พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6237/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยจากเหตุเวนคืนที่ดิน โจทก์มีสิทธิเรียกเงินคืนจากลูกหนี้ร่วมกัน
ในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสัญญาจ้างพัฒนาที่ดินและก่อสร้างบ้าน โจทก์และจำเลยทั้งสี่ต่างทราบดีอยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่จะถูกเวนคืนเพื่อทำถนนเพียงแต่ยังไม่มีการสำรวจแนวเขตถนนที่แน่นอน เมื่อภายหลังมีการประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงผ่านที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสี่จึงไม่สามารถส่งมอบที่ดินพร้อมบ้านแก่โจทก์เพื่อได้ใช้ประโยชน์ตามสัญญา การชำระหนี้ย่อมตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้ จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกันย่อมไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตา 372 วรรคแรก โจทก์มีสิทธิเรียกเงินที่ชำระคืนจากจำเลยทั้งสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายไม้ฟืน: การส่งมอบไม่ได้เนื่องจากเหตุสุดวิสัย และสิทธิในการขอเงินมัดจำคืน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ส่งมอบไม้ฟืนที่ซื้อขายกันตามสัญญาขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำที่รับไปพร้อมดอกเบี้ยจำเลยมิได้ให้การว่าจำเลยได้ส่งมอบไม้ฟืนให้แก่โจทก์แล้วทั้งหมดหรือบางส่วนเพียงแต่ปฏิเสธว่าไม่เคยทำสัญญาซื้อขายไม้ฟืนกับโจทก์จึงรับฟังได้ว่าจำเลยไม่เคยส่งมอบไม้ฟืนให้แก่โจทก์เลยแต่เมื่อเป็นเพราะมีคำสั่งกระทรวงเกษตรฯให้สัมปทานทำไม้ในเขตป่าไม้ที่จำเลยจะทำไม้ฟืนส่งมอบให้โจทก์สิ้นสุดลงการชำระหนี้ของจำเลยจึงตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้ซึ่งเป็นผลให้จำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้แต่เมื่อสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนจำเลยก็ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตอบแทนโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องมัดจำคืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5191/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนและผลกระทบจากข้อจำกัดทางกฎหมายในการเช่าที่ราชพัสดุ
กรมธนารักษ์วางเงื่อนไขสำหรับผู้ประมูลสิทธิการเช่าเพื่อปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ราชพัสดุแปลงพิพาทว่าจะต้องเป็นนิติบุคคลซึ่งมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10,000,000 บาท การที่โจทก์ทำสัญญามอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นตัวแทนโจทก์ไปดำเนินการดังกล่าวจึงไม่สามารถทำได้ เพราะโจทก์และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4มิใช่นิติบุคคล ไม่มีสิทธิประมูล ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2ถึงที่ 4 จึงไม่มีผลบังคับ ขณะทำสัญญามอบอำนาจ จำเลยที่ 1 ยังไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลจำเลยที่ 1 จึงไม่จำต้องรับผิดต่อโจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการก็ไม่จำต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกันและเมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล ขณะทำสัญญาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่อาจเป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 ได้ สัญญาตัวการตัวแทนต่างฝ่ายต่างมีสิทธิเลิกสัญญาเวลาใด ๆ ก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ได้บอกเลิกสัญญาแล้วเพราะการดำเนินการตามที่มอบหมายขัดต่อกฎกระทรวงการคลัง การบอกเลิกสัญญาดังกล่าวจึงมิได้กระทำเมื่องานที่ได้รับมอบหมายได้กระทำสำเร็จแล้ว หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 รับผิดตามสัญญาโดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เชิดให้จำเลยที่ 1 กระทำการในนามของตน จึงเป็นตัวการตัวแทนต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามคำฟ้องไม่ได้กล่าวอ้างเรื่องการใช้ชื่อสกุลของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นชื่อของจำเลยที่ 1 มาเป็นเหตุให้ต้องรับผิดร่วมกัน ฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3728/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข การสูญหายของรถยนต์ และความรับผิดของผู้ซื้อ/ผู้ค้ำประกัน
