คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1754 วรรคสาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีภาษีอากรเริ่มต้นเมื่อผู้มีอำนาจของนิติบุคคลทราบการตายของผู้เสียภาษี
กองกฎหมายและคดีได้ทำบันทึกให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รับทราบถึงการตายของ ย.เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2541 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงลายมือชื่อรับทราบการตายของ ย. ในวันนั้นโดยจำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่นถือได้ว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพิ่งทราบการตายของ ย. ในวันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 7 เมษายน2541 จึงยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้รู้ถึงความตายของ ย. ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกรุงเทพมหานคร การนับอายุความจึงต้อง เริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรู้ถึง การตายของ ย. มิใช่นับแต่วันที่สำนักงานเขตบางกอกน้อย รับแจ้งการตายของ ย.แม้สำนักงานเขตดังกล่าวเป็นหน่วยงานของโจทก์ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ภาษีอากรยึดทรัพย์ – ไม่ขาดอายุความ แม้ไม่ได้ฟ้องคดี – อายุความ 10 ปี ตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง
สิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็น เจ้าหนี้ภาษีอากรที่มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่1เพื่อให้ได้รับชำระหนี้ภาษีอากรค้างโดยไม่จำต้องฟ้องคดีต่อศาลก่อนตามประมวลรัษฎากรมาตรา12วรรคสองถือว่าเป็นสิทธิอื่นๆซึ่งบุคคลภายนอกอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินได้ตามกฎหมายซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงผู้ร้องมีสิทธิร้องขอเฉลี่ยทรัพย์สินของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา290วรรคสามได้ภายในสิบปีนับแต่วันที่จะใช้อำนาจนั้นและมิใช่การ ใช้สิทธิเรียกร้องโดยการฟ้องคดีซึ่งต้องฟ้องภายในอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2937/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้และการค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันสามารถยกอายุความได้เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องล่าช้า
โจทก์ไม่ได้ฟ้องทายาทของ ต. ลูกหนี้ ภายใน 1 ปี นับแต่ทราบถึงความตายของ ต. เป็นเหตุให้หนี้ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา1754 วรรคสาม การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีเช่นนี้ จำเลยอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 694
สัญญาค้ำประกันไม่มีข้อความระบุว่า ผู้ค้ำประกันยอมสละสิทธิที่จะไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้แต่ประการใด ข้อตกลงที่ว่าหาก ต. ถึงแก่กรรมจำเลยก็จะชำระหนี้แทน ไม่ใช่ข้อยกเว้น ที่จำเลยยอมสละสิทธิที่จะไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้เมื่อคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3739/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องผิดสัญญา: สิทธิเรียกร้องต่อทายาทไม่ใช่สิทธิเรียกร้องต่อเจ้ามรดก
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกให้ปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทนที่โจทก์ทำไว้กับเจ้ามรดก มิใช่ฟ้องอ้างว่าเจ้ามรดกผิดสัญญาอันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องที่มีต่อเจ้ามรดกจึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสามมาใช้บังคับไม่ได้ โจทก์ไม่ต้องใช้สิทธิฟ้องร้องภายใน 1 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3739/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องสัญญาต่างตอบแทนหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: ไม่ใช่การฟ้องเจ้ามรดกโดยตรง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกให้ปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทนที่โจทก์ทำไว้กับเจ้ามรดก มิใช่ฟ้องอ้างว่าเจ้ามรดกผิดสัญญาอันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องที่มีต่อเจ้ามรดกจึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสามมาใช้บังคับไม่ได้ โจทก์ไม่ต้องใช้สิทธิฟ้องร้องภายใน 1 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3734/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีสัญญาต่างตอบแทนหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: ไม่ใช่อายุความเรียกร้องต่อเจ้ามรดก
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกให้ปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทนที่โจทก์ทำไว้กับเจ้ามรดก มิใช่ฟ้องอ้างว่าเจ้ามรดกผิดสัญญาอันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องที่มีต่อเจ้ามรดกจึงนำอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม มาใช้บังคับไม่ได้ โจทก์ไม่ต้องใช้สิทธิฟ้องร้องภายใน 1 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเจ้าหนี้ต่อผู้จัดการมรดก: เริ่มนับแต่วันที่รู้ถึงการตายของเจ้ามรดก
ในคดีก่อนโจทก์บรรยายฟ้องว่า น. ภรรยาจำเลยที่ 2ประสบอุบัติเหตุถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2526 แสดงว่าโจทก์รู้ว่า น. ถึงแก่กรรมตั้งแต่ วันที่ 7 ธันวาคม 2526 แล้วดังนั้น การที่โจทก์ในฐานะ เจ้าหนี้ของ น. เพิ่งฟ้องจำเลยที่ 2ในฐานะ ผู้จัดการมรดกของ น. เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2528จึงเกินกำหนด 1 ปี นับแต่รู้ว่าเจ้าของมรดกตาย คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4178/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรของทายาทหลังผู้เสียภาษีถึงแก่ความตาย และอายุความของหนี้ภาษี
