พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งงดไต่สวนมูลฟ้อง, ความชอบด้วยกฎหมายของการสอบสวนทางวินัย, และการมีอำนาจฟ้องในคดีอาญา
ในศาลชั้นต้นรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญามีคำสั่งให้นัดไต่สวนมูลฟ้องไว้แล้ว เมื่อผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเห็นว่าตามที่โจทก์บรรยายฟ้องไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่อ้างได้ การไต่สวนมูลฟ้องต่อไปไม่เป็นประโยชน์แก่คดี ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนย่อมมีอำนาจสั่งให้งดการไต่สวนมูลฟ้องได้ หาเกี่ยวกับอำนาจบังคับบัญชาไม่
ตามกฎ ก.พ. จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการสอบสวนโจทก์ในกรณีโจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง นั้น การส่งเรื่องกล่าวหาเป็นหน้าที่ของผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน มิใช่เป็นหน้าที่ของจำเลย และการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาเท่าที่ปรากฏให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบเท่านั้นมิได้กำหนดให้แจ้งโดยละเอียด เมื่อคณะกรรมการสอบสวนเสร็จให้คณะกรรมการประชุมปรึกษาสรุปข้อเท็จจริง พร้อมทั้งความเห็นเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เมื่อตามฟ้องระบุว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้สั่งแต่งตั้งจำเลยเป็นกรรมการสอบสวน *จึงไม่อาจเอาผิดแก่จำเลยได้
การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสอบสวนพยานและบันทึกเสนอข้อความบิดเบือนความจริง และบันทึกข้อความนอกสำนวนนั้น เมื่อฟ้องมิได้บรรยายว่าความจริงเป็นอย่างไร บิดเบือนอย่างไร ข้อความใดนอกสำนวน จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
การที่จำเลยไม่รายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อสอบสวนเอาผิดแก่ผู้กระทำผิดรายอื่น และคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยละเว้นไม่สอบสวนบุคคลดังกล่าว โจทก์ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้อง
*และจำเลยเสนอสำนวนการสอบสวนตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ตามกฎ ก.พ. จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการสอบสวนโจทก์ในกรณีโจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง นั้น การส่งเรื่องกล่าวหาเป็นหน้าที่ของผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน มิใช่เป็นหน้าที่ของจำเลย และการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาเท่าที่ปรากฏให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบเท่านั้นมิได้กำหนดให้แจ้งโดยละเอียด เมื่อคณะกรรมการสอบสวนเสร็จให้คณะกรรมการประชุมปรึกษาสรุปข้อเท็จจริง พร้อมทั้งความเห็นเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เมื่อตามฟ้องระบุว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้สั่งแต่งตั้งจำเลยเป็นกรรมการสอบสวน *จึงไม่อาจเอาผิดแก่จำเลยได้
การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสอบสวนพยานและบันทึกเสนอข้อความบิดเบือนความจริง และบันทึกข้อความนอกสำนวนนั้น เมื่อฟ้องมิได้บรรยายว่าความจริงเป็นอย่างไร บิดเบือนอย่างไร ข้อความใดนอกสำนวน จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
การที่จำเลยไม่รายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อสอบสวนเอาผิดแก่ผู้กระทำผิดรายอื่น และคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยละเว้นไม่สอบสวนบุคคลดังกล่าว โจทก์ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้อง
*และจำเลยเสนอสำนวนการสอบสวนตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2797/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากฎีกาโจทก์ไม่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และฟ้องจำเลยที่ 3 ไม่สมบูรณ์
