พบผลลัพธ์ทั้งหมด 100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นต้องพิสูจน์สภาพข้อเท็จจริงก่อนกระทำการรังวัดในที่ดินของผู้อื่น การกระทำดังกล่าวอาจเป็นความผิดฐานบุกรุก
แม้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 และมาตรา 1350 จะบัญญัติให้เจ้าของที่ดินแปลงที่ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงสาธารณะได้ สามารถที่จะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ ซึ่งสิทธิในการใช้ทางจำเป็นเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเพียงข้อจำกัดสิทธิของเจ้าของที่ดินแปลงที่ล้อมที่ดินของผู้อื่นจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ต้องยอมให้เจ้าของที่ดินแปลงที่ถูกล้อมใช้ทางผ่านที่ดินของตนเพื่อออกไปสู่ทางสาธารณะได้เท่านั้น ไม่ใช่บทบัญญัติที่เป็นการให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินแปลงที่ถูกล้อมที่จะเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นหรือกระทำการใด ๆ ในที่ดินของผู้อื่นได้โดยพลการ ทั้งสิทธิในการใช้ทางจำเป็นตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จะต้องพิจารณาจากสภาพความจริงในขณะนั้นว่าเข้าเงื่อนไขตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1349 และมาตรา 1350 บัญญัติไว้หรือไม่ด้วย
ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงที่ล้อมที่ดินของผู้อื่น และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงที่ถูกล้อมยังคงมีข้อโต้เถียงในข้อเท็จจริงกันอยู่ว่าที่ดินของจำเลยที่ 1 ถูกที่ดินของผู้เสียหายล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้จริงหรือไม่ จึงจำต้องให้ศาลในคดีแพ่งชี้ขาดข้อเท็จจริงให้รับฟังเป็นยุติก่อนว่าตามสภาพของที่ดินพิพาทในขณะนั้นเข้าเงื่อนไขเป็นทางจำเป็นซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะใช้ทางนั้นได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ การที่จำเลยทั้งสองเข้าไปรังวัดและถ่ายรูปทางในที่ดินของผู้เสียหายโดยพลการ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งถือเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายโดยปกติสุขอันเป็นความผิดฐานบุกรุก
ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงที่ล้อมที่ดินของผู้อื่น และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงที่ถูกล้อมยังคงมีข้อโต้เถียงในข้อเท็จจริงกันอยู่ว่าที่ดินของจำเลยที่ 1 ถูกที่ดินของผู้เสียหายล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้จริงหรือไม่ จึงจำต้องให้ศาลในคดีแพ่งชี้ขาดข้อเท็จจริงให้รับฟังเป็นยุติก่อนว่าตามสภาพของที่ดินพิพาทในขณะนั้นเข้าเงื่อนไขเป็นทางจำเป็นซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะใช้ทางนั้นได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ การที่จำเลยทั้งสองเข้าไปรังวัดและถ่ายรูปทางในที่ดินของผู้เสียหายโดยพลการ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งถือเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายโดยปกติสุขอันเป็นความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 361/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์และปลอมแปลงเอกสารเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และไม่สมควรรอการลงโทษ
ภายหลังลักรถบรรทุกของโจทก์ร่วมทั้งสามสำเร็จแล้ว พฤติการณ์ของจำเลยกับพวกที่ร่วมกันปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเพื่อโอนกรรมสิทธิ์รถบรรทุกบางคันมาเป็นชื่อจำเลย บางคันมาเป็นชื่อบริษัทที่จำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ และบางคันเป็นชื่อบุคคลภายนอก เป็นการกระทำเพื่อมุ่งใช้สอยหรือหาประโยชน์จากรถบรรทุกแต่ละคันที่ลักมา มิใช่เป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งรถบรรทุกแต่ละคัน ความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์กับความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพยายามกระทำชำเราที่ไม่สำเร็จ ผู้กระทำต้องรับโทษ หากการกระทำเกิดจากเหตุปัจจัยภายนอกไม่ใช่การยับยั้งโดยสมัครใจ
การยับยั้งเสียเองซึ่งทำให้ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 82 เป็นกรณีที่ผู้กระทำได้ลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่มีการยับยั้งไม่กระทำความผิดไปให้ตลอด ซึ่งจะต้องเป็นการยับยั้งโดยสมัครใจของผู้กระทำเอง
จำเลยพยายามกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 หลายครั้งตั้งแต่ผู้เสียหายที่ 1 อายุ 10 ปีเศษ ถึง 13 ปีเศษ แต่ที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ไปไม่ตลอด เป็นเพราะผู้เสียหายที่ 1 ยังเป็นเด็ก ร่างกายไม่พร้อมต่อการมีเพศสัมพันธ์ที่จำเลยจะใช้อวัยวะเพศของจำเลยสอดใส่เข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 ให้สำเร็จได้โดยง่าย อีกทั้งผู้เสียหายที่ 1 ยังใช้มือปัดป้องเป็นการขัดขวางไม่ให้จำเลยสอดใส่อวัยวะเพศของจำเลยเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 จำเลยจึงต้องหยุดกระทำ เช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่จำเลยยับยั้งเสียเองโดยสมัครใจ แต่เป็นเพราะมีเหตุปัจจัยภายนอกที่ทำให้จำเลยต้องจำใจหยุดกระทำต่อไป จึงไม่เข้าข้อยกเว้นให้ไม่ต้องรับโทษสำหรับการพยายามกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 82
จำเลยพยายามกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 หลายครั้งตั้งแต่ผู้เสียหายที่ 1 อายุ 10 ปีเศษ ถึง 13 ปีเศษ แต่ที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ไปไม่ตลอด เป็นเพราะผู้เสียหายที่ 1 ยังเป็นเด็ก ร่างกายไม่พร้อมต่อการมีเพศสัมพันธ์ที่จำเลยจะใช้อวัยวะเพศของจำเลยสอดใส่เข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 ให้สำเร็จได้โดยง่าย อีกทั้งผู้เสียหายที่ 1 ยังใช้มือปัดป้องเป็นการขัดขวางไม่ให้จำเลยสอดใส่อวัยวะเพศของจำเลยเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 จำเลยจึงต้องหยุดกระทำ เช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่จำเลยยับยั้งเสียเองโดยสมัครใจ แต่เป็นเพราะมีเหตุปัจจัยภายนอกที่ทำให้จำเลยต้องจำใจหยุดกระทำต่อไป จึงไม่เข้าข้อยกเว้นให้ไม่ต้องรับโทษสำหรับการพยายามกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 82
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8674/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบทะเบียนพาณิชย์ไม่ใช่เอกสารสิทธิ การฟ้องคดีขาดอายุความ
ใบทะเบียนพาณิชย์เป็นเอกสารราชการที่รัฐต้องการควบคุมพาณิชยกิจบางประเภทให้ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อประโยชน์ทางสถิติและเพื่อทราบหลักฐานการประกอบพาณิชยกิจของผู้ประกอบการค้า อันจะใช้เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการพาณิชย์ อุตสาหกรรม และปรับปรุงเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น มิใช่เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ ตามความหมายใน ป.อ. มาตรา 1 (9) การที่จำเลยปลอมใบทะเบียนพาณิชย์และใช้เอกสารดังกล่าว จึงไม่เป็นการปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ และไม่เป็นการใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8481/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาสั่งนับโทษต่อ แม้ศาลชั้นต้น/อุทธรณ์ยกฟ้อง และการบังคับโทษตามคำพิพากษา
ก่อนที่คดีนี้ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษา ในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.3275/2560 แม้ก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง ก็เป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะสั่งให้นับโทษจำเลยต่อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5331/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพักใช้/เพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ แม้เป็นคนละประเภทกับรถที่ใช้ก่อผิด ศาลมีอำนาจสั่งได้เพื่อความปลอดภัยสาธารณะ
การพักใช้ใบอนุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบขับขี่ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ไม่ใช่โทษที่ใช้สำหรับลงโทษผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 18 หรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามมาตรา 39 แต่ก็มีบทบังคับเช่นเดียวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัยด้วยเจตนาคุ้มครองประชาชนหรือสังคมเพื่อป้องกันมิให้ผู้ถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ก่อความเสียหายแก่ผู้อื่น โดยเป็นการป้องปรามไม่ให้ผู้ขับขี่ไปกระทำความผิดอีก ทั้งตามนิยามของคำว่า รถ ใน พ.ร.บ.การจราจรทางบก มาตรา 4 (15) ก็ให้คำนิยามว่า รถ หมายถึง ยานพาหนะทางบกทุกชนิด เว้นแต่รถไฟและรถราง ดังนั้น รถจักรยานยนต์และรถยนต์อยู่ในความหมายของคำว่า รถ ด้วย โดยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตจะอยู่ในลักษณะ 19 บทกำหนดโทษ ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงยานพาหนะชนิดใดชนิดหนึ่งไว้โดยเฉพาะ แต่เป็นการกล่าวถึงการขับขี่ยานพาหนะที่มีลักษณะเป็นการกระทำความผิดแล้วให้ศาลมีคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่เพื่อมิให้ผู้กระทำความผิดไปยุ่งเกี่ยว ควบคุม ยานพาหนะทั้งหมดที่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่ ดังนั้นศาลจึงต้องพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ไม่ว่าใบอนุญาตขับขี่นั้นจะเกี่ยวข้องกับยานพาหนะที่ผู้กระทำความผิดขับขี่ในขณะกระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม แม้จำเลยมีใบอนุญาตขับขี่รถคนละประเภทกับรถที่จำเลยขับขณะกระทำความผิด ศาลก็มีอำนาจพักใช้ใบอนุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5155/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากยื่นซ้ำประเด็นที่เคยวินิจฉัยแล้ว และการยื่นฎีกาไม่ถูกต้องตามขั้นตอน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลย โดยเห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยเรียงโดยนักโทษซึ่งไม่มีอำนาจเรียงคำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยยื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้น แต่ศาลชั้นต้นไม่รับฎีกาของจำเลย โดยเห็นว่าฎีกาของจำเลยเป็นการคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 เช่นนี้ หากจำเลยประสงค์จะให้ศาลรับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณา จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาของศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 224 แต่จำเลยกลับยื่นฎีกาฉบับที่ 2 และที่ 3 ที่มีเนื้อหาเช่นเดียวกับฎีกาฉบับแรกซ้ำมาอีก ซึ่งศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสองฉบับนี้ โดยเห็นว่าไม่ปรากฏว่าเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฯ อย่างไร แม้ต่อมาจำเลยจะยื่นฎีกาฉบับที่ 4 ที่เป็นเหตุแห่งคดีนี้ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยมา แต่ฎีกาของจำเลยนี้ก็มีเนื้อหาเช่นเดียวกันกับฎีกาของจำเลยฉบับแรก เพียงแต่เพิ่มเติมรายละเอียดของผลคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฯ เท่านั้น การยื่นฎีกาของจำเลยครั้งหลังนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับประเด็นที่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดในฎีกาฉบับแรกแล้ว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2753/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การกำหนดค่าเสียหายต้องมีการสืบพยานและสอบคำให้การอย่างถูกต้อง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และขอให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่รัฐ จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 40 ตอนท้าย และคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งจะต้องกล่าวหรือแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง กับต้องวินิจฉัยไปตามประเด็นแห่งคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4) (5) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีส่วนแพ่งโดยมิได้สอบคำให้การส่วนแพ่งของจำเลยทั้งสองและโจทก์มิได้นำสืบพยานหลักฐานอันจะเป็นฐานในการกำหนดค่าเสียหายตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 26/4 กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีส่วนแพ่งไปโดยมิชอบ เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองดำเนินการส่วนนี้ให้ถูกต้อง กรณีดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานการกระทำชำเราเด็ก และความน่าเชื่อถือคำให้การผู้เสียหาย
จำเลยได้รับสำเนาคำฟ้องซึ่งโจทก์ได้แนบสำเนารายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ไปท้ายฟ้องแล้ว และในวันนัดพร้อมจำเลยก็แถลงรับในรายงานกระบวนพิจารณาว่าแพทย์ได้ตรวจร่างกายผู้เสียหายและทำรายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ไว้จริง เมื่อโจทก์แถลงไม่ติดใจนำสืบแพทย์ จำเลยก็มิได้แถลงเป็นอย่างอื่น ถือว่าคู่ความไม่ติดใจซักถามแพทย์ รายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ได้ โดยแพทย์ไม่จำต้องมาเบิกความประกอบพยานเอกสารดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: จำเป็นต้องสอบคำให้การจำเลยในส่วนแพ่งก่อนพิพากษา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่เป็นคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 พร้อมทั้งขอให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งการพิจารณาคดีในส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 40 และคำพิพากษาในคดีส่วนแพ่งจะต้องกล่าวหรือแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง กับต้องวินิจฉัยไปตามประเด็นแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4) (5) การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีส่วนแพ่งโดยยังมิได้สอบคำให้การจำเลยทั้งสี่ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีส่วนแพ่งไปโดยมิชอบ จะถือว่าจำเลยทั้งสี่ให้การรับสารภาพตามฟ้องเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งด้วยหาได้ไม่