คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 162

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 231/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดฐานะ 'เจ้าพนักงาน' สำหรับความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยต้องมีคุณสมบัติเป็นข้าราชการหรือเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นเจ้าพนักงานทำการทุจริตต่อหน้าที่ และจดหลักฐานเท็จ แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยได้รับแต่งตั้ง จากอธิบดีกรมชลประทานให้เป็นช่างบังคับหมู่เขื่อนระบายน้ำโพธิ์เตี้ย มีหน้าที่ควบคุมงานก่อนสร้าง ซ่อมแซมบำรุงรักษา ควบคุมการเบิกจ่ายค่าแรงคนงาน ควบคุมคนงาน โดยได้รับเงินค่าจ้างเป็นรายวันจากงบประมาณ ซึ่งมิใช่ประเภทเงินเดือน เมื่อจำเลยได้เบิกค่าแรงคนงานเกินความจริงและจดหลักฐานเท็จ ก็จะเอาผิดฐานเท็จความฟ้องไม่ได้ เพราะถือว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงานและตามฟ้องของโจทก์ก็มิได้บรรยายถึงความผิดอย่างอื่นอันเป็นเรื่องที่เห็นได้ว่า โจทก์มีความประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยซึ่งไม่ใช่ในฐานเป็นเจ้าพนักงานด้วย เมื่อเป็นดังนี้ คดีก็ไม่มีทางจะลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทกฎหมายอาญาเพื่อประโยชน์จำเลย: เลือกบทที่มีโทษเบากว่าได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูง 7 ปี ไม่มีขั้นต่ำ ย่อมเป็นกฎหมายที่มีส่วนเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 230 ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูง 10 ปี และคั่นต่ำ 5 ปี
การที่ศาลจะใช้ดุลยพินิจกำหนดโทษจำเลยมากน้อยเท่าใด ก็ชอบที่จะปรับบทเสียก่อนว่า ควรต้องลดโทษจำเลยด้วยบทมาตราใด ปรับบทตามกฎหมายแล้วจึงใช้ดุลยพินิจกำหนดโทษได้ภายในอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในบทมาตรานั้น
การใช้กฎหมายที่มีส่วนเป็นคุณแก่จำเลย อันเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ย่อมเป็นผลถึงจำเลยซึ่งไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทกฎหมายอาญาเพื่อประโยชน์แก่จำเลย: เลือกใช้บทที่มีอัตราโทษเบากว่า
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูง7 ปี ไม่มีขั้นต่ำ ย่อมเป็นกฎหมายที่มีส่วนเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 230 ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูง 10 ปีและชั้นต่ำ 5 ปี
การที่ศาลจะใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำเลยมากน้อยเท่าใดก็ชอบที่จะปรับบทเสียก่อนว่า ควรต้องลดโทษจำเลยด้วยบทมาตราใด ปรับบทตามกฎหมายแล้วจึงใช้ดุลพินิจกำหนดโทษได้ภายในอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในบทมาตรานั้น
การใช้กฎหมายที่มีส่วนเป็นคุณแก่จำเลย อันเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ย่อมเป็นผลถึงจำเลยซึ่งไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมกระทงลงโทษและการปรับโทษตามกฎหมายใหม่ ศาลไม่จำเป็นต้องปรับโทษหากโทษเดิมไม่หนักกว่า
ศาลรวมกระทงลงโทษจำคุกจำเลย 15 ปีตาม ก.ม.ลักษณะอาญา มาตรา 131 และ 230 มิใช่ลงโทษตามบทที่หนัก โทษที่กำหนดตามคำพิพากษาในกรณีนี้จึงไม่หนักกว่าโทษที่กำหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และ 162 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา ม.3 (1) ไม่เป็นกรณีที่ศาลจะต้องกำหนดโทษเสียใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รวมกระทงลงโทษ – มาตรา 3(1) ประมวลกฎหมายอาญา – ไม่หนักกว่ากฎหมายเดิม
