คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 290

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาร่วมลงทุน: การรับผิดชอบซื้อหุ้นคืนตามสัดส่วนและหนี้ที่มีลูกหนี้หลายคน
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่า บันทึกข้อตกลงและสัญญาร่วมลงทุนไม่เป็นโมฆะ จำเลยที่ 2 กลับอุทธรณ์และฎีกาว่าบันทึกและสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะโดยอ้างเหตุผลขึ้นใหม่นอกเหนือจากคำให้การ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้จึงไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ข้อตกลงตามสัญญาระบุให้จำเลยที่ 2 และหรือจำเลยที่ 3 และหรือจำเลยที่ 4 และหรือจำเลยที่ 5 รับผิดซื้อหุ้นทั้งหมดคืนจากโจทก์ตามสัดส่วนการถือหุ้น จึงเป็นกรณีที่เป็นหนี้ที่มีลูกหนี้หลายคนอันจะแบ่งกันชำระได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 290 การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จึงขัดต่อมาตรา 290 และข้อสัญญาดังกล่าว การวินิจฉัยขัดต่อข้อกฎหมายและข้อสัญญาเช่นนี้ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 5 ไม่ฎีกา ก็สมควรให้มีผลถึงจำเลยที่ 5 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22850/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางแพ่งและอาญาของเจ้าหน้าที่รัฐและผู้รับจ้างเอกชน กรณีตรวจรับงานบกพร่อง ทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ตามสัญญาจ้างเหมาติดตั้งระบบไฟฟ้าบกระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 5 ข้อ 4 เกี่ยวกับการส่งมอบงานงวดที่ 3 อันเป็นงวดสุดท้าย คู่สัญญาทั้งผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างต้องมีการทดลองระบบทุกระบบที่ติดตั้งให้คณะกรรมการตรวจการจ้างรับว่าใช้ราชการได้ดี แต่ในการตรวจรับงานงวดที่ 3 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่ได้ทำการทดลองทุกระบบ รวมทั้งไม่ได้ทดลองจ่ายไฟฟ้าบกให้แก่เรือรบหลวงตามสัญญาอันจะทำให้ทราบว่าระบบไฟฟ้าบกใช้ราชการได้ดีหรือไม่ และต่อมาเมื่อมีการใช้ระบบไฟฟ้าบกแก่เรือรบหลวง ปรากฏว่าไม่สามารถใช้ได้ตามสัญญา เป็นเหตุให้เรือรบหลวง 5 ลำ ต้องเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในเรือซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น ค่าบำรุงรักษา และค่าสึกหรอของเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้าสูงกว่าการใช้ระบบไฟฟ้าบกเป็นเงิน 4,591,790.07 บาท นั้น เห็นได้ว่า คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 5 ปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมาติดตั้งระบบไฟฟ้าบกไม่ครบถ้วน และไม่มีประสิทธิภาพตามสัญญา อันเป็นการปฏิบัติผิดสัญญา และเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากเหตุที่ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างทำของ ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงเป็นกรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ที่บัญญัติให้มีกำหนดอายุความ 10 ปี โดยสิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องดังกล่าวมิใช่สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 5 รับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องในตัวทรัพย์อันจะมีอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 601 แต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์รับมอบงานจากจำเลยที่ 5 ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2531 วันดังกล่าวจึงเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้จากการที่จำเลยที่ 5 ผิดสัญญา การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 5 เพราะเหตุปฏิบัติผิดสัญญาต่อโจทก์ในวันที่ 25 กันยายน 2540 จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 5 ให้ติดตั้งระบบไฟฟ้าบกก็เพื่อให้สามารถส่งกระแสไฟฟ้าจากภาคพื้นดินให้แก่เรือรบหลวงที่จอดเทียบท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ ทำให้เรือรบหลวงนั้นไม่ต้องใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้ต้องสิ้นเปลืองค่าน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น และเครื่องยนต์สึกหรอ และงานการติดตั้งระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าตามรูปแบบที่กำหนดตามสัญญาดังกล่าวก็มีรายละเอียดมาก