พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานใช้อำนาจมิชอบเรียกเก็บเงินจากผู้ขับรถ แม้ไม่มีความผิด เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 148/149
คืนเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันใช้จำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่เจ้าพนักงานตำรวจให้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ เพื่อเป็นเครื่องมือให้ไปเรียกเก็บเงินจากบรรดาคนขับรถยนต์บรรทุกที่แล่นผ่านไปมาไม่เลือกว่าคนขับรถนั้นจะได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหรือไม่ โดยจำเลยที่ 1เข้าไปพูดกับคนขับรถว่า "ตามธรรมเนียม" คนขับรถนั้นแม้มิได้กระทำความผิดก็ต้องจำใจจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ด้วยความเกรงกลัวต่ออำนาจในการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ การกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ดังกล่าวเป็นการร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบข่มขืนใจเพื่อให้คนขับรถยนต์บรรทุกมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นพวกของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 148 แล้วและหากรถยนต์บรรทุกคันใดมีการกระทำที่เป็นความผิดต่อกฎหมาย ถ้าจำเลยที่ 1เรียกเอาเงินจากคนขับรถได้แล้ว จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็จะไม่ทำการจับกุมการกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ดังกล่าวย่อมเป็นการร่วมกันเรียกและรับเงินจากคนขับรถยนต์บรรทุกสำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อไม่กระทำการในตำแหน่งคือไม่จับกุมตามหน้าที่ อันเป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 149 แต่คืนเกิดเหตุมีการเรียกเก็บเงินหลายครั้งหลายหน จากบรรดาคนขับรถหลาย ๆ คนดังนี้ เมื่อโจทก์รวมการกระทำเหล่านี้ไว้ในฟ้องข้อเดียวกันโดยถือเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท คือผิดทั้งป.อ.มาตรา 148 และ 149 จึงต้องบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์ ซึ่งแต่ละบทมาตรามีโทษเท่ากัน และเมื่อผิดตามบทเฉพาะเช่นนี้แล้วก็ไม่จำต้องปรับบทความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3105/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามปล้นทรัพย์, สนับสนุนความผิด, มีอาวุธปืน, วิทยุคมนาคม, และบทลงโทษ
จำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกอีก 2 คน กระทำความผิดฐานพยายาม ปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนการปล้นทรัพย์ผู้เสียหายโดยกำหนดให้จำเลยที่ 2 และ ส.กับพวกเข้าไปปล้นทรัพย์ในบ้านผู้เสียหาย ส่วนจำเลยที่ 3กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกเข้าทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย จากนั้นจำเลยที่ 3 และที่ 1 ไปรออยู่ที่ร้านอาหาร และย้อนกลับมาดูจำเลยที่ 2 กับพวก เมื่อทราบว่าจำเลยที่ 2 กับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหายไม่สำเร็จและจำเลยที่ 2 ถูกเจ้าพนักงานตำรวจสกัดจับโดยพวกของจำเลยที่ 2 หลบหนีไปได้การที่จำเลยที่ 3 อยู่กับจำเลยที่ 1และที่ 2 ในเวลาใกล้ชิดกับเวลาเกิดเหตุ และจำเลยที่ 3เป็นผู้วางแผนในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้ แม้จำเลยที่ 3จะไม่ได้ร่วมลงมือกระทำการปล้นทรัพย์กับจำเลยที่ 2 และพวกอีก 2 คนก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 กับพวกดังกล่าวคิดจะไปปล้นทรัพย์ผู้เสียหายอยู่ก่อนแล้ว กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ก่อหรือผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกันปล้นทรัพย์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และพวกอีก 2 คนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้ก่อหรือผู้ใช้อื่นกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 จึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นตัวการผู้ร่วมกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง แต่การที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนในการปล้นทรัพย์ และจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกอีก 2 คน ลงจากรถยนต์กระบะไปทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 80 และ 86 และลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานดังกล่าวได้ ไม่เกินคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคหนึ่ง แม้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้มีการใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้กับผู้เสียหาย แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที 2 หรือจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวไว้ในครอบครองและพาติดตัวมาใช้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้ และไม่ปรากฏว่าคนร้ายคนใดเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิง ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ให้การปฏิเสธในข้อหามีและพาอาวุธปืนตลอดมา จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานร่วมกันมีและพาอาวุธปืนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จำเลยที่ 1 เพียงแต่ขับรถยนต์กระบะไปส่งจำเลยที่ 2กับพวกอีก 2 คน ไปทำการปล้นทรัพย์บ้านผู้เสียหายและกลับไปพบจำเลยที่ 2 กับพวก ภายหลังจากที่ปล้นทรัพย์ผู้เสียหายไม่สำเร็จและรับจำเลยที่ 2 กับพวกขึ้นรถแล้วมาถูกจับเท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กับพวกใช้รถยนต์ดังกล่าวเป็นยานพาหนะเพื่อกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม และเมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดในข้อหาร่วมกันมีและพาอาวุธปืนดังกล่าว และไม่อาจทราบได้ว่าผู้ที่ร่วมลงมือปล้นทรัพย์ครั้งนี้ผู้ใดเป็นผู้มีและใช้อาวุธปืน และยังฟังไม่ได้ว่าได้มีการใช้ยานพาหนะในการกระทำความผิดฐาน พยายามปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสี่ประกอบมาตรา 80 และ 86 เท่านั้น ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 3ต้องรับผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวกรณีไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนและใช้ยานพาหนะและลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3ฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวได้ และจะปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรีด้วยมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3105/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในฐานตัวการ ผู้สนับสนุน และการปรับบทลงโทษในความผิดพยายามปล้นทรัพย์
จำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกอีก 2 คน กระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนการปล้นทรัพย์ผู้เสียหายโดยกำหนดให้จำเลยที่ 2 และ ส.กับพวกเข้าไปปล้นทรัพย์ในบ้านผู้เสียหาย ส่วนจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกเข้าทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย จากนั้นจำเลยที่ 3 และที่ 1 ไปรออยู่ที่ร้านอาหาร และย้อนกลับมาดูจำเลยที่ 2 กับพวก เมื่อทราบว่าจำเลยที่ 2 กับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหายไม่สำเร็จและจำเลยที่ 2 ถูกเจ้าพนักงานตำรวจสกัดจับโดยพวกของจำเลยที่ 2 หลบหนีไปได้การที่จำเลยที่ 3 อยู่กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในเวลาใกล้ชิดกับเวลาเกิดเหตุ และจำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้ แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ได้ร่วมลงมือกระทำการปล้นทรัพย์กับจำเลยที่ 2 และพวกอีก 2 คนก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 กับพวกดังกล่าวคิดจะไปปล้นทรัพย์ผู้เสียหายอยู่ก่อนแล้ว กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ก่อหรือผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 84
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกันปล้นทรัพย์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และพวกอีก 2 คน ตาม ป.อ.มาตรา 83 ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในการพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้ก่อหรือผู้ใช้ผู้อื่นกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 84 จึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นตัวการผู้ร่วมกระทำผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง แต่การที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนในการปล้นทรัพย์ และจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกอีก 2 คนลงจากรถยนต์กระบะไปทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าว ตาม ป.อ.มาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 80 และ 86และลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานดังกล่าวได้ ไม่เกินคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
แม้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้มีการใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้กับผู้เสียหายแต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวไว้ในครอบครองและพาติดตัวมาใช้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้ และไม่ปรากฏว่าคนร้ายคนใดเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิง ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ให้การปฏิเสธในข้อหามีและพาอาวุธปืนตลอดมา จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานร่วมกันมีและพาอาวุธปืนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เพียงแต่ขับรถยนต์กระบะไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกอีก 2 คน ไปทำการปล้นทรัพย์บ้านผู้เสียหายและกลับไปพบจำเลยที่ 2 กับพวกภายหลังจากที่ปล้นทรัพย์ผู้เสียหายไม่สำเร็จและรับจำเลยที่ 2 กับพวกขึ้นรถแล้วมาถูกจับเท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กับพวกใช้รถยนต์ดังกล่าวเป็นยานพาหนะเพื่อกระทำผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม และเมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดในข้อหาร่วมกันมีและพาอาวุธปืนดังกล่าว และไม่อาจทราบได้ว่าผู้ที่ร่วมลงมือปล้นทรัพย์ครั้งนี้ผู้ใดเป็นผู้มีและใช้อาวุธปืน และยังฟังไม่ได้ว่าได้มีการใช้ยานพาหนะในการกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิงตาม ป.