พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของตัวการ ผู้ใช้ และผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานพยายามฆ่า
จำเลยทั้งสองเป็นพ่อลูกกันร่วมเดินทางมาด้วยกันแต่ไม่มีเจตนาคบคิดกันที่จะใช้อาวุธปืนที่จำเลยที่ 1 นำติดตัวมาไปยิงทำร้ายผู้ใดมาก่อน เป็นเรื่องที่มิได้คาดคิด การที่จำเลยที่ 2 พูดว่า ยิงเลยยิงเลย เป็นการก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดด้วยการยุยงส่งเสริม จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 84
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกระทำความผิดด้วยกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 84 จึงแตกต่างกับคำฟ้องในสาระสำคัญตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง จะลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดไม่ได้แต่การกระทำของจำเลยที่ 2 ถือได้ว่า เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 86 ด้วยศาลฎีกาลงโทษฐานเป็นผู้สนับสนุนได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกระทำความผิดด้วยกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 84 จึงแตกต่างกับคำฟ้องในสาระสำคัญตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง จะลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดไม่ได้แต่การกระทำของจำเลยที่ 2 ถือได้ว่า เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 86 ด้วยศาลฎีกาลงโทษฐานเป็นผู้สนับสนุนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการกระทำความผิดฐานพยายามฆ่า: ผู้พูดชักยวนให้กระทำผิดเป็นผู้สนับสนุนได้ แม้ฟ้องเป็นตัวการร่วม
การที่จำเลยที่ 2 พูดว่า ยิงเลย ยิงเลย เป็นการก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดด้วยการยุยงส่งเสริม จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกระทำความผิดด้วยกัน ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับคำฟ้องในสาระสำคัญอย่างมากตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง จะลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดไม่ได้ แต่การที่จำเลยที่ 2 พูดข้อความดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าโรงอาหารสถาบันราชภัฏ การครอบครองทรัพย์สิน และความผิดฐานบุกรุก
โจทก์เป็นผู้เช่าโรงอาหารที่เกิดเหตุประกอบการจำหน่ายอาหารภายในสถาบันราชภัฎ น. ระหว่างที่อยู่ในเวลาเช่าดังกล่าว จำเลยที่ 1 ในฐานะอธิการบดีสถาบันราชภัฎ น. ได้บอกเลิกสัญญาเช่าต่อโจทก์เนื่องจากโจทก์ผิดนัดชำระค่าเช่า แต่โจทก์ไม่ยอมขนย้ายทรัพย์สินออกจากโรงอาหารโดยอ้างว่าไม่ได้ผิดสัญญา และต่อมาจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดีขนย้ายทรัพย์สินของโจทก์ออกจากโรงอาหาร จำเลยที่ 2 สั่งการต่อให้จำเลยที่ 3 ดำเนินการตามคำสั่งดังกล่าว จำเลยที่ 3 จึงมีคำสั่งให้จำเลยที่ 4 ถึงที่ 7 กับพวกไปขนย้ายทรัพย์สินของโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 4 ถึงที่ 7 กับพวกได้ร่วมกันเข้าไปในโรงอาหารที่เกิดเหตุและขนย้ายทรัพย์สินของโจทก์ออกจากโรงอาหารไปเก็บไว้ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โรงอาหารที่เกิดเหตุเป็นส่วนหนึ่งของอาคารสถาบันราชภัฏ น. ไม่ปรากฏจากข้อสัญญาชัดแจ้งว่ามีการส่งมอบโรงอาหารที่เช่าให้โจทก์ครอบครองอย่างเป็นสิทธิครอบครองของโจทก์ทีเดียว เมื่อพิจารณาจากพฤติการณ์เห็นได้ว่าโจทก์และสถาบันมีเจตนาทำสัญญาเช่าโดยมีวัตถุประสงค์เพียงแต่ให้โจทก์ได้เข้าใช้ประโยชน์โรงอาหารของสถาบันในการจำหน่ายอาหารในพื้นที่ที่ได้จัดไว้ในเวลาเปิดบริการตามระเบียบของสถาบันเท่านั้น หาได้มอบการครอบครองโรงอาหารให้เป็นสิทธิขาดแก่โจทก์ดังเช่นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามธรรมดาไม่ การมอบลูกกุญแจโรงอาหารให้โจทก์ก็เพื่อให้ความสะดวกในการเข้าไปใช้พื้นที่โรงอาหารในการประกอบการของโจทก์เท่านั้น โดยสถาบันอนุญาตโจทก์รวมทั้งผู้เช่าช่วงพื้นที่จำหน่ายอาหารจากโจทก์สามารถเข้าไปใช้โรงอาหารที่เช่าเพื่อประกอบการจำหน่ายอาหารโดยใช้ลูกกุญแจที่มอบไว้แก่โจทก์ เมื่อโรงอาหารที่เกิดเหตุยังในความครอบครองของสถาบันราชภัฎ น. การสั่งการของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในการให้เข้าไปขนย้ายทรัพย์สินของโจทก์ในโรงอาหารที่เกิดเหตุ จึงไม่เป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุขอันจะเป็นความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองพื้นที่เช่าเพื่อประกอบการในสถานศึกษา ไม่ถือเป็นการรบกวนการครอบครองตามกฎหมายอาญา