ทั้งงานทั้งระบบก็มีมูลค่าค่าจ้างสูงถึง 5,600,000 บาท ย่อมมีเหตุผลที่โจทก์จะต้องตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งหมดให้ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ในการจ้างติดตั้งระบบไฟฟ้าบกดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ โดยมีการกำหนดเป็นข้อสัญญาว่า ต้องมีการทดลองระบบไฟฟ้าที่ติดตั้งทุกระบบ ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างได้ตรวจสอบและรับว่าใช้ราชการได้ดีด้วยนั้นเป็นข้อสำคัญที่จำเลยที่ 5 ต้องปฏิบัติตามข้อสัญญานี้ โดยต้องทดลองในสภาพเช่นเดียวกับการใช้งานจริงตามวัตถุประสงค์ของสัญญาที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านระบบนี้ให้แก่เรือรบหลวงด้วย มิใช่เพียงทดลองตรวจสอบระบบที่ติดตั้งโดยไม่ต้องทดลองจ่ายไฟฟ้าแก่เรือรบหลวงดังที่จำเลยที่ 5 ให้การแต่อย่างใด จำเลยที่ 5 มิได้ทดลองจ่ายไฟฟ้าตามระบบที่ติดตั้งนี้ให้แก่เรือรบหลวงที่จอดเทียบท่าเทียบเรือแหลมเทียนว่าใช้งานได้เรียบร้อยดีหรือไม่ ย่อมเป็นการที่จำเลยที่ 5 ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อสัญญาดังกล่าว อันเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาแล้ว
คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 363/2537 ของศาลทหารกรุงเทพ ซึ่งกองทัพเรือโจทก์ในคดีนี้เป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 โดยอัยการศาลทหารกรุงเทพดำเนินคดีแทนโจทก์ ดังนั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในคดีอาญาจึงเป็นคู่ความเดียวกันกับคดีนี้ และปัญหาข้อเท็จจริงในคดีอาญาว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์คดีนี้หรือไม่ จึงเป็นประเด็นโดยตรงที่โจทก์นำมาฟ้องในทางแพ่งเป็นคดีนี้ ขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันรับผิดในมูลละเมิดอันเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในคดีอาญาดังกล่าว และปรากฏตามคำพิพากษาคดีอาญาว่า มีการกล่าวอ้างและสืบพยานหลักฐานในปัญหาข้อเท็จจริงนี้แล้ว ซึ่งในที่สุดศาลทหารกรุงเทพก็ได้วินิจฉัยถึงสัญญาจ้างเหมาติดตั้งระบบไฟฟ้าบกว่า คณะกรรมการตรวจการจ้างมีหน้าที่ต้องให้ผู้รับจ้างทดลองระบบทุกระบบรวมถึงการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่เรือด้วย และวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้รับจ้างไม่ได้ทดลองระบบทุกระบบต่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นคณะกรรมการตรวจการจ้าง และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไม่ได้ทดลองจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่เรือ ทั้ง ๆ ที่ในวันตรวจรับงานมีเรือจอดที่ท่าเทียบเรือ การตรวจรับงานงวดที่ 3 ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นเหตุให้ทางราชการกองทัพเรือได้รับความเสียหาย และเมื่อคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดที่เกิดจากการกระทำความผิดอาญาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในคดีดังกล่าว คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งศาลทหารกรุงเทพได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาของศาลทหารกรุงเทพจึงย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในคดีนี้ และศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาของศาลทหารกรุงเทพดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 54 จึงต้องฟังว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จงใจกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ตามคำฟ้อง
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการยื่นฟ้องคดีแพ่งคดีนี้ย่อมเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดอันมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 และ ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสาม ไม่ใช่มีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือ 10 ปี นับแต่วันทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง แต่อย่างใด
ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์นั้น ไม่ใช่กรณีที่ต้องถือข้อเท็จจริงตามคดีอาญาของศาลทหารกรุงเทพ หากแต่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในทางแพ่งเกี่ยวกับความรับผิดในค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคหนึ่ง และ ป.พ.พ. มาตรา 424
