คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 193/15

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5795/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายปุ๋ย: องค์การของรัฐบาลไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34(1) ใช้ อายุความ 10 ปี
โจทก์เป็นองค์การของรัฐบาลมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรฯ มาตรา 6(1) ถึง (8) แม้ตาม (8) จะระบุว่าเพื่อจัดหาปัจจัยในการผลิตและเครื่องอุปโภคและบริโภคอันจำเป็นจำหน่ายให้แก่เกษตรกร แต่ก็กำหนดไว้ว่าต้องเป็นราคาอันสมควร จึงมิใช่เป็นการประกอบการค้าซึ่งมุ่งแสวงหากำไรเป็นปกติธุระ ส่วนที่ตามสัญญาซื้อขายปุ๋ยกำหนดราคาปุ๋ยสูงขึ้นในกรณีที่จำเลยชำระราคาล่าช้านั้น หาได้แสดงว่าโจทก์มีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรแต่ประการใดไม่โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
จำเลยชำระราคาปุ๋ยหลายครั้ง มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลาชำระราคาปุ๋ยครั้งสุดท้ายตามมาตรา 193/15 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5314/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน การฟ้องล้มละลาย & การรับสภาพหนี้ ผลต่ออายุความ
มูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินมีอายุความ 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 การที่เจ้าหนี้ได้นำหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายก่อนที่ตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับจะครบกำหนดอายุความ เป็นการฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้อง ไม่ใช่เป็นเพียงเพื่อให้จัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ล้มละลายแต่อย่างเดียว ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173(เดิม) แม้ต่อมาเจ้าหนี้ได้ถอนฟ้องคดีล้มละลายอันเป็นผลให้ไม่นับว่าเป็นเหตุให้อายุความสะดุดลงตามมาตรา 174(เดิม) ก็ตาม แต่เมื่อพ้นกำหนดอายุความตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว ลูกหนี้ได้ทำสัญญารับสภาพหนี้ยอมรับผิดชดใช้หนี้ต่อเจ้าหนี้ถือได้ว่าลูกหนี้ได้ละเสียซึ่งอายุความที่ครบบริบูรณ์และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันรับสภาพหนี้ เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ก่อนครบกำหนดอายุความซึ่งมีกำหนดเวลา 3 ปี เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5314/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสะดุดหยุด-เริ่มนับใหม่: ฟ้องล้มละลาย-รับสภาพหนี้
มูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินมีกำหนดอายุความ 3 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1001
เจ้าหนี้นำหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายก่อนที่ตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับจะครบกำหนดอายุความ เป็นการฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องจึงมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 (เดิม) แม้ต่อมาเจ้าหนี้ได้ถอนฟ้องคดีล้มละลายดังกล่าวอันเป็นผลให้ไม่นับว่าเป็นเหตุให้อายุความ สะดุดหยุดลงตามมาตรา 174 (เดิม) ก็ตาม แต่เมื่อกำหนดอายุความตามตั๋วสัญญาใช้เงินได้ล่วงพ้นไปแล้วลูกหนี้ ได้ทำสัญญารับสภาพหนี้ยินยอมรับผิดชดใช้หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินและหนี้อื่น ๆ ต่อเจ้าหนี้ ถือได้ว่าลูกหนี้ได้ละเสียซึ่งอายุความที่ครบบริบูรณ์แล้ว และเริ่มนับอายุความใหม่ต่อไปตั้งแต่วันรับสภาพหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5596/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความในคดีล้มละลาย: การฟ้องร้องและการขอรับชำระหนี้จากคำพิพากษาถึงที่สุด
การที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเป็นการนำเอาสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่มาใช้บังคับแก่ลูกหนี้ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในเรื่องอายุความตาม ป.พ.พ.บรรพ 1 ลักษณะ 6
