พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18407/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายสินค้าและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 มาตรา 44 และมาตรา 45 นั้น ผู้ขนส่งและผู้ขนส่งอื่นต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันเป็นผลจากการที่ของซึ่งได้รับมอบจากผู้ส่งของเสียหายโดยเหตุแห่งความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างที่ของนั้นอยู่ในความดูแลของตน จึงไม่ใช่ต้องรับผิดเพียงเฉพาะมูลค่าสินค้าที่เสียหาย แต่ยังต้องรับผิดถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ผู้รับตราส่งได้รับจากผลแห่งความเสียหายของสินค้าด้วย ค่าภาษีศุลกากรและค่าใช้จ่ายในการขนส่ง เป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์จำเป็นต้องจ่ายในการนำเข้าสินค้า เมื่อสินค้าเสียหายทำให้โจทก์เสียหายไม่อาจใช้ประโยชน์ได้ โจทก์ไม่อาจนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาคิดเป็นต้นทุนในการขายสินค้าเพื่อให้ได้ทุนคืน และโจทก์เสียโอกาสในการขายให้ได้กำไร ดังนั้น ค่าใช้จ่ายดังกล่าวรวมทั้งค่าขาดกำไรย่อมเป็นความเสียหายที่เป็นผลจากความเสียหายของสินค้าที่จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22318/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล: การยกเว้นข้อจำกัดความรับผิดต้องยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าพิพาทที่โจทก์รับประกันภัยไว้ที่เกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งทางทะเล โดยมิได้ระบุว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลจากการที่จำเลยทั้งสาม ผู้ขนส่งหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยทั้งสามกระทำหรืองดเว้นกระทำการโดยมีเจตนาที่จะให้เกิดการเสียหาย หรือโดยละเลย หรือไม่เอาใจใส่ ทั้งที่รู้ว่าการเสียหายนั้นอาจเกิดขึ้นได้ และจำเลยที่ 3 ทราบราคาของที่ขนส่งตามใบกำกับสินค้าเอกสารหมาย จ.5 แล้ว เพื่อให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดในความเสียหายแก่โจทก์โดยไม่ให้จำกัดความรับผิดตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 58 และมาตรา 60 (1) (4) การที่โจทก์อ้างถึงเหตุดังกล่าวในอุทธรณ์เพื่อให้เข้าข้อยกเว้นการจำกัดความรับผิดของจำเลยทั้งสามผู้ขนส่ง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและไม่ได้นำพยานมาสืบโต้แย้ง แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้กล่าวหามิได้ยกข้อยกเว้นที่จะทำให้ไม่ให้จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ขนส่งขึ้นอ้างมาแต่ต้นแล้ว ความรับผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ขนส่งย่อมเป็นไปตามผลของกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9541/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลและทางบก กรณีสินค้าสูญหายหรือเสียหาย และขอบเขตความรับผิดจำกัดตามกฎหมาย
ผู้ขายติดต่อจำเลยที่ 1 เพื่อการขนส่งสินค้า จำเลยที่ 1 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ขนส่ง แต่จำเลยที่ 2 ว่าจ้างจำเลยที่ 4 ขนส่งอีกต่อหนึ่ง ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 ต่างรับจ้างขนส่งสินค้าในฐานะเป็นผู้ขนส่ง ส่วนจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการขนส่งและขนถ่ายสินค้า เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เงินส่วนต่างค่าขนส่งเป็นของตนเอง จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 รับจ้างขนส่งเพื่อบำเหน็จทางการค้าปกติของตนอันถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 608 และเมื่อจำเลยที่ 1 ว่าจ้างผู้ขนส่งคนอื่นคือ จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ว่าจ้างจำเลยที่ 4 ผู้ขนส่งอื่นอีกทอดหนึ่ง จึงเป็นกรณีที่ผู้ขนส่งมอบหมายสินค้าให้ผู้ขนส่งอื่นขนส่ง จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 จึงต้องรับผิดร่วมกันในความสูญหายของสินค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 และมาตรา 618 ส่วนจำเลยที่ 3 หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย
ส่วนที่โจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยไปร้อยละ 110 ของราคาสินค้านั้น เป็นความผูกพันตามสัญญาประกันภัยที่บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญาและผู้รับประโยชน์เท่านั้น แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นผู้ที่ต้องรับผิดตามสัญญาขนส่งไม่ต้องผูกพันตามสัญญาประกันภัย ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่า การสูญหายของสินค้าทำให้ผู้ส่งของหรือผู้รับตราส่งต้องเสียหายมากกว่าราคาสินค้าที่รวมค่าประกันภัยและค่าระวางการขนส่งแล้วแต่อย่างใด
จำเลยที่ 5 ออกใบตราส่งและประทับชื่อจำเลยที่ 5 ในฐานะผู้ขนส่ง ทั้งได้ความว่าจำเลยที่ 7 ออกใบรับขนของ (WAYBILL) ระบุว่า จำเลยที่ 5 เป็นผู้ส่งของโดยให้ตัวแทนของจำเลยที่ 5 รับสินค้าเพื่อส่งมอบแก่ผู้รับตราส่ง อันเป็นการทำหน้าที่ผู้ขนส่งตามสัญญารับขนของทางทะเลทุกประการ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นผู้ขนส่งโดยมีจำเลยที่ 7 เป็นผู้ขนส่งอื่น ดังนั้นเมื่อเหตุแห่งความสูญหายของสินค้าเกิดขึ้นในระหว่างสินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 7 ผู้ขนส่งอื่น จำเลยที่ 5 และที่ 7 ย่อมต้องร่วมกันรับผิดในความสูญหายของสินค้าดังกล่าวตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39, 43, 44 และ 45 สำหรับจำเลยที่ 6 แม้เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 7 แต่จำเลยที่ 6 ไม่ได้ทำสัญญาขนส่งแทนจำเลยที่ 7 จึงไม่ต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 824
ความรับผิดตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 ต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 58 เว้นแต่จะเป็นกรณีตามมาตรา 60 (1) ถึง (4) คดีนี้เป็นกรณีตามมาตรา 60 (1) ซึ่งผู้ขนส่งไม่อาจจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58 ได้ เมื่อการสูญหายเกิดขึ้นจากการที่ผู้ขนส่งหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ขนส่งกระทำหรืองดเว้นกระทำการโดยมีเจตนาที่จะให้เกิดการสูญหาย หรือโดยละเลยหรือไม่เอาใจใส่ ทั้งที่รู้ว่าการสูญหายนั้นอาจเกิดขึ้นได้ แต่ตามพยานหลักฐานของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 5 หรือที่ 7 หรือตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 5 หรือที่ 7 เป็นผู้ลักเอาสินค้าที่สูญหายไป หรือจำเลยที่ 5 หรือที่ 7 หรือตัวแทนหรือลูกจ้างกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดที่มีเจตนาจะให้เกิดการสูญหาย หรือมีพฤติการณ์อย่างใดที่ถือได้ว่าจำเลยที่ 5 หรือที่ 7 ละเลยไม่เอาใจใส่ทั้งที่รู้ว่าการสูญหายจะเกิดขึ้นแต่อย่างใด จึงฟังไม่ได้ว่ามีกรณีตามมาตรา 60 (1) ที่ทำให้จำเลยที่ 5 และที่ 7 ต้องรับผิดโดยไม่จำกัดความรับผิด จำเลยที่ 5 และที่ 7 ย่อมรับผิดเพียงจำนวนจำกัดตามมาตรา 58
ส่วนที่โจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยไปร้อยละ 110 ของราคาสินค้านั้น เป็นความผูกพันตามสัญญาประกันภัยที่บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญาและผู้รับประโยชน์เท่านั้น แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นผู้ที่ต้องรับผิดตามสัญญาขนส่งไม่ต้องผูกพันตามสัญญาประกันภัย ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่า การสูญหายของสินค้าทำให้ผู้ส่งของหรือผู้รับตราส่งต้องเสียหายมากกว่าราคาสินค้าที่รวมค่าประกันภัยและค่าระวางการขนส่งแล้วแต่อย่างใด