จำเลยที่ 5 ไม่ได้ทดลองจ่ายไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าบกแก่เรือจริง แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ก็ยังยอมรับมอบงานและรับรองว่างานถูกต้องตามสัญญาอันเป็นการเอื้อต่อการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่ 5 โดยมิชอบ จนเกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในเรือรบหลวงในช่วงเวลาที่ต้องตรวจสอบเหตุบกพร่องของระบบไฟฟ้าบกที่จำเลยที่ 5 รับจ้างโจทก์ติดตั้ง อันมีเหตุแห่งความเสียหายและลักษณะแห่งความเสียหายเดียวกัน ย่อมมีผลให้มีจำนวนค่าเสียหายจำนวนเดียวกัน โดยตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ก็ไม่มีเหตุที่ควรกำหนดค่าเสียหายแตกต่างกัน จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาท เช่นเดียวกับที่จำเลย ที่ 5 ต้องรับผิดจากการผิดสัญญา โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ผู้ร่วมกันทำละเมิดต้องรับผิดร่วมกันอย่างลูกหนี้ร่วม แต่สำหรับจำเลยที่ 5 แม้ต้องรับผิดในหนี้จำนวนเดียวแต่เป็นหนี้เงินซึ่งมิใช่หนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกกันชำระได้ ทั้งมูลเหตุแห่งความรับผิดในมูลละเมิดและการผิดสัญญาก็แตกต่างกัน จำเลยที่ 5 จึงมิใช่ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 290
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2555)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6107/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่: ประเด็นความแตกต่างของที่ดินจำนองและข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัย
คดีก่อนอันถึงที่สุดแล้วนั้น โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีก่อนร่วมกันรับผิดกับบริษัท ร. ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 กับจำเลยอื่นในคดีก่อน ในฐานะที่จำเลยคดีนี้เป็นผู้ค้ำประกันและจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 60775 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง เป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน และคดีก่อนศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้จำเลยคดีนี้และจำเลยที่ 1 กับจำเลยอื่นในคดีก่อนร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองที่ดินดังกล่าวและที่ดินจำนองของจำเลยอื่นออกขายทอดตลาดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามในคดีก่อนชำระจนครบถ้วน
ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 12981 พร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยจำนองเป็นประกันเพิ่มหลักทรัพย์ให้แก่โจทก์ โดยมีคำขอบังคับว่าหากจำเลยไม่ชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองตามคำพิพากษาในคดีก่อน ขอให้บังคับจำนองที่ดินในคดีนี้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีก่อน หากขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ ขอให้มีคำสั่งยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ
ดังนี้เมื่อที่ดินที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำนองแก่จำเลยในคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคนละแปลงกัน แม้จำเลยจะจดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ที่บริษัท ร. จะต้องชำระแก่โจทก์รายเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ที่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับผิดคดีนี้กับคดีก่อนมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยแตกต่างกันกล่าวคือ คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 12981 พร้อมสิ่งปลูกสร้างประกันหนี้ที่บริษัท ร. จะต้องรับผิดชำระตามคำพิพากษาในคดีก่อนและโจทก์ยังมิได้รับชำระหนี้หรือไม่ ส่วนคดีก่อนมีประเด็นตามคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยค้ำประกันและจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 60775 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ประกันหนี้ที่บริษัท ร. จะต้องชำระแก่โจทก์ตามฟ้องและจำเลยจะต้องร่วมกับจำเลยอื่นในคดีก่อนรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ด้วยหรือไม่ กรณีจึงมิใช่เรื่องที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันจะต้องด้วยลักษณะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนอันถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6251/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้, การฟ้องคดีร่วม, และการยกข้อต่อสู้เรื่องดอกเบี้ยที่ต้องยกขึ้นในศาลชั้นต้น
