คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1754 วรรคสาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้: ระยะเวลาเริ่มต้นนับจากวันที่รู้ถึงการตายของผู้ตายที่เป็นลูกหนี้
ย. พยานโจทก์ทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะอธิการบดีของโจทก์รู้ถึงความตายของ ว. ตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน 2527 ทั้งยังปรากฏว่ารองอธิการบดีของโจทก์ในฐานะผู้รักษาราชการแทนอธิการบดีของโจทก์ได้ มีหนังสือถึงราชเลขาธิการขอพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ศพของ ว. เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2528 แสดงว่าโจทก์รู้ถึงการตายของ ว. อย่างช้าเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2528 โจทก์ฟ้องทายาทของ ว. ให้ชำระหนี้ของ ว. เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2529 พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงความตายของ ว. ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้: ความรู้ถึงการตายของผู้ตายและการเริ่มนับอายุความ
ย. พยานโจทก์ทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะอธิการบดีของโจทก์รู้ถึงความตายของ ว. ตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน2527 ทั้งยังปรากฏว่ารองอธิการบดีของโจทก์ ในฐานะผู้รักษาราชการแทนอธิการบดีของโจทก์ได้มีหนังสือถึงราชเลขาธิการขอพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ศพของ ว.เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2528 แสดงว่าโจทก์รู้ถึงการตายของว. อย่างช้าเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2528 โจทก์ฟ้องทายาทของว.ให้ชำระหนี้ของว. เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2529 พ้นกำหนด 1ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงความตายของ ว. ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าเช่า, สิทธิทายาท, อายุความฟ้องแย้ง, การจดทะเบียนเช่า
สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ใช้บังคับกันได้ตามข้อตกลงและถือไม่ได้ว่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว แม้คู่สัญญาจะตาย สิทธิและหน้าที่ดังกล่าวก็ต้องตกทอดไปยังทายาท
สัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับ ฉ. ผู้ให้เช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา และมีข้อตกลงให้เช่าช่วงได้ เมื่อจำเลยเช่ายังไม่ครบกำหนดและให้เช่าช่วงตามข้อตกลง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา และไม่มีอำนาจฟ้อง และที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. จดทะเบียนการเช่า เป็นการให้ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้การเช่าได้จดทะเบียนการเช่าสมบูรณ์ยิ่งขึ้นดังนี้ จำเลยจึงฟ้องแย้งให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าได้
การจดทะเบียนการเช่าตามสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของผู้ให้เช่าที่จะต้องกระทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้เช่าเมื่อผู้ให้เช่าถึงแก่กรรมหน้าที่ดังกล่าวย่อมตกทอดไปยังทายาท การที่ผู้เช่าฟ้องบังคับให้จดทะเบียนสิทธิการเช่าถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิเรียกร้อง จึงต้องฟ้องภายในกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่ผู้เช่าทราบว่าผู้ให้เช่าถึงแก่กรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3384/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้ทายาท: การพิสูจน์วันที่รู้ถึงการตายของเจ้าหนี้เป็นประเด็นสำคัญ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสามบัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกเท่านั้นการที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ส. ตายเมื่อวันที่27 เมษายน2527 เป็นการแสดงข้อเท็จจริงให้ปรากฏว่าเจ้ามรดกตายเมื่อไรอันเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น ส่วนข้อเท็จจริงที่โจทก์ได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงการตายของเจ้ามรดกโจทก์ไม่ได้กล่าวถึง เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาออายุความ ข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงการตายของเจ้ามรดกเมื่อใดเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี โจทก์จำเลยนำสืบได้ การที่ศาลชั้นต้นด่วนสั่งงดสืบพยานโจทก์และวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นโดยยังไม่ทราบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีดังกล่าวจึงไม่ชอบควรให้โจทก์จำเลยสืบพยานในประเด็นแห่งคดีทุกประเด็นให้สิ้นกระแสความก่อนแล้วจึงพิจารณาพิพากษาไปตามรูปคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3384/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมรดก: การรู้หรือควรรู้ถึงการตายของเจ้ามรดกเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องสืบพยาน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงความตายของเจ้า มรดกเท่านั้น การที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ส. ตายเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2527 เป็นการแสดงข้อเท็จจริงให้ปรากฏว่าเจ้ามรดกตายเมื่อไรอันเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะ ทายาทและผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น ส่วนข้อเท็จจริงที่โจทก์ได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงการตายของเจ้ามรดกโจทก์ไม่ได้กล่าวถึง เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงการตายของเจ้ามรดกเมื่อใดเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี โจทก์จำเลยนำสืบได้ การที่ศาลชั้นต้นด่วนสั่งงดสืบพยานโจทก์และวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นโดยยังไม่ทราบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีดังกล่าวจึงไม่ชอบควรให้โจทก์จำเลยสืบพยานในประเด็นแห่งคดีทุกประเด็นให้สิ้นกระแสความก่อนแล้วจึงพิจารณาพิพากษาไปตามรูปคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขายที่ดินหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: สิทธิเรียกร้องตกเป็นของกองมรดก