จำเลยที่ 5 ออกใบตราส่งและประทับชื่อจำเลยที่ 5 ในฐานะผู้ขนส่ง ทั้งได้ความว่าจำเลยที่ 7 ออกใบรับขนของ (WAYBILL) ระบุว่า จำเลยที่ 5 เป็นผู้ส่งของโดยให้ตัวแทนของจำเลยที่ 5 รับสินค้าเพื่อส่งมอบแก่ผู้รับตราส่ง อันเป็นการทำหน้าที่ผู้ขนส่งตามสัญญารับขนของทางทะเลทุกประการ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นผู้ขนส่งโดยมีจำเลยที่ 7 เป็นผู้ขนส่งอื่น ดังนั้นเมื่อเหตุแห่งความสูญหายของสินค้าเกิดขึ้นในระหว่างสินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 7 ผู้ขนส่งอื่น จำเลยที่ 5 และที่ 7 ย่อมต้องร่วมกันรับผิดในความสูญหายของสินค้าดังกล่าวตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39, 43, 44 และ 45 สำหรับจำเลยที่ 6 แม้เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 7 แต่จำเลยที่ 6 ไม่ได้ทำสัญญาขนส่งแทนจำเลยที่ 7 จึงไม่ต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 824
ความรับผิดตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 ต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 58 เว้นแต่จะเป็นกรณีตามมาตรา 60 (1) ถึง (4) คดีนี้เป็นกรณีตามมาตรา 60 (1) ซึ่งผู้ขนส่งไม่อาจจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58 ได้ เมื่อการสูญหายเกิดขึ้นจากการที่ผู้ขนส่งหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ขนส่งกระทำหรืองดเว้นกระทำการโดยมีเจตนาที่จะให้เกิดการสูญหาย หรือโดยละเลยหรือไม่เอาใจใส่ ทั้งที่รู้ว่าการสูญหายนั้นอาจเกิดขึ้นได้ แต่ตามพยานหลักฐานของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 5 หรือที่ 7 หรือตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 5 หรือที่ 7 เป็นผู้ลักเอาสินค้าที่สูญหายไป หรือจำเลยที่ 5 หรือที่ 7 หรือตัวแทนหรือลูกจ้างกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดที่มีเจตนาจะให้เกิดการสูญหาย หรือมีพฤติการณ์อย่างใดที่ถือได้ว่าจำเลยที่ 5 หรือที่ 7 ละเลยไม่เอาใจใส่ทั้งที่รู้ว่าการสูญหายจะเกิดขึ้นแต่อย่างใด จึงฟังไม่ได้ว่ามีกรณีตามมาตรา 60 (1) ที่ทำให้จำเลยที่ 5 และที่ 7 ต้องรับผิดโดยไม่จำกัดความรับผิด จำเลยที่ 5 และที่ 7 ย่อมรับผิดเพียงจำนวนจำกัดตามมาตรา 58
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเล กรณีสินค้าเสียหายจากการบรรจุและขนส่ง
ผู้ซื้อและผู้ขายตามสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศตกลงซื้อขายกันตามเงื่อนไข INCOTERMS แบบ EX WORKS ผู้ขายจึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบสินค้าที่หน้าโรงงานของผู้ขาย ส่วนผู้ซื้อมีหน้าที่ว่าจ้างผู้ขนส่งไปรับสินค้าจากที่หน้าโรงงานของผู้ขาย
เมื่อการซื้อขายครั้งนี้ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกันให้ผู้ขายมีหน้าที่เพียงส่งมอบสินค้าที่หน้าโรงงานของผู้ขาย และโจทก์มีพนักงานของบริษัทผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ส่งมาเบิกความยืนยันว่าได้มีการตกลงกันตามสัญญารับขนให้จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งมีหน้าที่ต้องควบคุมดูแลการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ จึงเชื่อได้ว่าหน้าที่ความรับผิดชอบในการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ตามสัญญารับขนซึ่งเป็นสัญญาที่เป็นมูลฟ้องร้องคดีนี้นั้นเป็นของผู้ขนส่ง ดังนั้น ไม่ว่าการบรรจุสินค้าเข้าตู้ที่แท้จริงผู้ส่งจะช่วยบรรจุด้วยหรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าความเสียหายของสินค้าเกิดจากความผิดของผู้ส่งในการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์
จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง และจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งอื่นซึ่งตกลงรับผิดชอบดูแลสินค้าตลอดช่วงการขนส่งจากเมืองท่าลา สเปเซียถึงกรุงเทพมหานคร ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายของสินค้า ไม่ว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นในระหว่างช่วงการรับขนของช่วงใดก็ตาม ส่วนจำเลยที่ 3 ผู้ขนส่งอื่นซึ่งตกลงรับผิดชอบดูแลสินค้าในช่วงการขนส่งจากประเทศสิงคโปร์มายังกรุงเทพมหานคร แม้ต้องรับผิดเฉพาะในช่วงการรับขนของตน แต่เมื่อคดีนี้ไม่ปรากฏว่าความเสียหายของสินค้าเกิดขึ้นนอกช่วงการขนส่งดังกล่าว จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย
เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงซึ่งเป็นเหตุตัดสิทธิของผู้ขนส่งตามมาตรา 60 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 จำเลยทั้งสามจึงได้รับประโยชน์จากข้อจำกัดความรับผิดคือต้องรับผิดเพียงไม่เกิน 30 บาท ต่อหนึ่งกิโลกรัม ตามมาตรา 58
เมื่อการซื้อขายครั้งนี้ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกันให้ผู้ขายมีหน้าที่เพียงส่งมอบสินค้าที่หน้าโรงงานของผู้ขาย และโจทก์มีพนักงานของบริษัทผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ส่งมาเบิกความยืนยันว่าได้มีการตกลงกันตามสัญญารับขนให้จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งมีหน้าที่ต้องควบคุมดูแลการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ จึงเชื่อได้ว่าหน้าที่ความรับผิดชอบในการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ตามสัญญารับขนซึ่งเป็นสัญญาที่เป็นมูลฟ้องร้องคดีนี้นั้นเป็นของผู้ขนส่ง ดังนั้น ไม่ว่าการบรรจุสินค้าเข้าตู้ที่แท้จริงผู้ส่งจะช่วยบรรจุด้วยหรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าความเสียหายของสินค้าเกิดจากความผิดของผู้ส่งในการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์
จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง และจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งอื่นซึ่งตกลงรับผิดชอบดูแลสินค้าตลอดช่วงการขนส่งจากเมืองท่าลา สเปเซียถึงกรุงเทพมหานคร ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายของสินค้า ไม่ว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นในระหว่างช่วงการรับขนของช่วงใดก็ตาม ส่วนจำเลยที่ 3 ผู้ขนส่งอื่นซึ่งตกลงรับผิดชอบดูแลสินค้าในช่วงการขนส่งจากประเทศสิงคโปร์มายังกรุงเทพมหานคร แม้ต้องรับผิดเฉพาะในช่วงการรับขนของตน แต่เมื่อคดีนี้ไม่ปรากฏว่าความเสียหายของสินค้าเกิดขึ้นนอกช่วงการขนส่งดังกล่าว จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย
เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงซึ่งเป็นเหตุตัดสิทธิของผู้ขนส่งตามมาตรา 60 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 จำเลยทั้งสามจึงได้รับประโยชน์จากข้อจำกัดความรับผิดคือต้องรับผิดเพียงไม่เกิน 30 บาท ต่อหนึ่งกิโลกรัม ตามมาตรา 58
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้ขนส่งอื่นตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล เมื่อสินค้าเสียหาย
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำสัญญารับขนของทางทะเลกับผู้ส่งของ จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ขนส่ง ส่วนจำเลยที่ 2 ออกใบตราส่งในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งสินค้าดังกล่าวตามสัญญารับขนของทางทะเลระหว่างผู้ส่งกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของนิยามคำว่า "ผู้ขนส่งอื่น" ในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 แต่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นตัวการถือได้ว่าเป็นผู้ขนส่งอื่นเพราะการออกใบตราส่งของจำเลยที่ 2 ผูกพันจำเลยที่ 3 ผู้เป็นตัวการ เท่ากับจำเลยที่ 3 เป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งสินค้าดังกล่าวตามสัญญารับขนของทางทะเลช่วงจากกรุงเทพมหานครไปสิงคโปร์ และการที่จำเลยที่ 3 ขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งบรรจุสินค้าลงเรือของจำเลยที่ 4 ให้จำเลยที่ 4 ขนส่งสินค้านั้นต่อไปยังท่าปลายทาง เป็นการที่ผู้ขนส่งอื่นได้มอบหมายช่วงต่อไปอีกทอดหนึ่ง จำเลยที่ 4 จึงเป็นผู้ขนส่งอื่นตามคำนิยามใน พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 ด้วย เมื่อสินค้าที่ขนส่งได้รับความเสียหายระหว่างที่สินค้านั้นอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง และจำเลยที่ 3 และที่ 4 ผู้ขนส่งอื่น โดยมิใช่ความผิดของผู้ส่งของ จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขนส่งและจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ขนส่งอื่น จึงต้องร่วมกันรับผิดสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าดังกล่าวต่อผู้รับโอนใบตราส่ง ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 39 และมาตรา 43 มาตรา 44 ประกอบมาตรา 39 และมาตรา 45
