พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20230/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับใบอนุญาตส่งออกข้าว: ผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศและการปฏิบัติตามกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 2 บัญญัติให้พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ซึ่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2539 จึงมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2540 ดังนั้น ในขณะที่คณะกรรมการนโยบายข้าวมีมตินี้ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2540 จึงยังไม่อาจนำ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาใช้พิจารณาว่ามติของคณะกรรมการนโยบายข้าวดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองที่จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวหรือไม่ อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่ต้องพิจารณาว่ามติดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองหรือไม่ แต่หากกรณีเป็นคำสั่งทั่วไปของเจ้าหน้าที่ที่มีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของโจทก์ ศาลก็ชอบที่จะรับไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ มาตรา 55
มติของคณะกรรมการนโยบายข้าวที่เป็นเหตุขอให้เพิกถอนนี้ มีเนื้อหาว่า "ให้กรมการค้าต่างประเทศขึ้นบัญชีดำ โดยไม่ออกใบอนุญาตส่งออกข้าวให้ และไม่ให้ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นใดที่รัฐบาลให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ส่งออกหรือโรงสีด้วย..." เป็นเพียงความเห็นหรือข้อเสนอแนะภายในของคณะกรรมการที่จะต้องนำมติดังกล่าวเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือกรมการค้าต่างประเทศเพื่อพิจารณา เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายข้าวไม่มีอำนาจในการที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ส่งออกข้าวไปต่างประเทศได้หากแต่เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จำเลยที่ 2 หรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มอบหมายตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้าในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 ดังนั้น มติของคณะกรรมการนโยบายข้าวที่ให้กรมการค้าต่างประเทศขึ้นบัญชีดำ โดยไม่ออกใบอนุญาตส่งออกข้าวให้ และไม่ให้ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นใดที่รัฐบาลให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ส่งออกหรือโรงสีด้วย ทั้งนี้ รวมถึงบริษัทส่งออกข้าวหรือโรงสีที่มีกรรมการคนหนึ่งคนใดเป็นกรรมการหรือผู้จัดการของโจทก์ด้วย ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าว ครั้งที่ 1/2540 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2540 จึงไม่มีผลกระทบต่อสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
มติของคณะกรรมการนโยบายข้าวที่เป็นเหตุขอให้เพิกถอนนี้ มีเนื้อหาว่า "ให้กรมการค้าต่างประเทศขึ้นบัญชีดำ โดยไม่ออกใบอนุญาตส่งออกข้าวให้ และไม่ให้ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นใดที่รัฐบาลให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ส่งออกหรือโรงสีด้วย..." เป็นเพียงความเห็นหรือข้อเสนอแนะภายในของคณะกรรมการที่จะต้องนำมติดังกล่าวเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือกรมการค้าต่างประเทศเพื่อพิจารณา เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายข้าวไม่มีอำนาจในการที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ส่งออกข้าวไปต่างประเทศได้หากแต่เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จำเลยที่ 2 หรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มอบหมายตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้าในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 ดังนั้น มติของคณะกรรมการนโยบายข้าวที่ให้กรมการค้าต่างประเทศขึ้นบัญชีดำ โดยไม่ออกใบอนุญาตส่งออกข้าวให้ และไม่ให้ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นใดที่รัฐบาลให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ส่งออกหรือโรงสีด้วย ทั้งนี้ รวมถึงบริษัทส่งออกข้าวหรือโรงสีที่มีกรรมการคนหนึ่งคนใดเป็นกรรมการหรือผู้จัดการของโจทก์ด้วย ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าว ครั้งที่ 1/2540 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2540 จึงไม่มีผลกระทบต่อสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือแจ้งการประเมินภาษีและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง แม้ ป.รัษฎากรจะไม่ได้บังคับ
หนังสือแจ้งการประเมินภาษีทั้งเก้าฉบับ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2538 แต่ พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2540 หนังสือแจ้งการประเมินภาษีทั้งเก้าฉบับออกก่อน พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ มีผลใช้บังคับ จึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับที่จะต้องกระทำการตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ทั้งเก้าฉบับเป็นคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายและเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายซึ่งมีผลในอันที่จะก่อนิติสัมพันธ์ขึ้น และมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลระหว่างจำเลยกับโจทก์โดยโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระภาษีอากร คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ทั้งเก้าฉบับจึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามความหมายของ พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ มาตรา 5
เมื่อ พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ มาตรา 37 วางหลักเกณฑ์ในการออกคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือว่าต้องมีเหตุผลแล้ว หากมีบทกฎหมายใดที่บัญญัติถึงวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองก็จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กำหนดใน พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ มาตรา 3 ด้วย เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายใดกำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะและมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ
เมื่อคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ มาตรา 37 ต้องให้เหตุผลไว้ด้วย แต่คำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 34 เพียงแต่ให้ทำเป็นหนังสือโดยมิได้ระบุว่าต้องให้เหตุผล เป็นกรณีบทบัญญัติตาม ป. รัษฎากร มาตรา 34 ซึ่งเป็นบทกฎหมายเฉพาะมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ มาตรา 37 ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ขั้นต่ำอยู่แล้ว จึงต้องใช้หลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ แทน
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ทั้งเก้าฉบับไม่ปรากฏเหตุผลตามที่กฎหมายกำหนด อีกทั้งไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องแสดงเหตุผลตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ มาตรา 37 วรรคสาม (2) คำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งเก้าฉบับจึงไม่ชอบ
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ทั้งเก้าฉบับเป็นคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายและเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายซึ่งมีผลในอันที่จะก่อนิติสัมพันธ์ขึ้น และมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลระหว่างจำเลยกับโจทก์โดยโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระภาษีอากร คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ทั้งเก้าฉบับจึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามความหมายของ พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ มาตรา 5
เมื่อ พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ มาตรา 37 วางหลักเกณฑ์ในการออกคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือว่าต้องมีเหตุผลแล้ว หากมีบทกฎหมายใดที่บัญญัติถึงวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองก็จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กำหนดใน พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ มาตรา 3 ด้วย เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายใดกำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะและมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ
เมื่อคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ มาตรา 37 ต้องให้เหตุผลไว้ด้วย แต่คำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 34 เพียงแต่ให้ทำเป็นหนังสือโดยมิได้ระบุว่าต้องให้เหตุผล เป็นกรณีบทบัญญัติตาม ป. รัษฎากร มาตรา 34 ซึ่งเป็นบทกฎหมายเฉพาะมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ มาตรา 37 ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ขั้นต่ำอยู่แล้ว จึงต้องใช้หลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ แทน
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ทั้งเก้าฉบับไม่ปรากฏเหตุผลตามที่กฎหมายกำหนด อีกทั้งไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องแสดงเหตุผลตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ มาตรา 37 วรรคสาม (2) คำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งเก้าฉบับจึงไม่ชอบ