คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 89 (10)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7016/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนองหลังผู้จำนองเสียชีวิต, เบี้ยปรับภาษีอากร และการประเมินที่ถูกต้องตามกฎหมาย
แม้โจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี หลังจากรู้ว่า ก. ตายก็ตาม แต่โจทก์ผู้รับจำนองยังสามารถใช้สิทธิบังคับจำนองได้ เพราะเหตุดังกล่าวไม่ทำให้หนี้ตามสัญญาจำนองระงับสิ้นไปตามที่ระบุไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 744
ป.รัษฎากร มาตรา 67 ตรี ได้กำหนดบทลงโทษให้ผู้เสียภาษีชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยที่ 1 เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 26 อีก
บทบัญญัติใน ป.รัษฎากร มาตรา 89 มิได้มุ่งหมายให้ลงโทษผู้กระทำผิดเรียงตามอนุมาตราไป แต่มุ่งหมายให้ลงโทษตามอนุมาตราที่กำหนดเบี้ยปรับสูงสุดเพียงอนุมาตราเดียว จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (2) (3) (4) หรือ (10) เพียงอนุมาตราเดียวซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์สามารถเรียกเก็บเบี้ยปรับได้สูงสุด
สำหรับกรณีเบี้ยปรับตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (8) และ (9) ทั้งสองกรณี เป็นการเสียเบี้ยปรับที่สามารถแยกจากบทบัญญัติตามมาตรา 89 (2) (3) (4) (10) ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (8) หรือ (9) อีกฐานหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6331/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับภาษี: การประเมินเบี้ยปรับตามมาตรา 89(4) และ (10) แห่งประมวลรัษฎากร การยื่นแบบแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้อง
จำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องเป็นเหตุให้จำนวนภาษีขายคลาดเคลื่อนไป จำเลยจึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 (4) และการกระทำของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการมิได้ทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนดหรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 87/1 หรือมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ อันจะทำให้ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของเงินภาษีซึ่งคำนวณจากฐานภาษีที่มิได้ทำรายงานหรือมิได้ลงรายการในรายงานให้ถูกต้องตามมาตรา 89 (10)
การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5003/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม การลดเบี้ยปรับตามพฤติการณ์ และการไม่ติดใจอุทธรณ์
ข้อกล่าวอ้างของโจทก์ที่ไม่ต้องเสียเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(10) นั้น หาได้ระบุไว้ในคำอุทธรณ์ที่ยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ ถือได้ว่าโจทก์ไม่ติดใจที่จะอุทธรณ์คัดค้านในประเด็นนี้แล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะยกขึ้นโต้แย้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในประเด็นที่ได้สละแล้วมาฟ้องต่อศาลได้อีก แม้จำเลยจะมิได้ให้การและอุทธรณ์ในประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ จากการตรวจสอบภาษีของเจ้าหน้าที่ของจำเลยพบว่าโจทก์ได้กระทำความผิดเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว2 ครั้ง จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะงดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์แต่เมื่อโจทก์เพิ่งจะกระทำความผิดในเรื่องไม่จัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบเป็นครั้งแรกและโจทก์ได้จัดทำรายงานภาษีขายและภาษีซื้อสำหรับเดือนภาษีพิพาทถูกต้อง ทั้งกรณีดังกล่าวจะต้องเสียเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(10) หรือไม่ยังเป็นปัญหาซึ่งเจ้าหน้าที่ของจำเลยเองก็มีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ ผู้ไม่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านภาษีอากรเยี่ยงโจทก์ย่อมยากจะเข้าใจว่าจะต้องเสียเบี้ยปรับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ประกอบกับโจทก์ก็ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีของเจ้าหน้าที่ของจำเลย เป็นอย่างดีและยินยอมเสียภาษีตามที่เจ้าพนักงานประเมิน ได้เรียกเก็บในชั้นแรก การที่จะให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามจำนวน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้กำหนดมา ย่อมหนักเกินไป ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้เหมาะสมตามพฤติการณ์แห่งรูปคดี โดยให้ลดเบี้ยปรับลง คงให้โจทก์เสียเพียงร้อยละ 25 ของเบี้ยปรับที่ถูกเรียกเก็บ