ข้อเท็จจริงในคดีนี้ไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญากับผู้ส่งของโดยตรงในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 3 แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ผู้ขนส่งอื่นต้องรับผิดต่อผู้ส่งของโดยผลของกฎหมายคือ ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 44 ประกอบมาตรา 39 จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนจึงไม่ต้องรับผิดต่อผู้รับโอนใบตราส่งโดยลำพังตนเอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 และเมื่อจำเลยที่ 2 มิใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่น จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ต่อผู้รับโอนใบตราส่ง
ข้อเท็จจริงในคดีนี้ไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญากับผู้ส่งของโดยตรงในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 3 แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ผู้ขนส่งอื่นต้องรับผิดต่อผู้ส่งของโดยผลของกฎหมายคือ ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 44 ประกอบมาตรา 39 จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนจึงไม่ต้องรับผิดต่อผู้รับโอนใบตราส่งโดยลำพังตนเอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 และเมื่อจำเลยที่ 2 มิใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่น จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ต่อผู้รับโอนใบตราส่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งร่วม กรณีใช้ใบตราส่งของเจ้าของเรือ แต่ร่วมกันขนส่งสินค้า ผู้เช่าเรือมีส่วนรับผิดด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท ใบตราส่งตามที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกให้แก่ผู้ส่ง เป็นแบบพิมพ์ใบตราส่งที่มีไว้ใช้ในการรับขนส่งของจำเลยที่ 1 วัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ที่ได้จดทะเบียนไว้ได้ระบุถึงวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งว่าประกอบกิจการขนส่งและขนถ่ายสินค้าและคนโดยสารทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ รวมทั้งรับบริการนำของออกจากท่าเรือตามพิธีศุลกากร และการจัดระวางการขนส่งทุกชนิด เหมือนกับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เคยประกอบกิจการรับขนของร่วมกัน ทั้งไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่าจำเลยที่ 1 เลิกประกอบกิจการรับขนของหรือจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองจึงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันขนส่งสินค้าพิพาท
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งร่วมกับจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจากผู้รับตราส่ง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งร่วมกับจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจากผู้รับตราส่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6282/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องต้องมีสิทธิถูกโต้แย้ง: ลูกหนี้ร่วมไม่มีสิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้ร่วม
โจทก์เป็นผู้ขนส่งสินค้า ส่วนจำเลยเป็นผู้ขนส่งอื่น เมื่อสินค้าเสียหายในระหว่างการขนส่งของจำเลย โจทก์และจำเลยจึงต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งอย่างลูกหนี้ร่วมตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 45 โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ ประกอบกับโจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่บริษัทผู้รับตราส่งหรือบริษัทผู้รับประกันภัยสินค้าโจทก์จึงไม่ใช่ผู้รับช่วงสิทธิจากเจ้าหนี้ ดังนั้น แม้โจทก์จะทวงถามให้จำเลยชำระหนี้และจำเลยปฏิเสธ ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55ทั้งผู้มีสิทธิที่จะฟ้องเพื่อตั้งหลักฐานแห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อให้อายุความสะดุดหยุดลงเนื่องจากหนี้จะขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2) จะต้องเป็นเจ้าหนี้เช่นเดียวกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6282/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของลูกหนี้ร่วม: การไม่มีสิทธิเรียกร้องโดยตรงและการขาดสภาพเจ้าหนี้
โจทก์เป็นผู้ขนส่งสินค้า ส่วนจำเลยเป็นผู้ขนส่งอื่น เมื่อสินค้าเปียกน้ำเสียหายในระหว่างการขนส่งของจำเลย โจทก์และจำเลยจึงต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งอย่างลูกหนี้ร่วมตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 45 ซึ่งหมายความว่าโจทก์และจำเลยต่างมีฐานะเป็นลูกหนี้ด้วยกัน โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ ประกอบกับโจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่ผู้รับตราส่งหรือผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาท โจทก์จึงไม่ใช่ผู้รับช่วงสิทธิจากบุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเจ้าหนี้ แม้โจทก์จะทวงถามให้จำเลยชำระหนี้และจำเลยปฏิเสธก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ผู้ที่จะฟ้องเพื่อตั้งหลักฐานแห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อให้อายุความสะดุดหยุดลงเนื่องจากหนี้จะขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14(2) จะต้องเป็นเจ้าหนี้ โจทก์ไม่ใช่เจ้าหนี้จำเลยและไม่ถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
ผู้ที่จะฟ้องเพื่อตั้งหลักฐานแห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อให้อายุความสะดุดหยุดลงเนื่องจากหนี้จะขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14(2) จะต้องเป็นเจ้าหนี้ โจทก์ไม่ใช่เจ้าหนี้จำเลยและไม่ถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากผู้รับขนส่งทางทะเล และการชดใช้ค่าเสียหายตามข้อตกลง แม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่ตรงตามความเห็นศาลฎีกา
++ เรื่อง การค้าระหว่างประเทศ รับขนของทางทะเล ++
++ ทดสอบทำงานด้วยระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online เท่านั้น ++
++
++
++ ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้คงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2537 จำเลยได้สั่งซื้อสินค้าเหล็กท่อนจำนวน 6,658 เมตริกตัน จากบริษัทคาเนมัตสึ(ฮ่องกง) จำกัด ในเมืองฮ่องกง โดยไม่มีการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขาย ได้ว่าจ้างให้โจทก์ที่ 1 ขนส่งสินค้าดังกล่าวจากเมืองวลาดิวอสต็อก ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย มาทางทะเลโดยเรือ "มาราบู" เพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยที่ท่าเรือกรุงเทพ โจทก์ที่ 1ได้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทตามสำเนาใบตราส่งเอกสารหมาย จ.7 ให้แก่ผู้ขาย และโจทก์ที่ 1 ได้ว่าจ้างโจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนติดต่อกับจำเลยและทำพิธีการทางศุลกากร เมื่อเรือ "มาราบู" บรรทุกสินค้าดังกล่าวมาถึงเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ในวันที่ 24 ธันวาคม 2537 โจทก์ที่ 2 ได้แจ้งให้จำเลยทราบและให้จำเลยนำต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทไปมอบแก่โจทก์ที่ 2 เพื่อรับใบปล่อยสินค้าไปดำเนินการพิธีการทางศุลกากรและนำสินค้าออก จำเลยไม่มีต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทแต่ประสงค์จะขอรับสินค้าพิพาทไปก่อนจึงทำหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 มอบให้โจทก์ที่ 2 ไว้ แล้วรับสินค้าพิพาทไปก่อน แต่จำเลยไม่ชำระค่าสินค้าพิพาทแก่ผู้ขาย ต่อมาผู้ขายซึ่งเป็นผู้ครอบครองต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทได้นำใบตราส่งดังกล่าวไปฟ้องโจทก์ที่ 1 ต่อศาลเมืองฮ่องกงเรียกให้โจทก์ที่ 1 ส่งมอบสินค้าพิพาทคืนหรือใช้ราคาแก่ผู้ขาย ศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2539 ให้โจทก์ที่ 1 คืนสินค้าพิพาทแก่ผู้ขายหรือให้ชดใช้ราคาเป็นเงิน 1,458,273.60 ดอลลาร์สหรัฐนอกจากนี้บริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขายยังได้ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการขอให้ชำระราคาสินค้าพิพาทรายนี้เป็นอีกคดีหนึ่งด้วย ซึ่งต่อมาวันที่ 25 กรกฎาคม 2540 ผู้ขายและจำเลยตกลงกันได้ และได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามเอกสารหมาย จ.25มีใจความสำคัญว่า จำเลยยอมผ่อนชำระหนี้ค่าสินค้าพิพาทแก่ผู้ขายและผู้ขายจะไม่ดำเนินการใด ๆ อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องชำระหนี้ค่าสินค้าพิพาทที่จำเลยได้ชำระแก่ผู้ขายแล้ว ไม่ว่าการเรียกร้องนั้นจะกระทำโดยผู้ขายหรือผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ขาย ศาลจังหวัดสมุทรปราการมีคำพิพากษาตามยอมไปแล้ว ตามสำเนาคำพิพากษาตามยอมเอกสารหมาย จ.26 และคดีฟังยุติตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยที่คู่ความมิได้อุทธรณ์คัดค้านว่า โจทก์ที่ 1มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามหนังสือรับรองเอกสารหมายจ.1 โจทก์ที่ 1 ได้มอบอำนาจให้นายปฐม นันทนเจริญกุล ฟ้องคดีนี้ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.3 จริงตามฟ้อง และจำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ในทางการค้าจำนวน 36,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 1 และคดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องไปแล้วนั้น โจทก์ที่ 2 มิได้อุทธรณ์ คดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางด้วย
++ สำหรับข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่า คดีนี้มูลคดีเกิดในเขตอำนาจศาลจังหวัดสมุทรปราการ และภูมิลำเนาจำเลยก็อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดสมุทรปราการ จึงไม่ชอบที่โจทก์ที่ 1 จะเสนอคำฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จำเลยจึงถือว่าโจทก์ที่ 1ฟ้องคดีไม่ถูกต้องตามเขตอำนาจศาลนั้น
++ เห็นว่า หลังจากที่โจทก์ที่ 1ยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โดยโจทก์ที่ 1 อ้างว่าเป็นคดีที่มีมูลคดีเกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้แล้ว ปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้มีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางขึ้น ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 และศาลดังกล่าวได้เปิดทำการแล้ว ซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันร้องขอให้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้โอนคดีนี้ไปพิจารณาพิพากษาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางตามพระราชบัญญํติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 46 โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ขอสงวนข้อต่อสู้ในเรื่องเขตอำนาจศาล เท่ากับว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้เรื่องเขตอำนาจศาลไปแล้ว ถือได้ว่าคดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องเขตอำนาจศาลอีก ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่า มูลคดีนี้เกิดในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จึงเป็นการไม่ชอบ อุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้ถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้
++ ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ข้อต่อมาว่า ต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทไม่ได้อยู่ที่จำเลย ซึ่งโจทก์ที่ 1 ก็ทราบดี แต่โจทก์ที่ 1กลับมาเรียกร้องเอาจากจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบนั้น
++ เห็นว่า
++ แม้คดีนี้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้จะกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทแก่โจทก์ที่ 1 หรือไม่ และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ยกประเด็นข้อพิพาทนี้ขึ้นวินิจฉัย แต่เนื้อหาในคำวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทนี้ก็เป็นการวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงตามประเด็นที่คู่ความโต้เถียงกันมาในคำฟ้องและคำให้การจำเลยข้อที่ว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ทั้งสองหรือผู้ขาย ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ทั้งสอง โดยจำเลยได้ทำหนังสือขอรับมอบสินค้าพิพาทโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งและยอมรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ 1 ตามเอกสารหมายจ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 มอบให้โจทก์ทั้งสอง มิใช่เป็นการรับมอบสินค้าพิพาทจากผู้ขายตามที่จำเลยอ้าง โดยศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้วินิจฉัยว่า ต้นฉบับในตราส่งสินค้าพิพาทอยู่กับจำเลยและจำเลยมีหน้าที่ต้องเวนคืนใบตราส่งดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 1 ทั้งคดีนี้โจทก์ที่ 1 ก็มิได้ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1เวนคืนต้นฉบับใบตราส่งแก่โจทก์ที่ 1 แต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยด้วย จึงเป็นที่เห็นได้ว่า ศาลแพ่งกรุงเทพใต้เพียงแต่กำหนดหัวข้อประเด็นข้อพิพาทนี้ผิดพลาดไปเท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้เช่นเดียวกัน
++ คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อแรกว่าโจทก์ที่ 1 หรือบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขายเป็นผู้ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่จำเลย และหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 ซึ่งมีข้อตกลงว่าจำเลยยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 มีผลใช้บังคับได้หรือไม่
