความห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1272 แต่เมื่อโจทก์มีหนังสือเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2532 แจ้งให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันรับหนังสือ การที่พนักงานมีหนังสือถึงจำเลยให้ชำระภาษีอากรดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมายเพื่อให้จำเลยชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้อง อันมีผลให้จำเลยอาจถูกยึดทรัพย์สินขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องร้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) จำเลยรับหนังสือเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2532 อายุความจึงสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่พ้นกำหนด 30 วันที่กำหนดให้จำเลยนำเงินภาษีอากรไปชำระ ดังนั้น อายุความเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวจึงเริ่มนับใหม่นับแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2532 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2542 จึงพ้น 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1272
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4507/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความของหนี้และการรับสภาพหนี้: การพิจารณาอายุความ 10 ปี และ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สิทธิเรียกร้องตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 193/35 ต้องเป็นกรณีลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว ต่อมาหนี้ขาดอายุความ ภายหลังจากนั้นลูกหนี้จึงได้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ เมื่อหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ซึ่งมีอายุความ 10 ปี โดยขณะที่จำเลยที่ 1 ยอมรับสภาพหนี้ต่อโจทก์เป็นหนังสือนั้นยังไม่ขาดอายุความจึงไม่เข้าลักษณะตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/35 ซึ่งมีอายุความ 2 ปี แต่ต้องใช้อายุความ 10 ปี นับแต่มีการรับสภาพหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 และ 193/15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2958/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและการรับสภาพหนี้: เช็คจากบริษัทอื่นชำระหนี้ไม่ทำให้บริษัทนั้นเป็นผู้ชำระหนี้จริง และการรับสภาพหนี้ทำให้เริ่มนับอายุความใหม่
สำเนาบันทึกการรับเช็คซึ่งทำขึ้นเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2539 มีข้อความว่าโจทก์ได้รับเช็คของบริษัท พ. จากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการนำมามอบชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์นั้นถือเป็นการชำระหนี้โดยจำเลยที่ 1 แม้จะชำระด้วยเช็คของบริษัท พ. ก็ไม่ถือว่าบริษัทดังกล่าวเป็นผู้ชำระหนี้ กรณีถือได้ว่าจำเลยทั้งสองรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้เมื่อวันที่ 29พฤษภาคม 2539 อายุความจึงสะดุดหยุดลง ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ ต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) และ 193/15 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกค่าซื้อสินค้าจากจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2541 ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่29 พฤษภาคม 2539 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2958/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยเช็คของบุคคลอื่น และผลกระทบต่ออายุความทางแพ่ง
สำเนาบันทึกการรับเช็คซึ่งมีข้อความว่า โจทก์ได้รับเช็คของบริษัท พ. จากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการนำมามอบชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์นั้นเป็นการชำระหนี้โดยจำเลยที่ 1 แม้จะชำระด้วยเช็คของบริษัท พ. ก็ไม่ถือว่าบริษัทดังกล่าวเป็นผู้ชำระหนี้ กรณีต้องฟังว่าจำเลยทั้งสองรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2539 อายุความจึงสะดุดหยุดลง ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ จึงเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น ตามป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และ 193 (15) เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2541 ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2539 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9736/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุดเมื่อจำเลยยอมรับสภาพหนี้ และเริ่มนับใหม่เมื่อศาลมีคำสั่ง
จำเลยเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้นำยึดที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์เพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้ เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบจำเลยยอมรับรู้สิทธิของโจทก์ในที่ดินพิพาทและได้ยื่นคำร้องต่อศาลในคดีดังกล่าวยอมรับว่าที่ดินพิพาทที่นำยึดเป็นของโจทก์ ไม่ใช่ที่ดินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยและขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท ถือได้ว่าจำเลย ได้กระทำการอันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่าจำเลยยอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทนั้นแล้ว อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14(1) เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้วระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ และเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใด ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้นตาม มาตรา193/15 เมื่อศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลย วันที่ 18 กรกฎาคม 2539 เป็นเหตุที่ทำให้ อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดในวันดังกล่าวตาม มาตรา 193/15 จึงเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2539โจทก์มาฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายเป็นคดีนี้ วันที่ 4 กันยายน 2539 ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