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2529 ให้ลูกหนี้กับพวกร่วมกันชำระเงินแก่เจ้าหนี้ สิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้มีต่อลูกหนี้จึงเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ.มาตรา 193/32 เจ้าหนี้นำเอาหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2539 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี เจ้าหนี้จึงมีสิทธิฟ้องได้ และมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามป.พ.พ.มาตรา 193/14 (2) และทำให้ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้น ไม่นับเข้าในอายุความตามมาตรา 193/15 วรรคหนึ่ง ต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงได้สิ้นสุดไปแล้วตามมาตรา 193/15 วรรคสอง เมื่อเจ้าหนี้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมายื่นคำขอรับชำระหนี้ในขณะที่อายุความยังสะดุดหยุดลงจึงไม่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (1)กรณีนี้มิใช่เป็นการที่เจ้าหนี้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา จึงนำเอาระยะเวลาการบังคับคดี 10 ปี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 มาปรับใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้สำหรับมูลหนี้ตามคำพิพากษาเพียงใด แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะมิได้วินิจฉัย แต่ศาลฎีกาเห็นว่าเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปด้วยความรวดเร็ว สมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก่อน
เจ้าหนี้ฎีกาเฉพาะมูลหนี้ตามคำพิพากษา จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลฎีกาเพียง 25 บาท ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 (2) วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และผลของการฟ้องล้มละลายต่ออายุความค้ำประกัน
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22(3) ที่ว่า เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ หมายถึง คดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ลูกหนี้มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องเท่านั้น หากลูกหนี้ไม่มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องย่อมไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าดำเนินการ จำเลยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อโจทก์ แม้ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เด็ดขาดและโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องร้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เพราะจำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. แต่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
แม้จำเลยจะทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่เมื่อขณะทำสัญญาค้ำประกันโจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เป็นคดีล้มละลายเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่ พระราชบัญญัติล้มละลายฯ บัญญัติไว้โดยเฉพาะ มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2) เป็นโทษแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. และย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วย ตามมาตรา 692 และเมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในภายหลัง ก็ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินค้า/บริการจากบัตรเครดิต: การทดรองจ่ายไม่ใช่การเบิกเงินเกินบัญชี
สินเชื่อบัตรเครดิตที่เจ้าหนี้ให้แก่ลูกค้าเพื่อซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าและสถานประกอบการค้า เจ้าหนี้ได้ออกบัตรเครดิตให้แก่ลูกค้า แล้วลูกค้าของเจ้าหนี้สามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าและสถานประกอบการที่มีข้อตกลงกับเจ้าหนี้ โดยลูกค้าไม่ต้อง ชำระราคาสินค้าและการใช้บริการด้วยเงินสดแต่ร้านค้า และสถานประกอบการจะส่งรายการค่าใช้จ่ายไปเรียกเก็บเงิน จากเจ้าหนี้เมื่อเจ้าหนี้ชำระเงินให้แก่ร้านค้าและสถานประกอบการ แทนลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตไปแล้วจะเรียกเก็บเงินจากลูกค้า ผู้ใช้บัตรเครดิตภายหลัง อันเป็นการเรียกเอาเงินที่เจ้าหนี้ ได้ออกทดรองไป แต่การเบิกเงินเกินบัญชีเป็นการเบิกเงิน จากโจทก์ไปโดยตรงหาใช่เจ้าหนี้ออกเงินทดรองแทนลูกค้า ของเจ้าหนี้ไปก่อนดังเช่นกรณีลูกค้าใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้า และบริการไม่ การให้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงิน เกินบัญชีจึงมีลักษณะแตกต่างกัน แม้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงินเกินบัญชีต่างมีวงเงิน กำหนดไว้เหมือนกัน ก็เป็นเพียงการจำกัดมิให้ลูกค้าใช้บัตรเครดิต ซื้อสินค้าและบริการเกินไปกว่าวงเงินที่กำหนดไว้ในการให้ สินเชื่อบัตรเครดิต และจำกัดมิให้ลูกค้าเบิกเงินจาก บัญชีเงินฝากกระแสรายวันเกินกว่าวงเงินที่กำหนดใน สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ทั้งการที่เจ้าหนี้ทดรองจ่ายเงิน