พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภัยพิบัติทางทะเลและความรับผิดตามสัญญาประกันภัย การพิสูจน์ความเสียหายและการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
พฤติการณ์ที่โจทก์ได้ดำเนินการนำเรือทั้งสามลำกลับมาประเทศไทยด้วยค่าใช้จ่ายของโจทก์ รวมทั้งได้เอาประกันภัยเรือทั้งสามลำในระหว่างเดินทางไว้กับจำเลย เป็นข้อบ่งชี้ให้เห็นได้ชัดว่า โจทก์ได้รับโอนความเสี่ยงภัยในเรือทั้งสามลำจากผู้ขายตั้งแต่ก่อนเรือทั้งสามลำออกเดินทางแล้ว ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเรือชูไก 2 ในขณะเรือชูไก 2 สูญหายไป สัญญาประกันภัยเรือชูไก 2 ระหว่างโจทก์กับจำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัยจึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในความสูญหายของเรือชูไก 2 จากจำเลยได้
เรือชูไก 1 เป็นเรือกลเดินทะเลขนาด 99.97 ตันกรอส จัดอยู่ในประเภทเรือกลเดินทะเลขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส หากจะใช้ในกิจการเดินเรือระหว่างประเทศ นายเรือของเรือชูไก 1 จะต้องมีประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส หรือประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 ถึง 3,100 ตันกรอส และได้รับประกาศนียบัตรที่เหมาะสมสำหรับนายเรือของเรือนั้น ธ. ผู้ทำหน้าที่นายเรือของเรือชูไก 1 มีประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 ถึง 3,100 ตันกรอส แม้ ธ. จะยังไม่ได้รับประกาศนียบัตรที่เหมาะสม แต่ตามหนังสือของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีก็รับรองว่า การทำหน้าที่นายเรือของเรือชูไก 1 ขณะเกิดเหตุ ธ. มีประกาศนียบัตรคนประจำเรือสูงกว่าประกาศนียบัตรตามกำหนดข้อบังคับการตรวจเรือสำหรับการเป็นนายเรือชูไก 1 ถึง 2 ชั้น โจทก์เพิ่งซื้อและรับมอบเรือชูไก 1 พร้อมกับเรือชูไก 2 และชูไก 3 จากผู้ขายที่ประเทศญี่ปุ่น จึงยังมิได้จดทะเบียนเรือไทย การนำเรือชูไก 1 กลับประเทศไทย จึงต้องมีการออกทะเบียนเรือไทยชั่วคราว เพื่อให้เรือมีสัญชาติไทยเพื่อสะดวกในการนำเรือชูไก 1 ออกจากประเทศญี่ปุ่นกลับมายังประเทศไทยเป็นกระบวนการรับมอบเรือเพื่อนำมาใช้ในกิจการของโจทก์ จึงยังไม่อาจถือได้ว่า เรือชูไก 1 เป็นเรือกลเดินทะเลระหว่างประเทศ ธ. ก็เคยทำหน้าที่นายเรือนำเรือรู้ค้า 1 และรู้ค้า 2 จากประเทศญี่ปุ่น เดินทางกลับมายังประเทศไทยแล้ว การทำหน้าที่นายเรือของเรือชูไก 1 ของ ธ. จึงไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับกฎระเบียบของกรมเจ้าท่า
โจทก์จัดให้เรือทั้งสามลำอยู่ในสภาพพร้อมออกเดินทางในทะเลได้อย่างปลอดภัย ส่วนสภาพอากาศและท้องทะเล ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุทะเลมีคลื่นลมแรงจัด คลื่นสูงกว่า 3 เมตร ทำให้เรือทั้งสามลำมีการฉุดกระชากกัน ทำให้เชือกที่ผูกยึดโยงเรือชูไก 1 และเรือชูไก 2 ขาด เรือชูไก 2 และเรือชูไก 3 หลุดไปจากการควบคุม และทำให้เรือชูไก 2 จมหายไป ซึ่งสภาพแห่งท้องทะเลที่อาจมีคลื่นลมแรง และคลื่นสูงกว่าปกติ เป็นเหตุการณ์ปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในท้องทะเล และการที่เชือกที่ใช้ยึดโยงเรือขาด ก็มิได้หมายความว่าเชือกที่ใช้มีขนาดเล็กหรือการยึดโยงไม่เหมาะสม สภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้พุกใช้เชือกยึดเรือชูไก 2 หลุดจากตัวเรือ แสดงว่า ความรุนแรงในการฉุดกระชากที่มากกว่าปกติ การที่เชือกไม่ขาดแต่เหนี่ยวกระชากจนพุกหลุด ซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากการคาดคะเน ถือได้ว่า ความสูญหายหรือเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นภัยพิบัติทางทะเลโดยแท้ มิได้เกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลใดหรือเกิดขึ้นจากความบกพร่องโดยตรงของการกระทำของบุคคลใด ทั้งมิใช่ความเสียหายตามปกติธรรมดาหรือซึ่งคาดหมายได้ว่าน่าจะเกิดขึ้นโดยทั่วไปจากการเดินเรือ ความสูญหายของเรือชูไก 2 จึงเกิดจากภัยพิบัติทางทะเล จำเลยผู้รับประกันภัยต้องรับผิดตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย
ความรับผิดของจำเลยเป็นไปตามสัญญาประกันภัย มิใช่ความรับผิดฐานละเมิด โจทก์จึงชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดเมื่อถูกทวงถามแล้วเท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
เรือชูไก 1 เป็นเรือกลเดินทะเลขนาด 99.97 ตันกรอส จัดอยู่ในประเภทเรือกลเดินทะเลขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส หากจะใช้ในกิจการเดินเรือระหว่างประเทศ นายเรือของเรือชูไก 1 จะต้องมีประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส หรือประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 ถึง 3,100 ตันกรอส และได้รับประกาศนียบัตรที่เหมาะสมสำหรับนายเรือของเรือนั้น ธ. ผู้ทำหน้าที่นายเรือของเรือชูไก 1 มีประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 ถึง 3,100 ตันกรอส แม้ ธ. จะยังไม่ได้รับประกาศนียบัตรที่เหมาะสม แต่ตามหนังสือของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีก็รับรองว่า การทำหน้าที่นายเรือของเรือชูไก 1 ขณะเกิดเหตุ ธ. มีประกาศนียบัตรคนประจำเรือสูงกว่าประกาศนียบัตรตามกำหนดข้อบังคับการตรวจเรือสำหรับการเป็นนายเรือชูไก 1 ถึง 2 ชั้น โจทก์เพิ่งซื้อและรับมอบเรือชูไก 1 พร้อมกับเรือชูไก 2 และชูไก 3 จากผู้ขายที่ประเทศญี่ปุ่น จึงยังมิได้จดทะเบียนเรือไทย การนำเรือชูไก 1 กลับประเทศไทย จึงต้องมีการออกทะเบียนเรือไทยชั่วคราว เพื่อให้เรือมีสัญชาติไทยเพื่อสะดวกในการนำเรือชูไก 1 ออกจากประเทศญี่ปุ่นกลับมายังประเทศไทยเป็นกระบวนการรับมอบเรือเพื่อนำมาใช้ในกิจการของโจทก์ จึงยังไม่อาจถือได้ว่า เรือชูไก 1 เป็นเรือกลเดินทะเลระหว่างประเทศ ธ. ก็เคยทำหน้าที่นายเรือนำเรือรู้ค้า 1 และรู้ค้า 2 จากประเทศญี่ปุ่น เดินทางกลับมายังประเทศไทยแล้ว การทำหน้าที่นายเรือของเรือชูไก 1 ของ ธ. จึงไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับกฎระเบียบของกรมเจ้าท่า
โจทก์จัดให้เรือทั้งสามลำอยู่ในสภาพพร้อมออกเดินทางในทะเลได้อย่างปลอดภัย ส่วนสภาพอากาศและท้องทะเล ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุทะเลมีคลื่นลมแรงจัด คลื่นสูงกว่า 3 เมตร ทำให้เรือทั้งสามลำมีการฉุดกระชากกัน ทำให้เชือกที่ผูกยึดโยงเรือชูไก 1 และเรือชูไก 2 ขาด เรือชูไก 2 และเรือชูไก 3 หลุดไปจากการควบคุม และทำให้เรือชูไก 2 จมหายไป ซึ่งสภาพแห่งท้องทะเลที่อาจมีคลื่นลมแรง และคลื่นสูงกว่าปกติ เป็นเหตุการณ์ปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในท้องทะเล และการที่เชือกที่ใช้ยึดโยงเรือขาด ก็มิได้หมายความว่าเชือกที่ใช้มีขนาดเล็กหรือการยึดโยงไม่เหมาะสม สภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้พุกใช้เชือกยึดเรือชูไก 2 หลุดจากตัวเรือ แสดงว่า ความรุนแรงในการฉุดกระชากที่มากกว่าปกติ การที่เชือกไม่ขาดแต่เหนี่ยวกระชากจนพุกหลุด ซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากการคาดคะเน ถือได้ว่า ความสูญหายหรือเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นภัยพิบัติทางทะเลโดยแท้ มิได้เกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลใดหรือเกิดขึ้นจากความบกพร่องโดยตรงของการกระทำของบุคคลใด ทั้งมิใช่ความเสียหายตามปกติธรรมดาหรือซึ่งคาดหมายได้ว่าน่าจะเกิดขึ้นโดยทั่วไปจากการเดินเรือ ความสูญหายของเรือชูไก 2 จึงเกิดจากภัยพิบัติทางทะเล จำเลยผู้รับประกันภัยต้องรับผิดตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย
ความรับผิดของจำเลยเป็นไปตามสัญญาประกันภัย มิใช่ความรับผิดฐานละเมิด โจทก์จึงชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดเมื่อถูกทวงถามแล้วเท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมอบสินค้าขัดต่อสิทธิผู้รับตราส่ง และความรับผิดของตัวแทนผู้ขนส่งและผู้รับสินค้า
