พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8794/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อและการแบ่งความรับผิดในอุบัติเหตุทางรถยนต์ เมื่อฝ่ายโจทก์ประมาทมากกว่าจำเลย สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายย่อมตกไป
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบมาตรา 223 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างมีส่วนประมาท การที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนมากน้อยเพียงใดต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์เป็นฝ่ายประมาทมากกว่าจำเลยที่ 1 โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายผิดมากกว่าก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นฝ่ายผิดน้อยกว่าให้รับผิดในความเสียหายของโจทก์ได้ จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับจึงไม่ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5202/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารมีหน้าที่ตรวจสอบลายมือชื่อเช็คอย่างระมัดระวัง และต้องรับผิดเมื่อจ่ายเงินตามเช็คปลอม แม้ผู้เสียหายมีส่วนประมาท
จำเลยประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน การรับฝากเงินเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งของจำเลย และการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นงานส่วนหนึ่งของจำเลยซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คว่าเป็นลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายหรือไม่ยิ่งกว่าบุคคลธรรมดา ทั้งจำเลยจะต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่ว ๆ ไป เพราะเป็นธุรกิจของจำเลย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้ง 15 ฉบับ เป็นลายมือชื่อปลอม มิใช่ลายมือชื่อนาย อ. และนาย ส. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็ค การที่จำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้ง 15 ฉบับ ให้แก่ผู้ที่นำมาเรียกเก็บเงินทั้งที่มีตัวอย่างลายมือชื่อของกรรมการทั้งสองดังกล่าวที่ให้ไว้แก่ธนาคาร และมีเช็คอีกหลายฉบับที่โจทก์โดยกรรมการทั้งสองนี้เคยสั่งจ่ายไว้อยู่ที่ธนาคารจำเลยไปเช่นนี้ จึงเป็นการขาดความระมัดระวังของจำเลยผู้ประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ เป็นการกระทำละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ต่อโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
การที่นาย จ. ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงินของโจทก์เองเป็นผู้ลักเอาแบบพิมพ์เช็คพิพาททั้ง 15 ฉบับ ที่อยู่ในการครอบครองของโจทก์ไปกรอกข้อความและปลอมลายมือชื่อนาย อ. และนาย ส. กรรมการโจทก์ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็ค แล้วนำไปเรียกเก็บเงินจากบัญชีของโจทก์ได้ทั้ง 15 ฉบับ ในช่วงระยะเวลานานถึง 9 เดือนเศษ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการเก็บรักษาและควบคุมดูแลแบบพิมพ์เช็คพิพาท รวมทั้งไม่มีมาตรการในการตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้มีผู้นำแบบพิมพ์เช็คพิพาทไปปลอมลายมือชื่อแต่อย่างใด อันถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยการกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง 438 และ 442 ซึ่งเมื่อได้กำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 2,500,000 บาท แก่โจทก์ จำเลยย่อมไม่มีสิทธินำเงินจำนวนนี้ไปลงรายการหักบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ การพิพากษาให้เพิกถอนรายการหักบัญชีดังกล่าวจึงไม่เป็นการพิจารณาเกินคำฟ้อง
การที่นาย จ. ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงินของโจทก์เองเป็นผู้ลักเอาแบบพิมพ์เช็คพิพาททั้ง 15 ฉบับ ที่อยู่ในการครอบครองของโจทก์ไปกรอกข้อความและปลอมลายมือชื่อนาย อ. และนาย ส. กรรมการโจทก์ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็ค แล้วนำไปเรียกเก็บเงินจากบัญชีของโจทก์ได้ทั้ง 15 ฉบับ ในช่วงระยะเวลานานถึง 9 เดือนเศษ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการเก็บรักษาและควบคุมดูแลแบบพิมพ์เช็คพิพาท รวมทั้งไม่มีมาตรการในการตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้มีผู้นำแบบพิมพ์เช็คพิพาทไปปลอมลายมือชื่อแต่อย่างใด อันถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยการกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง 438 และ 442 ซึ่งเมื่อได้กำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 2,500,000 บาท แก่โจทก์ จำเลยย่อมไม่มีสิทธินำเงินจำนวนนี้ไปลงรายการหักบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ การพิพากษาให้เพิกถอนรายการหักบัญชีดังกล่าวจึงไม่เป็นการพิจารณาเกินคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8194/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย, การผิดสัญญา, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การกำหนดค่าเสียหายจากพฤติการณ์