โจทก์ฟ้องอ้างว่า โจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ก. ผู้ต้องเสียภาษีอากรและเป็นผู้จัดการมรดกของ ก. และ จ. จำเลยให้การแต่เพียงว่าไม่ทราบ ไม่รับรอง เท่ากับจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธจึงไม่เป็นประเด็นที่จะวินิจฉัย โจทก์ไม่ต้องนำสืบตามข้ออ้างดังกล่าว เมื่อ ก. ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่กรรม จ. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. เป็นผู้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ระหว่างพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จ. ถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 แจ้งไปยังจำเลยว่าเป็นบุตรของ ก. และ จ. ถึงแก่กรรมแล้วจำเลยจึงแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไปยังโจทก์ทุกคนซึ่งเป็นทายาทของ ก.และ จ. แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทุกคนเป็นทายาทของ ก. และ จ. ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดในมูลหนี้ภาษีอากรของ ก. ซึ่งถึงแก่ความตาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ การฟ้องคดีมรดกตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม หมายความถึงการกล่าวหรือเสนอข้อหาต่อศาลเพื่อบังคับเอาแก่กองมรดกเท่านั้นหาได้มีความหมายถึงการประเมินหรือแจ้งจำนวนภาษีอากรให้โจทก์ชำระของเจ้าพนักงานประเมินด้วยไม่ แม้การประเมินภาษีอากรจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนับแต่วันที่ได้ประเมินและแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องร้องเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องก็ตามแต่การมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องร้อง มีความหมายเพียงเพื่อผลในการตั้งสิทธิเรียกร้องเท่านั้น หาใช่การฟ้องคดีไม่ ในกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายก่อนได้รับแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมิน บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 18 และ84 ทวิ ประสงค์ให้ผู้จัดการมรดก ทายาทหรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อมูลหนี้ค่าภาษีอากรหลังจากที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายแล้ว มิได้มุ่งประสงค์ให้กองมรดกของผู้ต้องเสียภาษีซึ่งถึงแก่ความตายรับผิดชอบ ดังนั้นความรับผิดชอบในมูลหนี้ค่าภาษีอากรของผู้จัดการมรดก ทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกจึงตกอยู่ในหลักของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 มีอายุความ 10 ปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4178/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรของทายาทหลังผู้เสียภาษีถึงแก่กรรม และอายุความของหนี้ภาษี
โจทก์ฟ้องอ้างว่า โจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ก. ผู้ต้องเสียภาษีอากรและเป็นผู้จัดการมรดกของ ก. และ จ. จำเลยให้การแต่เพียงว่าไม่ทราบ ไม่รับรอง เท่ากับจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธ จึงไม่เป็นประเด็นที่จะวินิจฉัย โจทก์ไม่ต้องนำสืบตามข้ออ้างดังกล่าว
เมื่อ ก. ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่กรรม จ. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. เป็นผู้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ระหว่างพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จ. ถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 แจ้งไปยังจำเลยว่าเป็นบุตรของ ก. และ จ. ถึงแก่กรรมแล้วจำเลยจึงแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไปยังโจทก์ทุกคนซึ่งเป็นทายาทของ ก. และ จ. แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทุกคนเป็นทายาทของ ก. และ จ. ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดในมูลหนี้ภาษีอากรของ ก. ซึ่งถึงแก่ความตาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
การฟ้องคดีมรดกตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม หมายความถึงการกล่าวหรือเสนอข้อหาต่อศาลเพื่อบังคับเอาแก่กองมรดกเท่านั้นหาได้มีความหมายถึงการประเมินหรือแจ้งจำนวนภาษีอากรให้โจทก์ชำระของเจ้าพนักงานประเมินด้วยไม่ แม้การประเมินภาษีอากรจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนับแต่วันที่ได้ประเมินและแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องร้องเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องก็ตามแต่การมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องร้อง มีความหมายเพียงเพื่อผลในการตั้งสิทธิเรียกร้องเท่านั้น หาใช่การฟ้องคดีไม่
ในกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายก่อนได้รับแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมิน บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 18 และ 84 ทวิ ประสงค์ให้ผู้จัดการมรดก ทายาทหรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อมูลหนี้ค่าภาษีอากรหลังจากที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายแล้ว มิได้มุ่งประสงค์ให้กองมรดกของผู้ต้องเสียภาษีซึ่งถึงแก่ความตายรับผิดชอบ ดังนั้นความรับผิดชอบในมูลหนี้ค่าภาษีอากรของผู้จัดการมรดก ทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกจึงตกอยู่ในหลักของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 มีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้หลังการเสียชีวิต: การรู้ถึงความตายของผู้ตายมีผลต่อการเริ่มนับอายุความ
ย. พยานโจทก์ทั้งในฐานะ ส่วนตัวและในฐานะ อธิการบดีของโจทก์รู้ถึง ความตายของ ว. ตั้งแต่ ต้น เดือน พฤศจิกายน 2527ทั้งยังปรากฏว่ารองอธิการบดีของโจทก์ในฐานะผู้รักษาราชการแทนอธิการบดีของโจทก์ได้ มีหนังสือถึงราชเลขาธิการขอพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ศพของ ว. เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2528 แสดงว่าโจทก์รู้ถึง การตาย ของ ว. อย่างช้าเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2528 โจทก์ฟ้องทายาทของ ว. ให้ชำระหนี้ของ ว. เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2529 พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงความตายของ ว. ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม.
of 5