พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199-200/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รวมพิจารณาคดีเกี่ยวพัน-ลงโทษกรรมหนักสุด-ใช้กฎหมายเก่าคุ้มครองจำเลย
ในคดีเกี่ยวพันกัน อันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันแม้โจทก์จะฟ้องจำเลยแต่ละสำนวนแต่ละฐานความผิด และโจทก์ร้องขอให้รวมการพิจารณาเข้าด้วยกันเท่านั้น ไม่ได้ขอให้รวมพิพากษา ศาลก็มีอำนาจพิพากษาคดีที่เกี่ยวพันกันนั้นรวมกันไปได้ ไม่เป็นการเกินคำขอ และเมื่อศาลสั่งรวมพิจารณาพิพากษาแล้ว ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป หรือจะลงโทษเฉพาะกระทงที่หนักที่สุดก็ได้
แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ประกาศ ณ วันที่ 21พฤศจิกายน พุทธศักราช 2514 ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในมาตรา 91แห่งประมวลกฎหมายอาญา. ให้ใช้ความใหม่แทนให้ศาลลงโทษผู้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันทุกกรรมเป็นกระทงความผิด ฯลฯ เมื่อบทบัญญัติในมาตรา 91 เดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด มีส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยยิ่งกว่าประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 2 ต้องใช้มาตรา 91 เดิมบังคับแก่คดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 วรรคแรก อันเป็นบทบัญญัติให้ศาลต้องนำไปใช้บังคับ หาใช่เป็นเรื่องดุลพินิจไม่
แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ประกาศ ณ วันที่ 21พฤศจิกายน พุทธศักราช 2514 ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในมาตรา 91แห่งประมวลกฎหมายอาญา. ให้ใช้ความใหม่แทนให้ศาลลงโทษผู้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันทุกกรรมเป็นกระทงความผิด ฯลฯ เมื่อบทบัญญัติในมาตรา 91 เดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด มีส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยยิ่งกว่าประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 2 ต้องใช้มาตรา 91 เดิมบังคับแก่คดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 วรรคแรก อันเป็นบทบัญญัติให้ศาลต้องนำไปใช้บังคับ หาใช่เป็นเรื่องดุลพินิจไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1362/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทะเลาะวิวาทในที่สาธารณะและการดำเนินคดีซ้อน
ที่เกิดเหตุเป็นร้านค้าและเป็นที่ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้จึงเป็นสาธารณสถานตามมาตรา 1(3) เมื่อจำเลยทะเลาะกันอื้ออึงในสาธารณสถานจึงเป็นผิดมาตรา 372 ข้อที่ว่าที่เกิดเหตุเป็นเคหสถานหรือไม่ หาใช่ประเด็นแห่งคดีไม่
