พบผลลัพธ์ทั้งหมด 371 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19016/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์ อำนาจศาลอุทธรณ์ และการฟ้องคดีอาญาแม้มีการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้จำเลยจะยินยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วม ก็หาทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปไม่
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่แบ่งตามประเภทคดีคงมีแต่เฉพาะในศาลชั้นต้นเท่านั้น ส่วนในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคซึ่งมีเขตอำนาจย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้นในเขตอำนาจทุกประเภททั้งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงและศาลจังหวัดที่อุทธรณ์มาได้ เมื่อคดีนี้อยู่ในเขตจังหวัดสมุทรปราการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีเขตอำนาจศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่แบ่งตามประเภทคดีคงมีแต่เฉพาะในศาลชั้นต้นเท่านั้น ส่วนในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคซึ่งมีเขตอำนาจย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้นในเขตอำนาจทุกประเภททั้งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงและศาลจังหวัดที่อุทธรณ์มาได้ เมื่อคดีนี้อยู่ในเขตจังหวัดสมุทรปราการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีเขตอำนาจศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7757/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานในคดีอาญา, การพิสูจน์ความผิด, การไม่โต้แย้งกระบวนการพิจารณา, การปรับแก้โทษ
ป.วิ.อ. มาตรา 241 และมาตรา 242 ไม่มีผลเป็นการบังคับว่าในการพิสูจน์ความผิดของจำเลย โจทก์จะต้องพิสูจน์ด้วยการนำพยานวัตถุมาศาลโจทก์อาจพิสูจน์ความผิดของจำเลยด้วยพยานหลักฐานอื่นที่ไม่ใช่พยานวัตถุได้
โจทก์พิสูจน์ความผิดของจำเลยว่า ของกลางที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยอ้างบัญชีของกลางคดีอาญา ซึ่งระบุว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และเจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในกระเป๋ากางเกงด้านขวามือของจำเลย และจำเลยลงชื่อรับว่าถูกต้องและเป็นจริงประกอบกับรายงานผลการตรวจพิสูจน์ของกลางว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ชนิดเมทแอมเฟตามีน โจทก์จึงไม่จำต้องนำเมทแอมเฟตามีนของกลางมาศาลอีก
คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่า จำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดจากการกระทำนั้น อีกทั้งบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนคำร้องขอฝากขังซึ่งระบุรายละเอียดแตกต่างจากคำฟ้อง พนักงานสอบสวนเบิกความว่า เป็นการพิมพ์ผิดพลาด อีกทั้งคำฟ้องจะเคลือบคลุมหรือไม่นั้น ไม่เกี่ยวกับรายละเอียดในคำร้องขอฝากขังแต่ประการใด คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ปัญหาว่า การนั่งพิจารณาคดีโดยไม่ครบองค์คณะมีผู้พิพากษาเพียงนายเดียวนั่งพิจารณาจนกระทั่งมีคำพิพากษาจึงให้ผู้พิพากษาอีก 1 คน ที่ไม่ได้นั่งพิจารณาลงชื่อในคำพิพากษาด้วยชอบหรือไม่ ปรากฎว่าทุกครั้งที่มีการพิจารณาคดี จำเลยทนายจำเลยทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวดีอยู่แล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านตั้งแต่ขณะที่ศาลชั้นต้นกำลังดำเนินกระบวนพิจารณาอยู่ต่อหน้าจำเลย เป็นการละเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านในเวลาอันสมควร ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้สละสิทธินั้นแล้ว จำเลยจะยกขึ้นโต้แย้งเมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาแล้วไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 8 เดือน จำเลยอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นปรับอีกสถานหนึ่งโดยปรับจำเลย 8,000 บาท แต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ ไม่เป็นการเพิ่มโทษแก่จำเลย
โจทก์พิสูจน์ความผิดของจำเลยว่า ของกลางที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยอ้างบัญชีของกลางคดีอาญา ซึ่งระบุว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และเจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในกระเป๋ากางเกงด้านขวามือของจำเลย และจำเลยลงชื่อรับว่าถูกต้องและเป็นจริงประกอบกับรายงานผลการตรวจพิสูจน์ของกลางว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ชนิดเมทแอมเฟตามีน โจทก์จึงไม่จำต้องนำเมทแอมเฟตามีนของกลางมาศาลอีก
คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่า จำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดจากการกระทำนั้น อีกทั้งบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนคำร้องขอฝากขังซึ่งระบุรายละเอียดแตกต่างจากคำฟ้อง พนักงานสอบสวนเบิกความว่า เป็นการพิมพ์ผิดพลาด อีกทั้งคำฟ้องจะเคลือบคลุมหรือไม่นั้น ไม่เกี่ยวกับรายละเอียดในคำร้องขอฝากขังแต่ประการใด คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ปัญหาว่า การนั่งพิจารณาคดีโดยไม่ครบองค์คณะมีผู้พิพากษาเพียงนายเดียวนั่งพิจารณาจนกระทั่งมีคำพิพากษาจึงให้ผู้พิพากษาอีก 1 คน ที่ไม่ได้นั่งพิจารณาลงชื่อในคำพิพากษาด้วยชอบหรือไม่ ปรากฎว่าทุกครั้งที่มีการพิจารณาคดี จำเลยทนายจำเลยทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวดีอยู่แล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านตั้งแต่ขณะที่ศาลชั้นต้นกำลังดำเนินกระบวนพิจารณาอยู่ต่อหน้าจำเลย เป็นการละเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านในเวลาอันสมควร ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้สละสิทธินั้นแล้ว จำเลยจะยกขึ้นโต้แย้งเมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาแล้วไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 8 เดือน จำเลยอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นปรับอีกสถานหนึ่งโดยปรับจำเลย 8,000 บาท แต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ ไม่เป็นการเพิ่มโทษแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7757/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดทางอาญา, คำฟ้องเคลือบคลุม, การนั่งพิจารณาคดีไม่ครบองค์คณะ, และการแก้ไขโทษของศาลอุทธรณ์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 241และมาตรา 242 ไม่มีผลเป็นการบังคับว่าในการพิสูจน์ความผิดของจำเลย โจทก์จะต้องพิสูจน์ด้วยการนำพยานวัตถุมาศาลโจทก์อาจพิสูจน์ความผิดของจำเลยด้วยพยานหลักฐานอื่นที่ไม่ใช่พยานวัตถุได้
โจทก์พิสูจน์ความผิดของจำเลยว่า ของกลางที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1โดยอ้างบัญชีของกลางคดีอาญา ซึ่งระบุว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และเจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในกระเป๋ากางเกงด้านขวามือของจำเลย และจำเลยลงชื่อรับว่าถูกต้องและเป็นจริงประกอบกับรายงานผลการตรวจพิสูจน์ของกลางว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ชนิดเมทแอมเฟตามีนโจทก์จึงไม่จำต้องนำเมทแอมเฟตามีนของกลางมาศาลอีก
คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่า จำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดจากการกระทำนั้น อีกทั้งบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนคำร้องขอฝากขังซึ่งระบุรายละเอียดแตกต่างจากคำฟ้อง พนักงานสอบสวนเบิกความว่า เป็นการพิมพ์ผิดพลาด อีกทั้งคำฟ้องจะเคลือบคลุมหรือไม่นั้น ไม่เกี่ยวกับรายละเอียดในคำร้องขอฝากขังแต่ประการใดคำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ปัญหาว่า การนั่งพิจารณาคดีโดยไม่ครบองค์คณะมีผู้พิพากษาเพียงนายเดียวนั่งพิจารณาจนกระทั่งมีคำพิพากษาจึงให้ผู้พิพากษาอีก 1 คน ที่ไม่ได้นั่งพิจารณาลงชื่อในคำพิพากษาด้วยชอบหรือไม่ปรากฏว่าทุกครั้งที่มีการพิจารณาคดี จำเลยทนายจำเลยทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวดีอยู่แล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านตั้งแต่ขณะที่ศาลชั้นต้นกำลังดำเนินกระบวนพิจารณาอยู่ต่อหน้าจำเลย เป็นการละเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านในเวลาอันสมควรย่อมถือได้ว่าจำเลยได้สละสิทธินั้นแล้ว จำเลยจะยกขึ้นโต้แย้งเมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาแล้วไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 8 เดือน จำเลยอุทธรณ์การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นปรับอีกสถานหนึ่งโดยปรับจำเลย8,000 บาท แต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ ไม่เป็นการเพิ่มโทษแก่จำเลย
โจทก์พิสูจน์ความผิดของจำเลยว่า ของกลางที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1โดยอ้างบัญชีของกลางคดีอาญา ซึ่งระบุว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และเจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในกระเป๋ากางเกงด้านขวามือของจำเลย และจำเลยลงชื่อรับว่าถูกต้องและเป็นจริงประกอบกับรายงานผลการตรวจพิสูจน์ของกลางว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ชนิดเมทแอมเฟตามีนโจทก์จึงไม่จำต้องนำเมทแอมเฟตามีนของกลางมาศาลอีก
คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่า จำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดจากการกระทำนั้น อีกทั้งบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนคำร้องขอฝากขังซึ่งระบุรายละเอียดแตกต่างจากคำฟ้อง พนักงานสอบสวนเบิกความว่า เป็นการพิมพ์ผิดพลาด อีกทั้งคำฟ้องจะเคลือบคลุมหรือไม่นั้น ไม่เกี่ยวกับรายละเอียดในคำร้องขอฝากขังแต่ประการใดคำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ปัญหาว่า การนั่งพิจารณาคดีโดยไม่ครบองค์คณะมีผู้พิพากษาเพียงนายเดียวนั่งพิจารณาจนกระทั่งมีคำพิพากษาจึงให้ผู้พิพากษาอีก 1 คน ที่ไม่ได้นั่งพิจารณาลงชื่อในคำพิพากษาด้วยชอบหรือไม่ปรากฏว่าทุกครั้งที่มีการพิจารณาคดี จำเลยทนายจำเลยทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวดีอยู่แล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านตั้งแต่ขณะที่ศาลชั้นต้นกำลังดำเนินกระบวนพิจารณาอยู่ต่อหน้าจำเลย เป็นการละเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านในเวลาอันสมควรย่อมถือได้ว่าจำเลยได้สละสิทธินั้นแล้ว จำเลยจะยกขึ้นโต้แย้งเมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาแล้วไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 8 เดือน จำเลยอุทธรณ์การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นปรับอีกสถานหนึ่งโดยปรับจำเลย8,000 บาท แต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ ไม่เป็นการเพิ่มโทษแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9313/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงจำกัดเฉพาะความผิดอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หากฟ้องรวมความผิดอัตราโทษสูงกว่า ศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดี
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352,353 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปีศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ แต่ความผิดตามมาตรา 354 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ศาลแขวงไม่มีอำนาจพิพากษาคดี โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทโดยจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกเบียดบังทรัพย์มรดกไปเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352,353 และ 354 ซึ่งเป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องและเชื่อมโยงต่อกัน ซึ่งหากศาลพิจารณาได้ข้อเท็จจริงตามฟ้อง ศาลต้องลงโทษตามมาตรา 354 ซึ่งมีอัตราโทษเกินอำนาจที่ศาลแขวงจะพิจารณาพิพากษาได้ย่อมทำให้ศาลแขวงไม่มีอำนาจพิจารณาคดีตามมาตรา 352 และ 353 ไปด้วย ดังนั้น การที่ศาลแขวงรับคดีตามมาตรา 354 ไว้พิจารณามาแต่ต้นโดยที่ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาย่อมทำให้กระบวนการพิจารณาคดีที่พิจารณามาแล้วเป็นการพิจารณาคดีโดยมิชอบทั้งหมดศาลแขวงจะพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีตามมาตรา 352,353 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการได้รับการช่วยเหลือทางกฎหมาย – การสอบถามทนายความก่อนพิจารณาคดีในศาลแขวง
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2539ที่บัญญัติว่า "ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก หรือในคดีที่จำเลย มีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณา ให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการ ทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้" เป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่กำหนด อำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องสอบถามจำเลยในเรื่องการมีทนายความเสียก่อนในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำความผิด ที่มีอัตราโทษจำคุกทุกกรณี และต้องนำมาใช้ในการพิจารณา คดีอาญาทุกคดี ส่วนบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง และวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 20 กับพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 ประกอบด้วยมาตรา 22 แม้จะเป็นบทบัญญัติที่ใช้ในศาลแขวงโดยเฉพาะแต่บทบัญญัติดังกล่าว ก็เป็นเพียงบทบัญญัติเกี่ยวกับการดำเนินการของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และวิธีพิจารณาคดีของศาลในกรณีที่จำเลย ให้การรับสารภาพเพื่อให้การพิจารณาคดีเสร็จสิ้นโดยเร็ว เท่านั้น มิใช่เป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ของจำเลยในการดำเนินคดี