โจทก์ได้ส่งหนังสือตกลงซื้อตามที่จำเลยมีหนังสือยืนยันราคาโดยกำหนดให้จำเลยที่ 1 มาลงนามทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ภายในกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขการประกวดราคาให้แก่ อ. ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในบริษัท จำเลยที่ 1 จึงเป็นการส่งหนังสือตามภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 โดยมีผู้รับไว้โดยชอบแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมมีความผูกพันต้องไปทำสัญญาซื้อขายภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขทั่วไปในการเข้าเสนอราคา เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ทำสัญญาซื้อขายภายในระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย และขอให้บังคับจำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียวในฐานะผู้ค้ำประกันการยื่นซองประกาศราคาของจำเลยที่ 1 ในการชำระเงินตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์พร้อมดอกเบี้ย อันเป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ชำระค่าเสียหายแยกต่างหากจากกันโดยมิได้ ขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องชำระให้แก่โจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซื้อสินค้าในราคาสูงกว่าที่จำเลยที่ 1 ประกวดราคาได้ตามข้อตกลงในการประกวดราคาแต่เห็นว่าหลักประกันซึ่งเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์มีสิทธิรับเพียงพอกับค่าเสียหายของโจทก์ตามควรแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว จึงให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในจำนวนเงินดังกล่าว เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่โจทก์ฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ไม่ดำเนินการประกวดราคาใหม่โดยเร็วกลับปล่อยให้ระยะเวลาล่วงเลยมาเกือบ 2 ปี จึงประกาศประกวดราคาใหม่ จนทำให้ราคาเหรียญตัวเปล่าและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นนั้น ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีส่วนในการก่อให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นด้วย ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ได้ โดยอาศัยพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นประมาณตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย และขอให้บังคับจำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียวในฐานะผู้ค้ำประกันการยื่นซองประกาศราคาของจำเลยที่ 1 ในการชำระเงินตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์พร้อมดอกเบี้ย อันเป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ชำระค่าเสียหายแยกต่างหากจากกันโดยมิได้ ขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องชำระให้แก่โจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซื้อสินค้าในราคาสูงกว่าที่จำเลยที่ 1 ประกวดราคาได้ตามข้อตกลงในการประกวดราคาแต่เห็นว่าหลักประกันซึ่งเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์มีสิทธิรับเพียงพอกับค่าเสียหายของโจทก์ตามควรแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว จึงให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในจำนวนเงินดังกล่าว เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่โจทก์ฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ไม่ดำเนินการประกวดราคาใหม่โดยเร็วกลับปล่อยให้ระยะเวลาล่วงเลยมาเกือบ 2 ปี จึงประกาศประกวดราคาใหม่ จนทำให้ราคาเหรียญตัวเปล่าและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นนั้น ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีส่วนในการก่อให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นด้วย ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ได้ โดยอาศัยพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นประมาณตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อ: การจอดรถกีดขวางทางรถไฟ และความประมาทของผู้ขับรถไฟ