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ข้อหาร่วมกันกรอกข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 162 และข้อหาร่วมกันปลอมเอกสารราชการโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา161 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเฉพาะข้อหามาตรา 161 แต่พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดทั้งสองมาตรา ลงโทษตามมาตรา 161 ซึ่งเป็นบทหนักชั้นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยข้อหามาตรา 162 จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดสำหรับข้อหานี้โจทก์ฎีกาโดยบรรยายเพียงว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดข้อหามาตรา 162 จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 เพียงว่า จำเลยที่ 3 ได้ร่วมกันกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการช่วยเหลือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 กระทำความผิดโดยมิได้บรรยายให้ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 กระทำอย่างไร จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 เพียงว่า จำเลยที่ 3 ได้ร่วมกันกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการช่วยเหลือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 กระทำความผิดโดยมิได้บรรยายให้ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 กระทำอย่างไร จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2797/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 216 และฟ้องไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 158
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ข้อหาร่วมกันกรอกข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 162 และข้อหาร่วมกันปลอมเอกสารราชการโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา161ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเฉพาะข้อหามาตรา 161 แต่พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดทั้งสองมาตรา ลงโทษตามมาตรา 161ซึ่งเป็นบทหนักชั้นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยข้อหามาตรา 162 จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดสำหรับข้อหานี้โจทก์ฎีกาโดยบรรยายเพียงว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดข้อหามาตรา162 จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไรเป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 เพียงว่า จำเลยที่3 ได้ร่วมกันกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการช่วยเหลือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 กระทำความผิดโดยมิได้บรรยายให้ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 กระทำอย่างไร จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 เพียงว่า จำเลยที่3 ได้ร่วมกันกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการช่วยเหลือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 กระทำความผิดโดยมิได้บรรยายให้ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 กระทำอย่างไร จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3313/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกจ่ายเงินบำรุงการศึกษาและการสั่งซื้ออาหารเพิ่มเติม ครูใหญ่ไม่ผิดฐานทุจริตหากไม่มีเจตนาเบียดบัง
จำเลยเป็นครูใหญ่โรงเรียนอนุบาล กรอกรายการเพิ่มขึ้นในใบสำคัญคู่จ่ายค่าอาหารเลี้ยงนักเรียน มีจำนวนสูงกว่าหลักฐานการเบิกเงินของแม่ครัว เนื่องจากการที่จำเลยสั่งซื้ออาหารเพิ่มเติมเพื่อให้เพียงพอรับประทาน เป็นการกรอกเพิ่มขึ้นเพื่อให้จำนวนเงินตรงกับที่จ่ายไปจริงหาได้มีเจตนาทุจริตคิดเบียดบังเอาเงินบำรุงการศึกษาของโรงเรียนเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นไม่ และไม่เป็นการทำเอกสารเท็จหรือรับรองข้อความอันเป็นเท็จอันจะเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147,162
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1787/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะเจ้าพนักงาน: กำหนดจากกฎหมายแต่งตั้งและหน้าที่ราชการ แม้ระเบียบไม่ใช่กฎหมายแต่ชอบด้วยกฎหมายหากสอดคล้องนโยบายรัฐ
เจ้าพนักงานย่อมหมายถึงบุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยได้รับแต่งตั้งตามกฎหมาย กล่าวคือในการแต่งตั้งนั้นมีกฎหมายระบุถึงวิธีการแต่งตั้งไว้ และได้มีการแต่งตั้งถูกต้องตามกฎหมายที่ระบุไว้นั้น จำเลยที่ 1เป็นกำนัน จำเลยที่ 2 เป็นแพทย์ประจำตำบล จำเลยที่ 3 เป็นผู้ใหญ่บ้านโดยได้รับการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ฯ จำเลยทั้งสามจึงมีฐานะเป็นเจ้าพนักงาน เมื่อจำเลยทั้งสามเป็นกรรมการสภาตำบลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารของตำบล และมีระเบียบของสำนักนายกว่าด้วยการปฏิบัติตามโครงการพัฒนาท้องถิ่นและช่วยประชาชนในชนบทในฤดูแล้ง พ.ศ. 2518 กำหนดให้กำนันแพทย์ประจำตำบล และผู้ใหญ่บ้าน เป็นคณะกรรมการดำเนินการตามโครงการพัฒนาท้องถิ่นและช่วยประชาชนในชนบทฯ เรียกโดยย่อว่าปชลต. ซึ่งระเบียบดังกล่าวนั้นเป็นระเบียบที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมายการที่จำเลยทั้งสามดำเนินการในฐานะเป็นคณะกรรมการ ปชลต.ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการของเจ้าพนักงานผู้มีตำแหน่งหน้าที่ราชการนั้น อันอาจเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการได้
จำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นกรรมการสภาตำบลผู้ทรงคุณวุฒิตาม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 หาใช่ข้าราชการหรือได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายอย่างใดไม่ แม้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการดังกล่าวด้วยแต่ระเบียบว่าด้วยการปฏิบัติตามโครงการพัฒนาท้องถิ่นฯ มิใช่กฎหมาย เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมาย และไม่มีกฎหมายใด บัญญัติไว้ว่าให้เป็นเจ้าพนักงาน ถึงแม้ว่าจำเลยทั้งสองจะได้รับมอบหมาย ให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการก็หาใช่เจ้าพนักงานไม่
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการนั้น ถึงบุคคลธรรมดากระทำ โดยลำพังจะไม่เป็นความผิด แต่เมื่อร่วมกับเจ้าพนักงานก็อาจเป็น ผู้สนับสนุนได้
จำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นกรรมการสภาตำบลผู้ทรงคุณวุฒิตาม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 หาใช่ข้าราชการหรือได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายอย่างใดไม่ แม้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการดังกล่าวด้วยแต่ระเบียบว่าด้วยการปฏิบัติตามโครงการพัฒนาท้องถิ่นฯ มิใช่กฎหมาย เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมาย และไม่มีกฎหมายใด บัญญัติไว้ว่าให้เป็นเจ้าพนักงาน ถึงแม้ว่าจำเลยทั้งสองจะได้รับมอบหมาย ให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการก็หาใช่เจ้าพนักงานไม่
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการนั้น ถึงบุคคลธรรมดากระทำ โดยลำพังจะไม่เป็นความผิด แต่เมื่อร่วมกับเจ้าพนักงานก็อาจเป็น ผู้สนับสนุนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท-การเพิ่มโทษเกินกรอบ: กรณีประทับตราอนุญาตชักลากไม้และทำบัญชีเท็จ
ตามระเบียบการตรวจวัดประทับตราอนุญาตชักลากไม้ และตามคำสั่งของป่าไม้เขตที่ให้จำเลยออกไปตรวจวัดประทับตราอนุญาตชักลากไม้ จำเลยจะต้องทำบัญชีอนุญาตชักลากไม้ด้วย ดังนั้น การที่จำเลยทำบัญชีอนุญาตชักลากไม้เป็นเท็จก็เพื่อให้การประทับตราอนุญาตชักลากไม้ไม่ถูกต้อง ตามระเบียบเสร็จสิ้นไปโดยบริบูรณ์ การทำบัญชีอนุญาตชักลากไม้เป็นเท็จกับการประทับตราอนุญาตชักลากไม้ไม่ถูกต้องตามระเบียบจึงเป็นกรรมเดียวกันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้ขั้นตอนที่จะต้องกระทำ จำเลยต้องประทับตราอนุญาตชักลากไม้ก่อนแล้วจึงทำบัญชีอนุญาตชักลากก็หาทำให้การกระทำของจำเลยเป็นสองกรรมต่างกันไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 160, 162 แต่ละกรรมเป็นความผิดตามมาตรา 157 ด้วย ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทหนักทั้งสองกระทง จำคุกกระทงละ 5 ปี ข้อหาทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติให้ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติด้วย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยตามมาตรา 160, 162 เป็นความผิดกรรมเดียวกัน พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 160, 162 และ 157 ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทหนักที่สุด จำคุก 10 ปี ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยหนักขึ้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงเดียว 10 ปี เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 160, 162 แต่ละกรรมเป็นความผิดตามมาตรา 157 ด้วย ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทหนักทั้งสองกระทง จำคุกกระทงละ 5 ปี ข้อหาทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติให้ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติด้วย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยตามมาตรา 160, 162 เป็นความผิดกรรมเดียวกัน พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 160, 162 และ 157 ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทหนักที่สุด จำคุก 10 ปี ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยหนักขึ้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงเดียว 10 ปี เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: การประทับตราอนุญาตชักลากไม้เท็จ และการทำบัญชีขนาดไม้เป็นเท็จ