โรงอาหารที่เกิดเหตุเป็นส่วนหนึ่งของอาคารสถาบันราชภัฎ น. โดยมีการปรับปรุงพื้นที่ชั้นล่างของอาคารเป็นห้องติดเครื่องปรับอากาศใช้เป็นสถานที่จำหน่ายอาหารให้แก่นักศึกษา อาจารย์และเจ้าหน้าที่ของสถาบัน ตามสัญญาเช่าสถานที่จำหน่ายอาหารที่โจทก์ทำกับสถาบันคงมีเพียงข้อสัญญาว่าสถาบันตกลงให้โจทก์เช่าโรงอาหารมีระยะเวลาที่กำหนด และกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ที่โจทก์ต้องปฏิบัติในการเข้าประกอบการไว้ ส่วนลักษณะสภาพการใช้โรงอาหารในการจำหน่ายอาหารของโจทก์นั้นไม่ปรากฏจากข้อสัญญาชัดแจ้งว่ามีการส่งมอบโรงอาหารที่เช่าให้โจทก์ครอบครองอย่างเป็นสิทธิครอบครองของโจทก์ทีเดียว หรือเป็นแต่เพียงให้โจทก์มีสิทธิเข้าใช้ประโยชน์โรงอาหารเพื่อจำหน่ายอาหารเท่านั้น จากประกาศสถาบันราชภัฎ น. ซึ่งเป็นที่มาของการเข้าทำสัญญาเช่าของโจทก์ ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ออกประกาศให้ผู้สนใจเข้าประกอบการจำหน่ายอาหารภายในโรงอาหารของสถาบันยื่นแบบแจ้งความประสงค์ต่อสถาบัน โดยมีการกำหนดเงื่อนไขการประกอบการไว้ในประกาศข้อ 4 และ 5 ว่า การเข้าประกอบการจำหน่ายอาหารภายในโรงอาหารของสถาบันอยู่ในความควบคุมของงานกิจการนักศึกษา โดยเป็นไปเพื่อสวัสดิการนักศึกษา และผู้เข้าประกอบการต้องยินดีปฏิบัติตามเงื่อนไขของคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลกิจการโรงอาหารของสถาบัน โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงความประสงค์เข้าประกอบการจำหน่ายอาหารต่อสถาบันตามประกาศดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้รับทราบข้อความและยินยอมตกลงตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศนั้นด้วย การใช้โรงอาหารเป็นสถานที่จำหน่ายอาหารของโจทก์ตามสัญญาเช่าจึงตกอยู่ในความควบคุมดูแลของคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ของสถาบัน โรงอาหารที่โจทก์เช่าใช้พื้นที่ห้องชั้นล่างของอาคารในบริเวณสถาบันเป็นที่จำหน่ายอาหารจึงมีสภาพเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันอันเป็นสถานศึกษาของทางราชการที่เจ้าหน้าที่ของสถาบันอาจต้องเข้าไปตรวจตราในบางโอกาสเพื่อดูแลเกี่ยวกับความปลอดภัยและรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย และหลังจากทำสัญญาเจ้าหน้าที่มอบลูกกุญแจโรงอาหารให้โจทก์ 1 ชุด และทางสถาบันเก็บไว้ 1 ชุด แสดงว่าโจทก์ทราบและยอมรับในการที่ทางสถาบันยังรักษาสิทธิที่จะให้เจ้าหน้าที่เข้าไปในโรงอาหารในเวลาหนึ่งเวลาใดได้อยู่เสมอ เห็นได้ว่าโจทก์และสถาบันมีเจตนาทำสัญญาเช่าโดยมีวัตถุประสงค์เพียงแต่ให้โจทก์ได้เข้าใช้ประโยชน์โรงอาหารของสถาบันในการจำหน่ายอาหารในพื้นที่ที่จัดไว้ในเวลาเปิดบริการตามระเบียบของสถาบันเท่านั้น หาได้มอบการครอบครองโรงอาหารให้เป็นสิทธิขาดแก่โจทก์ดังเช่นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามธรรมดาไม่ การมอบลูกกุญแจโรงอาหารให้โจทก์ก็เพื่อให้ความสะดวกในการเข้าไปใช้พื้นที่โรงอาหารในการประกอบการของโจทก์เท่านั้น โดยสถาบันอนุญาตโจทก์รวมทั้งผู้เช่าช่วงพื้นที่จำหน่ายอาหารจากโจทก์สามารถเข้าไปใช้โรงอาหารที่เช่าเพื่อประกอบการจำหน่ายอาหารโดยใช้ลูกกุญแจที่มอบให้ไว้แก่โจทก์ เมื่อโรงอาหารที่เกิดเหตุยังอยู่ในความครอบครองของสถาบันราชภัฎ น. การสั่งการของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในการให้เข้าไปขนย้ายทรัพย์สินของโจทก์ในโรงอาหารที่เกิดเหตุ จึงไม่เป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุข อันจะเป็นความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันฆ่าโดยเจตนา แต่ไม่มีการไตร่ตรองไว้ก่อน และประเด็นการมีส่วนร่วมในการมีอาวุธปืน