อ.มาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบมาตรา 80 และ 86 เท่านั้น ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องรับผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวกรณีไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนและใช้ยานพาหนะและลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวได้ และจะปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ.มาตรา 340 ตรี ด้วยมิได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกันปล้นทรัพย์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และพวกอีก 2 คน ตาม ป.อ.มาตรา 83 ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในการพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้ก่อหรือผู้ใช้ผู้อื่นกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 84 จึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นตัวการผู้ร่วมกระทำผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง แต่การที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนในการปล้นทรัพย์ และจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกอีก 2 คนลงจากรถยนต์กระบะไปทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าว ตาม ป.อ.มาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 80 และ 86และลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานดังกล่าวได้ ไม่เกินคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
แม้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้มีการใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้กับผู้เสียหายแต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวไว้ในครอบครองและพาติดตัวมาใช้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้ และไม่ปรากฏว่าคนร้ายคนใดเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิง ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ให้การปฏิเสธในข้อหามีและพาอาวุธปืนตลอดมา จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานร่วมกันมีและพาอาวุธปืนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เพียงแต่ขับรถยนต์กระบะไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกอีก 2 คน ไปทำการปล้นทรัพย์บ้านผู้เสียหายและกลับไปพบจำเลยที่ 2 กับพวกภายหลังจากที่ปล้นทรัพย์ผู้เสียหายไม่สำเร็จและรับจำเลยที่ 2 กับพวกขึ้นรถแล้วมาถูกจับเท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กับพวกใช้รถยนต์ดังกล่าวเป็นยานพาหนะเพื่อกระทำผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม และเมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดในข้อหาร่วมกันมีและพาอาวุธปืนดังกล่าว และไม่อาจทราบได้ว่าผู้ที่ร่วมลงมือปล้นทรัพย์ครั้งนี้ผู้ใดเป็นผู้มีและใช้อาวุธปืน และยังฟังไม่ได้ว่าได้มีการใช้ยานพาหนะในการกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิงตาม ป.อ.มาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบมาตรา 80 และ 86 เท่านั้น ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องรับผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวกรณีไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนและใช้ยานพาหนะและลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวได้ และจะปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ.มาตรา 340 ตรี ด้วยมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2472/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีชิงทรัพย์: คำรับสารภาพ, คำให้การร่วม, และความแตกต่างของฟ้อง