สัญญาซื้อขายรถยนต์ซึ่งระบุว่า กรรมสิทธิ์ของยานยนต์ที่ซื้อขายจะยังไม่โอนเป็นของผู้ซื้อจนกว่าผู้ซื้อจะได้ชำระราคาซื้อขายด้วยเงินสดครบถ้วนตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาเสียก่อนนั้น เป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข ย่อมบังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 เมื่อคู่สัญญาตกลงซื้อขายกำหนดราคากันไว้เป็นจำนวนแน่นอนและโจทก์ผู้ขายให้จำเลยที่ 1 ผู้ซื้อชำระราคาในวันทำสัญญาจำนวนหนึ่งแล้วให้ผ่อนชำระราคาส่วนที่เหลือเป็นงวด และมีข้อตกลงว่าหากผู้ซื้อผิดนัดชำระราคางวดใด ยอมให้ผู้ขายเรียกให้ผู้ซื้อชำระราคาที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ทั้งหมดได้ทันทีดังนี้ จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันตามสัญญาซื้อขาย เมื่อจำเลยที่ 1มิได้ปฏิบัติตามสัญญาโดยผิดนัดชำระราคาตามงวดที่ได้ตกลงกันไว้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามข้อตกลงและจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องร่วมรับผิดด้วย แม้จะปรากฏต่อมาว่าก่อนถึงกำหนดชำระราคางวดที่ 14 รถยนต์ที่ซื้อขายถูกคนร้ายลักไปโดยไม่ปรากฏว่า เป็นความผิดของโจทก์หรือจำเลยที่ 1ก็ตาม แต่ตามสัญญาซื้อขายระบุไว้ชัดว่า หน้าที่ความรับผิดของผู้ซื้อย่อมไม่หมดสิ้นไปเนื่องจากการสูญหายของยานยนต์ดังกล่าวจำเลยที่ 1 จึงยังคงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์แก่โจทก์จนครบถ้วนเพราะข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการยกเว้นบทบัญญัติมาตรา 372 วรรคแรกแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญาย่อมตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ ไม่เป็นโมฆะตามมาตรา 114 เบี้ยประกันภัยที่โจทก์ได้ชำระแทนไป จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระให้โจทก์เต็มจำนวนตามสัญญา แต่ในส่วนอัตราดอกเบี้ยของเงินค่าเบี้ยประกันภัยมิได้กำหนดกันไว้ในสัญญาเหมือนเช่นเงินราคาค่ารถโจทก์จึงเรียกได้เพียงในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข vs. เช่าซื้อ: การสูญหายของทรัพย์สิน และผลผูกพันสัญญา
ในสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าโจทก์ผู้ขายเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าโดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราวดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา572แต่สัญญาดังกล่าวนอกจากใช้ชื่อว่าหนังสือสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขแล้วข้อความตามหนังสือสัญญาดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นสัญญาซื้อขายรถยนต์โดยโจทก์ผู้ขายยอมให้จำเลยผู้ซื้อผ่อนชำระราคามีเงื่อนไขว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อผู้ซื้อผ่อนชำระราคาครบถ้วนแล้วทั้งในกรณีผิดนัดผิดสัญญาหรือทรัพย์ตามสัญญาสูญหายก็ยังให้สิทธิผู้ขายได้รับชำระค่ารถส่วนที่ยังค้างชำระเต็มราคาค่ารถที่ซื้อขายแสดงให้เห็นว่ากรณีจะเป็นประการใดก็ตามคู่กรณีมีเจตนาให้ผู้ขายได้รับชำระราคารถยนต์ที่ซื้อขายจนครบถ้วนเท่านั้นไม่มีข้อตกลงว่าถ้าผู้ซื้อผิดนัดผิดสัญญาให้ผู้ขายริบบรรดาเงินที่ผู้ซื้อได้ใช้มาแล้วและผู้ขายเข้าครองรถยนต์เป็นของตนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา574สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิตามมาตรา459หาใช่สัญญาเช่าซื้อไม่การที่ผู้ขายกำหนดเงื่อนไขการรักษาการใช้และการเอาประกันภัยรถยนต์ในระหว่างผ่อนใช้ราคาไม่ครบก็ดีให้ผู้ซื้อต้องมีผู้ค้ำประกันในการปฏิบัติตามสัญญาก็ดีก็เป็นเพียงการสงวนทรัพย์สินและแสวงหาหลักประกันของผู้เขายเพื่อให้ได้รับชำระราคาครบถ้วนแน่นอนยิ่งขึ้นเท่านั้นหาเป็นเหตุให้สัญญากลายเป็นการเช่าซื้อไม่ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขระบุว่าแม้ว่าสัญญาฉบับนี้จะผ่านการโอนการต่ออายุหรือการเปลี่ยนมืออย่างใดหรือตัวยานยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาต้องประสบความสูญเสียเสียหายหรือย่อยยับประการใดผู้ซื้อก็หาหลุดพ้นจากหน้าที่รับผิดตามสัญญาฉบับนี้แต่อย่างใดไม่ข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายรวมตลอดถึงยานยนต์สูญหายไปเพราะเหตุถูกคนร้ายลักไปด้วยฉะนั้นเมื่อระหห่างที่จำเลยชำระเงินค่าซื้อรถยนต์ตามสัญญายังไม่ครบถ้วนรถถูกคนร้ายลักไปยังไม่ได้กลับคืนมาจำเลยก็ยังคงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์แก่โจทก์จนครบถ้วนข้อสัญญาดังกล่าวข้างต้นเป็นการยกเว้นบทบัญญัติมาตรา372วรรคแรกซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนคู่สัญญาย่อมตกลงกันให้เป็นอย่างอื่นได้ข้อสัญญานั้นจึงไม่ตกเป็นโมฆะตามมาตรา114 เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระราคารถยนต์ให้โจทก์แม้รถนั้นจะสูญหายไปแต่จำเลยมิได้ชำระจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้วจึงเป็นผลให้สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขฉบับพิพาทสิ้นสุดลงคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา391จำเลยต้องคืนรถให้โจทก์และโจทก์ต้องคืนเงินค่ารถที่ได้รับไว้แล้วพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลยแต่ปรากฏว่ารถยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาสูญหายเพราะถูกลักไปยังไม่ได้คืนจำเลยไม่สามารถส่งรถยนต์คืนให้โจทก์ได้จำเลยที่1จึงต้องชำระราคารถให้แทนโดยชำระเฉพาะส่วนที่ยังส่งไม่ครบพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกสัญญาตามมาตรา224.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข vs. เช่าซื้อ: ความรับผิดของผู้ซื้อเมื่อรถหาย และดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา
ในสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าโจทก์ผู้ขายเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่า จะขายทรัพย์สินนั้น หรือจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าโดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 แต่สัญญาดังกล่าวนอกจากใช้ชื่อว่าหนังสือสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขแล้ว ข้อความตามหนังสือสัญญาดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นสัญญาซื้อขายรถยนต์โดยโจทก์ผู้ขายยอมให้จำเลยผู้ซื้อผ่อนชำระราคามีเงื่อนไขว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อผู้ซื้อผ่อนชำระราคาครบถ้วนแล้ว ทั้งในกรณีผิดนัดผิดสัญญา หรือทรัพย์ตามสัญญาสูญหายก็ยังให้สิทธิผู้ขายได้รับชำระค่ารถส่วนที่ยังค้างชำระเต็มราคาค่ารถที่ซื้อขายแสดงให้เห็นว่า กรณีจะเป็นประการใดก็ตาม คู่กรณีมีเจตนาให้ผู้ขายได้รับชำระราคารถยนต์ที่ซื้อขายจนครบถ้วนเท่านั้น ไม่มีข้อตกลงว่าถ้าผู้ซื้อผิดนัดผิดสัญญา ให้ผู้ขายริบบรรดาเงินที่ผู้ซื้อได้ใช้มาแล้ว และผู้ขายเข้าครองรถยนต์เป็นของตนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 574 สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิตาม มาตรา 459 หาใช่สัญญาเช่าซื้อไม่ การที่ผู้ขายกำหนดเงื่อนไขการรักษา การใช้ และการเอาประกันภัยรถยนต์ในระหว่างผ่อนใช้ราคาไม่ครบก็ดี ให้ผู้ซื้อต้องมีผู้ค้ำประกันในการปฏิบัติตามสัญญาก็ดี ก็เป็นเพียงการสงวนทรัพย์สินและแสวงหาหลักประกันของผู้เขายเพื่อให้ได้รับชำระราคาครบถ้วนแน่นอนยิ่งขึ้นเท่านั้น หาเป็นเหตุให้สัญญากลายเป็นการเช่าซื้อไม่
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขระบุว่า แม้ว่าสัญญาฉบับนี้จะผ่านการโอนการต่ออายุหรือการเปลี่ยนมืออย่างใด หรือตัวยานยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาต้องประสบความสูญเสียเสียหายหรือย่อยยับประการใด ผู้ซื้อก็หาหลุดพ้นจากหน้าที่รับผิดตามสัญญาฉบับนี้แต่อย่างใดไม่ ข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายรวมตลอดถึงยานยนต์สูญหายไปเพราะเหตุถูกคนร้ายลักไปด้วย ฉะนั้น เมื่อระหว่างที่จำเลยชำระเงินค่าซื้อรถยนต์ตามสัญญายังไม่ครบถ้วน รถถูกคนร้ายลักไปยังไม่ได้กลับคืนมา จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์แก่โจทก์จนครบถ้วน ข้อสัญญาดังกล่าวข้างต้นเป็นการยกเว้นบทบัญญัติ มาตรา 372 วรรคแรก ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญาย่อมตกลงกันให้เป็นอย่างอื่นได้ ข้อสัญญานั้นจึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม มาตรา 114
เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระราคารถยนต์ให้โจทก์แม้รถนั้นจะสูญหายไปแต่จำเลยมิได้ชำระ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว จึงเป็นผลให้สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขฉบับพิพาทสิ้นสุดลง คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม มาตรา 391 จำเลยต้องคืนรถให้โจทก์ และโจทก์ต้องคืนเงินค่ารถที่ได้รับไว้แล้วพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลย แต่ปรากฏว่ารถยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาสูญหายเพราะถูกลักไปยังไม่ได้คืนจำเลยไม่สามารถส่งรถยนต์คืนให้โจทก์ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระราคารถให้แทน โดยชำระเฉพาะส่วนที่ยังส่งไม่ครบพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกสัญญา ตามมาตรา 224
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขระบุว่า แม้ว่าสัญญาฉบับนี้จะผ่านการโอนการต่ออายุหรือการเปลี่ยนมืออย่างใด หรือตัวยานยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาต้องประสบความสูญเสียเสียหายหรือย่อยยับประการใด ผู้ซื้อก็หาหลุดพ้นจากหน้าที่รับผิดตามสัญญาฉบับนี้แต่อย่างใดไม่ ข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายรวมตลอดถึงยานยนต์สูญหายไปเพราะเหตุถูกคนร้ายลักไปด้วย ฉะนั้น เมื่อระหว่างที่จำเลยชำระเงินค่าซื้อรถยนต์ตามสัญญายังไม่ครบถ้วน รถถูกคนร้ายลักไปยังไม่ได้กลับคืนมา จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์แก่โจทก์จนครบถ้วน ข้อสัญญาดังกล่าวข้างต้นเป็นการยกเว้นบทบัญญัติ มาตรา 372 วรรคแรก ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญาย่อมตกลงกันให้เป็นอย่างอื่นได้ ข้อสัญญานั้นจึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม มาตรา 114
เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระราคารถยนต์ให้โจทก์แม้รถนั้นจะสูญหายไปแต่จำเลยมิได้ชำระ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว จึงเป็นผลให้สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขฉบับพิพาทสิ้นสุดลง คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม มาตรา 391 จำเลยต้องคืนรถให้โจทก์ และโจทก์ต้องคืนเงินค่ารถที่ได้รับไว้แล้วพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลย แต่ปรากฏว่ารถยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาสูญหายเพราะถูกลักไปยังไม่ได้คืนจำเลยไม่สามารถส่งรถยนต์คืนให้โจทก์ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระราคารถให้แทน โดยชำระเฉพาะส่วนที่ยังส่งไม่ครบพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกสัญญา ตามมาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาสร้างอาคารบนที่ดินจัดสรร ที่ดินจะถูกเวนคืน เบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลลดเบี้ยปรับให้เหมาะสม
จำเลยทำสัญญาซื้อที่ดินจัดสรรจาก ล. โดยวางเงินให้ ผู้ขายแล้วบางส่วนและได้ทำสัญญาจ้างเหมาโจทก์ให้ ปลูกสร้างอาคารตึกแถวสองชั้น 1 หลังบนที่ดินนั้น จำเลย ได้ชำระเงินค่าที่ดินให้ผู้ขายแล้วบางส่วนและชำระค่าจ้าง ปลูกสร้างอาคารให้โจทก์ในวันทำสัญญาส่วนหนึ่งส่วนที่ เหลือแบ่งชำระในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินงวดหนึ่งและเมื่อโจทก์ปลูกสร้างอาคารเสร็จ และจำเลยรับมอบแล้วอีก งวดหนึ่ง ระหว่างก่อสร้างได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวง ที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินประกาศใช้บังคับคลุมถึงที่ดินและ อาคารพิพาทแต่ข้อเท็จจริงยังไม่แน่นอนว่าที่ดินนั้นต้อง ถูกเวนคืนหรือไม่เพราะยังไม่ได้มีการสำรวจโดยเฉพาะเจาะจงและยังไม่มีข้อห้ามจำหน่ายจ่ายโอนโดยเด็ดขาดโดยให้มีการ โอนกรรมสิทธิ์ได้เมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เวนคืน อสังหาริมทรัพย์เสียก่อนดังนี้ที่ดินแปลงที่จำเลยซื้อและ จ้างเหมาโจทก์ปลูกสร้างอาคารยังอยู่ในวิสัยที่ผู้ขายจะขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ขายให้จำเลยได้ หาได้ตกเป็นการ พ้นวิสัยที่จะโอนให้แก่กันไม่ จำเลยจึงจะยกข้ออ้างที่ ว่าที่ดินและอาคารถูกเวนคืนจึงไม่ต้องชำระค่าจ้างเหมาแก่ โจทก์หาได้ไม่ ข้อสัญญาจ้างเหมาระหว่างโจทก์จำเลยที่ว่า ถ้าผู้ว่าจ้าง ผิดนัดไม่ชำระค่าจ้างเหมาปลูกสร้างอาคารแก่ผู้รับจ้างไม่ว่า ในงวดใด ๆผู้รับจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยถือว่ากรรมสิทธิ์ ในอาคารเป็นของผู้รับจ้างและยินยอมให้ผู้รับจ้างเข้า รับช่วงสิทธิการซื้อที่ดินแทนโดยมิคิดค่าตอบแทนและให้ผู้รับจ้างริบเงินค่าจ้างเหมาที่ได้ชำระให้แก่ผู้รับจ้าง ไว้แล้วทั้งหมดนั้นเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้า ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างไม่ชำระสินจ้างให้ตรงตามเวลาที่กำหนด ไว้ ถือเป็นเบี้ยปรับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382 ประกอบด้วย มาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลมี อำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม มาตรา 383 เมื่อ โจทก์ปลูกสร้างอาคารตามสัญญาแล้วเสร็จและจำเลยรับมอบการที่ทำจากโจทก์แล้วไม่ชำระค่าจ้างเหมาแก่โจทก์และโจทก์บอกเลิก สัญญามาฟ้องขอให้บังคับจำเลยและบริวารออกไปจากอาคารที่ สร้างขึ้นนั้นโดยถือว่ากรรมสิทธิ์ในอาคารตกเป็นของโจทก์ ตามข้อสัญญา และให้จำเลยส่งมอบอาคารดังกล่าวแก่โจทก์ใน สภาพเรียบร้อย หากส่งไม่ได้ให้ใช้เงินแทนดังนี้ ศาลย่อมพิพากษาลดเบี้ยปรับดังกล่าวเป็นให้จำเลยชำระเบี้ยปรับ เป็นเงินแก่โจทก์เท่านั้นโดยให้ยกคำขออื่นเสียได้ หมายเหตุ วรรคสองหารือในที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2528
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาปลูกสร้างอาคารและการบังคับชำระค่าจ้างเมื่อมีข้ออ้างเรื่องเวนคืนที่ดิน
จำเลยทำสัญญาซื้อที่ดินจัดสรรจาก ล. โดยวางเงินให้ ผู้ขายแล้วบางส่วนและได้ทำสัญญาจ้างเหมาโจทก์ให้ ปลูกสร้างอาคารตึกแถวสองชั้น 1 หลังบนที่ดินนั้น จำเลย ได้ชำระเงินค่าที่ดินให้ผู้ขายแล้วบางส่วนและชำระค่าจ้าง ปลูกสร้างอาคารให้โจทก์ในวันทำสัญญาส่วนหนึ่งส่วนที่ เหลือแบ่งชำระในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินงวดหนึ่งและเมื่อโจทก์ปลูกสร้างอาคารเสร็จ และจำเลยรับมอบแล้วอีกงวดหนึ่ง ระหว่างก่อสร้างได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวง ที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินประกาศใช้บังคับคลุมถึงที่ดินและ อาคารพิพาทแต่ข้อเท็จจริงยังไม่แน่นอนว่าที่ดินนั้นต้อง ถูกเวนคืนหรือไม่เพราะยังไม่ได้มีการสำรวจโดยเฉพาะเจาะจงและยังไม่มีข้อห้ามจำหน่ายจ่ายโอนโดยเด็ดขาดโดยให้มีการ โอนกรรมสิทธิ์ได้เมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เวนคืน อสังหาริมทรัพย์เสียก่อนดังนี้ที่ดินแปลงที่จำเลยซื้อและ จ้างเหมาโจทก์ปลูกสร้างอาคารยังอยู่ในวิสัยที่ผู้ขายจะขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ขายให้จำเลยได้ หาได้ตกเป็นการพ้นวิสัยที่จะโอนให้แก่กันไม่ จำเลยจึงจะยกข้ออ้างที่ว่าที่ดินและอาคารถูกเวนคืนจึงไม่ต้องชำระค่าจ้างเหมาแก่ โจทก์หาได้ไม่
ข้อสัญญาจ้างเหมาระหว่างโจทก์จำเลยที่ว่า ถ้าผู้ว่าจ้างผิดนัดไม่ชำระค่าจ้างเหมาปลูกสร้างอาคารแก่ผู้รับจ้างไม่ว่า ในงวดใด ๆ ผู้รับจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยถือว่ากรรมสิทธิ์ ในอาคารเป็นของผู้รับจ้างและยินยอมให้ผู้รับจ้างเข้ารับช่วงสิทธิการซื้อที่ดินแทนโดยมิคิดค่าตอบแทนและให้ผู้รับจ้างริบเงินค่าจ้างเหมาที่ได้ชำระให้แก่ผู้รับจ้าง ไว้แล้วทั้งหมดนั้นเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้า ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างไม่ชำระสินจ้างให้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ ถือเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382 ประกอบด้วย มาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลมี อำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 เมื่อ โจทก์ปลูกสร้างอาคารตามสัญญาแล้วเสร็จและจำเลยรับมอบการที่ทำจากโจทก์แล้ว ไม่ชำระค่าจ้างเหมาแก่โจทก์และโจทก์บอกเลิก สัญญามาฟ้องขอให้บังคับจำเลยและบริวารออกไปจากอาคารที่ สร้างขึ้นนั้นโดยถือว่ากรรมสิทธิ์ในอาคารตกเป็นของโจทก์ ตามข้อสัญญาและให้จำเลยส่งมอบอาคารดังกล่าวแก่โจทก์ใน สภาพเรียบร้อยหากส่งไม่ได้ให้ใช้เงินแทนดังนี้ ศาลย่อมพิพากษาลดเบี้ยปรับดังกล่าวเป็นให้จำเลยชำระเบี้ยปรับ เป็นเงินแก่โจทก์เท่านั้นโดยให้ยกคำขออื่นเสียได้