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฝ่ายหนึ่ง จำเลยที่ 3 ถึงที่8 อีกฝ่ายหนึ่ง ทะเลาะกันอื้ออึงในสาธารณสถาน ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เพียงแต่เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ถึง ที่ 8 เป็นจำเลยต่อศาลอาญา(ฐานบุกรุกทำร้ายร่างกาย) ในคดีเกี่ยวพันกันนี้โดยในชั้นนี้ศาลอาญาเพียงแต่รับฟ้องไว้พิจารณา ย่อมไม่เป็นการขัดขวางต่อการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ถูกผู้ว่าคดีฯ ฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลแขวงซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจชำระในความผิด(ฐานทะเลาะกันอื้ออึงในสาธารณสถาน) ซึ่งมีอัตราโทษต่ำกว่าและมิใช่เป็นกรณีตามมาตรา 24 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งศาลแขวงฯ มิได้ตกลงกับศาลอาญาสั่งให้ไปฟ้องยังศาลอาญาตามมาตรา 25 ส่วนมาตรา24 วรรคสาม บัญญัติถึงความผิดอันเกี่ยวพันกัน มีอัตราโทษอย่างสูงเสมอกัน ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในคดีนี้
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฝ่ายหนึ่ง จำเลยที่ 3 ถึงที่8 อีกฝ่ายหนึ่ง ทะเลาะกันอื้ออึงในสาธารณสถาน ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เพียงแต่เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ถึง ที่ 8 เป็นจำเลยต่อศาลอาญา(ฐานบุกรุกทำร้ายร่างกาย) ในคดีเกี่ยวพันกันนี้โดยในชั้นนี้ศาลอาญาเพียงแต่รับฟ้องไว้พิจารณา ย่อมไม่เป็นการขัดขวางต่อการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ถูกผู้ว่าคดีฯ ฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลแขวงซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจชำระในความผิด(ฐานทะเลาะกันอื้ออึงในสาธารณสถาน) ซึ่งมีอัตราโทษต่ำกว่าและมิใช่เป็นกรณีตามมาตรา 24 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งศาลแขวงฯ มิได้ตกลงกับศาลอาญาสั่งให้ไปฟ้องยังศาลอาญาตามมาตรา 25 ส่วนมาตรา24 วรรคสาม บัญญัติถึงความผิดอันเกี่ยวพันกัน มีอัตราโทษอย่างสูงเสมอกัน ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389-390/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เช็ค การพิจารณาคดีความเกี่ยวพัน และการปฏิเสธชำระหนี้โดยชอบธรรม
คดีความผิดเกี่ยวพันกัน เป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาพิพากษารวมกันได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 25 หาจำต้องมีคู่ความฝ่ายใดร้องขอไม่
จำเลยกู้เงินโจทก์ 2 ครั้ง เพื่อนำไปลงทุนรับเหมาก่อสร้างอาคารของกรมตำรวจครั้งแรกกู้ 150,000 บาท จำเลยทำสัญญากู้และออกเช็คล่วงหน้าลงวันที่ 18 พ.ย. 2499 ลงจำนวนเงิน 150,000 บาท ให้โจทก์ไว้ กับทำหนังสือมอบฉันทะให้โจทก์ไปรับเงินค่าก่อสร้างจากกรมตำรวจด้วย ครั้งที่ 2 กู้ 490,000 บาท ทำสัญญากู้และออกเช็คล่วงหน้าลงวันที่ 28 ก.พ. 2500 ลงจำนวนเงิน 490,000 บาท กับทำหนังสือมอบฉันทะมอบให้โจทก์เหมือนอย่างกู้ครั้งแรก ต่อมาวันที่ 26 ก.ย. 2499 โจทก์นำใบมอบฉันทะนั้นไปรับเงินค่าก่อสร้างจากกรมตำรวจเป็นเงิน 249,000 บาท โดยโจทก์มิได้นำเงินนั้นมามอบให้จำเลยหรือเข้าบัญชีของจำเลยในธนาคาร จึงต้องถือว่าเป็นเงินที่จำเลยชำระหนี้ ให้โจทก์ในมูลหนี้เงินกู้ทั้ง 2 ราย และไม่พอชำระหนี้ได้หมดทั้ง 2 ราย เมื่อลูกหนี้ไม่ได้ระบุว่าชำระหนี้รายใด ก็ต้องถือว่า หนี้รายไหนถึงกำหนดก่อน เป็นอันได้เปลื้องไปก่อน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328 ดังนั้น หนี้เงินกู้รายแรกซึ่งถึงกำหนดชำระก่อน ก็ต้องถือว่าได้ถูกชำระหนี้หมดสิ้นไปแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิห้ามมิให้ธนาคารจ่ายเงินให้โจทก์ตามเช็คฉบับแรก นั้นได้ ส่วนเงินที่โจทก์รับแทนจำเลยจากกรมตำรวจนั้น เมื่อหักหนี้เงินกู้ทั้ง 2 รายแล้ว จำเลยคงเป็นหนี้โจทก์เพียง 391,000 บาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ให้เต็มจำนวน 490,000 บาท ตามเช็คฉบับหลังได้ เมื่อโจทก์เอาเช็คฉบับหลังไปขึ้นเงิน เพื่อเอาชำระหนี้ตนเกินกว่าที่ตนมีสิทธิจำเลยย่อมปฏิเสธชำระหนี้ได้ ฉะนั้น การที่จำเลยห้ามมิให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คฉบับหลัง จึงไม่ใช่เป็นการห้ามโดยเจตนาทุจริต การที่โจทก์นำเช็ค 2 ฉบับ ดังกล่าวไปขึ้นเงินจากธนาคารไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 3
จำเลยกู้เงินโจทก์ 2 ครั้ง เพื่อนำไปลงทุนรับเหมาก่อสร้างอาคารของกรมตำรวจครั้งแรกกู้ 150,000 บาท จำเลยทำสัญญากู้และออกเช็คล่วงหน้าลงวันที่ 18 พ.ย. 2499 ลงจำนวนเงิน 150,000 บาท ให้โจทก์ไว้ กับทำหนังสือมอบฉันทะให้โจทก์ไปรับเงินค่าก่อสร้างจากกรมตำรวจด้วย ครั้งที่ 2 กู้ 490,000 บาท ทำสัญญากู้และออกเช็คล่วงหน้าลงวันที่ 28 ก.พ. 2500 ลงจำนวนเงิน 490,000 บาท กับทำหนังสือมอบฉันทะมอบให้โจทก์เหมือนอย่างกู้ครั้งแรก ต่อมาวันที่ 26 ก.ย. 2499 โจทก์นำใบมอบฉันทะนั้นไปรับเงินค่าก่อสร้างจากกรมตำรวจเป็นเงิน 249,000 บาท โดยโจทก์มิได้นำเงินนั้นมามอบให้จำเลยหรือเข้าบัญชีของจำเลยในธนาคาร จึงต้องถือว่าเป็นเงินที่จำเลยชำระหนี้ ให้โจทก์ในมูลหนี้เงินกู้ทั้ง 2 ราย และไม่พอชำระหนี้ได้หมดทั้ง 2 ราย เมื่อลูกหนี้ไม่ได้ระบุว่าชำระหนี้รายใด ก็ต้องถือว่า หนี้รายไหนถึงกำหนดก่อน เป็นอันได้เปลื้องไปก่อน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328 ดังนั้น หนี้เงินกู้รายแรกซึ่งถึงกำหนดชำระก่อน ก็ต้องถือว่าได้ถูกชำระหนี้หมดสิ้นไปแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิห้ามมิให้ธนาคารจ่ายเงินให้โจทก์ตามเช็คฉบับแรก นั้นได้ ส่วนเงินที่โจทก์รับแทนจำเลยจากกรมตำรวจนั้น เมื่อหักหนี้เงินกู้ทั้ง 2 รายแล้ว จำเลยคงเป็นหนี้โจทก์เพียง 391,000 บาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ให้เต็มจำนวน 490,000 บาท ตามเช็คฉบับหลังได้ เมื่อโจทก์เอาเช็คฉบับหลังไปขึ้นเงิน เพื่อเอาชำระหนี้ตนเกินกว่าที่ตนมีสิทธิจำเลยย่อมปฏิเสธชำระหนี้ได้ ฉะนั้น การที่จำเลยห้ามมิให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คฉบับหลัง จึงไม่ใช่เป็นการห้ามโดยเจตนาทุจริต การที่โจทก์นำเช็ค 2 ฉบับ ดังกล่าวไปขึ้นเงินจากธนาคารไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนของตำรวจสันติบาลต้องอาศัยข้อกำหนดของรัฐมนตรีฯ โจทก์ต้องนำสืบ
ตามความใน พระราชบัญญัติจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจในกระทรวงมหาดไทยพ.ศ.2491 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้กำหนดตั้งหน่วยงานและเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่ปกครองของหน่วยราชการโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษากองบัญชาการสอบสวนกลางกองตำรวจสันติบาลจะมีอำนาจสอบสวนได้เพียงใดหรือไม่นั้นต้องเป็นไปตามข้อกำหนดหรือข้อบังคับ ข้อกำหนดหรือข้อบังคับนั้นๆ เป็นข้อเท็จจริงไม่ใช่ข้อกฎหมาย โจทก์ต้องนำสืบเมื่อร.