ใบตราส่งระบุว่า จำเลยเป็นตัวแทนผู้ขนส่งในการส่งมอบสินค้า แสดงว่าจำเลยมิใช่ผู้ขนส่งแต่เป็นเพียงตัวแทนของผู้ขนส่ง จำเลยจึงมิได้เป็นคู่สัญญากับผู้ส่งของในสัญญารับขนของทางทะเล จำเลยได้รับคำสั่งจาก ค. ตัวแทนของผู้ขนส่งให้มอบใบสั่งปล่อยสินค้าพิพาทแก่จำเลยร่วมโดยแจ้งว่าต้นฉบับใบตราส่งได้มีการเวนคืนให้แก่ผู้ขนส่งแล้วที่ต้นทางโดยส่งโทรสารใบตราส่งมายืนยันให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวด้วย จำเลยจึงได้มอบใบสั่งปล่อยสินค้าให้จำเลยร่วมนำไปรับมอบสินค้าโดยไม่ได้มีการเวนคืนใบตราส่งจากจำเลยร่วม ตามโทรสารใบตราส่งก็ปรากฏชื่อจำเลยร่วมเป็นผู้รับตราส่ง กรณีไม่มีเหตุให้จำเลยทราบได้ว่าคำสั่งให้ปล่อยสินค้าพิพาทแก่จำเลยร่วมเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ การที่จำเลยปล่อยสินค้าพิพาทให้แก่จำเลยร่วมโดยไม่ได้เวนคืนใบตราส่งจึงเป็นการที่จำเลยซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ขนส่งตามสัญญาตัวการตัวแทนระหว่างจำเลยกับผู้ขนส่งปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการโดยสุจริต ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตระบุเงื่อนไขไว้อย่างแจ้งชัดว่าเอกสารใบตราส่งให้ทำในนามโจทก์และให้แจ้งแก่จำเลยร่วม แม้ข้อความในตอนต่อมาจะระบุว่าเอกสารที่ใช้ในการส่งสินค้าทั้งหมดให้ออกในนามจำเลยร่วมก็ตาม ก็ย่อมหมายความว่าเอกสารที่ใช้ในการขนส่งทั้งหมดให้ออกในนามจำเลยร่วม เว้นแต่ใบตราส่งให้ทำในนามโจทก์กล่าวคือ ให้โจทก์เป็นผู้รับตราส่งและให้แจ้งการมาถึงประเทศไทยของเรือบรรทุกสินค้าพิพาทให้จำเลยร่วมทราบ นอกจากนี้ผู้บริหารของ ค. กับบริษัทจำเลยร่วมเป็นผู้บริหารกลุ่มเดียวกัน จำเลยร่วมรับสินค้าไปจากผู้ขนส่งตามคำสั่งของ ค. จึงเชื่อได้ว่าขณะที่จำเลยร่วมรับสินค้าพิพาทไปจากผู้ขนส่ง จำเลยร่วมย่อมทราบดีว่าผู้รับตราส่งคือโจทก์มิใช่จำเลยร่วม โดยจำเลยร่วมเป็นเพียงผู้รับแจ้งการมาถึงประเทศไทยของเรือบรรทุกสินค้าพิพาทเท่านั้น หามีสิทธิที่จะรับสินค้าพิพาทจากผู้ขนส่งได้ไม่ การที่จำเลยร่วมขอรับสินค้าพิพาทไปจากจำเลยตัวแทนผู้ขนส่งโดยไม่มีสิทธิ จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์โดยจงใจทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งไม่ได้รับสินค้าและไม่ได้รับชำระค่าสินค้าที่โจทก์ได้ชำระให้แก่ผู้ขายไปแล้ว จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตระบุเงื่อนไขไว้อย่างแจ้งชัดว่าเอกสารใบตราส่งให้ทำในนามโจทก์และให้แจ้งแก่จำเลยร่วม แม้ข้อความในตอนต่อมาจะระบุว่าเอกสารที่ใช้ในการส่งสินค้าทั้งหมดให้ออกในนามจำเลยร่วมก็ตาม ก็ย่อมหมายความว่าเอกสารที่ใช้ในการขนส่งทั้งหมดให้ออกในนามจำเลยร่วม เว้นแต่ใบตราส่งให้ทำในนามโจทก์กล่าวคือ ให้โจทก์เป็นผู้รับตราส่งและให้แจ้งการมาถึงประเทศไทยของเรือบรรทุกสินค้าพิพาทให้จำเลยร่วมทราบ นอกจากนี้ผู้บริหารของ ค. กับบริษัทจำเลยร่วมเป็นผู้บริหารกลุ่มเดียวกัน จำเลยร่วมรับสินค้าไปจากผู้ขนส่งตามคำสั่งของ ค. จึงเชื่อได้ว่าขณะที่จำเลยร่วมรับสินค้าพิพาทไปจากผู้ขนส่ง จำเลยร่วมย่อมทราบดีว่าผู้รับตราส่งคือโจทก์มิใช่จำเลยร่วม โดยจำเลยร่วมเป็นเพียงผู้รับแจ้งการมาถึงประเทศไทยของเรือบรรทุกสินค้าพิพาทเท่านั้น หามีสิทธิที่จะรับสินค้าพิพาทจากผู้ขนส่งได้ไม่ การที่จำเลยร่วมขอรับสินค้าพิพาทไปจากจำเลยตัวแทนผู้ขนส่งโดยไม่มีสิทธิ จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์โดยจงใจทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งไม่ได้รับสินค้าและไม่ได้รับชำระค่าสินค้าที่โจทก์ได้ชำระให้แก่ผู้ขายไปแล้ว จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5402/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายของสินค้า และการพิสูจน์เหตุสุดวิสัย