++ ในปัญหาข้อนี้ข้อเท็จจริงคงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทตามสำเนาใบตราส่งเอกสารหมาย จ.7ให้แก่ผู้ส่งคือบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าพิพาทแก่จำเลย อันเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับสินค้าพิพาทตามที่ระบุในใบตราส่งดังกล่าวไว้ในครอบครองดูแลหรือได้บรรทุกลงเรือแล้ว และโจทก์ที่ 1 มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่ผู้รับตราส่งคือจำเลยเมื่อได้รับเวนคืนใบตราส่ง ได้ความจากคำเบิกความของผู้รับมอบอำนาจโจทก์ที่ 1 นายวินัย จิระฤกษ์มงคล กรรมการผู้จัดการบริษัทสายชลมารีน 1993 จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่โจทก์ที่ 2 ว่าจ้างให้ขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือ "มาราบู" ที่เกาะสีชังลงเรือลำเลียงมาที่ท่าเรือกรุงเทพ นายวสันต์ ธิตัง อดีตพนักงานบริษัทจำเลยซึ่งเป็นผู้ติดต่อกับโจทก์ที่ 2 และบริษัทสายชลมารีน 1993 จำกัด เพื่อขอรับสินค้าพิพาทรายนี้ และนายทวีศักดิ์ ลีเมฆานนท์ กรรมการบริษัทโจทก์ที่ 2พยานโจทก์ที่ 1 ว่า บริษัทบีซีเอซี จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ตามบันทึกการขนถ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.11 จริง โดยจำเลยไม่ได้เวนคืนใบตราส่งแก่โจทก์ทั้งสอง แต่จำเลยได้ออกหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 ให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นหลักฐาน ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ตรวจดูแล้ว ปรากฏว่าเป็นหนังสือที่จำเลยขอให้เจ้าของเรือ "มาราบู" ซึ่งหมายถึงผู้ขนส่งหรือโจทก์ที่ 1 ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่จำเลยโดยไม่ต้องเวนคืนใบตราส่งซึ่งสอดคล้องตรงกับที่พยานโจทก์ที่ 1 เบิกความ ส่วนพยานจำเลยคงมีแต่นายโชติชัย เชาว์นิธิ กรรมการบริษัทจำเลยเบิกความอ้างลอย ๆว่า ในการรับมอบสินค้าพิพาทจำเลยเข้าใจว่าผู้ขายส่งมอบสินค้าให้จำเลยโดยตรงและผู้ขายได้มอบใบตราส่งให้แก่โจทก์ที่ 1 ไปแล้วเห็นว่า ข้อนำสืบของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะเป็นการคาดคะเนเอาเองและจำเลยไม่มีพยานอื่นมาสืบสนับสนุน จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ที่ 1 ในข้อนี้ได้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่โจทก์ที่ 1 นำสืบว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ผ่านทางตัวแทนของจำเลยที่ท่าเรือกรุงเทพจริง โดยจำเลยได้ออกหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งมีข้อความตรงกับเอกสารหมาย ล.2 และ ล.4ให้ไว้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นหลักฐาน ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวก็มีข้อความระบุโดยชัดแจ้งว่า จำเลยตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งมีความหมายว่า ในการที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาทโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งแก่โจทก์ที่ 1 นั้น หากโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายเพราะการนี้จำเลยยอมรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ทั้งสิ้น หาใช่เป็นเพียงกรณีที่จำเลยให้ประกันหรือรับรองต่อโจทก์ที่ 1 ว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิได้รับสินค้าพิพาทตามใบตราส่งไม่
++ สำหรับข้อตกลงดังกล่าวแม้จะไม่มีลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 รวมทั้งไม่มีลักษณะเป็นการให้ประกันตามควรตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา28 ดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยไว้ แต่ก็ถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับได้ ดังนั้น หากโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปโดยไม่เวนคืนใบตราส่ง จำเลยย่อมจะต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงดังกล่าว
++ ส่วนที่โจทก์ที่ 1 อ้างมาในคำฟ้องว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาค้ำประกันนั้น เห็นว่า เป็นเพียงโจทก์ที่ 1 เรียกชื่อนิติกรรมดังกล่าวคลาดเคลื่อนไปเท่านั้น จำเลยจะนำมาเป็นข้ออ้างปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่ ++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อต่อไปว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายหรือไม่เพียงใด
++ ซึ่งในข้อนี้คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยเฉพาะค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 เฉพาะในส่วนที่เป็นค่าสินค้าพิพาทที่ศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาให้โจทกที่ 1 ชดใช้แก่ผู้ขายกับค่าเสียหายในส่วนที่โจทก์ที่ 1 ต้องเสียเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ศาลเมืองฮ่องกงเท่านั้น ซึ่งปัญหาข้อนี้ คดีคงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยที่จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านว่า ขณะที่โจทก์ที่ 1 ถูกผู้ขายฟ้องคดีเรียกให้โจทก์ที่ 1 คืนหรือใช้ราคาสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ขายที่ศาลเมืองฮ่องกงนั้น โจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีดังกล่าวได้แก่ ค่าจ้างทนายความ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางติดต่อประสานงานและค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารรวมเป็นเงิน 18,078 ดอลลาร์สหรัฐหรือเท่ากับ 457,734.96 บาท ค่าใช้จ่ายดังกล่าว ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นว่า เป็นค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ที่ 1 โดยไม่เวนคืนต้นฉบับใบตราส่งให้แก่โจทก์ที่ 1 จึงเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 ถูกผู้ครอบครองใบตราส่งฟ้องให้รับผิด และโจทก์ที่ 1 ต้องเสียหายเพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีดังกล่าวที่ศาลเมืองฮ่องกง ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่เวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 หรือล.2 หรือ ล.4 ดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัย ส่วนค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าสินค้าพิพาท จำนวน 1,458,273.60ดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ 36,923,487.55 บาท ซึ่งศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ชดใช้แก่ผู้ขายนั้น เห็นว่า ตามทางนำสืบของโจทก์ที่ 1 ปรากฏว่าผู้ขายได้ฟ้องจำเลยให้ชำระค่าสินค้าพิพาทรายนี้ที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ค่าสินค้าแก่ผู้ขายเป็นอีกคดีหนึ่งด้วย ผู้ขายจึงสามารถบังคับชำระหนี้ค่าสินค้าจากจำเลยตามคำพิพากษาศาลจังหวัดสมุทรปราการ โดยไม่จำเป็นต้องบังคับชำระหนี้เอาจากโจทก์ที่ 1 ก็ได้ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อฮ่องกงให้แก่ผู้ขายไปแล้ว รวมทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ขายซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวได้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินของโจทก์ที่ 1 คดีนี้ ขายทอดตลาดนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาคดีดังกล่าวแล้ว ดังนี้ โจทก์ที่ 1 จึงเพียงแต่อาจได้รับความเสียหายตามคำพิพากษาศาลฎีกาเมืองฮ่องกงดังกล่าวเพราะโจทก์ที่ 1 อาจถูกบังคับคดีต่อไปในภายหน้าเท่านั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแก่ผู้ขายหรือถูกบังคับคดียึดทรัพย์สินขายทอดตลาดนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแก่ผู้ขาย ถือว่าโจทก์ที่ 1ยังไม่ได้รับความเสียหายจริง โจทก์ที่ 1 จึงยังไม่มีสิทธิมาฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่โจทก์ที่ 1 ได้ ++
++ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินส่วนนี้แก่โจทก์ที่ 1 ด้วยนั้น จึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้มาในคำให้การจำเลยแต่ต้น จำเลยก็มีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 45 ++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อสุดท้ายว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่
++ ในปัญหาข้อนี้คงมีข้อต้องวินิจฉัยเฉพาะฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของโจทก์ที่ 1 ที่ศาลเมืองฮ่องกงเท่านั้น
++ ซึ่งจำเลยได้อุทธรณ์อ้างว่าอายุความกรณีนี้ต้องด้วยพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 46 ซึ่งกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้ว่าต้องฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของ โจทก์ที่ 1 ฟ้องว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 แต่โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2539 ซึ่งเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาท ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้น