ตามสัญญากู้ได้ระบุวงเงินให้กู้ของโจทก์และของผู้ให้กู้อื่นแก่จำเลยที่ 1 ไว้คนละจำนวนในวงเงินไม่เท่ากันและเป็นไปตามลำดับ โจทก์และผู้ให้กู้อื่นมีส่วนในหนี้นั้นแยกกัน จึงไม่เป็นเจ้าหนี้ร่วมกัน ทั้งตามสัญญาก็มิได้กำหนดว่าการฟ้องคดีโจทก์จะต้องได้รับความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้ให้กู้ด้วยกันเสียก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ ตามบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องเจ้าหนี้หลายคนก็มิได้ระบุว่าผู้ให้กู้คนใดคนหนึ่งจะต้องได้รับความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้ให้กู้คนอื่นก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้กู้รายอื่นก่อน จำเลยทั้งสี่ให้การเกี่ยวกับดอกเบี้ยว่าจำเลยที่ 1ได้รับเงินตามสัญญากู้ไม่ครบวงเงินกู้ทำให้โครงการขาดทุนหมุนเวียนถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญา จำเลยไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปีในชั้นอุทธรณ์จำเลยทั้ง สี่ก็อุทธรณ์ทำนองเดียวกันนี้ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็วินิจฉัยว่า ข้อที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ต้องรับผิดดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปีนั้นจำเลยทั้งสี่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงไม่รับวินิจฉัยให้ ดังนั้น ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่าอัตราดอกเบี้ยสูงเกินส่วนที่โจทก์ควรจะได้รับโจทก์วิเคราะห์ขนาดของเงินลงทุนผิดพลาด ทำให้จำเลยทั้งสี่เป็นหนี้หลายร้อยล้านบาทและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษเช่นใด จำเลยทั้งสี่จึง ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าร้อยละ 13.5 ต่อปี จึงเป็นข้อที่ มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 อีกทั้งปัญหาเรื่องนี้มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5347/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่ดิน: การผิดสัญญา, เบี้ยปรับ, และการชำระหนี้ตามสัญญา
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยทั้งห้าร่วมกันและแทนกันตกลงจะขายที่ดินรวม 8 โฉนด รวมเนื้อที่ 241 ไร่ 3 งาน 75 ตารางวา โดยจำเลยทั้งห้ารับรองว่าที่ดินทั้ง 8 โฉนดเป็นผืนเดียวกัน สำหรับโฉนดเลขที่2784 เฉพาะส่วนที่จำเลยทั้งห้าจะขายให้โจทก์อันเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะนั้น จำเลยทั้งห้ารับรองว่าได้แบ่งแยกการครอบครองเป็นสัดส่วนกับผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมแล้ว เมื่อถึงวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โจทก์ได้เตรียมแคชเชียร์เช็คเพื่อชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยทั้งห้า แต่จำเลยทั้งห้าไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้โจทก์และจำเลยทั้งห้าจึงตกลงเลื่อนกำหนดวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ไป ครั้นเมื่อถึงวันนัดโจทก์ได้เตรียมแคชเชียร์เช็คเพื่อชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยทั้งห้าแต่จำเลยทั้งห้าก็ยังไม่สามารถดำเนินการให้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง 8 โฉนด พร้อมกันทุกแปลงได้ เพราะที่ดินบางโฉนดยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นบางโฉนดศาลมีคำสั่งอายัดไว้ และที่ดินอันเป็นทางเข้าออกจำเลยทั้งห้าไม่ดำเนินการให้มีการจดทะเบียนโอนให้โจทก์ถือกรรมสิทธิ์เป็นสัดส่วนได้ จำเลยทั้งห้าขอเลื่อนวันโอนกรรมสิทธิ์ไปอีก เมื่อถึงวันนัดจำเลยทั้งห้าก็ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทุกแปลงให้ตรงตามข้อกำหนดและแผนผังที่ดินตามเอกสารท้ายฟ้องได้ จำเลยทั้งห้าจึงผิดสัญญา หากจำเลยทั้งห้าโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ โจทก์จะสามารถดำเนินการตามโครงการพัฒนาที่ดินให้เป็นที่อยู่อาศัยและสวนพักผ่อนได้ทันทีการล่าช้าเป็นเหตุให้ค่าวัสดุ ค่าจ้างแรงงาน ค่าสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นพร้อมทั้งมีคำขอบังคับ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.ความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ครบถ้วนแล้ว ส่วนจำเลยทั้งห้ากระทำการอันใดที่ถือว่าร่วมกันและแทนกัน เหตุใดจำเลยทั้งห้าจึงไม่ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายเหตุใดจึงมีการเลื่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน โฉนดที่ดินที่โจทก์อ้างว่าศาลแพ่งอายัดไว้นั้นมีการอายัดตั้งแต่เมื่อใด เจ้าของรวมในโฉนดที่ดินเลขที่2784 ต่างถือกรรมสิทธิ์จำนวนเนื้อที่เท่าใด เหตุใดค่าวัสดุ ค่าแรงงานค่าสาธารณูปโภค จึงเพิ่มขึ้นเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระบุไว้ชัดแจ้งว่าโจทก์มีฐานะเป็นผู้จะซื้อซึ่งมีความผูกพันตามสัญญาในฐานะผู้จะซื้อทุกประการ และในสัญญาก็ปรากฏใจความว่าคู่สัญญาตกลงกันว่า ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินผู้จะขายยอมให้โจทก์ผู้จะซื้อลงชื่อบุคคลใดหรือนิติบุคคลใดเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญานี้ได้ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ในฐานะผู้จะซื้อมีสิทธิให้ผู้ใดเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ ทั้งในบันทึกการเลื่อนจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง 2 ครั้งโจทก์ก็ลงลายมือชื่อในฐานะผู้จะซื้อโดยลำพัง เห็นได้ว่าคู่สัญญาที่ต้องผูกพันตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินคือโจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยทั้งห้าอีกฝ่ายหนึ่ง แม้โจทก์จะมีสิทธิให้ลงชื่อผู้ใดเป็นผู้รับโอนก็หาทำให้ความผูกพันของโจทก์ในฐานะผู้จะซื้อตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเปลี่ยนแปลงไปไม่ โจทก์ยังคงเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับจำเลยทั้งห้าโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้า
ตามสัญญาจะซื้อจะขาย ข้อ 5 เป็นข้อตกลงในชั้นจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินว่าค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายค่าภาษีอากรต่าง ๆ ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินฝ่ายใดจะเป็นผู้ชำระ แม้จะตกเป็นโมฆะเพราะโจทก์และจำเลยทั้งห้าตกลงกันว่าจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในราคาประเมินของทางราชการซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริงอันเป็นการหลีกเลี่ยงค่าภาษีและค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนโอนก็ตาม แต่ในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในการจดทะเบียนโอนก็มี ป.พ.พ.มาตรา 457 บัญญัติให้ผู้ซื้อผู้ขายพึงออกใช้กันอย่างไรไว้แล้ว จึงพึงสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่าคู่กรณีได้เจตนาให้ข้อสัญญาข้ออื่นที่สมบูรณ์แยกออกจากข้อ 5 ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่สมบูรณ์ ตามมาตรา 135เดิม (173 ใหม่) สัญญาจะซื้อขายที่ดินเว้นแต่ข้อ 5 จึงสมบูรณ์ ไม่ตกเป็นโมฆะ
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมีใจความสำคัญว่า สัญญาฉบับนี้ทำขึ้นระหว่างจำเลยทั้งห้าซึ่งต่อไปในสัญญาเรียกว่า "ผู้จะขาย" ฝ่ายหนึ่ง กับโจทก์ซึ่งต่อไปในสัญญาเรียกว่า "ผู้จะซื้อ" อีกฝ่ายหนึ่ง ผู้จะขายตกลงจะขายและผู้จะซื้อตกลงจะซื้อที่ดินทั้ง 8 โฉนด เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 63,847,307 บาทโดยผู้จะซื้อได้ชำระเงินค่าที่ดินเป็นจำนวนเงิน 7,000,000 บาท ให้แก่ผู้จะขายในวันทำสัญญานี้เรียบร้อยแล้ว ส่วนจำนวนเงินที่คงเหลืออีก 56,847,307 บาทผู้จะซื้อจะชำระให้แก่ผู้จะขายในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะขายทุกแปลงพร้อมกัน เห็นได้ว่าฝ่ายผู้จะขายมีจำเลยทั้งห้ามีสิทธิและหน้าที่ร่วมกัน ทั้งราคาที่ดินก็กำหนดรวมกันทั้ง 8 แปลง มิได้แบ่งแยกว่าแปลงใดราคาเท่าใด การชำระเงินค่าที่ดินในวันทำสัญญาโจทก์ก็ได้ชำระเงินจำนวนเดียวกันให้แก่จำเลยทั้งห้าพร้อมกันทุกคน ราคาที่เหลือก็ตกลงกันให้โจทก์ชำระแก่จำเลยทั้งห้ารวมกันเป็นจำนวนเดียวกัน มิได้แบ่งแยกชำระให้แก่จำเลยแต่ละคน แม้โจทก์จะแยกแคชเชียร์เช็คออกเป็นบางฉบับก็ไม่ปรากฏว่าแยกเป็นส่วนของจำเลยตามเนื้อที่ดินของแต่ละคน และข้อความในสัญญาก็กำหนดให้จำเลยทั้งห้าผูกพันกับโจทก์เป็นอย่างเดียวกัน ดังนั้นจำเลยทั้งห้าจึงอยู่ในฐานะร่วมกันรับผิดตามสัญญาดังกล่าว