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเรือคอสแมน 1 และปรากฏตามใบตราส่งสินค้าว่าบริษัทเอฟ.เอช.เบิร์ตเทิลลิ่งเกเซลล์ชาฟต์เอ็ม.บี.เอช. จำกัด ในฐานะตัวแทนของผู้ขนส่งคือบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกใบตราส่งทั้งสองฉบับดังกล่าว ใบตราส่งเป็นเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งของและเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนของทางทะเล จึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าสินค้าที่ขนส่งเสียหายเป็นผลมาจากเหตุสุดวิสัยภยันตรายหรืออุบัติเหตุแห่งท้องทะเล การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่านายเรือคอสแมน 1 ได้ทำหนังสือปฏิเสธความรับผิดชอบทางทะเลไว้และคำแปลเอกสารโดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนทั้งไม่ปรากฏว่าตัวเรือหรือสิ่งของในเรือได้รับความเสียหาย จึงฟังไม่ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นหรือเป็นผลมาจากเหตุสุดวิสัย ภยันตรายหรืออุบัติเหตุแห่งท้องทะเลดังที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้าง แม้โนตารีปับลิกของประเทศไทยจะได้ลงชื่อรับรองในหนังสือปฏิเสธความรับผิดชอบทางทะเลของนายเรือ ก็มีหน้าที่รับรองแต่เพียงว่านายเรือคอสแมน 1 ได้ทำหนังสือปฏิเสธความรับผิดชอบทางทะเลไว้เท่านั้น ส่วนข้อความในหนังสือดังกล่าวจะตรงกับความจริงหรือไม่ โนตารีปับลิกไม่อาจให้การรับรองหรือยืนยันได้เพราะไม่ได้รู้เห็นเหตุการณ์ที่นายเรือประสบมาจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งต่อผู้รับตราส่งโจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยสินค้าที่ขนส่งมาเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6471/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนส่งสินค้าและการปฏิบัติตามสัญญา การเวนคืนใบตราส่งเป็นสาระสำคัญ
บรรดาหน้าที่และความรับผิดอันเกิดจากการซื้อขายสินค้ามีผลบังคับระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายกับบริษัท อ.ซึ่งเป็นผู้ซื้อ หามีผลใด ๆ เกี่ยวข้องถึงจำเลยซึ่งเป็นผู้รับขนไม่
โจทก์จำเลยทำสัญญารับขนของกันเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2534ซึ่งขณะนั้น พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังมิได้ใช้บังคับ กรณีจำต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับในฐานะเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามมาตรา 4 ซึ่งมาตรา 612 และ 613 ได้บัญญัติถึงรูปแบบและเหตุที่ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งไว้ ทั้งนี้ หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่บังคับให้ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งเสมอไป แต่หากเมื่อใดที่มีการทำใบตราส่งให้แก่กันแล้วจะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะอย่างชัดแจ้งว่า ผู้ขนส่งกับผู้รับตราส่งจะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อกันจึงจะรับของไปได้ ซึ่งจะเป็นไปตามมาตรา615 ที่บัญญัติว่า ถ้าได้ทำใบตราส่งให้แก่กัน ท่านว่าของนั้นจะรับมอบเอาไปได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่ง หรือเมื่อผู้รับตราส่งให้ประกันตามควร ดังนั้น เมื่อจำเลยได้ออกใบตราส่งให้แก่โจทก์ และจำเลยได้ส่งสินค้ารายนี้ให้แก่บริษัท อ.แล้ว โดยบริษัท อ.ไม่ได้เวนคืนใบตราส่งให้แก่จำเลย หรือให้ประกันตามควร อีกทั้งไม่มีคำสั่งของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง เมื่อจำเลยกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา615 จำเลยจึงเป็นผู้ผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ส่งสินค้าเรียกให้จำเลยผู้รับขนรับผิด เนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญารับขน ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่บริษัท อ.ผู้ซื้อ โดยที่บริษัทดังกล่าวไม่ได้เวนคืนใบตราส่ง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะคู่สัญญาให้ใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา เป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55