นับแต่เวลาที่จำเลยที่ 5 เข้าแย่งมีดจากผู้ตาย จนกระทั่งผู้ตายถูกจำเลยที่ 6 ใช้อาวุธปืนยิงถึงแก่ความตายไม่ปรากฏว่ามีผู้อื่นเข้าทำร้ายผู้ตายอีก บาดแผลของผู้ตายที่เกิดจากการถูกแทงด้วยของมีคมจึงต้องเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 5 ซึ่งสอดคล้องกับคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 5 และที่ 6 ที่ระบุว่าจำเลยที่ 5 เป็นคนใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายก่อนที่จำเลยที่ 6 จะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจนถึงแก่ความตาย หลังจากนั้นจำเลยที่ 5 และที่ 6 จึงได้รีบพากันหลบหนีไปด้วยกันโดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะ ทำให้เชื่อได้ว่าเหตุการณ์เป็นไปตามคำให้การของจำเลยที่ 5 และที่ 6 ในชั้นสอบสวน ซึ่งให้การหลังเกิดเหตุเพียง 2 วัน ยิ่งกว่าจะเป็นไปตามคำเบิกความหลังเกิดเหตุนานถึง 3 ปี การที่จำเลยที่ 5 และที่ 6 ร่วมกันใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายและใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจนถึงแก่ความตายแล้วรีบพากันหลบหนีไปด้วยกัน แสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 5 และที่ 6 มีเจตนาร่วมกันฆ่าผู้ตาย จำเลยที่ 5 จึงเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 6 กระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ว่า ร่วมกันว่าจ้างจำเลยที่ 5 และที่ 6 ให้ฆ่าผู้ตาย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 โจทก์มิได้อุทธรณ์ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ถึงที่สุดแล้ว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ว่าจ้างให้จำเลยที่ 5 และที่ 6 ไปฆ่าผู้ตาย โจทก์คงมีเพียงบันทึกคำให้การในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 5 และที่ 6 ที่ให้การรับสารภาพว่า จำเลยที่ 5 และที่ 6 รับจ้างจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ให้ไปฆ่าผู้ตาย ซึ่งเป็นพยานบอกเล่ามีน้ำหนักรับฟังน้อย และโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นรับฟังประกอบบันทึกคำให้การดังกล่าวกรณีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 และที่ 6 ได้รับจ้างจากผู้อื่นให้ไปฆ่าผู้ตายและพยานหลักฐานโจทก์เท่าที่นำสืบมาไม่มีน้ำหนักมั่นคงพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 และที่ 6 เตรียมวางแผนฆ่าผู้ตายไว้ล่วงหน้าอันจะเป็นการกระทำความผิดโดยไตร่ตรองไว้ก่อน การกระทำของจำเลยที่ 5 และที่ 6 จึงเป็นเพียงความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 83 เท่านั้น
ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 5 รู้มาก่อนว่าจำเลยที่ 6 พาอาวุธปืนติดตัวมาด้วยและจะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย จำเลยที่ 6 ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า จำเลยที่ 5 เพียงแต่ร่วมฆ่าผู้ตายโดยใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายอันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในฉับพฉันนั้นเอง ส่วนการที่จำเลยที่ 5 และที่ 6 หลบหนีไปด้วยกัน ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 5 มีส่วนร่วมกับการมีและพาอาวุธปืนของจำเลยที่ 6 ด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ว่า ร่วมกันว่าจ้างจำเลยที่ 5 และที่ 6 ให้ฆ่าผู้ตาย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 โจทก์มิได้อุทธรณ์ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ถึงที่สุดแล้ว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ว่าจ้างให้จำเลยที่ 5 และที่ 6 ไปฆ่าผู้ตาย โจทก์คงมีเพียงบันทึกคำให้การในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 5 และที่ 6 ที่ให้การรับสารภาพว่า จำเลยที่ 5 และที่ 6 รับจ้างจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ให้ไปฆ่าผู้ตาย ซึ่งเป็นพยานบอกเล่ามีน้ำหนักรับฟังน้อย และโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นรับฟังประกอบบันทึกคำให้การดังกล่าวกรณีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 และที่ 6 ได้รับจ้างจากผู้อื่นให้ไปฆ่าผู้ตายและพยานหลักฐานโจทก์เท่าที่นำสืบมาไม่มีน้ำหนักมั่นคงพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 และที่ 6 เตรียมวางแผนฆ่าผู้ตายไว้ล่วงหน้าอันจะเป็นการกระทำความผิดโดยไตร่ตรองไว้ก่อน การกระทำของจำเลยที่ 5 และที่ 6 จึงเป็นเพียงความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 83 เท่านั้น
ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 5 รู้มาก่อนว่าจำเลยที่ 6 พาอาวุธปืนติดตัวมาด้วยและจะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย จำเลยที่ 6 ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า จำเลยที่ 5 เพียงแต่ร่วมฆ่าผู้ตายโดยใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายอันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในฉับพฉันนั้นเอง ส่วนการที่จำเลยที่ 5 และที่ 6 หลบหนีไปด้วยกัน ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 5 มีส่วนร่วมกับการมีและพาอาวุธปืนของจำเลยที่ 6 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5318/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ผู้อื่นกระทำความผิดทางอาญา แม้ผู้ถูกใช้ไม่รู้ว่าเป็นการกระทำผิด ผู้ว่าจ้างก็ยังมีความผิด
จำเลยจ้างให้บุคคลที่ไม่รู้มาก่อนว่าที่ดินบริเวณที่เกิดเหตุเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ให้นำรถไถไปไถที่ดินบริเวณดังกล่าว จึงไม่ใช่เป็นการใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด เพราะผู้ถูกใช้ไม่รู้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด แต่เป็นการใช้บุคคลเหล่านั้นเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด ถือว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเองโดยอ้อม จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 และมาตรา 31 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610-2611/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: ความรับผิดของผู้ใช้และผู้สนับสนุน
การที่จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพและซัดทอดในชั้นจับกุมว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางทั้งหมดเป็นของจำเลยที่ 3 ฝากให้จำหน่ายนั้น เป็นการให้การต่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมทันทีในวันที่ถูกจับ จึงเป็นการยากที่จำเลยที่ 2 จะปรุงแต่งเรื่องขึ้นเพื่อต่อสู้หรือปรักปรำจำเลยที่ 3 และแม้จะถือได้ว่าเป็นคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันก็ตาม แต่คำซัดทอดดังกล่าวก็มิได้เป็นเรื่องการปัดความผิดของจำเลยที่ 2 ผู้ซัดทอดให้เป็นความผิดของจำเลยที่ 3 แต่ผู้เดียวคงเป็นการแจ้งเรื่องราวถึงเหตุการณ์ที่จำเลยที่ 2 ได้ประสบมาจากการกระทำความผิดของตนยิ่งกว่าเป็นการปรักปรำจำเลยที่ 3 เมื่อนำมาพิจารณาประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์แล้ว ถือเป็นคำซัดทอดที่ชอบด้วยเหตุผลพอให้รับฟังว่าเป็นความจริงที่เกิดขึ้น
การที่จำเลยที่ 3 ฝากให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นการก่อให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำความผิดดังกล่าว จำเลยที่ 3 จึงเป็นผู้ใช้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม ป.อ. มาตรา 84 มิใช่เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดด้วยกันตามมาตรา 83 ดังที่โจทก์ฟ้อง ซึ่งเป็นการแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ ย่อมลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง แต่การกระทำความผิดของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม ป.อ. มาตรา 86 ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นผู้สนับสนุนได้
การที่จำเลยที่ 3 ฝากให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นการก่อให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำความผิดดังกล่าว จำเลยที่ 3 จึงเป็นผู้ใช้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม ป.อ. มาตรา 84 มิใช่เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดด้วยกันตามมาตรา 83 ดังที่โจทก์ฟ้อง ซึ่งเป็นการแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ ย่อมลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง แต่การกระทำความผิดของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม ป.อ. มาตรา 86 ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นผู้สนับสนุนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7768/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุจริตจัดซื้อที่ดิน - ความผิดฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อทรัพย์และแจ้งความเท็จ - ความผิดกรรมเดียว