หมายเหตุ วรรคสองหารือในที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2528
ข้อสัญญาจ้างเหมาระหว่างโจทก์จำเลยที่ว่า ถ้าผู้ว่าจ้างผิดนัดไม่ชำระค่าจ้างเหมาปลูกสร้างอาคารแก่ผู้รับจ้างไม่ว่า ในงวดใด ๆ ผู้รับจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยถือว่ากรรมสิทธิ์ ในอาคารเป็นของผู้รับจ้างและยินยอมให้ผู้รับจ้างเข้ารับช่วงสิทธิการซื้อที่ดินแทนโดยมิคิดค่าตอบแทนและให้ผู้รับจ้างริบเงินค่าจ้างเหมาที่ได้ชำระให้แก่ผู้รับจ้าง ไว้แล้วทั้งหมดนั้นเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้า ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างไม่ชำระสินจ้างให้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ ถือเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382 ประกอบด้วย มาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลมี อำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 เมื่อ โจทก์ปลูกสร้างอาคารตามสัญญาแล้วเสร็จและจำเลยรับมอบการที่ทำจากโจทก์แล้ว ไม่ชำระค่าจ้างเหมาแก่โจทก์และโจทก์บอกเลิก สัญญามาฟ้องขอให้บังคับจำเลยและบริวารออกไปจากอาคารที่ สร้างขึ้นนั้นโดยถือว่ากรรมสิทธิ์ในอาคารตกเป็นของโจทก์ ตามข้อสัญญาและให้จำเลยส่งมอบอาคารดังกล่าวแก่โจทก์ใน สภาพเรียบร้อยหากส่งไม่ได้ให้ใช้เงินแทนดังนี้ ศาลย่อมพิพากษาลดเบี้ยปรับดังกล่าวเป็นให้จำเลยชำระเบี้ยปรับ เป็นเงินแก่โจทก์เท่านั้นโดยให้ยกคำขออื่นเสียได้
หมายเหตุ วรรคสองหารือในที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2528
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 982/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเพื่อปลูกสร้างอาคาร: การผิดสัญญา, ค่าชดใช้, และการหักกลบลบกันของหนี้
ฎีกา มีประเด็นปัญหาที่มิได้ว่ากล่าวกันไว้ในชั้นอุทธรณ์ขึ้นมาด้วยฎีกาข้อนี้เป็นฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาย่อมไม่วินิจฉัยให้
สัญญาเช่าเพื่อการปลูกสร้างอาคารที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ชัดเจนพอแล้วว่า ให้ผู้เช่าคือโจทก์จัดการให้ผู้เช่าเดิมออกไปจากสถานที่เช่าให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 3 ปี ทั้งนี้ รวมทั้งการเจรจาหรือโดยการฟ้องร้องต่อศาลทั้งสองประการ และหากผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ผู้ให้เช่าทรงสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที สารสำคัญแห่งสัญญาข้อนี้อยู่ที่ว่า โจทก์จะต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะให้ผู้เช่าเดิมออกไปให้เสร็จภายใน 3 ปีมิใช่ว่าให้โจทก์ฟ้องภายใน 3 ปี เมื่อโจทก์ไม่สามารถขับไล่ให้เสร็จภายในกำหนด โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที
สัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาแล้ว ต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 มาปรับแก่คดีโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลย โจทก์มีสิทธิที่จะได้รับเงินคืนจากจำเลยเฉพาะการงานที่โจทก์ได้กระทำลงไป อันจำเลยได้รับประโยชน์จากการงานนั้นเท่านั้น
ค่าใช้จ่ายในการเจรจาและค่าใช้จ่ายในการฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิมออกไปจากสถานที่เช่า เมื่อในสัญญาได้ตกลงไว้ว่าผู้เช่ารับจะเป็นผู้เจรจาให้ผู้เช่าเดิมออกไปจากสถานที่เช่า หากขัดขืนก็เป็นหน้าที่ของผู้เช่าที่จะดำเนินการฟ้องขับไล่เอาเองโดยออกค่าใช้จ่ายด้วยทุนทรัพย์ของผู้เช่าเอง ดังนี้ ค่าใช้จ่ายทั้งสองประการนี้จึงไม่ใช่สิ่งที่จำเลยผู้ให้เช่าได้รับประโยชน์จากการงานที่โจทก์ผู้เช่าได้กระทำแต่เป็นค่าเสียหายที่โจทก์ผู้เช่าได้เสียไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืนจากจำเลย
ค่าใช้จ่ายในการงาน (การสร้างเขื่อน) ที่ในสัญญาไม่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะต้องกระทำ แต่ได้ความว่าถ้าไม่กระทำการงานนั้นโจทก์ผู้เช่าจะไม่อาจกระทำการก่อสร้างอาคารใหม่ตามสัญญาขึ้นได้โจทก์จึงได้กระทำ (สร้างเขื่อน) ลงและจำเลยผู้ให้เช่าได้ยินยอมเห็นชอบด้วยแล้ว ถือได้ว่าเป็นการงานที่โจทก์ได้ทำขึ้น และจำเลยได้รับประโยชน์จากการงานของโจทก์ จำเลยจึงต้องชดใช้เงินค่าก่อสร้างให้โจทก์
ในกรณีผิดสัญญา สิทธิของคู่สัญญาที่จะบังคับเอาแก่คู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญาย่อมมีอยู่สองประการ คือบังคับให้คู่สัญญาปฏิบัติการชำระหนี้ตามมูลหนี้ประการหนึ่งกับการบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายอีกประการหนึ่ง เมื่อจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายแล้วก็ย่อมจะบังคับให้โจทก์ชำระหนี้ตามสัญญาไม่ได้
การที่จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายผิดสัญญาเรียกร้องเป็นเงินค่าที่ทำให้จำเลยไม่ได้กรรมสิทธิ์ในตึกแถว 30 ห้อง ซึ่งถ้าหากโจทก์ไม่ผิดสัญญา โจทก์จะต้องสร้างให้จำเลยนั้นถือได้ว่าจำเลยฟ้องให้โจทก์สร้างตึกให้จำเลย ถ้าสร้างไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนเท่ากับฟ้องบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งจำเลยจะใช้สิทธิดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและสัญญาไม่มีผลบังคับแล้ว ราคาตึกที่เรียกร้องจึงไม่ใช่ค่าเสียหายอันจำเลยจะพึงเรียกได้
เงินค่าตอบแทนในการเข้าทำสัญญา เป็นเงินที่คู่สัญญาทำกันไว้ว่า เพื่อเป็นการตอบแทนในการที่จำเลยตกลงให้สิทธิต่าง ๆ แก่โจทก์คู่สัญญาโดยกำหนดชำระเงินกันเป็นงวด เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ทำให้จำเลยขาดประโยชน์ที่จะได้รับเงินค่าตอบแทนนี้จึงเป็นค่าเสียหายที่จำเลยจะเรียกร้องจากโจทก์ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10 ถึง 13/2513)
สัญญาเช่าเพื่อการปลูกสร้างอาคารที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ชัดเจนพอแล้วว่า ให้ผู้เช่าคือโจทก์จัดการให้ผู้เช่าเดิมออกไปจากสถานที่เช่าให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 3 ปี ทั้งนี้ รวมทั้งการเจรจาหรือโดยการฟ้องร้องต่อศาลทั้งสองประการ และหากผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ผู้ให้เช่าทรงสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที สารสำคัญแห่งสัญญาข้อนี้อยู่ที่ว่า โจทก์จะต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะให้ผู้เช่าเดิมออกไปให้เสร็จภายใน 3 ปีมิใช่ว่าให้โจทก์ฟ้องภายใน 3 ปี เมื่อโจทก์ไม่สามารถขับไล่ให้เสร็จภายในกำหนด โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที
สัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาแล้ว ต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 มาปรับแก่คดีโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลย โจทก์มีสิทธิที่จะได้รับเงินคืนจากจำเลยเฉพาะการงานที่โจทก์ได้กระทำลงไป อันจำเลยได้รับประโยชน์จากการงานนั้นเท่านั้น
ค่าใช้จ่ายในการเจรจาและค่าใช้จ่ายในการฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิมออกไปจากสถานที่เช่า เมื่อในสัญญาได้ตกลงไว้ว่าผู้เช่ารับจะเป็นผู้เจรจาให้ผู้เช่าเดิมออกไปจากสถานที่เช่า หากขัดขืนก็เป็นหน้าที่ของผู้เช่าที่จะดำเนินการฟ้องขับไล่เอาเองโดยออกค่าใช้จ่ายด้วยทุนทรัพย์ของผู้เช่าเอง ดังนี้ ค่าใช้จ่ายทั้งสองประการนี้จึงไม่ใช่สิ่งที่จำเลยผู้ให้เช่าได้รับประโยชน์จากการงานที่โจทก์ผู้เช่าได้กระทำแต่เป็นค่าเสียหายที่โจทก์ผู้เช่าได้เสียไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืนจากจำเลย
ค่าใช้จ่ายในการงาน (การสร้างเขื่อน) ที่ในสัญญาไม่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะต้องกระทำ แต่ได้ความว่าถ้าไม่กระทำการงานนั้นโจทก์ผู้เช่าจะไม่อาจกระทำการก่อสร้างอาคารใหม่ตามสัญญาขึ้นได้โจทก์จึงได้กระทำ (สร้างเขื่อน) ลงและจำเลยผู้ให้เช่าได้ยินยอมเห็นชอบด้วยแล้ว ถือได้ว่าเป็นการงานที่โจทก์ได้ทำขึ้น และจำเลยได้รับประโยชน์จากการงานของโจทก์ จำเลยจึงต้องชดใช้เงินค่าก่อสร้างให้โจทก์