++ เห็นว่า
++ มาตรา46 บัญญัติไว้มีความว่า สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการสูญหายเสียหายหรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของให้เป็นอันขาดอายุความ ตามบทบัญญัติในมาตรา 46 ดังกล่าว เป็นเรื่องที่ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ผู้รับตราส่งหรือผู้ส่งของฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลเท่านั้น แต่คดีนี้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งฟ้องขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 6 หมวด 2กำหนดอายุความ ก็มิได้มีบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้โดยเฉพาะอีกเช่นกัน จึงต้องถือว่ากรณีนี้มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ที่ 1 ได้รับแจ้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ศาลเมืองฮ่องกงตามใบแจ้งหนี้ลงวันที่ 19 มีนาคม2539 ตามเอกสารหมาย จ.18 และโจทก์ที่ 1 อ้างมาในคำฟ้องว่าโจทก์ที่ 1 ได้เสียค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปแล้ว จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ จึงฟังได้ตามฟ้อง แม้จะไม่ได้ความว่าโจทก์ที่ 1 ชำระค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปในวันใด แต่ก็ต้องเป็นวันที่หลังจากได้รับใบแจ้งหนี้ดังกล่าวซึ่งถือว่าเป็นวันที่โจทก์ที่ 1 เริ่มมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินดังกล่าวจากจำเลยได้ เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ++
++ ทดสอบทำงานด้วยระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online เท่านั้น ++
++
++
++ ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้คงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2537 จำเลยได้สั่งซื้อสินค้าเหล็กท่อนจำนวน 6,658 เมตริกตัน จากบริษัทคาเนมัตสึ(ฮ่องกง) จำกัด ในเมืองฮ่องกง โดยไม่มีการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขาย ได้ว่าจ้างให้โจทก์ที่ 1 ขนส่งสินค้าดังกล่าวจากเมืองวลาดิวอสต็อก ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย มาทางทะเลโดยเรือ "มาราบู" เพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยที่ท่าเรือกรุงเทพ โจทก์ที่ 1ได้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทตามสำเนาใบตราส่งเอกสารหมาย จ.7 ให้แก่ผู้ขาย และโจทก์ที่ 1 ได้ว่าจ้างโจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนติดต่อกับจำเลยและทำพิธีการทางศุลกากร เมื่อเรือ "มาราบู" บรรทุกสินค้าดังกล่าวมาถึงเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ในวันที่ 24 ธันวาคม 2537 โจทก์ที่ 2 ได้แจ้งให้จำเลยทราบและให้จำเลยนำต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทไปมอบแก่โจทก์ที่ 2 เพื่อรับใบปล่อยสินค้าไปดำเนินการพิธีการทางศุลกากรและนำสินค้าออก จำเลยไม่มีต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทแต่ประสงค์จะขอรับสินค้าพิพาทไปก่อนจึงทำหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 มอบให้โจทก์ที่ 2 ไว้ แล้วรับสินค้าพิพาทไปก่อน แต่จำเลยไม่ชำระค่าสินค้าพิพาทแก่ผู้ขาย ต่อมาผู้ขายซึ่งเป็นผู้ครอบครองต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทได้นำใบตราส่งดังกล่าวไปฟ้องโจทก์ที่ 1 ต่อศาลเมืองฮ่องกงเรียกให้โจทก์ที่ 1 ส่งมอบสินค้าพิพาทคืนหรือใช้ราคาแก่ผู้ขาย ศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2539 ให้โจทก์ที่ 1 คืนสินค้าพิพาทแก่ผู้ขายหรือให้ชดใช้ราคาเป็นเงิน 1,458,273.60 ดอลลาร์สหรัฐนอกจากนี้บริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขายยังได้ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการขอให้ชำระราคาสินค้าพิพาทรายนี้เป็นอีกคดีหนึ่งด้วย ซึ่งต่อมาวันที่ 25 กรกฎาคม 2540 ผู้ขายและจำเลยตกลงกันได้ และได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามเอกสารหมาย จ.25มีใจความสำคัญว่า จำเลยยอมผ่อนชำระหนี้ค่าสินค้าพิพาทแก่ผู้ขายและผู้ขายจะไม่ดำเนินการใด ๆ อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องชำระหนี้ค่าสินค้าพิพาทที่จำเลยได้ชำระแก่ผู้ขายแล้ว ไม่ว่าการเรียกร้องนั้นจะกระทำโดยผู้ขายหรือผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ขาย ศาลจังหวัดสมุทรปราการมีคำพิพากษาตามยอมไปแล้ว ตามสำเนาคำพิพากษาตามยอมเอกสารหมาย จ.26 และคดีฟังยุติตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยที่คู่ความมิได้อุทธรณ์คัดค้านว่า โจทก์ที่ 1มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามหนังสือรับรองเอกสารหมายจ.1 โจทก์ที่ 1 ได้มอบอำนาจให้นายปฐม นันทนเจริญกุล ฟ้องคดีนี้ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.3 จริงตามฟ้อง และจำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ในทางการค้าจำนวน 36,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 1 และคดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องไปแล้วนั้น โจทก์ที่ 2 มิได้อุทธรณ์ คดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางด้วย
++ สำหรับข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่า คดีนี้มูลคดีเกิดในเขตอำนาจศาลจังหวัดสมุทรปราการ และภูมิลำเนาจำเลยก็อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดสมุทรปราการ จึงไม่ชอบที่โจทก์ที่ 1 จะเสนอคำฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จำเลยจึงถือว่าโจทก์ที่ 1ฟ้องคดีไม่ถูกต้องตามเขตอำนาจศาลนั้น
++ เห็นว่า หลังจากที่โจทก์ที่ 1ยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โดยโจทก์ที่ 1 อ้างว่าเป็นคดีที่มีมูลคดีเกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้แล้ว ปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้มีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางขึ้น ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 และศาลดังกล่าวได้เปิดทำการแล้ว ซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันร้องขอให้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้โอนคดีนี้ไปพิจารณาพิพากษาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางตามพระราชบัญญํติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 46 โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ขอสงวนข้อต่อสู้ในเรื่องเขตอำนาจศาล เท่ากับว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้เรื่องเขตอำนาจศาลไปแล้ว ถือได้ว่าคดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องเขตอำนาจศาลอีก ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่า มูลคดีนี้เกิดในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จึงเป็นการไม่ชอบ อุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้ถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้
++ ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ข้อต่อมาว่า ต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทไม่ได้อยู่ที่จำเลย ซึ่งโจทก์ที่ 1 ก็ทราบดี แต่โจทก์ที่ 1กลับมาเรียกร้องเอาจากจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบนั้น
++ เห็นว่า