แม้บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของ ต. จะเป็นพยานบอกเล่าซึ่งโดยลำพังไม่อาจจะรับฟังชี้ลงไปได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้กระทำความผิด แต่อาจรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์มีพันตำรวจตรี ว.พนักงานสอบสวนเบิกความว่า จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพและมีรายละเอียดเป็นขั้นตอนโดยให้การในวันรุ่งขึ้นหลังจากวันที่ถูกจับ อีกทั้งยังได้ความจากคำเบิกความของร้อยตำรวจเอก ส. ว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ตรวจค้นจำเลยที่ 2 พบเงินสดอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2จำนวน 30,000 บาทเศษ ซึ่งจำเลยที่ 2 ให้การรับว่าเป็นเงินที่ได้มาจากการชิงทรัพย์ และได้นำเจ้าพนักงานตำรวจไปชี้จุดที่จำเลยที่ 2 นำทรัพย์สินบางส่วนที่ได้มาจากการชิงทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งสองไปฝังไว้ด้วยเช่นนี้ เมื่อพิจารณาคำให้การชั้นสอบสวนของ ต. ประกอบกับคำให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 และบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพแล้ว พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ชิงทรัพย์ผู้เสียหายจริงตามฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 1 นั้น นอกจากคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนแล้ง คงมีเพียงคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ชัดทอดว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดซึ่งเป็นคำชัดทอดระหว่างผู้กระทำความผิดด้วยกัน จึงยังไม่อาจรับฟังว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้อง แม้พยานหลักฐานของโจทก์จะฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือกระทำผิดฐานรับของโจร แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ด้วยการใช้จ้างวาน มิได้ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญกรณีย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2472/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีชิงทรัพย์ และขอบเขตการฟ้องคดีอาญาที่แตกต่างจากข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้
แม้บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของ ต.จะเป็นพยานบอกเล่าซึ่งโดยลำพังไม่อาจรับฟังชี้ลงไปได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้กระทำความผิด แต่อาจรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์มีพันตำรวจตรี ว. พนักงานสอบสวนเบิกความว่า จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ และมีรายละเอียดเป็นขั้นตอนโดยให้การในวันรุ่งขึ้นหลังจากวันที่ถูกจับ อีกทั้งยังได้ความจากคำเบิกความของร้อยตำรวจเอก ส.ว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ตรวจค้นจำเลยที่ 2 พบเงินสดอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 จำนวน 30,000 บาทเศษ ซึ่งจำเลยที่ 2 ให้การรับว่าเป็นเงินที่ได้มาจากการชิงทรัพย์ และได้นำเจ้าพนักงานตำรวจไปชี้จุดที่จำเลยที่ 2 นำทรัพย์สินบางส่วนที่ได้มาจากการชิงทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งสองไปฝังไว้ด้วยเช่นนี้ เมื่อพิจารณาคำให้การชั้นสอบสวนของ ต. ประกอบกับคำให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 และบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพแล้ว พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ชิงทรัพย์ผู้เสียหายจริงตามฟ้อง
ส่วนจำเลยที่ 1 นั้น นอกจากคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนแล้ว คงมีเพียงคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ซัดทอดว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดซึ่งเป็นคำชัดทอดระหว่างผู้กระทำความผิดด้วยกัน จึงยังไม่อาจรับฟังว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้อง
แม้พยานหลักฐานของโจทก์จะฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือกระทำผิดฐานรับของโจร แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ด้วยการใช้จ้างวาน มิได้ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ กรณีย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานรับของโจร ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสองได้
ส่วนจำเลยที่ 1 นั้น นอกจากคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนแล้ว คงมีเพียงคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ซัดทอดว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดซึ่งเป็นคำชัดทอดระหว่างผู้กระทำความผิดด้วยกัน จึงยังไม่อาจรับฟังว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้อง
แม้พยานหลักฐานของโจทก์จะฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือกระทำผิดฐานรับของโจร แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ด้วยการใช้จ้างวาน มิได้ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ กรณีย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานรับของโจร ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3044/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยุยงส่งเสริม vs. สนับสนุนการกระทำความผิด: ผู้ใช้ vs. ผู้สนับสนุน