แม้ขณะเกิดเหตุ ว. จะเข้ามาดำรงตำแหน่งปลัดเมืองพัทยาโดยการว่าจ้างตามความในมาตรา 50 ของ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ.2521 แต่ปลัดเมืองพัทยาก็มีฐานะเป็นพนักงานเมืองพัทยาตามความในมาตรา 64 และพนักงานเมืองพัทยามีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ. ตามความในมาตรา 66 ของพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวที่ใช้บังคับในขณะกระทำความผิดคดีนี้ ดังนั้น หากขณะดำรงตำแหน่งปลัดเมืองพัทยา ว. ได้กระทำการใดผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และ ว. มิได้ถึงแก่ความตายเสียก่อน ว. ก็ต้องรับผิดในทางอาญาในฐานะเจ้าพนักงานตามที่ ป.อ. มาตรา 2 และมาตรา 147 ถึงมาตรา 166 บัญญัติไว้ แม้จะปรากฏว่าภายหลังกระทำความผิดได้มี พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ.2542 มาตรา 3 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ.2521 และมีบทบัญญัติเกี่ยวกับที่มาของผู้ดำรงตำแหน่งปลัดเมืองพัทยาแตกต่างจากกฎหมายเดิม แต่ความผิดที่ ว. ถูกกล่าวหาในคดีนี้มิได้มีการยกเลิกไปและก็มิได้เป็นเรื่องที่กฎหมายใหม่บัญญัติว่าการกระทำใดไม่เป็นความผิดหรือกำหนดโทษเป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 จะอ้าง ป.อ. มาตรา 2 และมาตรา 3 มาเป็นประโยชน์แก่คดีของจำเลยที่ 1 ได้
จำเลยที่ 3 กับพวกได้ร่วมกันใช้หรือจ้างวานให้นาย อ. กับ ส. ไปแจ้งแก่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี สาขาบางละมุง ให้จดทะเบียนทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 42827 ในราคา 1,200,000 บาท และจำเลยที่ 3 กับพวก ได้ร่วมกันใช้หรือจ้างวานให้ ย. กับ อ. ไปแจ้งแก่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี สาขาบางละมุง ให้จดทะเบียนทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 42958 ในราคา 1,400,000 บาท อันเป็นความเท็จ ความจริงแล้วบุคคลทั้งสี่ดังกล่าวมิได้มีเจตนาซื้อขายที่ดินกันจริง เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี สาขาบางละมุง หลงเชื่อว่าเป็นความจริง จึงดำเนินการจดทะเบียนทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินดังกล่าวในเอกสารสัญญาซื้อขายที่ดิน และบันทึกในสารบัญจดทะเบียนในโฉนดที่ดินดังกล่าวอันเป็นเอกสารมหาชนและเอกสารราชการ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่เมืองพัทยา ผู้อื่นหรือประชาชน จำเลยที่ 3 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนและเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 267 ประกอบมาตรา 84
เมื่อ ว. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 151 และเมื่อการกระทำของ ว. เป็นความผิดตามมาตรา 151 อันเป็นบทเฉพาะแล้ว ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ใช่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดซื้อที่ดินของเมืองพัทยาด้วย จึงขาดคุณสมบัติเฉพาะตัวอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 151 แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ก็เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการกระทำความผิดดังกล่าวของ ว. จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อทรัพย์ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตตาม ป.อ. มาตรา 151 ประกอบด้วยมาตรา 86 อันเป็นความผิดบทเฉพาะและไม่เป็นความผิดตามมาตรา 157 ประกอบด้วยมาตรา 86 เป็นบททั่วไปเช่นเดียวกัน เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 จึงไม่มีประโยชน์ที่จะต้องยกข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับมาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 ตามที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 อ้างมาในฎีกาขึ้นวินิจฉัย