ศาลรวมกระทงลงโทษจำคุกจำเลย 15 ปีตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 131 และ 230 มิใช่ลงโทษตามบทที่หนัก โทษที่กำหนดตามคำพิพากษาในกรณีนี้จึงไม่หนักกว่าโทษที่กำหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และ 162 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา3(1) ไม่เป็นกรณีที่ศาลจะต้องกำหนดโทษเสียใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานทุจริต ยักยอกเงิน และปลอมแปลงบัญชีรับจ่าย
คำบรรยายฟ้องคดีอาญาฐานเจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกเงินที่ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะได้บรรยายความถึงหน้าที่และการกระทำผิดไว้โดยละเอียดพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี
จำเลยรับราชการตำแหน่งตรวจคนเข้าเมือง มีหน้าที่รับเงินค่าล่วงเวลาในการไปตรวจควบคุม และ รอคอยพาหนะ รับเงินแล้วยักยอกเอาเป็นประโยชน์ส่วนตน เสียโดยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ให้นำส่ง ผิดตาม ม. 131 ไม่ใช่ ม. 319 (3)
การที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีตำแหน่งที่ทำหนังสือราชการและจดทะเบียนบัญชี จำเลยบังอาจจดแจ้งข้อความลงในทะเบียน บัญชีเองอันเป็นเท็จ ผิดตาม ม.230 ไม่ใช่ ม.225, 229

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานทุจริต ยักยอกเงินและปลอมแปลงบัญชี: เปลี่ยนบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
คำบรรยายฟ้องคดีอาญาฐานเจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกเงินที่ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะได้บรรยายความถึงหน้าที่และการกระทำผิดไว้โดยละเอียดพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี
จำเลยรับราชการตำแหน่งตรวจคนเข้าเมืองมีหน้าที่รับเงินค่าล่วงเวลาในการไปตรวจควบคุมและรอคอยพาหนะ รับเงินแล้วยักยอกเอาเป็นประโยชน์ส่วนตนเสีย โดยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งกระทรวงการคลังที่ให้นำส่ง ผิดตาม มาตรา 131ไม่ใช่ มาตรา 319(3)
การที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีตำแหน่งหน้าที่ทำหนังสือราชการและจดทะเบียนบัญชี จำเลยบังอาจจดแจ้งข้อความลงในทะเบียนบัญชีเองอันเป็นเท็จ ผิดตาม มาตรา 230 ไม่ใช่มาตรา 225,229

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397-1398/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์, ปลอมแปลงเอกสาร, ฟ้องเคลือบคลุม: การพิจารณาความผิดและขอบเขตการฟ้องร้อง
บุคคลที่นายอำเภอท้องที่แต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าชลประทานตามพ.ร.บ. การชลประทานราษฎร์ ย่อมเป็นเจ้าพนักงานตามกฏหมาย
จำเลยเป็นผู้แทนราษฎร กฏหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 ม. 80 ห้ามมิให้รับตำแหน่งหรือหน้าที่จากรัฐโดยมีประโยชน์ตอบแทน จำเลยได้รับแต่งตั้งจากนายอำเภอให้เป็นหัวหน้าการชลประทานราษฎร แต่ไม่ปรากฏว่าเป็นตำแหน่งที่ได้รับประโยชน์ตอบแทน เช่นนี้จึงไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ถือว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานโดยชอบด้วยกฏหมาย