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินข้อ 3 มีใจความสำคัญว่า ผู้จะขายรับรองว่าที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 2784 ผู้จะขายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และผู้จะขายได้แบ่งแยกการครอบครองเป็นสัดส่วนกับผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมคนอื่นเป็นที่แน่นอนชัดเจนแล้ว และตามข้อ 2 มีใจความสำคัญว่าผู้จะขายขอยืนยันและรับรองว่าที่ดินทั้ง 8 แปลง ติดต่อเป็นผืนเดียวกันโดยทางด้านทิศใต้ (โฉนดเลขที่ 2784) จดตลอดแนวคลองริมถนนตามแผนผังแนบท้ายสัญญา ซึ่งปรากฏว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 2784 เป็นรูปแผนผังทางเข้าออกของที่ดินอีก 7 แปลง สู่แนวคลองและริมถนน และจำเลยทั้งห้ารับรองกับโจทก์ว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 2784 จำเลยได้แบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดในส่วนที่เป็นทางเข้าออกตามแผนผังแนบท้ายสัญญา และทางเข้าออกนี้เป็นสาระสำคัญกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง 8 แปลงได้ทันทีที่ฝ่ายจำเลยได้แบ่งแยกการครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 2784 ให้เป็นส่วนสัด โดยฝ่ายจำเลยจะต้องได้กรรมสิทธิ์ตรงทางเข้าออกตามแผนผังท้ายสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้เรียบร้อยเสียก่อน การที่ฝ่ายจำเลยยังไม่แบ่งแยกการครอบครองให้เป็นส่วนสัดซึ่งเป็นสาระสำคัญของสัญญาเช่นนี้ จำเลยทั้งห้าย่อมผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน
ในวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจำเลยทั้งห้าไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาโดยที่โจทก์ได้นำเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือมาชำระให้ครบถ้วนแล้ว สำหรับขั้นตอนของการชำระค่าธรรมเนียม ค่าภาษีตลอดจนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เป็นขั้นตอนภายหลังที่จำเลยทั้งห้าสามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ตรงตามสัญญาเสียก่อน ซึ่งยังไม่แน่นอนเมื่อถึงขั้นตอนนั้นโจทก์จะมีเหตุขัดข้องในค่าธรรมเนียมดังกล่าวหรือไม่ โจทก์จึงยังไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยทั้งห้าเป็นฝ่ายผิดสัญญาด้วยการละเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ตรงตามสัญญา จำเลยทั้งห้าก็ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่มีสิทธิริบมัดจำแต่จะต้องส่งคืนโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 378 (3)
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับพิพาท ข้อ 8 กำหนดว่าหากผู้จะขายผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ให้ผู้จะซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนได้ทั้งหมดและเรียกค่าเสียหายได้อีกจำนวนเงิน 14,000,000บาท (สิบสี่ล้านบาทถ้วน) หรือฟ้องบังคับให้ผู้จะขายปฏิบัติตามสัญญานี้ พร้อมทั้งเรียกค่าเสียหายอีกโสดหนึ่งด้วย ฯลฯ ข้อกำหนดดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับถ้าสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 379 ประกอบมาตรา 383
จำเลยทั้งห้ายังไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายได้เพราะเหตุขัดข้องเกิดจากเจ้าของรวม โจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3และที่ 5 จึงได้ทำบันทึกเลื่อนวันโอนกรรมสิทธิ์อีกครั้งหนึ่ง แต่เมื่อถึงวันที่เลื่อนไปก็ยังไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกันได้ เพราะจำเลยทั้งห้าไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญา เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายตามปกติจากจำเลยทั้งห้าได้ทันที หรือหากโจทก์ยังติดใจที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินต่อไปก็น่าจะนัดวันจดทะเบียนโอนกันใหม่ แต่โจทก์ก็หาได้กระทำการใด ๆ ต่อไปไม่ คงปล่อยให้เหตุการณ์ผ่านไปโดยจำเลยทั้งห้าไม่อาจคาดหมายได้ว่าโจทก์จะดำเนินการอย่างไรต่อไป เพราะการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 2784 ซึ่งเป็นทางออกถูกเจ้าของรวมคนอื่นซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโต้แย้งสิทธิ ย่อมไม่สามารถที่จะโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์เป็นส่วนสัดให้เป็นทางเข้าออกดังที่จำเลยทั้งห้าสัญญาไว้ การที่โจทก์ปล่อยให้เหตุการณ์ผ่านไปโดยไม่ดำเนินการอะไรต่อไปเช่นนี้ โดยโจทก์ประสงค์จะใช้เวลาที่ผ่านไปเป็นข้ออ้างเรียกร้องค่าเสียหายให้สูงไว้และเมื่อโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์เสียหายอย่างไร