ความผิดฐานให้สินบนเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 นั้น มีลักษณะเป็นการยุยงส่งเสริมก่อให้ ว. ปลัดเมืองพัทยากระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อทรัพย์ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอยู่ในตัว แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามทางพิจารณาว่า ในช่วงวันเวลาที่โจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ให้สินบนหรือเป็นผู้ยุยงส่งเสริมให้ ว. ปลัดเมืองพัทยากระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อทรัพย์ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต ได้เป็นตัวการร่วมกับ ว. กับพวกกระทำการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อที่ดินสำหรับใช้เป็นที่ทิ้งขยะเมืองพัทยาอย่างเป็นขบวนการโดยมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อันมีลักษณะเป็นการแบ่งหน้าที่กันกระทำมาแต่ต้นจนกระทั่งความผิดสำเร็จ เพียงแต่จำเลยที่ 1 ขาดคุณสมบัติการเป็นเจ้าพนักงาน จึงรับโทษแค่เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของ ว. กับพวกดังกล่าว ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยที่ 1 จะได้กระทำความผิดฐานให้สินบนแก่เจ้าพนักงานหรือไม่ก็ตาม ความผิดฐานให้สินบนแก่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ย่อมเกลื่อนกลืนเป็นการกระทำความผิดในกรรมเดียวกับความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน (มีหน้าที่ซื้อทรัพย์) ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตแล้ว ศาลฎีกาย่อมลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานะเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน (มีหน้าที่ซื้อทรัพย์) ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต ได้แต่เพียงบทเดียวเท่านั้น กรณีนี้ไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานให้สินบนแก่เจ้าพนักงานอันเป็นบทเฉพาะเจาะจงแล้ว จึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน (มีหน้าที่ซื้อทรัพย์) ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอีก
การกระทำของจำเลยที่ 3 ตามคำฟ้องข้อ (ข) (ง) และข้อ (ฉ) เป็นการกระทำต่อผู้เสียหายต่างคนกันและเป็นเหตุการณ์คนละตอนกัน แม้จะอยู่ในแผนการทุจริตคอร์รัปชันเดียวกัน ก็มีการกระทำหลายอย่างและแต่ละอย่างเป็นความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติ การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบททั้งฐานใช้ให้ผู้อื่นแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ และฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อทรัพย์ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตตามคำฟ้องข้อ (ง) (ฉ) และ (ข)
จำเลยที่ 3 กับพวกได้ร่วมกันใช้หรือจ้างวานให้นาย อ. กับ ส. ไปแจ้งแก่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี สาขาบางละมุง ให้จดทะเบียนทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 42827 ในราคา 1,200,000 บาท และจำเลยที่ 3 กับพวก ได้ร่วมกันใช้หรือจ้างวานให้ ย. กับ อ. ไปแจ้งแก่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี สาขาบางละมุง ให้จดทะเบียนทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 42958 ในราคา 1,400,000 บาท อันเป็นความเท็จ ความจริงแล้วบุคคลทั้งสี่ดังกล่าวมิได้มีเจตนาซื้อขายที่ดินกันจริง เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี สาขาบางละมุง หลงเชื่อว่าเป็นความจริง จึงดำเนินการจดทะเบียนทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินดังกล่าวในเอกสารสัญญาซื้อขายที่ดิน และบันทึกในสารบัญจดทะเบียนในโฉนดที่ดินดังกล่าวอันเป็นเอกสารมหาชนและเอกสารราชการ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่เมืองพัทยา ผู้อื่นหรือประชาชน จำเลยที่ 3 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนและเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 267 ประกอบมาตรา 84