ต.ท.ประชานายตำรวจสันติบาลเพียงแต่อ้างว่ามีอำนาจสอบสวน เพราะได้รับคำสั่งจากผู้กำกับการฯแล้วแต่โจทก์มิได้สืบให้เห็นว่าผู้กำกับการมีอำนาจสั่งได้โดยชอบด้วยกฎหมายอย่างใด ดังนี้จึงฟังไม่ได้ว่าร.ต.ท.ประชามีอำนาจสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนของตำรวจสันติบาลต้องมีข้อกำหนดจากรัฐมนตรีฯ โจทก์มีหน้าที่นำสืบ
ตามความใน พ.ร.บ.จัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจในกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2491 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้กำหนดตั้งหน่วยงานและเขตต์อำนาจการรับผิดชอบหรือเขตต์พื้นที่ปกครองของหน่วยราชการโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษากอบบัญชาการสอบสวนกลางกองตำรวจสันติบาลจะมีอำนาจสอบสวนได้เพียงใดหรือไม่นั้น ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดหรือข้อบังคับ ข้อกำหนดหรือข้อบังคับนั้น ๆ เป็นข้อเท็จจริงไม่ใช่ข้อกฎหมาย โจทก์ต้องนำสืบ
เมื่อ ร.ต.ท.ประชานายตำรวจสันติบาสเพียงแต่อ้างว่ามีอำนาจสอบสวน เพราะได้รับคำสั่งจากผู้กำกับการฯแล้ว แต่โจทก์มิได้สืบให้เห็นว่าผู้กำกับการมีอำนาจสั่งได้โดยชอบด้วยกฎหมายอย่างใด ดังนี้จึงฟังไม่ได้ว่า ร.ต.ท. ประชามีอำนาจสอบสวน
เมื่อ ร.ต.ท.ประชานายตำรวจสันติบาสเพียงแต่อ้างว่ามีอำนาจสอบสวน เพราะได้รับคำสั่งจากผู้กำกับการฯแล้ว แต่โจทก์มิได้สืบให้เห็นว่าผู้กำกับการมีอำนาจสั่งได้โดยชอบด้วยกฎหมายอย่างใด ดังนี้จึงฟังไม่ได้ว่า ร.ต.ท. ประชามีอำนาจสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211-212/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกฟ้องจำเลยรายบุคคลเพื่อความสะดวกในการพิจารณาคดี ไม่ถือเป็นการถอนฟ้องเสร็จเด็ดขาด
อัยการโจทก์แถลงขอแยกจำเลยคนหนึ่งไปฟ้องเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก เพื่อสะดวกแก่การพิจารณาคดีสำหรับจำเลยคนอื่นๆ ที่รับสารภาพศาลอนุญาตให้แล้ว ดังนี้โจทก์ฟ้องคดีเฉพาะตัวจำเลยที่ถอนนั้นใหม่ได้ไม่ต้องห้าม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211-212/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกฟ้องจำเลยในคดีอาญาเพื่อความสะดวกในการพิจารณาคดีอื่น ไม่ถือเป็นการถอนฟ้อง
อัยยการโจทก์แถลงขอแยกจำเลยคนหนึ่งไปฟ้องเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก เพื่อสะดวกแก่การพิจารณาคดีสำหรับจำเลยคนอื่น ๆ ที่รับสารภาพ ศาลอนุญาตให้แล้ว ดังนี้โจทก์ฟ้องคดีฉะเพาะตัวจำเลยที่ถอนนั้นใหม่ได้ ไม่ต้องห้าม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2483
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รวมพิจารณาคดีทำร้ายร่างกาย – พยานร่วมกันเพียงพอต่อการพิจารณาคดี
คดีที่โจทก์ต่างผ่ายต่างฟ้องจำเลยคนเดียวกันในกรณีอันเดียวกันขอให้ลงโทษในความผิดฐานเดียวกัน ศาลได้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกันนั้นเมื่อพะยานของโจทก์ทั้งสองคดีนั้นเป็นคนเดียวกัน โดยมากแล้วพะยานโจทก์ในคดีที่ได้สืบไปนั้น ยอมเป็นพะยานของ โจทก์อีคดีหนึ่งด้วย