ตามระเบียบการตรวจวัดประทับตราอนุญาตชักลากไม้ และตามคำสั่งของป่าไม้เขต ที่ให้จำเลยออกไปตรวจวัด ประทับตราอนุญาตชักลากไม้ จำเลยจะต้องทำบัญชีอนุญาต ชักลากไม้ด้วย ดังนั้น การที่จำเลยทำบัญชีอนุญาตชักลากไม้ เป็นเท็จก็เพื่อให้การประทับตราอนุญาตชักลากไม้ไม่ถูกต้อง ตามระเบียบเสร็จสิ้นไปโดยบริบูรณ์ การทำบัญชีอนุญาต ชักลากไม้เป็นเท็จกับการประทับตราอนุญาตชักลากไม้ไม่ถูกต้อง ตามระเบียบจึงเป็นกรรมเดียวกันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้ขั้นตอนที่จะต้องกระทำ จำเลยต้องประทับตราอนุญาต ชักลากไม้ก่อนแล้วจึงทำบัญชีอนุญาตชักลากไม้ ก็หาทำให้ การกระทำของจำเลยเป็นสองกรรมต่างกันไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 160,162 แต่ละกรรมเป็นความผิดตามมาตรา 157ด้วย ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทหนักทั้งสองกระทง จำคุกกระทงละ 5 ปี ข้อหาทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ให้ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษ จำเลยฐานทำไม้ใน เขตป่าสงวนแห่งชาติด้วย ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่าการกระทำ ของจำเลยตามมาตรา 160,162 เป็นความผิดกรรมเดียวกัน พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมี ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 160,162 และ 157 ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่ง เป็นบทหนักที่สุด จำคุก 10 ปี ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์อุทธรณ์ ขอให้ลงโทษจำเลย หนักขึ้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ลงโทษ จำคุกจำเลย กระทงเดียว 10 ปี เป็นการพิพากษา เพิ่มเติม โทษจำเลยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 160,162 แต่ละกรรมเป็นความผิดตามมาตรา 157ด้วย ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทหนักทั้งสองกระทง จำคุกกระทงละ 5 ปี ข้อหาทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ให้ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษ จำเลยฐานทำไม้ใน เขตป่าสงวนแห่งชาติด้วย ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่าการกระทำ ของจำเลยตามมาตรา 160,162 เป็นความผิดกรรมเดียวกัน พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมี ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 160,162 และ 157 ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่ง เป็นบทหนักที่สุด จำคุก 10 ปี ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์อุทธรณ์ ขอให้ลงโทษจำเลย หนักขึ้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ลงโทษ จำคุกจำเลย กระทงเดียว 10 ปี เป็นการพิพากษา เพิ่มเติม โทษจำเลยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2312/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีความเท็จเกี่ยวกับการสัมปทานที่ดิน: ผู้ว่าฯ ไม่ใช่ผู้รับผิดชอบการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดว่าได้กระทำเอกสารและรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จในเรื่องที่โจทก์ได้รับสัมปทานจากกระทรวงมหาดไทยให้เข้าไปทำการเกษตรและอุตสาหกรรมในท้องที่แห่งหนึ่งเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกฟ้องโจทก์โดยได้วินิจฉัยไว้โดยละเอียดว่าเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ตรวจพิสูจน์สิทธิและสอบสวนเกี่ยวกับที่ดินที่โจทก์ขอสัมปทานคือนายอำเภอท้องที่มิใช่จำเลยเรื่องราวที่นายอำเภอสอบสวนเสนอความเห็นต่อจำเลยและจำเลยเสนอต่อไปยังรัฐมนตรีถือไม่ได้ว่าเป็นความเท็จถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความเท็จและความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นในภายหลังซึ่งมิใช่การกระทำของจำเลยโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ปรากฏในสำนวนฎีกาของโจทก์ที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความเท็จโจทก์มีอำนาจฟ้องจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้ประกัน และการทำเอกสารที่ไม่ตรงกับความจริง แม้ไม่ใช่เอกสารปลอม