++ แม้คดีนี้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้จะกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทแก่โจทก์ที่ 1 หรือไม่ และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ยกประเด็นข้อพิพาทนี้ขึ้นวินิจฉัย แต่เนื้อหาในคำวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทนี้ก็เป็นการวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงตามประเด็นที่คู่ความโต้เถียงกันมาในคำฟ้องและคำให้การจำเลยข้อที่ว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ทั้งสองหรือผู้ขาย ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ทั้งสอง โดยจำเลยได้ทำหนังสือขอรับมอบสินค้าพิพาทโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งและยอมรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ 1 ตามเอกสารหมายจ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 มอบให้โจทก์ทั้งสอง มิใช่เป็นการรับมอบสินค้าพิพาทจากผู้ขายตามที่จำเลยอ้าง โดยศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้วินิจฉัยว่า ต้นฉบับในตราส่งสินค้าพิพาทอยู่กับจำเลยและจำเลยมีหน้าที่ต้องเวนคืนใบตราส่งดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 1 ทั้งคดีนี้โจทก์ที่ 1 ก็มิได้ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1เวนคืนต้นฉบับใบตราส่งแก่โจทก์ที่ 1 แต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยด้วย จึงเป็นที่เห็นได้ว่า ศาลแพ่งกรุงเทพใต้เพียงแต่กำหนดหัวข้อประเด็นข้อพิพาทนี้ผิดพลาดไปเท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้เช่นเดียวกัน
++ คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อแรกว่าโจทก์ที่ 1 หรือบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขายเป็นผู้ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่จำเลย และหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 ซึ่งมีข้อตกลงว่าจำเลยยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 มีผลใช้บังคับได้หรือไม่
++ ในปัญหาข้อนี้ข้อเท็จจริงคงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทตามสำเนาใบตราส่งเอกสารหมาย จ.7ให้แก่ผู้ส่งคือบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าพิพาทแก่จำเลย อันเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับสินค้าพิพาทตามที่ระบุในใบตราส่งดังกล่าวไว้ในครอบครองดูแลหรือได้บรรทุกลงเรือแล้ว และโจทก์ที่ 1 มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่ผู้รับตราส่งคือจำเลยเมื่อได้รับเวนคืนใบตราส่ง ได้ความจากคำเบิกความของผู้รับมอบอำนาจโจทก์ที่ 1 นายวินัย จิระฤกษ์มงคล กรรมการผู้จัดการบริษัทสายชลมารีน 1993 จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่โจทก์ที่ 2 ว่าจ้างให้ขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือ "มาราบู" ที่เกาะสีชังลงเรือลำเลียงมาที่ท่าเรือกรุงเทพ นายวสันต์ ธิตัง อดีตพนักงานบริษัทจำเลยซึ่งเป็นผู้ติดต่อกับโจทก์ที่ 2 และบริษัทสายชลมารีน 1993 จำกัด เพื่อขอรับสินค้าพิพาทรายนี้ และนายทวีศักดิ์ ลีเมฆานนท์ กรรมการบริษัทโจทก์ที่ 2พยานโจทก์ที่ 1 ว่า บริษัทบีซีเอซี จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ตามบันทึกการขนถ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.11 จริง โดยจำเลยไม่ได้เวนคืนใบตราส่งแก่โจทก์ทั้งสอง แต่จำเลยได้ออกหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 ให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นหลักฐาน ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ตรวจดูแล้ว ปรากฏว่าเป็นหนังสือที่จำเลยขอให้เจ้าของเรือ "มาราบู" ซึ่งหมายถึงผู้ขนส่งหรือโจทก์ที่ 1 ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่จำเลยโดยไม่ต้องเวนคืนใบตราส่งซึ่งสอดคล้องตรงกับที่พยานโจทก์ที่ 1 เบิกความ ส่วนพยานจำเลยคงมีแต่นายโชติชัย เชาว์นิธิ กรรมการบริษัทจำเลยเบิกความอ้างลอย ๆว่า ในการรับมอบสินค้าพิพาทจำเลยเข้าใจว่าผู้ขายส่งมอบสินค้าให้จำเลยโดยตรงและผู้ขายได้มอบใบตราส่งให้แก่โจทก์ที่ 1 ไปแล้วเห็นว่า ข้อนำสืบของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะเป็นการคาดคะเนเอาเองและจำเลยไม่มีพยานอื่นมาสืบสนับสนุน จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ที่ 1 ในข้อนี้ได้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่โจทก์ที่ 1 นำสืบว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ผ่านทางตัวแทนของจำเลยที่ท่าเรือกรุงเทพจริง โดยจำเลยได้ออกหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งมีข้อความตรงกับเอกสารหมาย ล.2 และ ล.4ให้ไว้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นหลักฐาน ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวก็มีข้อความระบุโดยชัดแจ้งว่า จำเลยตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งมีความหมายว่า ในการที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาทโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งแก่โจทก์ที่ 1 นั้น หากโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายเพราะการนี้จำเลยยอมรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ทั้งสิ้น หาใช่เป็นเพียงกรณีที่จำเลยให้ประกันหรือรับรองต่อโจทก์ที่ 1 ว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิได้รับสินค้าพิพาทตามใบตราส่งไม่
++ สำหรับข้อตกลงดังกล่าวแม้จะไม่มีลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 รวมทั้งไม่มีลักษณะเป็นการให้ประกันตามควรตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา28 ดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยไว้ แต่ก็ถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับได้ ดังนั้น หากโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปโดยไม่เวนคืนใบตราส่ง จำเลยย่อมจะต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงดังกล่าว
++ ส่วนที่โจทก์ที่ 1 อ้างมาในคำฟ้องว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาค้ำประกันนั้น เห็นว่า เป็นเพียงโจทก์ที่ 1 เรียกชื่อนิติกรรมดังกล่าวคลาดเคลื่อนไปเท่านั้น จำเลยจะนำมาเป็นข้ออ้างปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่ ++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อต่อไปว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายหรือไม่เพียงใด
++ ซึ่งในข้อนี้คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยเฉพาะค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 เฉพาะในส่วนที่เป็นค่าสินค้าพิพาทที่ศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาให้โจทกที่ 1 ชดใช้แก่ผู้ขายกับค่าเสียหายในส่วนที่โจทก์ที่ 1 ต้องเสียเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ศาลเมืองฮ่องกงเท่านั้น ซึ่งปัญหาข้อนี้ คดีคงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยที่จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านว่า ขณะที่โจทก์ที่ 1 ถูกผู้ขายฟ้องคดีเรียกให้โจทก์ที่ 1 คืนหรือใช้ราคาสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ขายที่ศาลเมืองฮ่องกงนั้น โจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีดังกล่าวได้แก่ ค่าจ้างทนายความ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางติดต่อประสานงานและค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารรวมเป็นเงิน 18,078 ดอลลาร์สหรัฐหรือเท่ากับ 457,734.96 บาท ค่าใช้จ่ายดังกล่าว ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นว่า เป็นค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ที่ 1 โดยไม่เวนคืนต้นฉบับใบตราส่งให้แก่โจทก์ที่ 1 จึงเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 ถูกผู้ครอบครองใบตราส่งฟ้องให้รับผิด และโจทก์ที่ 1 ต้องเสียหายเพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีดังกล่าวที่ศาลเมืองฮ่องกง ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่เวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 