คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดุลยทัณฑ์ชนาณัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,595 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 870/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกจัดการทรัพย์สินทั้งหมด และสิทธิในที่ดินของคนต่างด้าว
ผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจจัดการทรัพย์สินอันเป็นมรดกของผู้วายชนม์ทั้งหมดรวมทั้งทรัพย์ที่มิได้ระบุไว้ต่อศาลก็ดี
คนต่างด้าวจะมีที่ดินได้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องระหว่างรัฐกับคนต่างด้าว อนึ่งพ.ร.บ.ดังกล่าวก็หาได้บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาดไม่ให้คนต่างด้าวมีที่ดินได้ คนต่างด้าวอาจมีที่ดินได้ เมื่อคดีนี้เป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิของผู้ตายเป็นผู้ออกเงินซื้อที่พิพาทกับจำเลยผู้มีชื่อเป็นผู้ซื้อแทนผู้ตาย ฉะนั้นผู้ตายจึงมีสิทธิเหนือจำเลยในที่ดิน จำเลยอยู่ในที่พิพาทก็โดยอาศัยสิทธิของผู้ตายโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้ หาเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 858/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดฐานฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและการกระทำโดยพยาบาทมาดหมายเมื่อเกิดเหตุการณ์ก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา
โจทก์อ้างว่าจำเลยฆ่าคนโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ข้อนี้เป็นบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา แต่ปรากฎว่าเหตุเรื่องนี้เกิดเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2499 ซึ่งเป็นเวลาก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา เช่นนี้ จะนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 มาลงโทษจำเลยไม่ได้แม้จะเป็นระวางโทษเท่ากันก็ตาม
จำเลยเห็นผู้ตายซึ่งเป็นคนมีสาเหตุกัน (เรื่องจำเลยหาว่าผู้ตายลักไก่ของจำเลย) ผ่านมาหยุดคุยกับคนอื่นใกล้ ๆ เรือนจำเลย จำเลยจึงถือไม้แนบแอบตัวย่องมาตีผู้ตายโดยไม่ให้รู้ตัวเช่นนี้ ไม่เป็นการกระทำโดยความพยายามด้วยความพยาบาทมาดหมายตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 250 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 858/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดฐานฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและเจตนาฆ่าในกรณีที่เกิดก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา
โจทก์อ้างว่าจำเลยฆ่าคนโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ข้อนี้เป็นบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา แต่ปรากฏว่าเหตุเรื่องนี้เกิดเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2499 ซึ่งเป็นเวลาก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา เช่นนี้ จะนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 มาลงโทษจำเลยไม่ได้แม้จะเป็นระวางโทษเท่ากันก็ตาม
จำเลยเห็นผู้ตายซึ่งเป็นคนมีสาเหตุกัน(เรื่องจำเลยหาว่าผู้ตายลักไก่ของจำเลย) ผ่านมาหยุดคุยกับคนอื่นใกล้ๆ เรือนจำเลย จำเลยจึงถือไม้แนบแอบตัวย่องมาตีผู้ตายโดยไม่ให้รู้ตัวเช่นนี้ ไม่เป็นการกระทำโดยความพยายามด้วยความพยาบาทมาดหมายตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 250(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่า, การป้องกันตัว, และการสมคบคิดทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย
จำเลยใช้มีดปลายแหลมแทงผู้ตายถูกกลางหลังทะลุออกหัวนมขวาตายภายหลังเล็กน้อย ถือว่าจำเลยเจตนาฆ่า