โจทก์ฟ้องขอบังคับจำเลยในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของผู้ตายให้จัดการให้ผู้ที่อยู่อาศัยในห้องแถวออกไปจากห้องและให้โอนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินกองมรดกของผู้ตายที่ผู้ตายได้ทำสัญญาจะซื้อขายให้ไว้แก่โจทก์ สิทธิเรียกร้องของโจทก์อันมีต่อเจ้ามรดกจึงตกอยู่ภายในบังคับของอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1754 วรรคสาม โจทก์ต้องฟ้องคดีภายในกำหนด 1 ปีนับแต่เมื่อโจทก์ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องบังคับตามสัญญาจะซื้อขายหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต สิทธิเรียกร้องตกเป็นของกองมรดก
โจทก์ฟ้องขอบังคับจำเลยในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของผู้ตายให้จัดการให้ผู้ที่อยู่อาศัยในห้องแถวออกไปจากห้องและให้โอนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินกองมรดกของผู้ตายที่ผู้ตายได้ทำสัญญาจะซื้อขายให้ไว้แก่โจทก์ สิทธิเรียกร้องของโจทก์อันมีต่อเจ้ามรดกจึงตกอยู่ภายในบังคับของอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1754 วรรคสาม โจทก์ต้องฟ้องคดีภายในกำหนด 1 ปีนับแต่เมื่อโจทก์ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3346/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดกและการฟ้องผู้จัดการมรดก/ทายาทรับผิดหนี้เจ้ามรดก
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะเป็นผู้รับมรดกและผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกจำเลยให้การต่อสู้ว่าหนี้ตามฟ้องขาดอายุความโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสาม การที่จำเลยซึ่งถูกฟ้องในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกและทายาทโดยธรรมให้การดังกล่าวนั้น เป็นคำให้การที่ยกอายุความมรดกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับชำระหนี้และการฟ้องบังคับสิทธิหลังลูกหนี้ถึงแก่กรรม โดยไม่ต้องทวงถามก่อน
โจทก์ฟ้องว่า จ. สามีจำเลยทั้งสองยืมเงินโจทก์ไป 2 ครั้ง ครั้งแรก 110,000 บาท ครั้งที่สอง 90,000 บาท ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จ. ทำหนังสือสัญญากู้ 2 ราย และรับเงินกู้ไป 200,000 บาทจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า จ. ไม่ได้รับเงินกู้รายแรก แต่ไม่ได้อุทธรณ์ว่าจ. ไม่ได้ทำสัญญากู้รายแรก ดังนี้ ประเด็นว่า จ. ได้ทำสัญญากู้รายแรกหรือไม่ จึงยุติเพียงศาลชั้นต้นว่า จ.ได้ทำสัญญากู้รายแรกจริงจำเลยที่ 2 จึงฎีกาในปัญหาข้อนี้ไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ให้ ก็เป็นการที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวโดยชอบ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
จำเลยที่ 2 ให้การว่า จ. จะได้ยืมเงินจากโจทก์ หรือไม่ จำเลยที่ 2 ไม่ทราบไม่รับรอง ลายมือชื่อในสัญญากู้ไม่ใช่ของ จ. จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้ สัญญากู้จึงไม่สมบูรณ์ ดังนี้ ที่จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้นั้นเป็นการประกอบคำให้การที่ว่าลายมือชื่อในสัญญากู้ไม่ใช่ของ จ.คำให้การดังกล่าวจึงมีความหมายว่าเนื่องด้วยสัญญากู้ปลอมจ. จึงไม่ได้รับเงินที่ระบุไว้ในสัญญากู้ ดังนั้นเมื่อฟังว่า จ.ทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้จริง ไม่ใช่สัญญากู้ปลอมแล้ว ข้อต่อสู้ว่า จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้เป็นอันตกไปต้องฟังว่า จ.ได้รับเงินตามสัญญากู้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสามบัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเสียภายในกำหนด 1 ปี ย่อมเป็นการให้สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องคดีให้ชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ลูกหนี้ถึงแก่กรรมโดยเจ้าหนี้ไม่จำเป็นต้องทวงถามให้ชำระหนี้ก่อน ฉะนั้น แม้สัญญากู้ซึ่ง จ. กู้เงินโจทก์ไปจะมีข้อความว่าหากโจทก์ต้องการเงินคืนเมื่อใดจ. จะคืนให้ทันที แต่ต้องบอกล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือนก็ตามเมื่อ จ. ถึงแก่กรรม โจทก์ย่อมฟ้องคดีได้ทันทีโดยไม่จำต้องทวงถามก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับจำนองแม้ขาดอายุความ: ทายาทลูกหนี้ร่วมรับผิดชอบหนี้จำนองได้
ในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของเจ้ามรดกเพื่อให้จำเลยไถ่ถอนการจำนอง แม้สิทธิของโจทก์จะขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรค 3 แล้วก็ตามแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189 ยังยอมให้โจทก์ผู้รับจำนองใช้สิทธิบังคับจากทรัพย์สินที่จำนองได้ ดังนี้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของเจ้ามรดกเป็นจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ให้โจทก์จากทรัพย์สินที่จำนองได้
หนี้จำนองที่เป็นหนี้ร่วม โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิง หรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 จำเลยจะอ้างว่าหนี้จำนองรายนี้ซึ่งเป็นหนี้ร่วม โจทก์จะต้องฟ้องบังคับจำนองร่วมกันไปคราวเดียวกันดังนี้ย่อมไม่ได้
of 5