เมื่อ ว. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 151 และเมื่อการกระทำของ ว. เป็นความผิดตามมาตรา 151 อันเป็นบทเฉพาะแล้ว ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ใช่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดซื้อที่ดินของเมืองพัทยาด้วย จึงขาดคุณสมบัติเฉพาะตัวอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 151 แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ก็เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการกระทำความผิดดังกล่าวของ ว. จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อทรัพย์ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตตาม ป.อ. มาตรา 151 ประกอบด้วยมาตรา 86 อันเป็นความผิดบทเฉพาะและไม่เป็นความผิดตามมาตรา 157 ประกอบด้วยมาตรา 86 เป็นบททั่วไปเช่นเดียวกัน เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 จึงไม่มีประโยชน์ที่จะต้องยกข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับมาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 ตามที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 อ้างมาในฎีกาขึ้นวินิจฉัย
ความผิดฐานให้สินบนเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 นั้น มีลักษณะเป็นการยุยงส่งเสริมก่อให้ ว. ปลัดเมืองพัทยากระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อทรัพย์ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอยู่ในตัว แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามทางพิจารณาว่า ในช่วงวันเวลาที่โจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ให้สินบนหรือเป็นผู้ยุยงส่งเสริมให้ ว. ปลัดเมืองพัทยากระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อทรัพย์ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต ได้เป็นตัวการร่วมกับ ว. กับพวกกระทำการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อที่ดินสำหรับใช้เป็นที่ทิ้งขยะเมืองพัทยาอย่างเป็นขบวนการโดยมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อันมีลักษณะเป็นการแบ่งหน้าที่กันกระทำมาแต่ต้นจนกระทั่งความผิดสำเร็จ เพียงแต่จำเลยที่ 1 ขาดคุณสมบัติการเป็นเจ้าพนักงาน จึงรับโทษแค่เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของ ว. กับพวกดังกล่าว ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยที่ 1 จะได้กระทำความผิดฐานให้สินบนแก่เจ้าพนักงานหรือไม่ก็ตาม ความผิดฐานให้สินบนแก่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ย่อมเกลื่อนกลืนเป็นการกระทำความผิดในกรรมเดียวกับความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน (มีหน้าที่ซื้อทรัพย์) ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตแล้ว ศาลฎีกาย่อมลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานะเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน (มีหน้าที่ซื้อทรัพย์) ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต ได้แต่เพียงบทเดียวเท่านั้น กรณีนี้ไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานให้สินบนแก่เจ้าพนักงานอันเป็นบทเฉพาะเจาะจงแล้ว จึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน (มีหน้าที่ซื้อทรัพย์) ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอีก
การกระทำของจำเลยที่ 3 ตามคำฟ้องข้อ (ข) (ง) และข้อ (ฉ) เป็นการกระทำต่อผู้เสียหายต่างคนกันและเป็นเหตุการณ์คนละตอนกัน แม้จะอยู่ในแผนการทุจริตคอร์รัปชันเดียวกัน ก็มีการกระทำหลายอย่างและแต่ละอย่างเป็นความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติ การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบททั้งฐานใช้ให้ผู้อื่นแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ และฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อทรัพย์ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตตามคำฟ้องข้อ (ง) (ฉ) และ (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3997/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงเอกสารรถยนต์, การแจ้งความเท็จ, และการลงโทษกรรมเดียว