เป็นเงินเท่าใด แต่การกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับกรณีจำเลยทั้งห้าไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้นั้นเมื่อจำเลยทั้งห้าผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันเป็นเบี้ยปรับ แต่การที่สัญญากำหนดเบี้ยปรับไว้ 14,000,000 บาท โดยที่ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าโจทก์เสียหายอย่างไร เป็นเงินเท่าใด เช่นนี้ ประกอบกับระยะเวลานับแต่วันทำสัญญากับวันยื่นฟ้องห่างกันเพียง 7 เดือน เบี้ยปรับที่กำหนดไว้จึงสูงเกินส่วน และควรคำนวณตามราคาที่ดินพิพาทที่น่าจะเพิ่มขึ้นขณะยื่นฟ้อง
ความรับผิดของโจทก์เป็นการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 369 กล่าวคือโจทก์จะรับผิดชำระหนี้ในจำนวนเงินค่าที่ดินต่อเมื่อจำเลยทั้งห้าจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ตรงตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเสียก่อน แต่เมื่อจำเลยทั้งห้าเป็นฝ่ายผิดสัญญาละเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ตรงตามสัญญาอันเป็นสาระสำคัญ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าดอกเบี้ยในจำนวนเงินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบำเหน็จนายหน้า: การถือเอาประโยชน์จากการชี้ช่องขายที่ดินสำเร็จ
จำเลยให้โจทก์ทั้งสามเป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลยและของบุตรสาวในราคา 13,650,000 บาท โดยเริ่มแรก โจทก์ทั้งสามติดต่อกับบริษัทผู้ซื้อเพื่อขายที่ดินของจำเลยในราคาดังกล่าว แต่ไม่ตกลงกันในเรื่องราคาต่อมา ส.ซึ่งเป็นสามีของบุตรสาวจำเลยได้ติดต่อประสานงานจนกระทั่งมีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันในราคาดังกล่าว ดังนี้ แม้ ส.จะเป็นผู้ติดต่อประสานงานขายที่ดินสำเร็จในภายหลัง แต่ก็คงขายให้แก่บริษัทผู้ซื้อซึ่งโจทก์ทั้งสามได้ติดต่อไว้ก่อนในราคาเดิมซึ่งโจทก์ทั้งสามเคยเสนอไว้ เป็นกรณีที่จำเลยถือเอาประโยชน์จากการที่โจทก์ทั้งสามเป็นผู้ติดต่อบอกขายที่ดินแก่บริษัทผู้ซื้อมาตั้งแต่ต้น ถือได้ว่าการซื้อขายที่ดินรายนี้ได้ทำกันสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นนายหน้าชี้ช่องจัดการ โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จนายหน้าตามข้อตกลงร้อยละ 5 ของราคาที่ดินที่ขายได้แต่คดีนี้โจทก์ที่ 3 มิได้อุทธรณ์ฎีกาโดยโจทก์ที่ 3 ได้ถอนอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์อนุญาตแล้ว ดังนี้ คดีสำหรับโจทก์ที่ 3 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจึงต้องชำระค่านายหน้าแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 สองในสามส่วนของค่านายหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่านายหน้าสำเร็จจากการชี้ช่องผู้ซื้อ แม้มีผู้ประสานงานภายหลัง ก็ถือว่าจำเลยได้ประโยชน์จากนายหน้าเดิม
จำเลยให้โจทก์ทั้งสามเป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลยและของบุตรสาวในราคา 13,650,000 บาท โดยเริ่มแรกโจทก์ทั้งสามติดต่อกับบริษัทผู้ซื้อเพื่อขายที่ดินของจำเลยในราคาดังกล่าว แต่ไม่ตกลงกันในเรื่องราคา ต่อมา ส.ซึ่งเป็นสามีของบุตรสาวจำเลยได้ติดต่อประสานงานจนกระทั่งมีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันในราคาดังกล่าว ดังนี้แม้ ส.จะเป็นผู้ติดต่อประสานงานขายที่ดินสำเร็จในภายหลังแต่ก็คงขายให้แก่บริษัทผู้ซื้อซึ่งโจทก์ทั้งสามได้ติดต่อไว้ก่อนในราคาเดิมซึ่งโจทก์ทั้งสามเคยเสนอไว้ เป็นกรณีที่จำเลยถือเอาประโยชน์จากการที่โจทก์ทั้งสามเป็นผู้ติดต่อบอกขายที่ดินแก่บริษัทผู้ซื้อมาตั้งแต่ต้น ถือได้ว่าการซื้อขายที่ดินรายนี้ได้ทำกันสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นนายหน้าชี้ช่องจัดการ โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จนานหน้าตามข้อตกลงร้อยละ 5 ของราคาที่ดินที่ขายได้แต่คดีนี้โจทก์ที่ 3 มิได้อุทธรณ์ฎีกาโดยโจทก์ที่ 3 ได้ถอนอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์อนุญาตแล้วดังนี้ คดีสำหรับโจทก์ที่ 3 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยจึงต้องชำระค่านายหน้าแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2สองในสามส่วนของค่านายหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายหน้าชี้ช่องขายที่ดินสำเร็จ ได้รับค่าบำเหน็จ แม้มีผู้ประสานงานภายหลัง
