คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 142

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5916-5917/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: สัญญาและผลผูกพัน, การคัดค้านการจดทะเบียน, ศาลแก้ไขคำพิพากษา
ที่ผู้ร้องสอดโต้แย้งโจทก์เกี่ยวกับสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นกรณีมีปัญหาตีความข้อความในสัญญา และตามอุทธรณ์ของผู้ร้องสอดก็ไม่ปรากฏว่ามีความจำเป็นที่ผู้ร้องสอดต้องนำสืบพยานหลักฐานในข้อเท็จจริงใด เมื่อข้อความในสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยตีความข้อสัญญาได้ ย่อมไม่จำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานอีกต่อไป ส่วนในปัญหาว่าเครื่องหมายบริการคำว่า "METALEX" ของโจทก์กับเครื่องหมายบริการคำว่า "METALTECH" ของผู้ร้องสอดคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของบริการหรือไม่ ตามรูปคดีและลักษณะของเครื่องหมายบริการดังกล่าวก็สามารถวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับความคล้ายกันหรือไม่ได้แล้วโดยไม่จำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานอีกต่อไปเช่นกัน ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางย่อมมีอำนาจสั่งงดสืบพยานได้โดยชอบตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสอง และ 104 วรรคหนึ่ง
ข้อความในสัญญายุติข้อพิพาท ข้อ 2 (b) ไม่มีข้อความเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ และในส่วนข้อความเกี่ยวกับการใช้คำว่า "METALTECH" ของผู้ร้องสอดที่ตกลงกันเปลี่ยนไปใช้ชื่ออื่นที่คล้ายกับคำว่า "METALEX" น้อยลง ล้วนเป็นข้อตกลงในเรื่องการกระทำหรืองดเว้นกระทำการซึ่งแตกต่างจากการแสดงเจตนาสละประเด็นข้อพิพาท จึงไม่อาจแปลข้อความสัญญายุติข้อพิพาทถึงขนาดว่าโจทก์และผู้ร้องสอดตกลงสละประเด็นเกี่ยวกับข้อพิพาทในการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายบริการ ของโจทก์และเครื่องหมายบริการ "METALTECH" ของผู้ร้องสอดมีการใช้คำในส่วนภาคสำคัญคล้ายกัน ประกอบกับโจทก์ยังเป็นผู้มีสิทธิห้ามผู้ร้องสอดใช้เครื่องหมายบริการตามสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความ และการที่ผู้ร้องสอดได้จดทะเบียนเครื่องหมายบริการที่ใช้คำว่า METALTECH ก็เพื่อให้เป็นผู้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายบริการนี้สำหรับบริการประเภทเดียวกับโจทก์ตามที่ผู้ร้องสอดได้จดทะเบียนไว้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 44 ซึ่งการใช้เครื่องหมายบริการคำว่า METALTECH เช่นนี้ย่อมเป็นการปฏิบัติผิดสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวต่อโจทก์ โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิในเครื่องหมายบริการดีกว่าผู้ร้องสอด จึงมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 67 และแม้โจทก์จะไม่ได้ฟ้องผู้ร้องสอดเป็นจำเลยในคดีนี้โดยตรง แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ก็บรรยายถึงข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องสอดได้ทำสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่มีผลให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิดีกว่าและมีสิทธิห้ามผู้ร้องสอด ทั้งมีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดด้วย และเมื่อผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นคู่ความโดยอ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของเครื่องหมายบริการคำว่า METALTECH ที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้รับจดทะเบียนให้แล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็เพื่อให้มีการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิในเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอด จึงร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อให้ได้รับความรับรองและคุ้มครองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) อันเป็นกรณีที่ผู้ร้องสอดขอเข้าเป็นคู่ความด้วยการร้องสอดโดยสมัครใจเองเพื่อยังให้ผู้ร้องสอดได้รับความรับรองและคุ้มครองอันมีผลให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) และมาตรา 58 วรรคหนึ่ง ถือเสมือนหนึ่งว่าคดีในส่วนระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดนี้เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องเพื่อร้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 67 ซึ่งเมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายบริการดีกว่าผู้ร้องสอด ก็ชอบที่ศาลจะพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการคำว่า "METALTECH" ของผู้ร้องสอดได้