การที่จำเลยที่ 1 ตัดโครงคัสซีของรถยนต์ของกลางบริเวณตัวอักษรตัวเลขออกแล้วนำชิ้นส่วนของโครงคัสซีที่ระบุตัวอักษรตัวเลขอื่นมาเชื่อมติดใหม่ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ขุดลบ แก้ไข เปลี่ยนแปลงตัวอักษรตัวเลขคัสซีแต่อย่างใดการกระทำของจำเลขที่ 1 ดังกล่าวจึงไม่อาจเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตัวอักษรตัวเลขคัสซี
การที่จำเลยที่ 1 ใช้ให้ผู้อื่นทำลายตัวอักษรตัวเลขที่ปรากฏอยู่บนเครื่องยนต์ของรถยนต์ของกลางแล้วตอกตัวอักษรตัวเลขให้ตรงกับตัวอักษรตัวเลขของเครื่องยนต์ที่จำเลขที่ 1 ซื้อจากบุคคลอื่น แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการปลอมแปลงเอกสารดังกล่าวโดยไม่ได้บรรยายว่าโจทก์เป็นผู้ใช้ ศาลจึงลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารดังกล่าวไม่ได้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดฐานสนับสนุนการกระทำความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารตัวอักษรตัวเลขของเครื่องรถยนต์ของกลาง ตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก ประกอบมาตรา 86 เท่านั้น
การที่จำเลขที่ 1 นำรถยนต์ของกลางซึ่งมีการปลอมตัวอักษรเลขเครื่องยนต์ไปแจ้งข้อความอันเป็นเท็จจริงต่อเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกฯ ก็เพื่อประโยชน์ของจำเลขที่ 1 ในการใช้หลักฐานปลอมดังกล่าวโดยมุ่งประสงค์ให้เจ้าหน้าที่เหล่านั้นหลงเชื่อว่ารถยนต์ของกลางประกอบขึ้นจากโครงคัสซี เครื่องยนต์ อุปกรณ์ส่วนต่าง ๆ จากชิ้นส่วนรถยนต์เก่าจนเจ้าหน้าที่เหล่านั้นหลงเชื่อรับจดทะเบียนรถยนต์ของกลางสมดังเจตนาของจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
การที่จำเลยที่ 1 ใช้ให้ผู้อื่นทำลายตัวอักษรตัวเลขที่ปรากฏอยู่บนเครื่องยนต์ของรถยนต์ของกลางแล้วตอกตัวอักษรตัวเลขให้ตรงกับตัวอักษรตัวเลขของเครื่องยนต์ที่จำเลขที่ 1 ซื้อจากบุคคลอื่น แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการปลอมแปลงเอกสารดังกล่าวโดยไม่ได้บรรยายว่าโจทก์เป็นผู้ใช้ ศาลจึงลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารดังกล่าวไม่ได้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดฐานสนับสนุนการกระทำความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารตัวอักษรตัวเลขของเครื่องรถยนต์ของกลาง ตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก ประกอบมาตรา 86 เท่านั้น
การที่จำเลขที่ 1 นำรถยนต์ของกลางซึ่งมีการปลอมตัวอักษรเลขเครื่องยนต์ไปแจ้งข้อความอันเป็นเท็จจริงต่อเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกฯ ก็เพื่อประโยชน์ของจำเลขที่ 1 ในการใช้หลักฐานปลอมดังกล่าวโดยมุ่งประสงค์ให้เจ้าหน้าที่เหล่านั้นหลงเชื่อว่ารถยนต์ของกลางประกอบขึ้นจากโครงคัสซี เครื่องยนต์ อุปกรณ์ส่วนต่าง ๆ จากชิ้นส่วนรถยนต์เก่าจนเจ้าหน้าที่เหล่านั้นหลงเชื่อรับจดทะเบียนรถยนต์ของกลางสมดังเจตนาของจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6742/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้สนับสนุนนำเข้ายาเสพติด: การตีความตัวการ vs ผู้สนับสนุน และการใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่
การที่จำเลยซึ่งอยู่ในฝั่งประเทศไทยตะโกนข้ามแม่น้ำเหืองที่กั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สั่งซื้อเมทแอมเฟตามีนและกัญชาจากพวกของจำเลยที่ยืนอยู่ที่ฝั่งลาว โดยจำเลยไม่ได้เดินทางออกนอกประเทศ แม้พวกของจำเลยจะนำเมทแอมเฟตามีนและกัญชาดังกล่าวข้ามเขตมามอบให้ก็น่าจะเป็นเพราะจำเลยสั่งซื้อ ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ก่อให้พวกของจำเลยนำเข้าซึ่งยาเสพติดให้โทษตาม ป.อ. มาตรา 84 มิใช่เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดด้วยกันตามมาตรา 83 ดังที่โจทก์ฟ้อง ซึ่งเป็นการแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ ย่อมลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง แต่การตะโกนสั่งซื้อของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่าเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86 ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษฐานเป็นผู้สนับสนุนได้