หรือล.2 หรือ ล.4 ดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัย ส่วนค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าสินค้าพิพาท จำนวน 1,458,273.60ดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ 36,923,487.55 บาท ซึ่งศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ชดใช้แก่ผู้ขายนั้น เห็นว่า ตามทางนำสืบของโจทก์ที่ 1 ปรากฏว่าผู้ขายได้ฟ้องจำเลยให้ชำระค่าสินค้าพิพาทรายนี้ที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ค่าสินค้าแก่ผู้ขายเป็นอีกคดีหนึ่งด้วย ผู้ขายจึงสามารถบังคับชำระหนี้ค่าสินค้าจากจำเลยตามคำพิพากษาศาลจังหวัดสมุทรปราการ โดยไม่จำเป็นต้องบังคับชำระหนี้เอาจากโจทก์ที่ 1 ก็ได้ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อฮ่องกงให้แก่ผู้ขายไปแล้ว รวมทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ขายซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวได้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินของโจทก์ที่ 1 คดีนี้ ขายทอดตลาดนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาคดีดังกล่าวแล้ว ดังนี้ โจทก์ที่ 1 จึงเพียงแต่อาจได้รับความเสียหายตามคำพิพากษาศาลฎีกาเมืองฮ่องกงดังกล่าวเพราะโจทก์ที่ 1 อาจถูกบังคับคดีต่อไปในภายหน้าเท่านั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแก่ผู้ขายหรือถูกบังคับคดียึดทรัพย์สินขายทอดตลาดนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแก่ผู้ขาย ถือว่าโจทก์ที่ 1ยังไม่ได้รับความเสียหายจริง โจทก์ที่ 1 จึงยังไม่มีสิทธิมาฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่โจทก์ที่ 1 ได้ ++
++ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินส่วนนี้แก่โจทก์ที่ 1 ด้วยนั้น จึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้มาในคำให้การจำเลยแต่ต้น จำเลยก็มีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 45 ++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อสุดท้ายว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่
++ ในปัญหาข้อนี้คงมีข้อต้องวินิจฉัยเฉพาะฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของโจทก์ที่ 1 ที่ศาลเมืองฮ่องกงเท่านั้น
++ ซึ่งจำเลยได้อุทธรณ์อ้างว่าอายุความกรณีนี้ต้องด้วยพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 46 ซึ่งกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้ว่าต้องฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของ โจทก์ที่ 1 ฟ้องว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 แต่โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2539 ซึ่งเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาท ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้น
++ เห็นว่า
++ มาตรา46 บัญญัติไว้มีความว่า สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการสูญหายเสียหายหรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของให้เป็นอันขาดอายุความ ตามบทบัญญัติในมาตรา 46 ดังกล่าว เป็นเรื่องที่ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ผู้รับตราส่งหรือผู้ส่งของฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลเท่านั้น แต่คดีนี้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งฟ้องขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 6 หมวด 2กำหนดอายุความ ก็มิได้มีบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้โดยเฉพาะอีกเช่นกัน จึงต้องถือว่ากรณีนี้มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ที่ 1 ได้รับแจ้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ศาลเมืองฮ่องกงตามใบแจ้งหนี้ลงวันที่ 19 มีนาคม2539 ตามเอกสารหมาย จ.18 และโจทก์ที่ 1 อ้างมาในคำฟ้องว่าโจทก์ที่ 1 ได้เสียค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปแล้ว จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ จึงฟังได้ตามฟ้อง แม้จะไม่ได้ความว่าโจทก์ที่ 1 ชำระค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปในวันใด แต่ก็ต้องเป็นวันที่หลังจากได้รับใบแจ้งหนี้ดังกล่าวซึ่งถือว่าเป็นวันที่โจทก์ที่ 1 เริ่มมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินดังกล่าวจากจำเลยได้ เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7591/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของผู้ขนส่งและผู้รับประกันภัยทางทะเล กรณีสินค้าเสียหาย
พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 54 บัญญัติว่า ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดเพื่อการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้า อันเป็นผลจากการใช้มาตรการต่าง ๆ ที่พึงกระทำเพื่อระงับอัคคีภัยหรือหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาผลเสียหายจากอัคคีภัย เว้นแต่ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องจะพิสูจน์ได้ว่า เป็นความผิดหรือประมาทเลินเล่อของ ผู้ขนส่ง? ในการใช้มาตรการดังกล่าว ดังนั้น ผู้ขนส่งจึงมีภาระการพิสูจน์ในเบื้องต้นว่า ได้ใช้มาตรการต่าง ๆ ที่พึงกระทำเพื่อระงับอัคคีภัยหรือหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาผลเสียหายจากอัคคีภัย เพื่อเป็นเหตุให้ไม่ต้องรับผิดใน ความเสียหายของสินค้า
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเรือเดินทะเลชื่อ ช. ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลโดยมีบำเหน็จเป็นทางการค้าปกติเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 บริษัท ด. ได้ว่าจ้างจำเลยทั้งสองทำการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเรือ ช. แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในการขนส่งสินค้าพิพาททางทะเลร่วมกับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง โดยได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งสินค้าพิพาทจากเมืองฮูสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา มายังกรุงเทพมหานครย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งอื่นตามความหมายใน มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ตาม มาตรา 3 และ มาตรา 43 ถึง 45 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันแล้วจึงได้รับช่วงสิทธิในค่าเสียหายโดยชอบที่จะฟ้องคดีนี้และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโดยมิต้องบอกกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 2
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเรือเดินทะเลชื่อ ช. ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลโดยมีบำเหน็จเป็นทางการค้าปกติเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 บริษัท ด. ได้ว่าจ้างจำเลยทั้งสองทำการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเรือ ช. แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในการขนส่งสินค้าพิพาททางทะเลร่วมกับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง โดยได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งสินค้าพิพาทจากเมืองฮูสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา มายังกรุงเทพมหานครย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งอื่นตามความหมายใน มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ตาม มาตรา 3 และ มาตรา 43 ถึง 45 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันแล้วจึงได้รับช่วงสิทธิในค่าเสียหายโดยชอบที่จะฟ้องคดีนี้และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโดยมิต้องบอกกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 2