โจทก์มิได้ฟ้องในข้อความรับผิดของจำเลยในการที่ของสูญหายหรือบุบสลาย หรือส่งล่าช้า แต่เป็นการฟ้องว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาทำให้โจทก์เสียหายกรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 624 แต่มีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 193/30
โจทก์จำเลยทำสัญญารับขนของกันเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2534ซึ่งขณะนั้น พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังมิได้ใช้บังคับ กรณีจำต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับในฐานะเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามมาตรา 4 ซึ่งมาตรา 612 และ 613 ได้บัญญัติถึงรูปแบบและเหตุที่ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งไว้ ทั้งนี้ หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่บังคับให้ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งเสมอไป แต่หากเมื่อใดที่มีการทำใบตราส่งให้แก่กันแล้วจะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะอย่างชัดแจ้งว่า ผู้ขนส่งกับผู้รับตราส่งจะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อกันจึงจะรับของไปได้ ซึ่งจะเป็นไปตามมาตรา615 ที่บัญญัติว่า ถ้าได้ทำใบตราส่งให้แก่กัน ท่านว่าของนั้นจะรับมอบเอาไปได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่ง หรือเมื่อผู้รับตราส่งให้ประกันตามควร ดังนั้น เมื่อจำเลยได้ออกใบตราส่งให้แก่โจทก์ และจำเลยได้ส่งสินค้ารายนี้ให้แก่บริษัท อ.แล้ว โดยบริษัท อ.ไม่ได้เวนคืนใบตราส่งให้แก่จำเลย หรือให้ประกันตามควร อีกทั้งไม่มีคำสั่งของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง เมื่อจำเลยกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา615 จำเลยจึงเป็นผู้ผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ส่งสินค้าเรียกให้จำเลยผู้รับขนรับผิด เนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญารับขน ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่บริษัท อ.ผู้ซื้อ โดยที่บริษัทดังกล่าวไม่ได้เวนคืนใบตราส่ง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะคู่สัญญาให้ใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา เป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55
โจทก์มิได้ฟ้องในข้อความรับผิดของจำเลยในการที่ของสูญหายหรือบุบสลาย หรือส่งล่าช้า แต่เป็นการฟ้องว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาทำให้โจทก์เสียหายกรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 624 แต่มีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6471/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับขนส่งต่อผู้ส่งสินค้า กรณีไม่ปฏิบัติตามสัญญาขนส่งและการเวนคืนใบตราส่ง
บรรดาหน้าที่และความรับผิดอันเกิดจากการซื้อขายสินค้ามีผลบังคับระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายกับบริษัทอ. ซึ่งเป็นผู้ซื้อ หามีผลใด ๆ เกี่ยวข้องถึงจำเลยซึ่ง เป็นผู้รับขนไม่ โจทก์จำเลยทำสัญญารับขนของกันเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2534 ซึ่งขณะนั้น พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 ยังมิได้ใช้บังคับ กรณีจำต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1มาใช้บังคับในฐานะเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตาม มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 612 และ 613 ได้บัญญัติ ถึงรูปแบบและเหตุที่ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งไว้ทั้งนี้ หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่บังคับให้ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งเสมอไป