จำเลยที่ 2 เป็นสารวัตรกำนันปฏิบัติหน้าที่แทนกำนันเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ออกสำเนาทะเบียนบ้านว่าย้ายออกและมีหน้าที่ทำ กรอกข้อความ ลงในมรณบัตรตามอำนาจหน้าที่โดยลงชื่อจำเลยที่ 2 ในช่องนายทะเบียน ผู้รับแจ้ง มรณบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่แท้จริงที่ จำเลยที่ 2 ทำขึ้น แม้ข้อความในมรณบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านไม่ตรงกับ ความจริง ก็ไม่ทำให้เป็นเอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา161 แต่เป็นความผิดตาม มาตรา 162
คำร้องขอให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวจะต้องยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดี คำว่า 'ศาล' หมายถึงผู้พิพากษาที่มีอำนาจทำการอันเกี่ยวกับคดีอาญา ผู้พิพากษาจึงมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยสั่งคำร้องขอให้ปล่อยจำเลยชั่วคราว ตลอดจนการบังคับตามสัญญาประกันในกรณีที่ผิดสัญญา จึงเป็น เจ้าพนักงานตามกฎหมาย การที่จำเลยยื่นคำร้องเท็จว่า ส. ถึงแก่กรรมเป็นการร้องเพื่อให้พ้นจากความผิดตามสัญญาประกัน จึงเป็นการแจ้ง ความเท็จต่อเจ้าพนักงาน
ศาลลงโทษจำเลยฐานละเมิดอำนาจศาล เพราะประพฤติตน ไม่ เรียบร้อยในบริเวณศาล เป็นการลงโทษตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 31(1),33 โดยไม่มีโจทก์ฟ้อง สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย ในข้อหาฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ได้
คำร้องขอให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวจะต้องยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดี คำว่า 'ศาล' หมายถึงผู้พิพากษาที่มีอำนาจทำการอันเกี่ยวกับคดีอาญา ผู้พิพากษาจึงมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยสั่งคำร้องขอให้ปล่อยจำเลยชั่วคราว ตลอดจนการบังคับตามสัญญาประกันในกรณีที่ผิดสัญญา จึงเป็น เจ้าพนักงานตามกฎหมาย การที่จำเลยยื่นคำร้องเท็จว่า ส. ถึงแก่กรรมเป็นการร้องเพื่อให้พ้นจากความผิดตามสัญญาประกัน จึงเป็นการแจ้ง ความเท็จต่อเจ้าพนักงาน
ศาลลงโทษจำเลยฐานละเมิดอำนาจศาล เพราะประพฤติตน ไม่ เรียบร้อยในบริเวณศาล เป็นการลงโทษตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 31(1),33 โดยไม่มีโจทก์ฟ้อง สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย ในข้อหาฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1758/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จ, การปฏิบัติหน้าที่, และการสิ้นสุดคดีเนื่องจากการเสียชีวิตของจำเลย การพิพากษาจำเลยที่ 1 ยกฟ้อง
แม้จำเลยที่ 1 จะได้กล่าวเท็จในหนังสือถึงอธิบดีกรมศุลกากรว่าตนเป็นผู้สั่งการให้จับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับภาษีศุลกากรที่มีการขอรับสินบนนำจับนั้นแต่เมื่อจำเลยไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งข้อความดังกล่าวต่ออธิบดีกรมศุลกากรการกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการกระทำในการปฏิบัติการตามหน้าที่จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 162
เมื่อศาลอุทธรณ์ได้สั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 2 แล้วเพราะเหตุถึงแก่กรรมสิทธิของโจทก์ในการฟ้องจำเลยที่ 2 ย่อมเป็นอันระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(1) คำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดย่อมระงับไปในตัวและไม่มีผลบังคับต่อไปศาลฎีกาจึงไม่พิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วย
พยานที่เกิดจากขู่เข็ญจูงใจว่าจะให้พยานออกจากงานโดยรับบำนาญและไม่จับกุมมาดำเนินคดีรับฟังไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 226
เมื่อศาลอุทธรณ์ได้สั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 2 แล้วเพราะเหตุถึงแก่กรรมสิทธิของโจทก์ในการฟ้องจำเลยที่ 2 ย่อมเป็นอันระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(1) คำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดย่อมระงับไปในตัวและไม่มีผลบังคับต่อไปศาลฎีกาจึงไม่พิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วย
พยานที่เกิดจากขู่เข็ญจูงใจว่าจะให้พยานออกจากงานโดยรับบำนาญและไม่จับกุมมาดำเนินคดีรับฟังไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 226