ในชั้นพิจารณาคำคัดค้านของโจทก์โดยนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและการพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์โดยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าย่อมเป็นผู้ทำหน้าที่พิจารณาและวินิจฉัยปัญหาข้อโต้แย้งระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดว่าใครเป็นผู้มีสิทธิดีกว่า ซึ่งย่อมต้องนำข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในการที่โจทก์กับผู้ร้องสอดทำสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความกันนั้นมาใช้ประกอบการพิจารณาวินิจฉัยถึงสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาดังกล่าวที่มีผลผูกพันคู่สัญญาและแสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิดีกว่า มิใช่จะถือเพียงว่าสัญญาดังกล่าวรวมทั้งคำพิพากษาตามยอมนั้นไม่มีผลผูกพันนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
ส่วนที่โจทก์ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเนื่องจากนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยคำคัดค้านการขอจดทะเบียนของผู้ร้องสอดไม่ถูกต้อง การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 อันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้อง ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4230/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องชำระภาษีค้างจ่ายก่อนฟ้องคดี
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้ามีผู้ยื่นฟ้องต่อศาลตามความในมาตรา 31 ท่านห้ามมิให้ศาลประทับเป็นฟ้องตามกฎหมาย เว้นแต่จะเป็นที่พอใจศาลว่าผู้รับประเมินได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนดต้องชำระ เพราะเวลาซึ่งท่านให้ไว้ตาม มาตรา 38 นั้น ได้สิ้นไปแล้ว หรือจะถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาล เห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จะมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดต่อศาลได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินทั้งสิ้นก่อนโจทก์ฟ้องคดีหรือจะสิ้นสุดในระหว่างที่คดียังอยู่ในศาล คดีนี้แม้โจทก์จะได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้ผ่อนชำระเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินพิพาทเป็น 3 งวด และโจทก์ผ่อนชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามกำหนด โดยผ่อนชำระก่อนฟ้อง 2 งวด แต่การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องก่อนที่จะผ่อนชำระเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินงวดที่ 3 อันเป็นงวดสุดท้ายก็ยังถือเป็นกรณีที่โจทก์ยื่นฟ้องก่อนชำระค่าภาษีทั้งสิ้น เมื่อโจทก์ยังมิได้ชำระค่าภาษีดังกล่าวทั้งสิ้น แต่เพิ่งมาชำระหลังจากได้ยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลภาษีอากรกลางจะรับฟังไว้พิจารณามิได้ บทบัญญัติ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 39 เป็นบทกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของผู้จะฟ้องคดี ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจึงยกบทกฎหมายดังกล่าวขึ้นชี้ขาดคดีได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และ 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญากู้เงิน: การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ใช่เบี้ยปรับ
ตามสัญญากู้เงินข้อ 1 นะบุว่า ในระยะ 3 ปีแรกนับแต่วันทำสัญญากู้เงิน โจทก์มึสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราคงที่หลังจากนั้นโจทก์จึงมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ แต่ถ้าจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้เมื่อใด ตามสัญญากู้เงินข้อ 3 ให้สิทธิโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ล่วงพ้น 3 ปี ดังนั้น เมื่อจำเลยผิดนัดแล้ว โจทก์จึงปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นเป็นร้อยละ 13.50 ต่อปี อันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญากู้เงินข้อ 3 ซึ่งหากจำเลยไม่ผิดนัดโจทก์ยังไม่มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นในขณะนั้นได้ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นจึงมิใช่เป็นการเรียกเอาดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินอันเป็นดอกผลนิตินัยตามปกติ แต่มีลักษณะเป็นการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้อันเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 13.50 ต่อปี เป็นเบี้ยปรับซึ่งกำหนดไว้สูงเกินส่วนและใช้ดุลพินิจลดจำนวนลงจึงชอบด้วยมาตรา 383
กรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลจะมีพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาเรื่องดอกเบี้ยโดยพิเคราะห์จากเอกสารที่โจทก์อ้างส่งเป็นพยานแล้วเห็นว่าเป็นเบี้ยปรับ เป็นการวินิจฉัยอยู่ในประเด็นตามคำฟ้อง มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างโมฆียะกรรมและการให้สัตยาบันโดยปริยาย การกระทำที่แสดงเจตนาปฏิบัติตามสัญญาหลังเหตุโมฆียะกรรมสูญสิ้นถือเป็นการให้สัตยาบัน
จำเลยไม่ได้ให้การว่าได้บอกล้างโมฆียะกรรมภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว การนำสืบของจำเลยที่ว่าได้โทรเลขแจ้งบอกล้างนิติกรรมไปยังโจทก์ก่อนวันที่พากันไปที่สำนักงานที่ดินจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกล้างโมฆียะกรรมก่อนวันที่โจทก์จำเลยพากันไปยังสำนักงานที่ดินเพื่อโอนที่ดินพิพาท แม้วันดังกล่าวภรรยาจำเลยคัดค้านว่า ที่ดินพิพาทเป็นของตนครึ่งหนึ่งจึงจดทะเบียนโอนกันไม่ได้ แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทที่ทำไว้กับโจทก์ตลอดมา จำเลยได้กระทำการดังกล่าวภายหลังเวลาที่มูลเหตุให้เป็นโมฆียะกรรมนั้นได้สูญสิ้นไปแล้ว การที่จำเลยไปที่สำนักงานที่ดินเพื่อโอนที่ดินให้โจทก์อันเป็นการชำระหนี้ตามโมฆียะกรรมโดยจำเลยมิได้แสดงแย้งสงวนสิทธิไว้แจ้งชัดประการใด ถือได้ว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมนั้นแล้วโดยปริยาย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงสมบูรณ์