แต่หากเมื่อใดที่มีการทำใบตราส่งให้แก่กันแล้วจะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะอย่างชัดแจ้งว่า ผู้ขนส่งกับผู้รับตราส่งจะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อกันจึงจะรับของไปได้ ซึ่งจะเป็นไปตาม มาตรา 615 ที่บัญญัติว่า ถ้าได้ทำใบตราส่งให้แก่กันท่านว่าของนั้นจะรับมอบเอาไปได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่งหรือเมื่อผู้รับตราส่งให้ประกันตามควร ดังนั้น เมื่อจำเลยได้ออกใบตราส่งให้แก่โจทก์ และจำเลยได้ส่งสินค้ารายนี้ให้แก่บริษัทอ.แล้วโดยบริษัทอ.ไม่ได้เวนคืนใบตราส่งให้แก่จำเลย หรือให้ประกันตามควร อีกทั้งไม่มีคำสั่งของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง เมื่อจำเลยกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 615จำเลยจึงเป็นผู้ผิดสัญญา โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ส่งสินค้าเรียกให้จำเลยผู้รับขนรับผิด เนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญารับขน ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่บริษัทอ.ผู้ซื้อโดยที่บริษัทดังกล่าวไม่ได้เวนคืนใบตราส่ง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะคู่สัญญาให้ใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญาเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์มิได้ฟ้องในข้อความรับผิดของจำเลยในการที่ของสูญหายหรือบุบสลาย หรือส่งล่าช้า แต่เป็นการฟ้องว่าจำเลย ปฏิบัติผิดสัญญาทำให้โจทก์เสียหายกรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624แต่มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6795/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนสินค้าทางทะเล: การคำนวณน้ำหนักสินค้าและข้อสงวนสิทธิในการส่งมอบสินค้า
การว่าจ้างขนส่งปุ๋ยสินค้าพิพาทเกิดขึ้นก่อนวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับ กรณีจึงนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้ไม่ได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยปุ๋ยจากบริษัท จ. และบริษัท อ. ผู้สั่งซื้อปุ๋ยจากประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียอ้างว่าการขนส่งของจำเลยทำให้เกิดความเสียหายแก่ปุ๋ยที่รับขน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำสืบได้ว่าได้ส่งมอบปุ๋ยสินค้าที่รับขนให้แก่บริษัทผู้สั่งซื้อครบถ้วนแล้ว
การคำนวณน้ำหนักปุ๋ยยูเรียที่ต้นทางใช้วิธีวัดอัตรากินน้ำลึกของเรือก่อนบรรทุกว่าเรือจมลงไปลึกเท่าใดและวัดอีกครั้งเมื่อบรรทุกแล้วอาจผิดพลาดได้ เพราะระดับน้ำทะเลอาจมีคลื่น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าวิธีคำนวณน้ำหนักของปุ๋ยยูเรียที่ท่าเรือต้นทางใช้วิธีวัดอัตรากินน้ำลึก แต่เมื่อปุ๋ยถึงท่าเรือปลายทางจะคำนวณน้ำหนักโดยตักปุ๋ยบรรจุใส่ถุงแล้วนำขึ้นเครื่องชั่งน้ำหนัก ปุ๋ยบางส่วนจึงอาจตกหล่นในการตักได้ ทั้งโจทก์มิได้นำสืบว่าการคำนวณน้ำหนักปุ๋ยด้วยวิธีวัดอัตราน้ำลึกจะได้เท่ากับวิธีตักปุ๋ยบรรจุถุงแล้วนำขึ้นเครื่องชั่งน้ำหนัก ฉะนั้นจึงฟังไม่ได้ว่าปุ๋ยที่จำเลยรับขนน้ำหนักขาดหายไป จำเลยจึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
การคำนวณน้ำหนักปุ๋ยยูเรียที่ต้นทางใช้วิธีวัดอัตรากินน้ำลึกของเรือก่อนบรรทุกว่าเรือจมลงไปลึกเท่าใดและวัดอีกครั้งเมื่อบรรทุกแล้วอาจผิดพลาดได้ เพราะระดับน้ำทะเลอาจมีคลื่น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าวิธีคำนวณน้ำหนักของปุ๋ยยูเรียที่ท่าเรือต้นทางใช้วิธีวัดอัตรากินน้ำลึก แต่เมื่อปุ๋ยถึงท่าเรือปลายทางจะคำนวณน้ำหนักโดยตักปุ๋ยบรรจุใส่ถุงแล้วนำขึ้นเครื่องชั่งน้ำหนัก ปุ๋ยบางส่วนจึงอาจตกหล่นในการตักได้ ทั้งโจทก์มิได้นำสืบว่าการคำนวณน้ำหนักปุ๋ยด้วยวิธีวัดอัตราน้ำลึกจะได้เท่ากับวิธีตักปุ๋ยบรรจุถุงแล้วนำขึ้นเครื่องชั่งน้ำหนัก ฉะนั้นจึงฟังไม่ได้ว่าปุ๋ยที่จำเลยรับขนน้ำหนักขาดหายไป จำเลยจึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6795/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนสินค้าทางทะเล: การพิสูจน์น้ำหนักสินค้าที่แตกต่างกันระหว่างต้นทางและปลายทาง และข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับขน
การว่าจ้างขนส่งปุ๋ยสินค้าพิพาทเกิดขึ้นก่อนวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับ กรณีจึงนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้ไม่ได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยปุ๋ยจากบริษัท จ. และบริษัท อ. ผู้สั่งซื้อปุ๋ยจากประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียอ้างว่าการขนส่งของจำเลยทำให้เกิดความเสียหายแก่ปุ๋ยที่รับขน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำสืบได้ว่าได้ส่งมอบปุ๋ยสินค้าที่รับขนให้แก่บริษัทผู้สั่งซื้อครบถ้วนแล้ว
การคำนวณน้ำหนักปุ๋ยยูเรียที่ต้นทางใช้วิธีวัดอัตรากินน้ำลึกของเรือก่อนบรรทุกว่าเรือจมลงไปลึกเท่าใดและวัดอีกครั้งเมื่อบรรทุกแล้วอาจผิดพลาดได้ เพราะระดับน้ำทะเลอาจมีคลื่น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าวิธีคำนวณน้ำหนักของปุ๋ยยูเรียที่ท่าเรือต้นทางใช้วิธีวัดอัตรากินน้ำลึก แต่เมื่อปุ๋ยถึงท่าเรือปลายทางจะคำนวณน้ำหนักโดยตักปุ๋ยบรรจุใส่ถุงแล้วนำขึ้นเครื่องชั่งน้ำหนัก ปุ๋ยบางส่วนจึงอาจตกหล่นในการตักได้ ทั้งโจทก์มิได้นำสืบว่าการคำนวณน้ำหนักปุ๋ยด้วยวิธีวัดอัตราน้ำลึกจะได้เท่ากับวิธีตักปุ๋ยบรรจุถุงแล้วนำขึ้นเครื่องชั่งน้ำหนัก ฉะนั้นจึงฟังไม่ได้ว่าปุ๋ยที่จำเลยรับขนน้ำหนักขาดหายไป จำเลยจึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
การคำนวณน้ำหนักปุ๋ยยูเรียที่ต้นทางใช้วิธีวัดอัตรากินน้ำลึกของเรือก่อนบรรทุกว่าเรือจมลงไปลึกเท่าใดและวัดอีกครั้งเมื่อบรรทุกแล้วอาจผิดพลาดได้ เพราะระดับน้ำทะเลอาจมีคลื่น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าวิธีคำนวณน้ำหนักของปุ๋ยยูเรียที่ท่าเรือต้นทางใช้วิธีวัดอัตรากินน้ำลึก แต่เมื่อปุ๋ยถึงท่าเรือปลายทางจะคำนวณน้ำหนักโดยตักปุ๋ยบรรจุใส่ถุงแล้วนำขึ้นเครื่องชั่งน้ำหนัก ปุ๋ยบางส่วนจึงอาจตกหล่นในการตักได้ ทั้งโจทก์มิได้นำสืบว่าการคำนวณน้ำหนักปุ๋ยด้วยวิธีวัดอัตราน้ำลึกจะได้เท่ากับวิธีตักปุ๋ยบรรจุถุงแล้วนำขึ้นเครื่องชั่งน้ำหนัก ฉะนั้นจึงฟังไม่ได้ว่าปุ๋ยที่จำเลยรับขนน้ำหนักขาดหายไป จำเลยจึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งต่อความเสียหายสินค้าจากตู้คอนเทนเนอร์ชำรุด แม้ส่งมอบให้ท่าเรือแล้ว
พระราชบัญญัติ การรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่21กุมภาพันธ์2535แต่มูลกรณีในคดีนี้เกิดขึ้นก่อนที่พระราชบัญญัติดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับจึงต้องใช้กฎหมายในขณะนั้นคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ปรับแก่กรณีแม้โจทก์จะฟ้องคดีหลังจากกฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้วก็ไม่อาจนำกฎหมายนี้มาปรับแก่คดีได้ ไม่ว่าความรับผิดของผู้ขนส่งจะสิ้นสุดลงเมื่อมีการส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยหรือไม่แต่เมื่อความชำรุดของตู้คอนเทนเนอร์มีมานานแล้วเป็นเหตุให้น้ำรั่วเข้าไปจนสินค้าเสียหายระหว่างขนส่งผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5809/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้กฎหมายต่างประเทศกับการรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการขนส่งทางทะเล
พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534เพิ่งใช้บังคับเมื่อวันที่21กุมภาพันธ์2535แต่การว่าจ้างขนส่งสินค้าพิพาททำสัญญากันก่อนวันที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534มีผลใช้บังคับดังนั้นในการฟ้องเรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับสินค้าพิพาทจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา616ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นอันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา4จะนำเอาพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534มาปรับใช้แก่คดีนี้หาได้ไม่ โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทจากบริษัทผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าพิพาทเมื่อสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายในระหว่างการขนส่งโจทก์มีหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา877และผลแห่งการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเช่นนั้นทำให้โจทก์อยู่ในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทได้ในนามของโจทก์เองตามมาตรา880วรรคหนึ่ง การรับช่วงสิทธิของโจทก์ดังกล่าวเกิดขึ้นโดยอำนาจแห่งกฎหมายตามมาตรา880วรรคหนึ่งหาใช่เกิดจากข้อตกลงในสัญญาไม่ดังนั้นข้อตกลงระหว่างผู้เอาประกันภัยกับจำเลยหรือผู้ส่งสินค้ากับจำเลยที่ตกลงกันให้นำข้อพิพาทอันเกิดจากใบตราส่งไปฟ้องต่อศาลของเมืองโคเปนเฮเกนและให้ใช้กฎหมายประเทศเดนมาร์กบังคับจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5809/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิทางกฎหมายในสัญญาขนส่งสินค้าทางทะเล และการใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 เพิ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 แต่การว่าจ้างขนส่งสินค้าพิพาททำสัญญากันก่อนวันที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับ ดังนั้นในการฟ้องเรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับสินค้าพิพาทจึงต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 616 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นอันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 4 จะนำเอา พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534มาปรับใช้แก่คดีนี้หาได้ไม่
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทจากบริษัทผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าพิพาท เมื่อสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายในระหว่างการขนส่งโจทก์มีหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา877 และผลแห่งการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเช่นนั้นทำให้โจทก์อยู่ในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทได้ในนามของโจทก์เองตาม มาตรา 880 วรรคหนึ่ง
การรับช่วงสิทธิของโจทก์ดังกล่าวเกิดขึ้นโดยอำนาจแห่งกฎหมายตามมาตรา 880 วรรคหนึ่ง หาใช่เกิดจากข้อตกลงในสัญญาไม่ ดังนั้น ข้อตกลงระหว่างผู้เอาประกันภัยกับจำเลยหรือผู้ส่งสินค้ากับจำเลยที่ตกลงกันให้นำข้อพิพาทอันเกิดจากใบตราส่งไปฟ้องต่อศาลของเมืองโคเปนเฮเกนและให้ใช้กฎหมายประเทศเดนมาร์กบังคับ จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทจากบริษัทผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าพิพาท เมื่อสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายในระหว่างการขนส่งโจทก์มีหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา877 และผลแห่งการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเช่นนั้นทำให้โจทก์อยู่ในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทได้ในนามของโจทก์เองตาม มาตรา 880 วรรคหนึ่ง
การรับช่วงสิทธิของโจทก์ดังกล่าวเกิดขึ้นโดยอำนาจแห่งกฎหมายตามมาตรา 880 วรรคหนึ่ง หาใช่เกิดจากข้อตกลงในสัญญาไม่ ดังนั้น ข้อตกลงระหว่างผู้เอาประกันภัยกับจำเลยหรือผู้ส่งสินค้ากับจำเลยที่ตกลงกันให้นำข้อพิพาทอันเกิดจากใบตราส่งไปฟ้องต่อศาลของเมืองโคเปนเฮเกนและให้ใช้กฎหมายประเทศเดนมาร์กบังคับ จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์