ในกรณีผิดสัญญา สิทธิของคู่สัญญาที่จะบังคับเอาแก่คู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญาย่อมมีอยู่สองประการ คือบังคับให้คู่สัญญาปฏิบัติการชำระหนี้ตามมูลหนี้ประการหนึ่งกับการบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายอีกประการหนึ่ง เมื่อจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายแล้วก็ย่อมจะบังคับให้โจทก์ชำระหนี้ตามสัญญาไม่ได้
การที่จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายผิดสัญญาเรียกร้องเป็นเงินค่าที่ทำให้จำเลยไม่ได้กรรมสิทธิ์ในตึกแถว 30 ห้อง ซึ่งถ้าหากโจทก์ไม่ผิดสัญญา โจทก์จะต้องสร้างให้จำเลยนั้นถือได้ว่าจำเลยฟ้องให้โจทก์สร้างตึกให้จำเลย ถ้าสร้างไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนเท่ากับฟ้องบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งจำเลยจะใช้สิทธิดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและสัญญาไม่มีผลบังคับแล้ว ราคาตึกที่เรียกร้องจึงไม่ใช่ค่าเสียหายอันจำเลยจะพึงเรียกได้
เงินค่าตอบแทนในการเข้าทำสัญญา เป็นเงินที่คู่สัญญาทำกันไว้ว่า เพื่อเป็นการตอบแทนในการที่จำเลยตกลงให้สิทธิต่าง ๆ แก่โจทก์คู่สัญญาโดยกำหนดชำระเงินกันเป็นงวด เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ทำให้จำเลยขาดประโยชน์ที่จะได้รับเงินค่าตอบแทนนี้จึงเป็นค่าเสียหายที่จำเลยจะเรียกร้องจากโจทก์ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10 ถึง 13/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายรถยนต์มีเงื่อนไข การพ้นวิสัย และผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของคู่สัญญา
โจทก์ขายรถยนต์เฟี้ยตให้จำเลยราคา 55,000 บาท โดยให้จำเลยชำระราคาด้วยเงินสด 20,000 บาท กับรถยนต์ออสตินของจำเลยตีราคา 35,000 บาท โจทก์จำเลยส่งมอบรถยนต์และเงินสดให้แก่กันแล้ว และตกลงจะไปโอนทะเบียนรถยนต์ให้กันเมื่อโจทก์ผ่อนชำระราคาครบและรับโอนทะเบียนมาจากกรมสวัสดิการฯ แล้ว ดังนี้ แสดงว่าทั้งสองฝ่ายยังไม่มีเจตนาโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ให้กันจนกว่าการจะได้เป็นไปตามเงื่อนไขแล้ว
ระหว่างที่เงื่อนไขยังไม่สำเร็จ รถยนต์เฟี้ยตซึ่งอยู่ในครอบครองของจำเลยถูกเพลิงไหม้ใช้การไม่ได้โดยไม่ใช่ความผิดของฝ่ายใด เป็นการพ้นวิสัยที่โจทก์จะโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์เฟี้ยตให้จำเลยได้ ดังนี้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะเรียกร้องให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ออสตินให้โจทก์ได้เพราะเป็นสัญญาต่างตอบแทนกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 372 วรรคแรก และเมื่อกรรมสิทธิ์ยังไม่โอนมายังโจทก์ ก็ไม่เรียกว่าเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการก่อให้เกิดหรือโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์นั้น ตามมาตรา 370และมาตรา 371 ก็บัญญัติว่า สัญญาต่างตอบแทนถ้ามีเงื่อนไขบังคับก่อน และทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญานั้นสูญหรือทำลายลงในระหว่างที่เงื่อนไขยังไม่สำเร็จ จะนำมาตรา 370 มาใช้บังคับไม่ได้อีกด้วย
ระหว่างที่เงื่อนไขยังไม่สำเร็จ รถยนต์เฟี้ยตซึ่งอยู่ในครอบครองของจำเลยถูกเพลิงไหม้ใช้การไม่ได้โดยไม่ใช่ความผิดของฝ่ายใด เป็นการพ้นวิสัยที่โจทก์จะโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์เฟี้ยตให้จำเลยได้ ดังนี้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะเรียกร้องให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ออสตินให้โจทก์ได้เพราะเป็นสัญญาต่างตอบแทนกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 372 วรรคแรก และเมื่อกรรมสิทธิ์ยังไม่โอนมายังโจทก์ ก็ไม่เรียกว่าเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการก่อให้เกิดหรือโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์นั้น ตามมาตรา 370และมาตรา 371 ก็บัญญัติว่า สัญญาต่างตอบแทนถ้ามีเงื่อนไขบังคับก่อน และทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญานั้นสูญหรือทำลายลงในระหว่างที่เงื่อนไขยังไม่สำเร็จ จะนำมาตรา 370 มาใช้บังคับไม่ได้อีกด้วย