การต่อสู้คดี และการได้รับความ ช่วยเหลือทางกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงไม่มีบทบัญญัติ ที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในกรณีที่ให้จำเลยมีโอกาส ได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายจากทนายความในการดำเนินคดี กรณีจึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง มาใช้บังคับตามนัยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ดังนี้เมื่อคดีนี้มีอัตราโทษจำคุก แต่ก่อนเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ และถ้าไม่มี จำเลยต้องการทนายความหรือไม่ จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการมีทนายความ: ศาลต้องสอบถามก่อนเริ่มพิจารณาคดีอาญาที่มีโทษจำคุก
บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2539 ที่บัญญัติว่า "ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก หรือในคดีที่จำเลยมีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้" เป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องสอบถามจำเลยในเรื่องการมีทนายความเสียก่อนในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกทุกกรณี และต้องนำมาใช้ในการพิจารณาคดีอาญาทุกคดี ส่วนบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 20 กับพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 15 ประกอบด้วยมาตรา 22 แม้จะเป็นบทบัญญัติที่ใช้ในศาลแขวงโดยเฉพาะแต่บทบัญญัติดังกล่าวก็เป็นเพียงบทบัญญัติเกี่ยวกับการดำเนินการของพนักงานสอบสวนพนักงานอัยการ และวิธีพิจารณาคดีของศาลในกรณีที่จำเลยให้การรับสารภาพเพื่อให้การพิจารณาคดีเสร็จสิ้นโดยเร็วเท่านั้น มิใช่เป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในการดำเนินคดี การต่อสู้คดี และการได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงไม่มีบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในกรณีที่ให้จำเลยมีโอกาสได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายจากทนายความในการดำเนินคดี กรณีจึงต้องนำ ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง มาใช้บังคับตามนัยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ดังนี้ เมื่อคดีนี้มีอัตราโทษจำคุก แต่ก่อนเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ และถ้าไม่มีจำเลยต้องการทนายความหรือไม่ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 606/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงในคดีเถียงกรรมสิทธิ์ที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 10,000 บาท
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่พิพาท จำเลยให้การว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย เป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 10,000 บาท จึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 และมาตรา 22(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2818/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานกล่าวติชมในที่ประชุมสภาเทศบาล ไม่เป็นความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบหรือหมิ่นประมาท
การที่จำเลยซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีเป็นเจ้าพนักงานในเทศบาลผู้หนึ่งได้กล่าวอภิปรายในที่ประชุมสมาชิกสภาเทศบาลนั้นมิใช่เป็นการกระทำในหน้าที่ราชการของนายกเทศมนตรี และถ้อยคำที่จำเลยกล่าวก็เป็นการกล่าวติชมด้วยความเป็นธรรมในฐานะที่จำเลยเป็นผู้เสนอญัตติ และเพื่อให้สมาชิกสภาเทศบาลรับทราบเรื่องที่จำเลยได้เสนอเข้าพิจารณาในที่ประชุมจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและหมิ่นประมาทโจทก์
ตามรายงานกระบวนพิจารณาครั้งสุดท้ายมีว่าคู่ความมีการเจรจาเพื่อตกลงกันโดยศาลช่วยไกล่เกลี่ยและศาลเห็นว่าคู่ความมีทางตกลงกันได้ โดยโจทก์ขอเวลาไปไตร่ตรองเพื่อตัดสินใจ ขอให้ศาลเลื่อนการฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งไปก่อนเช่นนี้ถือได้ว่าผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณาตามรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวเป็นผู้นั่งพิจารณาคดีนี้แล้ว แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่าผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณานี้จะมิได้นั่งพิจารณาสืบพยานโจทก์โดยตลอดคงทำการพิจารณาและจดรายงานกระบวนพิจารณาครั้งสุดท้ายเพียงครั้งเดียวผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณานี้ชอบที่จะทำคำพิพากษาได้.