เหตุเกิดเพราะการที่จำเลยที่1พยักหน้าและร้องว่าเอามันแล้วจำเลยที่2และที่3เข้าร่วมทำร้ายร่างกายผู้เสียหายถือได้ว่าจำเลยที่1ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดด้วยการยุยงส่งเสริมจึงเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา84มิใช่เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดด้วยกันตามมาตรา83ดังที่โจทก์ฟ้องจึงเป็นการแตกต่างกันในสาระสำคัญอย่างมากย่อมลงโทษจำเลยที่1ฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสองแต่การร้องบอกของจำเลยที่1ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การพิจารณาความผิดของจำเลยแต่ละคน, เจตนา, และขอบเขตความรับผิดชอบ
หัวข้อข่าวที่ว่า แอมบาสเดอร์เบี้ยวค่าเฟอร์นิเจอร์เจ้าของร้านฟ้องศาลเรียกหนี้ 1 ล้าน หมายถึงแอมบาสเดอร์ไม่จ่ายค่าเฟอร์นิเจอร์ เพราะไม่ซื่อตรงหรือโกง เจ้าของร้านฟ้องศาลเรียกหนี้ 1 ล้านบาท และหัวข้อข่าวดังกล่าวเป็นถ้อยคำของหนังสือพิมพ์เอง ประกอบกับข้อความในเนื้อข่าวเป็นการใส่ความโจทก์โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ทั้งปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3เคยให้จำเลยที่ 1 ลงโฆษณา ต่อมาโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 ยกเลิกจำเลยที่ 1 ได้ลงข่าวเกี่ยวกับฝ่ายโจทก์ในทางเสียหายตลอดมาก่อนคดีนี้โจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 เคยฟ้องจำเลยทั้งห้าในความผิดฐานหมิ่นประมาทแล้ว 3 คดี ดังนั้นจึงถือไม่ได้ว่าการลงข่าวดังกล่าวเป็นการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาล จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(4) จำเลยลงข่าวในหนังสือพิมพ์แนวหน้าตามฟ้องหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 1 และที่ 2 โดยในเนื้อข่าวระบุชื่อโจทก์ที่ 3 ว่าเป็นกรรมการของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 นอกจากจะเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แล้ว ยังเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 3 ผู้ถูกระบุชื่อว่าเป็นกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนดำเนินหรือปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 โจทก์ที่ 3 จึงเป็นผู้เสียหายด้วย จำเลยที่ 3 เป็นผู้อำนวยการรับผิดชอบภาคปฏิบัติการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการตลาดและมีอำนาจสั่งการเกี่ยวกับนโยบายของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 5 เป็นกรรมการเป็นผู้จัดการทั่วไปของจำเลยที่ 1มีหน้าที่ให้นโยบายในการบริหารของจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3เป็นผู้คัดเลือกหรือสั่งให้ลงพิมพ์หัวข้อข่าวและเนื้อหาหมิ่นประมาทโจทก์ ที่จำเลยที่ 3 และที่ 5 มีอำนาจในการให้นโยบายในการบริหารก็เป็นการบริหารของบริษัทจำเลยที่ 1 โดยทั่ว ๆ ไปไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 และที่ 5 ให้นโยบายว่า จะเสนอข่าวเกี่ยวกับหัวข้อข่าวและเนื้อข่าวหมิ่นประมาทโจทก์ คดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3และที่ 5 ได้ร่วมกระทำผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาทจากข่าวหนังสือพิมพ์: การพิสูจน์ความเสียหาย, ผู้เสียหาย, และขอบเขตความรับผิดของกรรมการ/ผู้บริหาร
หัวข้อข่าวที่ว่า แอมบาสเดอร์เบี้ยวค่าเฟอร์นิเจอร์เจ้าของร้านฟ้องศาลเรียกหนี้ 1 ล้าน หมายถึงแอมบาสเดอร์ไม่จ่ายค่าเฟอร์นิเจอร์ เพราะไม่ซื่อตรงหรือโกง เจ้าของร้านฟ้องศาลเรียกหนี้ 1 ล้านบาท และหัวข้อข่าวดังกล่าวเป็นถ้อยคำของหนังสือพิมพ์เอง ประกอบกับข้อความในเนื้อข่าวเป็นการใส่ความโจทก์โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ทั้งปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 เคยให้จำเลยที่ 1 ลงโฆษณา ต่อมาโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 ยกเลิก จำเลยที่ 1 ได้ลงข่าวเกี่ยวกับฝ่ายโจทก์ในทางเสียหายตลอดมา ก่อนคดีนี้โจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 เคยฟ้องจำเลย-ทั้งห้าในความผิดฐานหมิ่นประมาทแล้ว 3 คดี ดังนั้นจึงถือไม่ได้ว่าการลงข่าวดังกล่าวเป็นการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาล จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.อ.มาตรา 329 (4)
จำเลยลงข่าวในหนังสือพิมพ์แนวหน้าตามฟ้องหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 1 และที่ 2 โดยในเนื้อข่าวระบุชื่อโจทก์ที่ 3 ว่าเป็นกรรมการของโจทก์ที่ 1และที่ 2 นอกจากจะเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แล้ว ยังเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 3 ผู้ถูกระบุชื่อว่าเป็นกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนดำเนินหรือปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 โจทก์ที่ 3 จึงเป็นผู้เสียหายด้วย