การที่โจทก์บรรยายในฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน 2493 ถึงวันที่ 17 ตุลาคม 2493 จำเลยเบิกเงินคลังไป 3 งวด 100,000 บาท ครั้นระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน 2493 ถึง 2 ธันวาคม 2493 เวลากลางวันและกลางคืนจำเลยบังอาจสมคบกันกระทำหลักฐานเท็จและปลอมหนังสือหลายครั้ง โดยทำใบสำคัญจ่ายเงินค่าซ่อมฝายปลอมหลายฉบับ เป็นเงิน 65,744 บาท แสดงต่อกรมชลประทาน ซึ่งความจริงจำเลยหาได้จ่ายเงินไปตามใบสำคัญเหล่านั้นไม่ จำเลยกลับบังอาจมีเจตนาทุจริตคิดยักยอกเงิน 65,744 บาท และต่อไปก็บรรยายถึง วันเดือนปีใบสำคัญที่จำเลยทำทุจริตทุกฉบับเป็นข้อ ๆ เช่นนี้ไม่เป็นการเคลือบคลุม
อนึ่ง การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าระหว่างวัน.....ถึงวัน....... จำเลยไดบังอาจยักยอกสิ่งของ แต่วันต้นของฟ้องเป็นวันที่จำเลยยังไม่ได้รับมอบสิ่งของที่ถูกหายักยอก เพราะความพลั้งเผลอ แต่โจทก์มีพยานสืบว่าจำเลยได้รับของในระหว่างวันในฟ้องนั้น และจำเลยยักยอกไประหว่างนั้น เช่นนี้ยังไม่เป็นการฟ้องเคลือบคลุม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397-1398/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ – การฟ้องเคลือบคลุม – การแต่งตั้งตำแหน่งโดยไม่มีประโยชน์ตอบแทน
บุคคลที่นายอำเภอท้องที่แต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าชลประทานตามพระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ ย่อมเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
จำเลยเป็นผู้แทนราษฎร กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2492 มาตรา 80 ห้ามมิให้รับตำแหน่งหรือหน้าที่ใดๆจากรัฐโดยมีประโยชน์ตอบแทน จำเลยได้รับแต่งตั้งจากนายอำเภอให้เป็นหัวหน้าการชลประทานราษฎร์ แต่ไม่ปรากฏว่าเป็นตำแหน่งที่ได้รับประโยชน์ตอบแทน เช่นนี้จึงไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ถือว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานโดยชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์บรรยายในฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน 2493 ถึงวันที่ 17 ตุลาคม 2493 จำเลยเบิกเงินคลังไป3 งวด 100,000 บาท ครั้นระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน 2493. ถึง 2 ธันวาคม 2493 เวลากลางวันและกลางคืนจำเลยบังอาจสมคบกันกระทำหลักฐานเท็จและปลอมหนังสือหลายครั้ง โดยทำใบสำคัญจ่ายเงินค่าซ่อมฝายปลอมหลายฉบับ เป็นเงิน 65,744 บาท แสดงต่อกรมชลประทาน ซึ่งความจริงจำเลยหาได้จ่ายเงินไปตามใบสำคัญเหล่านั้นไม่ จำเลยกลับบังอาจมีเจตนาทุจริตคิดยักยอกเงิน 65,744 บาท และต่อไปก็บรรยายถึง วันเดือนปีใบสำคัญที่จำเลยทำทุจริตทุกฉบับเป็นข้อๆ เช่นนี้ไม่เป็นการเคลือบคลุม
อนึ่ง การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าระหว่างวัน....ถึงวัน..... จำเลยได้บังอาจยักยอกสิ่งของ แต่วันต้นของฟ้องเป็นวันที่จำเลยยังไม่ได้รับมอบสิ่งของที่ถูกหายักยอก เพราะความพลั้งเผลอ แต่โจทก์มีพยานสืบว่าจำเลยได้รับของในระหว่างวันในฟ้องนั้น และจำเลยยักยอกไประหว่างนั้น เช่นนี้ยังไม่เป็นการฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1511/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำให้การพยานหลังศาลตัดสิน และการรับฟังพยานบอกเล่าในคดีเก่า
เมื่อศาลพิจารณาพิพากษาคดีแล้วพะยานจะกลับมายื่นคำร้องขอถอนคำให้การไว้นั้นไม่ได้ เหตุการณ์เกิดขึ้นตั้ง 50 ปี มาแล้วนั้น ศาลรับฟังพะยานที่ได้รับคำบอกเล่ามาได้.
of 11