ตามรายงานกระบวนพิจารณาครั้งสุดท้ายมีว่าคู่ความมีการเจรจาเพื่อตกลงกันโดยศาลช่วยไกล่เกลี่ยและศาลเห็นว่าคู่ความมีทางตกลงกันได้ โดยโจทก์ขอเวลาไปไตร่ตรองเพื่อตัดสินใจ ขอให้ศาลเลื่อนการฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งไปก่อนเช่นนี้ถือได้ว่าผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณาตามรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวเป็นผู้นั่งพิจารณาคดีนี้แล้ว แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่าผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณานี้จะมิได้นั่งพิจารณาสืบพยานโจทก์โดยตลอดคงทำการพิจารณาและจดรายงานกระบวนพิจารณาครั้งสุดท้ายเพียงครั้งเดียวผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณานี้ชอบที่จะทำคำพิพากษาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2818/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกล่าวติชมในที่ประชุมสภาเทศบาล ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือปฏิบัติหน้าที่มิชอบ
การที่จำเลยซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีเป็นเจ้าพนักงานในเทศบาลผู้หนึ่งได้กล่าวอภิปรายในที่ประชุมสมาชิกสภาเทศบาลนั้น มิใช่เป็นการกระทำในหน้าที่ราชการของนายกเทศมนตรี และถ้อยคำที่จำเลยกล่าวก็เป็นการกล่าวติชมด้วยความเป็นธรรมในฐานะที่จำเลยเป็นผู้เสนอญัตติและเพื่อให้สมาชิกสภาเทศบาลรับทราบเรื่องที่จำเลยได้เสนอเข้าพิจารณาในที่ประชุม จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและหมิ่นประมาทโจทก์ ตามรายงานกระบวนพิจารณาครั้งสุดท้ายมีว่าคู่ความมีการเจรจาเพื่อตกลงกันโดยศาลช่วยไกล่เกลี่ยและศาลเห็นว่าคู่ความมีทางตกลงกันได้โดยโจทก์ขอเวลาไปไตร่ตรองเพื่อตัดสินใจ ขอให้ศาลเลื่อนการฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งไปก่อนเช่นนี้ ถือได้ว่าผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณาตามรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวเป็นผู้นั่งพิจารณาคดีนี้แล้ว แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่าผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณานี้จะมิได้นั่งพิจารณาสืบพยานโจทก์โดยตลอดคงทำการพิจารณาและจดรายงานกระบวนพิจารณาครั้งสุดท้ายเพียงครั้งเดียวผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณานี้ชอบที่จะทำคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลพิพากษายกฟ้องหลังศาลอุทธรณ์ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ กรณีโจทก์ไม่มาศาล
ในชั้นพิจารณา โจทก์และทนายโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยผู้พิพากษานายเดียวลงนาม ในคำพิพากษา เป็นการไม่ชอบเพราะคดีเกินอำนาจ ผู้พิพากษานายเดียวที่จะพิพากษา การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายก คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ ย่อมหมายความว่าพิจารณาคดีต่อไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏในชั้นพิจารณาว่า โจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดยังคงมีอยู่ตลอดมาจนถึงวันที่ ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ ดังนี้ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยเหตุเดิมได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 181 ประกอบด้วยมาตรา166