จำเลยที่ 3 เป็นผู้อำนวยการรับผิดชอบภาคปฏิบัติการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการตลาดและมีอำนาจสั่งการเกี่ยวกับนโยบายของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 5 เป็นกรรมการเป็นผู้จัดการทั่วไปของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ให้นโยบายในการบริหารของจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้คัดเลือกหรือสั่งให้ลงพิมพ์หัวข้อข่าวและเนื้อหาหมิ่นประมาทโจทก์ ที่จำเลยที่ 3 และที่ 5 มีอำนาจในการให้นโยบายในการบริหารก็เป็นการบริหารของบริษัทจำเลยที่ 1 โดยทั่ว ๆไปไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 และที่ 5 ให้นโยบายว่า จะเสนอข่าวเกี่ยวกับหัวข้อข่าว และเนื้อข่าวหมิ่นประมาทโจทก์ คดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 5 ได้ร่วมกระทำผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยลงข่าวในหนังสือพิมพ์แนวหน้าตามฟ้องหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 1 และที่ 2 โดยในเนื้อข่าวระบุชื่อโจทก์ที่ 3 ว่าเป็นกรรมการของโจทก์ที่ 1และที่ 2 นอกจากจะเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แล้ว ยังเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 3 ผู้ถูกระบุชื่อว่าเป็นกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนดำเนินหรือปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 โจทก์ที่ 3 จึงเป็นผู้เสียหายด้วย
จำเลยที่ 3 เป็นผู้อำนวยการรับผิดชอบภาคปฏิบัติการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการตลาดและมีอำนาจสั่งการเกี่ยวกับนโยบายของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 5 เป็นกรรมการเป็นผู้จัดการทั่วไปของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ให้นโยบายในการบริหารของจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้คัดเลือกหรือสั่งให้ลงพิมพ์หัวข้อข่าวและเนื้อหาหมิ่นประมาทโจทก์ ที่จำเลยที่ 3 และที่ 5 มีอำนาจในการให้นโยบายในการบริหารก็เป็นการบริหารของบริษัทจำเลยที่ 1 โดยทั่ว ๆไปไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 และที่ 5 ให้นโยบายว่า จะเสนอข่าวเกี่ยวกับหัวข้อข่าว และเนื้อข่าวหมิ่นประมาทโจทก์ คดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 5 ได้ร่วมกระทำผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างวานเบิกความเท็จทำให้เสียกรรมสิทธิ์ ผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องและฟ้องชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยเป็นผู้ใช้ให้ พ. ไปร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินและเบิกความเท็จต่อศาลชั้นต้นในคดีแพ่ง จนศาลชั้นต้นเชื่อและมีคำสั่งให้ พ. ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโจทก์ทั้งสามในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยย่อมได้รับผลกระทบกระเทือนเสื่อมเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)และมีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2) โจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยเป็นผู้จ้างวานใช้ให้ พ. ไปยื่นคำร้องและเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 ประกอบด้วยมาตรา 177 มิได้ฟ้องจำเลยว่าเป็นผู้เบิกความเท็จ จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 เมื่อฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานะเป็นผู้ใช้พอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ผู้อื่นเบิกความเท็จและผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์: อำนาจฟ้องและฟ้องชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยเป็นผู้ใช้ให้ พ. ไปร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินและเบิกความเท็จต่อศาลชั้นต้นในคดีแพ่ง จนศาลชั้นต้นเชื่อและมีคำสั่งให้ พ.ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโจทก์ทั้งสามในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยย่อมได้รับผลกระทบ-กระเทือนเสื่อมเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และมีอำนาจฟ้องจำเลยตามป.วิ.อ. มาตรา 28 (2)
โจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยเป็นผู้จ้างวานใช้ให้ พ.ไปยื่นคำร้องและเบิกความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 84 ประกอบด้วยมาตรา 177 มิได้ฟ้องจำเลยว่าเป็นผู้เบิกความเท็จ จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ.มาตรา 177 เมื่อฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานะเป็นผู้ใช้ พอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
โจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยเป็นผู้จ้างวานใช้ให้ พ.ไปยื่นคำร้องและเบิกความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 84 ประกอบด้วยมาตรา 177 มิได้ฟ้องจำเลยว่าเป็นผู้เบิกความเท็จ จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ.มาตรา 177 เมื่อฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานะเป็นผู้ใช้ พอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)