การที่จำเลยที่2นำรถยนต์บรรทุกไปจอดใกล้กับทางรถไฟแม้จะอยู่ในบริเวณลานจอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทยวิญญูชนย่อมจะต้องคาดหมายว่าเมื่อรถไฟแล่นมาตามรางจะต้องมีระยะที่ปลอดจากสิ่งกีดขวางพอสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุเฉี่ยวชนก้นพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา57(8)จึงบัญญัติว่าห้ามมิให้จอดรถห่างจากทางรถไฟน้อยกว่า15เมตรแต่จำเลยที่2มิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อปกป้องบุคคลอื่นเมื่อจำเลยที่2นำรถไปจอดในที่เกิดเหตุไม่ว่าจะเป็นระยะ2เมตรหรือ1เมตรก็เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา422ให้สันนิษฐานว่าจำเลยที่2เป็นผู้ผิดกรณีฟังได้ว่าจำเลยที่2ทำละเมิดต่อโจทก์แล้วและเป็นการกระทำในทางการที่จ้างซึ่งจำเลยที่1ต้องร่วมรับผิดในฐานะเป็นนายจ้างตามมาตรา425ส่วนจะต้องรับผิดเพียงใดนั้นจะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา223วรรคหนึ่ง,438วรรคหนึ่งและ442ปรากฎว่าก่อนเกิดเหตุพนักงานขับรถไฟขับรถไฟมาด้วยความเร็วประมาณ15กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อแล่นพ้นทางโค้งเห็นบริเวณที่จอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทยมีรถยนต์บรรทุกจอดอยู่หลายคันแต่มีรถยนต์คันที่เกิดเหตุจอดอยู่ใกล้ทางรถไฟมากกว่าค้นอื่นพนักงานขับรถไฟคงขับรถไฟด้วยความเร็วเท่าเดิมต่อไปส่วนช่างเครื่องที่ไปด้วยก็เห็นรถยนต์จอดในระยะประมาณ20เมตรเมื่อเข้าไปใกล้ในระยะประมาณ10เมตรเห็นว่าไม่อาจขับรถผ่านไปได้โดยไม่เกิดเหตุเฉี่ยวชนกันช่างเครื่องได้ร้องบอกแก่พนักงานขับรถไฟพนักงานขับรถไฟจึงเปิดหวีดอันตรายพร้อมกับปิดคันบังคับการและลงห้ามล้อฉุกเฉินแต่ไม่อาจหยุดรถไฟได้ทันทีจึงเกิดเหตุขึ้นซึ่งในภาวะเช่นนั้นพนักงานขับรถไฟย่อมจะต้องคาดหมายได้ว่าอาจจะเกิดการเฉี่ยวชนกับรถยนต์บรรทุกที่จอดอยู่อย่างผิดปกติตั้งแต่เมื่อขับรถไฟผ่านโค้งมาแล้วปกติรถไฟที่ใช้ความเร็ว15กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะมีระยะเบรกที่สามารถหยุดรถได้ประมาณ50เมตรในวิสัยของผู้มีหน้าที่ขับรถไฟอยู่ในเส้นทางดังกล่าวมาประมาณ3ปีก่อนเกิดเหตุเช่นพนักงานขับรถไฟที่เกิดเหตุย่อมจะต้องทราบว่าบริเวณที่เกิดเหตุมีรถยนต์บรรทุกแล่นเข้าออกอยู่เป็นประจำและพฤติการณ์ขณะเกิดเหตุก็เป็นเวลา18นาฬิกาเศษน่าจะต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้นการที่พนักงานขับรถไฟขับรถไฟในอัตราความเร็วเท่าเดิมจนถึงระยะที่ไม่อาจหยุดรถก่อนจะถึงที่เกิดเหตุได้ถือว่าพนักงานขับรถไฟมีความประมาทเลินเล่ออยู่ด้วยส่วนหนึ่งแต่อย่างไรก็ตามความเสียหายที่ด้านซ้ายของรถไฟมีเพียงเล็กน้อยที่ตะแกรงหน้าแสดงว่าการที่จำเลยที่2นำรถไปจอดนั้นมิใช่อยู่ในลักษณะที่กีดขวางทางรถไฟอย่างชัดแจ้งจะคาดหวังให้พนักงานขับรถไฟต้องดำเนินการตามขั้นตอนการหยุดรถตั้งแต่แรกเห็นย่อมจะไม่ได้พนักงานขับรถไฟจึงมีเพียงเล็กน้อยจำเลยที่2มีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าเพราะรถไฟแล่นมาตามรางซึ่งเป็นทางบังคับเป็นหน้าที่ของผู้นำรถบรรทุกไปจอดจะต้องระมัดระวังกว่าในส่วนของความประมาทเลินเล่อของศาลฎีกาให้จำเลยทั้งสองรับผิดสองในสามส่วนของความเสียหายทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถไฟ: การประมาทเลินเล่อของทั้งคนขับรถบรรทุกและพนักงานขับรถไฟ
การที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์บรรทุกไปจอดใกล้กับทางรถไฟแม้จะอยู่ในบริเวณลานจอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทย วิญญูชนย่อมจะต้องคาดหมายว่า เมื่อรถไฟแล่นมาตามรางจะต้องมีระยะที่ปลอดจากสิ่งกีดขวางพอสมควร เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุเฉี่ยวชนกัน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 57 (8) จึงบัญญัติว่า ห้ามมิให้จอดรถห่างจากทางรถไฟน้อยกว่า 15 เมตรแต่จำเลยที่ 2 มิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อปกป้องบุคคลอื่น เมื่อจำเลยที่ 2 นำรถไปจอดในที่เกิดเหตุไม่ว่าจะเป็นระยะ 2 เมตร หรือ 1 เมตรก็เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 422 ให้สันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ผิด กรณีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์แล้ว