จำเลยให้โจทก์ทั้งสามเป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลยและของบุตรสาวในราคา13,650,000บาทโดยเริ่มแรกโจทก์ทั้งสามติดต่อกับบริษัทผู้ซื้อเพื่อขายที่ดินของจำเลยในราคาดังกล่าวแต่ไม่ตกลงกันในเรื่องราคาต่อมาส.ซึ่งเป็นสามีของบุตรสาวจำเลยได้ติดต่อประสานงานจนกระทั่งมีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันในราคาดังกล่าวดังนี้แม้ส.จะเป็นผู้ติดต่อประสานงานขายที่ดินสำเร็จในภายหลังแต่ก็คงขายให้แก่บริษัทผู้ซื้อซึ่งโจทก์ทั้งสามได้ติดต่อไว้ก่อนในราคาเดิมซึ่งโจทก์ทั้งสามเคยเสนอไว้เป็นกรณีที่จำเลยถือเอาประโยชน์จากการที่โจทก์ทั้งสามเป็นผู้ติดต่อบอกขายที่ดินแก่บริษัทผู้ซื้อมาตั้งแต่ต้นถือได้ว่าการซื้อขายที่ดินรายนี้ได้ทำกันสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ที่1และที่2เป็นนายหน้าชี้ช่องจัดการโจทก์ที่1และที่2จึงมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จนานหน้าตามข้อตกลงร้อยละ5ของราคาที่ดินที่ขายได้แต่คดีนี้โจทก์ที่3มิได้อุทธรณ์ฎีกาโดยโจทก์ที่3ได้ถอนอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์อนุญาตแล้วดังนี้คดีสำหรับโจทก์ที่3จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยจึงต้องชำระค่านายหน้าแก่โจทก์ที่1และที่2สองในสามส่วนของค่านายหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องร่วมกันในคดีละเมิด และความชัดเจนของคำฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายของโจทก์แต่ละคน
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดจากมูลละเมิดที่เกิดขึ้นในคราวเดียวกัน โจทก์ทั้งสี่ย่อมมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี จึงฟ้องคดีร่วมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 แม้มูลหนี้เกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ในคราวเดียวกันแต่ความเสียหายที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดต่อโจทก์แต่ละคนย่อมต้องแล้วแต่ผลแห่งละเมิดที่โจทก์แต่ละคนได้รับจากมูลละเมิดนั้นในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหาย โจทก์จึงมิได้เป็นเจ้าหนี้จำเลยทั้งสองร่วมกัน ดังนั้นโจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องให้ชัดเจนว่าโจทก์แต่ละคนมีสิทธิจะได้ค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเท่าใดการที่โจทก์บรรยายฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดรวมกันชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ ถือได้ว่าเป็นการบรรยายคำขอบังคับไม่แจ้งชัดคำฟ้องของโจทก์จึงเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีเมื่อลูกหนี้ร่วมฟ้องคดีเรียกทรัพย์จากเจ้าหนี้ และการใช้ดุลพินิจของศาลตามมาตรา 292(2)
การงดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 เป็นกรณีลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ฟ้องเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไว้เป็นคดีอีกเรื่องหนึ่งในคราวเดียวกัน โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าหากศาลพิพากษาให้ฝ่ายลูกหนี้ชนะคดีก็ไม่ต้องมีการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้โดยวิธีอื่นเพราะสามารถจะหักกลบลบกันได้ ส่วนการงดบังคับคดีตามมาตรา 292(2) นั้นเป็นดุลพินิจของศาลโดยมีเงื่อนไขเพียงว่า ศาลต้องใช้ดุลพินิจให้เหมาะสมแก่รูปคดี การที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ต่อศาลชั้นต้น และศาลพิพากษาให้โจทก์คืนข้าวเปลือกหรือใช้ราคาแก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ขอให้ศาลงดการบังคับคดี ศาลย่อมใช้ดุลพินิจงดการบังคับคดีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ไว้ในระหว่างที่คดีจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ยังไม่ถึงที่สุดได้ เพราะหากคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ดังกล่าวถึงที่สุดและศาลพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ก็อาจจะขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ได้ผลก็คือจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ไม่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์ กรณีจึงมีเหตุสมควรให้งดการบังคับคดีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ไว้จนกว่าคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ ถึงที่สุดตามมาตรา 292(2).
of 4