ค่าสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ร้านค้าและสถานประกอบการ แทนลูกค้าไปก่อน แล้วนำไปหักออกจากวงเงินที่ให้สินเชื่อ บัตรเครดิตก็ด้วยจุดประสงค์เพื่อมิให้เกินกำหนดวงเงินที่เจ้าหนี้ให้สินเชื่อบัตรเครดิตเท่านั้น หาได้ทำให้หนี้เงินที่เจ้าหนี้ออก ทดรองไปสิ้นสุดลงและตกเป็นหนี้ตามวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิตไม่ จำนวนเงินที่เจ้าหนี้จ่ายค่าซื้อสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ ร้านค้าและสถานประกอบการยังคงเป็นเงินที่เจ้าหนี้ ออกทดรองแทนลูกหนี้ไป และในการให้การบริการแก่ลูกค้า ผู้ใช้บัตรเครดิต เจ้าหนี้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ รวมทั้ง ดอกเบี้ยด้วย เจ้าหนี้จึงเป็นผู้ประกอบการค้าทำการงานต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตกรุงไทยของเจ้าหนี้ และการที่ เจ้าหนี้ชำระเงินแก่ร้านค้าและผู้ประกอบการแทนลูกค้า ผู้ใช้บัตรเครดิตไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงิน จากลูกหนี้ภายหลัง เป็นการเรียกเอาเงินที่เจ้าหนี้ ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ผู้ประกอบการค้ารับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไป มีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)ลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ครั้งสุดท้ายเป็นบางส่วนเป็นการรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว ตามมาตรา 193/14(1) ประกอบมาตรา 193/15 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าว เมื่อพ้นกำหนด 2 ปีแล้ว สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความ ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1) คดีล้มละลาย เจ้าหนี้ฎีกาว่า เจ้าหนี้ยังมิได้บอกกล่าว ทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา เจ้าหนี้ยังไม่อาจ บังคับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ได้อายุความจึงยัง ไม่เริ่มนับนั้น เจ้าหนี้เพิ่งจะยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้น โต้เถียงในชั้นฎีกาเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องเจ้าหนี้บัตรเครดิตและการล้มละลาย: การเบิกเงินเกินบัญชีกับสินเชื่อบัตรเครดิตมีลักษณะต่างกัน
สินเชื่อบัตรเครดิตที่เจ้าหนี้ให้แก่ลูกค้าเพื่อซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าและสถานประกอบการเจ้าหนี้ได้ออกบัตรเครดิตให้แก่ลูกค้า แล้วลูกค้าของเจ้าหนี้สามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าและสถานประกอบการที่มีข้อตกลงกับเจ้าหนี้ โดยลูกค้าไม่ต้องชำระราคาสินค้าและการใช้บริการด้วยเงินสดแต่ร้านค้าและสถานประกอบการจะส่งรายการค่าใช้จ่ายไปเรียกเก็บเงินจากเจ้าหนี้เมื่อเจ้าหนี้ชำระเงินให้แก่ร้านค้าและสถานประกอบการแทนลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตไปแล้วจะเรียกเก็บเงินจากลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตภายหลัง อันเป็นการเรียกเอาเงินที่เจ้าหนี้ได้ออกทดรองไป แต่การเบิกเงินเกินบัญชีเป็นการเบิกเงินจากโจทก์ไปโดยตรงหาใช่เจ้าหนี้ออกเงินทดรองแทนลูกค้าของเจ้าหนี้ไปก่อนดังเช่นกรณีลูกค้าใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าและบริการไม่ การให้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงินเกินบัญชีจึงมีลักษณะแตกต่างกัน
แม้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงินเกินบัญชีต่างมีวงเงินกำหนดไว้เหมือนกัน ก็เป็นเพียงการจำกัดมิให้ลูกค้าใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าและบริการเกินไปกว่าวงเงินที่กำหนดไว้ในการให้สินเชื่อบัตรเครดิต และจำกัดมิให้ลูกค้าเบิกเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเกินกว่าวงเงินที่กำหนดในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ทั้งการที่เจ้าหนี้ทดรองจ่ายเงินค่าสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ร้านค้าและสถานประกอบการแทนลูกค้าไปก่อน แล้วนำไปหักออกจากวงเงินที่ให้สินเชื่อบัตรเครดิตก็ด้วยจุดประสงค์เพื่อมิให้เกินกำหนดวงเงินที่เจ้าหนี้ให้สินเชื่อบัตรเครดิตเท่านั้น หาได้ทำให้หนี้เงินที่เจ้าหนี้ออกทดรองไปสิ้นสุดลงและตกเป็นหนี้ตามวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิตไม่ จำนวนเงินที่เจ้าหนี้จ่ายค่าซื้อสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ร้านค้าและสถานประกอบการยังคงเป็นเงินที่เจ้าหนี้ออกทดรองแทนลูกหนี้ไป และในการให้การบริการแก่ลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิต เจ้าหนี้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ รวมทั้งดอกเบี้ยด้วย เจ้าหนี้จึงเป็นผู้ประกอบการค้าทำการงานต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตกรุงไทยของเจ้าหนี้ และการที่เจ้าหนี้ชำระเงินแก่ร้านค้าและผู้ประกอบการแทนลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ภายหลัง เป็นการเรียกเอาเงินที่เจ้าหนี้ได้ออกเงินทดรองไป
สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ผู้ประกอบการค้ารับทำการงานต่าง ๆเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไป มีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (7)ลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ครั้งสุดท้ายเป็นบางส่วนเป็นการรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว ตามมาตรา193/14 (1) ประกอบมาตรา 193/15 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนด 2 ปีแล้ว สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความ ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (1)
คดีล้มละลาย เจ้าหนี้ฎีกาว่า เจ้าหนี้ยังมิได้บอกกล่าวทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา เจ้าหนี้ยังไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ได้อายุความจึงยังไม่เริ่มนับนั้น เจ้าหนี้เพิ่งจะยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นโต้เถียงในชั้นฎีกาเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3344/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการค้าและการรับสภาพหนี้: การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ผู้ประกอบการค้าและการสะดุดหยุดของอายุความ
เมื่อ พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ พ.ศ.2499มาตรา 6 (2) กำหนดให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมป่าไม้ และเพื่อให้โจทก์สามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ มาตรา 7 (2) กำหนดให้โจทก์มีอำนาจรวมถึงการค้าผลิตผลและผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมป่าได้ด้วย ดังนั้น การที่โจทก์ทำสัญญาขายไม้ซุงให้แก่จำเลยจึงเป็นการประกอบธุรกิจหรือดำเนินกิจการในวัตถุประสงค์ของโจทก์และการที่จำเลยที่ 1 ซื้อไม้ซุงจากโจทก์ก็เพื่อนำไปใช้ผลิตเป็นไม้แปรรูปออกจำหน่ายอันเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1)การที่โจทก์ฟ้องเรียกราคาไม้ซุงที่ค้างชำระจากจำเลยจึงต้องใช้อายุความ 5 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/33 (5)
ส่วนอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1)ซึ่งบัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ฯลฯ เรียกเอาของที่ได้ส่งมอบ ฯลฯ"นั้น กฎหมายมุ่งหมายถึงเจ้าหนี้ซึ่งได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิเรียกร้องในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้องของตน หาใช่หมายถึงจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่
โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าไม้ส่วนที่ค้างชำระไปชำระแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้โดยไม่มีตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ประทับก็ตามแต่จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในฐานะส่วนตัวกับจำเลยที่ 1 ด้วย ซึ่งตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนก็ไม่มีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ และไม่มีข้อกำหนดว่าการลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ต้องประทับตราของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 และมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงในวันที่ทำบันทึกตาม มาตรา 193/14 (1) และให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น ตามมาตรา 193/15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3344/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าไม้ซุง: ผู้ประกอบการค้าอุตสาหกรรมป่าไม้ และหนังสือรับสภาพหนี้