คำให้การต่อสู้คดีนี้ของจำเลยฟังว่า จำเลยทำสัญญาดังกล่าวเพราะหลงเชื่อที่โจทก์นำความเท็จมาหลอกลวง สัญญาจึงตกเป็นโมฆะนั้น แม้จะถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรม แต่เมื่อจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมก่อนยื่นคำให้การแล้ว ย่อมถือว่าการนั้นเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ไม่อาจบอกล้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการเรียกดอกเบี้ยเกิน 5 ปี แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงและชำระหนี้บางส่วน
ในชั้นอุทธรณ์โจทก์ขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเพียง5 ปี ในชั้นฎีกาโจทก์จะขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันกู้ถึงวันฟ้องซึ่งเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันสัญญาขายฝาก สินสมรส การติดตามทรัพย์คืนไม่ถือเป็นการให้สัตยาบัน
จำเลยและจำเลยร่วมเป็นสามีภรรยากันตามกฎหมาย จำเลยขายฝากทรัพย์ที่เป็นสินสมรสไว้แก่โจทก์โดยจำเลยร่วมมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย การที่จำเลยร่วมทราบเรื่องการขายฝากแล้วได้ติดต่อขอซื้อทรัพย์ดังกล่าวคืนจากโจทก์เป็นเรื่องที่จำเลยร่วมติดตามเอาทรัพย์ของตนคืนถือไม่ได้ว่าเป็นการชำระหนี้หรือเรียกทวงให้ชำระหนี้อันจะถือเป็นการให้สัตยาบันแก่การขายฝาก และที่จำเลยร่วมทราบแล้วไม่ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาขายฝากก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันสัญญาขายฝาก: การติดต่อขอซื้อคืนทรัพย์สินไม่ถือเป็นการให้สัตยาบัน
จำเลยและจำเลยร่วมเป็นสามีภรรยากันตามกฎหมาย จำเลยได้ขายฝากทรัพย์ที่เป็นสินสมรสไว้แก่โจทก์โดยจำเลยร่วมมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยการที่จำเลยร่วมทราบเรื่องการขายฝากแล้วได้ไปติดต่อขอซื้อทรัพย์ที่เป็นสินสมรสดังกล่าวคืนจากโจทก์ เป็นเรื่องที่จำเลยร่วมใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของตนคืน ถือไม่ได้ว่าเป็นการชำระหนี้หรือเรียกทวงให้ชำระหนี้อันจะถือเป็นการให้สัตยาบันแก่การขายฝาก (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2534).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอในคดีขับไล่: ศาลยึดตามเจตนาของคู่ความ แม้เลขที่บ้านไม่ตรงกัน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยปลูกบ้านเลขที่7/29 ลงบนที่ดินแปลงที่จำเลยเช่า ส่วนคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยรื้อถอนบ้านเลขที่ 7 ออกไป ซึ่งแม้เลขที่บ้านจะไม่ตรงกับที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าบ้านที่จำเลยปลูกในที่ดินที่เช่านั้นมีหลังอื่นอีก จึงย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า บ้านที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องก็คือบ้านหลังที่โจทก์ขอให้จำเลยรื้อถอนออกไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ทั้งการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนบ้านที่ปลูกในที่ดินที่เช่าออกไปนั้น ไม่จำเป็นต้องระบุเลขที่บ้านก็มีผลบังคับได้อยู่แล้ว เพราะเมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินที่เช่าแล้ว จำเลยก็ต้องขนย้ายทรัพย์สินของจำเลยทั้งหมดออกไปรวมทั้งบ้านที่ปลูกไว้ด้วย ดังนั้นคำพิพากษาที่ให้รื้อบ้านเลขที่ 7/29 ของจำเลยออกไปจากที่ดินที่เช่าจึงหาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันหนี้, หนี้ร่วม, และขอบเขตความรับผิดของสามีในหนี้ที่ภรรยาก่อขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาต
การให้สัตยาบันคือการแสดงการรับรองยอมรับผิดในหนี้นั้นหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังที่ระบุไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 142 โจทก์มี หนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ที่ภริยาจำเลยกู้เงินโจทก์ จำเลยแจ้งว่าจำเลยยอมรับผิดชดใช้เฉพาะหนี้เงินกู้รายหนึ่ง ส่วนหนี้เงินกู้รายอื่นจำเลยไม่ทราบเรื่อง กรณีจึงฟังไม่ได้ว่าหนี้เงินกู้รายอื่นที่ภริยาจำเลยก่อขึ้นนั้น จำเลยได้ให้สัตยาบันด้วย จำเลยต้องรับผิดในฐานะผู้จัดการมรดกของภริยา แต่ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2921/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องหนี้จากการไถ่ถอนจำนองและดอกเบี้ย ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ ไม่เพิ่มดอกเบี้ยตามที่โจทก์ขอ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี จำเลยเป็นฝ่ายฎีกา โจทก์มิได้ฎีกาแต่กล่าวมาในคำแก้ฎีกาว่าโจทก์มีสิทธิได้ดอกเบี้ยร้อยละสิบห้าต่อปี ศาลฎีกาจะพิพากษาเพิ่มดอกเบี้ยให้โจทก์หาได้ไม่ เพราะไม่มีคำขอและคำฟ้องฎีกา
of 3