และเป็นการกระทำในทางการที่จ้างซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในฐานะเป็นนายจ้างตามมาตรา 425ส่วนจะต้องรับผิดเพียงใดนั้น จะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา223 วรรคหนึ่ง, 438 วรรคหนึ่ง และ 442 ปรากฏว่าก่อนเกิดเหตุพนักงานขับรถไฟขับรถไฟมาด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง เมื่อแล่นพ้นทางโค้งเห็นบริเวณที่จอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทยมีรถยนต์บรรทุกจอดอยู่หลายคันแต่มีรถยนต์คันที่เกิดเหตุจอดอยู่ใกล้ทางรถไฟมากกว่าคันอื่น พนักงานขับรถไฟคงขับรถไฟด้วยความเร็วเท่าเดิมต่อไป ส่วนช่างเครื่องที่ไปด้วยก็เห็นรถยนต์จอดในระยะประมาณ 20 เมตร เมื่อเข้าไปใกล้ในระยะประมาณ 10 เมตร เห็นว่าไม่อาจขับรถผ่านไปได้โดยไม่เกิดเหตุเฉี่ยวชนกัน ช่างเครื่องได้ร้องบอกแก่พนักงานขับรถไฟพนักงานขับรถไฟจึงเปิดหวีดอันตรายพร้อมกับปิดคันบังคับการและลงห้ามล้อฉุกเฉินแต่ไม่อาจหยุดรถไฟได้ทันทีจึงเกิดเหตุขึ้น ซึ่งในภาวะเช่นนั้นพนักงานขับรถไฟย่อมจะต้องคาดหมายได้ว่าอาจจะเกิดการเฉี่ยวชนกับรถยนต์บรรทุกที่จอดอยู่อย่างผิดปกติตั้งแต่เมื่อขับรถไฟผ่านโค้งมาแล้ว ปกติรถไฟที่ใช้ความเร็ว 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะมีระยะเบรกที่สามารถหยุดรถได้ประมาณ 50 เมตร ในวิสัยของผู้มีหน้าที่ขับรถไฟอยู่ในเส้นทางดังกล่าวมาประมาณ 3 ปี ก่อนเกิดเหตุเช่นพนักงานขับรถไฟที่เกิดเหตุย่อมจะต้องทราบว่าบริเวณที่เกิดเหตุมีรถยนต์บรรทุกแล่นเข้าออกอยู่เป็นประจำ และพฤติการณ์ขณะเกิดเหตุก็เป็นเวลา 18 นาฬิกาเศษน่าจะต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น การที่พนักงานขับรถไฟขับรถไฟในอัตราความเร็วเท่าเดิมจนถึงระยะที่ไม่อาจหยุดรถก่อนจะถึงที่เกิดเหตุได้ ถือว่าพนักงานขับรถไฟมีความประมาทเลินเล่ออยู่ด้วยส่วนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามความเสียหายที่ด้านซ้ายของรถไฟมีเพียงเล็กน้อยที่ตะแกรงหน้า แสดงว่าการที่จำเลยที่ 2 นำรถไปจอดนั้นมิใช่อยู่ในลักษณะที่กีดขวางทางรถไฟอย่างชัดแจ้งจะคาดหวังให้พนักงานขับรถไฟต้องดำเนินการตามขั้นตอนการหยุดรถตั้งแต่แรกเห็นย่อมจะไม่ได้ พนักงานขับรถไฟจึงมีเพียงเล็กน้อย จำเลยที่ 2 มีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่า เพราะรถไฟแล่นมาตามรางซึ่งเป็นทางบังคับ เป็นหน้าที่ของผู้นำรถบรรทุกไปจอดจะต้องระมัดระวังกว่า ในส่วนของความประมาทเลินเล่อศาลฎีกาให้จำเลยทั้งสองรับผิดสองในสามส่วนของความเสียหายทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6280/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องใช้ความระมัดระวังตรวจสอบลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็ค แม้ผู้ฝากมีส่วนประมาทเลินเล่อ
ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทปลอมมิใช่ลายมือของโจทก์ดังนั้นจำเลยจึงไม่อาจบังคับการใช้เงินจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาได้จำเลยจึงหาหลุดพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1008วรรคหนึ่ง จำเลยประกอบธุรกิจการธนาคารเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนการรับฝากเงินเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งของจำเลยและการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นงานส่วนหนึ่งของจำเลยซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำจำเลยย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คยิ่งกว่าบุคคลธรรมดาทั้งต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่วไปการที่จำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาท2ฉบับโดยที่ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมจึงเป็นการขาดความระมัดระวังเป็นการกระทำละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ต่อโจทก์จำเลยจะอ้างขอตกลงตามคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันที่ว่าจำเลยต้องเก็บรักษาสมุดในที่ปลอดภัยและถ้าสมุดเช็คหายต้องแจ้งให้โจทก์ทราบทันทีเป็นข้อยกเว้นว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามมาตรา1008วรรคหนึ่่งตอนท้ายหาได้ไม่ จำเลยมอบสมุดเช็คไว้ให้แก่โจทก์เพื่อสั่งจ่ายเงินตามเช็คก่อนหน้านั้นเช็คพิพาท2ฉบับรวมอยู่ในสมุดเช็คที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ข้อเท็จจริงที่ว่าเช็คพิพาทตกไปอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่นจนกระทั่งสามารถนำแบบพิมพ์เช็คทั้งสองฉบับมาปลอมลายมือชื่อโจทก์ได้นั้นเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการดูแลรักษาแบบพิมพ์เช็คดังกล่าวอันถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยการกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใดต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณศาลกำหนดให้จำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทเพียงบางส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6280/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของธนาคารและการดูแลรักษาเช็คของผู้สั่งจ่าย กรณีลายมือชื่อปลอม
ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทปลอมมิใช่ลายมือของโจทก์ ดังนั้นจำเลยจึงไม่อาจบังคับการใช้เงินจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาได้ จำเลยจึงหาหลุดพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง
จำเลยประกอบธุรกิจการธนาคารเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนการรับฝากเงินเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งของจำเลย และการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นงานส่วนหนึ่งของจำเลยซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คยิ่งกว่าบุคคลธรรมดา ทั้งต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่วไป การที่จำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาท 2 ฉบับ โดยที่ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอม จึงเป็นการขาดความระมัดระวังเป็นการกระทำละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ต่อโจทก์ จำเลยจะอ้างข้อตกลงตามคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันที่ว่าจำเลยต้องเก็บรักษาสมุดในที่ปลอดภัย และถ้าสมุดเช็คหายต้องแจ้งให้โจทก์ทราบทันที เป็นข้อยกเว้นว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามมาตรา 1008 วรรคหนึ่ง ตอนท้ายหาได้ไม่
จำเลยมอบสมุดเช็คไว้ให้แก่โจทก์เพื่อสั่งจ่ายเงินตามเช็คก่อนหน้านั้นเช็คพิพาท 2 ฉบับ รวมอยู่ในสมุดเช็คที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ข้อเท็จจริงที่ว่าเช็คพิพาทตกไปอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่นจนกระทั่งสามารถนำแบบพิมพ์เช็คทั้งสองฉบับมาปลอมลายมือชื่อโจทก์ได้นั้นเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการดูแลรักษาแบบพิมพ์เช็คดังกล่าวอันถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย การกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ศาลกำหนดให้จำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทเพียงบางส่วน
จำเลยประกอบธุรกิจการธนาคารเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนการรับฝากเงินเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งของจำเลย และการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นงานส่วนหนึ่งของจำเลยซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คยิ่งกว่าบุคคลธรรมดา ทั้งต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่วไป การที่จำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาท 2 ฉบับ โดยที่ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอม จึงเป็นการขาดความระมัดระวังเป็นการกระทำละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ต่อโจทก์ จำเลยจะอ้างข้อตกลงตามคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันที่ว่าจำเลยต้องเก็บรักษาสมุดในที่ปลอดภัย และถ้าสมุดเช็คหายต้องแจ้งให้โจทก์ทราบทันที เป็นข้อยกเว้นว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามมาตรา 1008 วรรคหนึ่ง ตอนท้ายหาได้ไม่
จำเลยมอบสมุดเช็คไว้ให้แก่โจทก์เพื่อสั่งจ่ายเงินตามเช็คก่อนหน้านั้นเช็คพิพาท 2 ฉบับ รวมอยู่ในสมุดเช็คที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ข้อเท็จจริงที่ว่าเช็คพิพาทตกไปอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่นจนกระทั่งสามารถนำแบบพิมพ์เช็คทั้งสองฉบับมาปลอมลายมือชื่อโจทก์ได้นั้นเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการดูแลรักษาแบบพิมพ์เช็คดังกล่าวอันถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย การกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ศาลกำหนดให้จำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทเพียงบางส่วน