เมื่อพระราชบัญญัติกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้พ.ศ. 2499 มาตรา 6(2) กำหนดให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมป่าไม้ และเพื่อให้โจทก์สามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ มาตรา 7(2) กำหนดให้โจทก์มีอำนาจรวมถึงการค้า ผลิตผลและผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมป่าไม้ด้วย ดังนั้น การที่ โจทก์ทำสัญญาขายไม้ซุงให้แก่จำเลยจึงเป็นการประกอบธุรกิจ หรือดำเนินกิจการในวัตถุประสงค์ของโจทก์และการที่จำเลยที่ 1 ซื้อไม้ซุงจากโจทก์ก็เพื่อนำไปใช้ผลิตเป็นไม้แปรรูปออกจำหน่ายอันเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) การที่โจทก์ ฟ้องเรียกราคาไม้ซุงที่ค้างชำระจากจำเลยจึงต้องใช้อายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(5) อายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(1) ซึ่งบัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ฯลฯ เรียกเอาของที่ได้ส่งมอบ ฯลฯ" นั้นกฎหมายมุ่งหมายถึง เจ้าหนี้ซึ่งได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิเรียกร้องในฐานะ ที่เป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้อง ของตน หาใช่หมายถึงจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าไม้ส่วนที่ค้างชำระไปชำระแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้โดยไม่มีตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ประทับก็ตามแต่จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในฐานะส่วนตัวกับจำเลยที่ 1 ด้วย ซึ่งตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนก็ไม่มีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการและไม่มีข้อกำหนดว่าการลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ต้องประทับตราของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจทำการแทน จำเลยที่ 1 และมีผลทำให้อายุความสะดุดลงในวันที่ทำบันทึก ตาม มาตรา 193/14(1) และให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่ เวลานั้น ตามมาตรา 193/15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3361/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีล้มละลายและการยื่นคำขอรับชำระหนี้: ผลกระทบจากกระบวนการพิจารณาที่ผิดพลาด
เจ้าหนี้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ซึ่งมีกำหนดอายุความ 10 ปี ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2526 ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เจ้าหนี้จึงฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2536 อายุความตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (2) ที่ได้ตรวจชำระใหม่ และต้องเริ่มนับใหม่เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดตามป.พ.พ.มาตรา 193/15 คือตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีล้มละลายตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 15 เนื่องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิมพ์ชื่อลูกหนี้ผิดพลาดไป และให้เจ้าหนี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ ดังนี้ การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2538 ถือได้ว่าเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ภายในกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 91 แล้ว เจ้าหนี้มีหน้าที่ต้องแสดงให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ยังไม่ขาดอายุความ แต่เจ้าหนี้มิได้ให้การสอบสวนต่อเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ถึงข้อเท็จจริงในคดีในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ตลอดจนสิทธิเรียกร้องต่าง ๆของเจ้าหนี้ที่มีต่อลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องนั้นแล้วแต่ถูกศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้เจ้าหนี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้และข้อเท็จจริงดังกล่าวมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายนั้นในคดีหมายเลขแดงที่ ล.182/2537 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2537 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2537 พร้อมประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีหมายถึงเจ้าหนี้ให้วางเงินประกันค่าใช้จ่ายจำนวน 5,000 บาท ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดไว้ในคดีนี้ก่อนแล้ว แต่คดีนี้ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายหลังคดีดังกล่าวเพราะพิมพ์ชื่อลูกหนี้ผิดพลาดไป และให้เจ้าหนี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้เช่นนี้ เป็นข้อเท็จจริงที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบดีอยู่แล้ว ดังนี้จะกล่าวอ้าง และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายในชั้นยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
of 7