การที่จำเลยที่ 1-2 ถือมีดคนละเล่มเข้าไปในบ้านผู้ตายและจำเลยที่ 1 แทงนาง น.ภรรยานาย ข. นาย ข.ฉวยหอกเข้าทำร้ายจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เข้าทำร้ายนาย ข. บุตรของนาย ข. ฟันจำเลยที่ 1-2 แล้วนาย ข. และบุตร ถูกจำเลยที่ 1-2 ทำร้ายถึงตาย ถือว่านาย ข.ทำเพื่อป้องกันชีวิตนาง น. และบุตรนาย ข.ป้องกันชีวิตนาย ข. ไม่ถือว่าเป็นเรื่องสมัครใจวิวาทต่อสู้ทำร้ายกัน
และการที่จำเลยที่ 3 ถือขวานอยู่ที่ประตูรั้วบ้านผู้ตายก่อน แต่ไม่ปรากฏว่าเข้ามาในบ้านผู้ตายพร้อมจำเลยที่ 1-2 เมื่อจำเลยที่ 3 ฟันนาย ข. 1 ทีแล้วไม่ได้ทำอะไรอีก ไม่ถือว่าจำเลยที่ 3 สมคบกับจำเลยที่ 1-2 ฆ่าผู้ตาย มีผิดเพียงฐานทำร้ายร่างกาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมคบกันฆ่า, ป้องกันตัว, และการทำร้ายร่างกาย: ความรับผิดทางอาญา
จำเลยใช้มีดปลายแหลมแทงผู้ตายถูกกลางหลังทะลุออกหัวนมขวาตายภายหลังเล็กน้อย ถือว่าจำเลยเจตนาฆ่า
การที่จำเลยที่ 1-2 ถือมีดคนละเล่มเข้าไปในบ้านผู้ตายและจำเลยที่ 1 แทงนาง น.ภรรยานาย ข. ๆ ฉวยหอก เข้าทำร้ายจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เข้าทำร้ายนาย ข.บุตรของนาย ข.ฟันจำเลยที่ 1-2 แล้วนาย ข.และบุตรถูกจำเลยที่ 1-2 ทำร้ายถึงตาย ถือว่านาย ข.ทำเพื่อป้องกันชีวิตนาง น.และบุตรนาย ข.ป้องกันชีวิตนาย ข.ไม่ถือว่าเป็นเรื่องสมัครใจวิวาทต่อสู้ทำร้ายกัน
และการที่จำเลยที่ 3 ถือขวานอยู่ที่ประตูรั้วบ้านผู้ตายก่อน แต่ไม่ปรากฎว่าเข้ามาในบ้านผู้ตายพร้อมจำเลยที่ 1-2 เมื่อจำเลยที่ 3 ฟันนาย ข.1 ทีแล้วไม่ได้ทำอะไรอีก ไม่ถือว่าจำเลยที่ 3 สมคบกับจำเลยที่ 1-2 ฆ่าผู้ตาย มีผิดเพียงฐานทำร้ายร่างกาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โทษจำคุกตลอดชีวิตไม่นับโทษต่อจากคดีอื่น แม้มีโทษค้างอยู่ก่อนแล้ว
เมื่อจำเลยต้องโทษในคดีหลังถึงจำคุกตลอดชีวิตแล้ว ก็ไม่ต้องนับโทษต่อจากคดีก่อนให้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โทษจำคุกตลอดชีวิตไม่นับโทษต่อจากคดีก่อน และการเปลี่ยนแปลงโทษจากประหารชีวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิต
เมื่อจำเลยต้องโทษในคดีหลังถึงจำคุกตลอดชีวิตแล้ว ก็ไม่ต้องนับโทษต่อจากคดีก่อนให้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 836/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฎีกาจำกัดเฉพาะคู่ความ คดีระหว่างโจทก์กับศาล จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา
ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนต่อไปใหม่ เช่นนี้ จำเลยจะฎีกาหาได้ไม่ เพราะเป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 836/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาจำเลย: กรณีศาลอุทธรณ์สั่งให้ไต่สวนใหม่ จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาเพราะเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับศาล
ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนต่อไปใหม่ เช่นนี้ จำเลยจะฎีกาหาได้ไม่ เพราะเป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับรองบุตรเมื่อฝ่ายแม่คัดค้าน ต้องพิสูจน์เหตุผลตามกฎหมาย
การที่หญิงจำเลยรับว่าบุตรของตนเกิดจากชายซึ่งเป็นโจทก์โดยโจทก์จำเลยได้เสียกันแต่มิได้จดทะเบียนสมรส เพียงเท่านี้ยังไม่เป็นเหตุพอที่จะชี้ขาดให้จดทะเบียนว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของโจทก์ทีเดียว ในเมื่อฝ่ายจำเลยยังคัดค้านอยู่ จำต้องพิจารณาต่อไปว่ามีเหตุผลอย่างใดที่จะให้ศาลมีคำพิพากษาให้จดทะเบียนตามความใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1527 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2501)
of 260