คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 216

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7195/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาสัญญาจ้างทำของ-ต่างตอบแทน สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย-หักกลบหนี้
โจทก์ว่าจ้างจำเลยทำแม่พิมพ์พื้นเตารีดในราคา 100,000 บาท จำเลยทำเสร็จพร้อมกับได้รับค่าจ้างแล้ว หลังจากนั้นโจทก์จ้างจำเลยใช้แม่พิมพ์ดังกล่าวผลิตพื้นเตารีดโดยโจทก์เป็นผู้จัดหาสัมภาระ คือแท่งทองแดงนำความร้อน 16,762 ชิ้น และจำเลยต้องผลิตพื้นเตารีดตามจำนวนแท่งทองแดงนำความร้อนดังกล่าวในราคาค่าจ้างชิ้นละ 32 บาท จำเลยผลิตเสร็จแล้วและแจ้งให้โจทก์ชำระค่าจ้าง 536,384 บาท แต่โจทก์ไม่ชำระ กลับมีหนังสือแจ้งให้จำเลยส่งมอบแม่พิมพ์พร้อมทั้งแท่งทองแดงนำความร้อน 16,762 ชิ้น คืนโจทก์ จำเลยจึงใช้สิทธิยึดหน่วงแม่พิมพ์และแท่งทองแดงนำความร้อนอันเป็นส่วนหนึ่งของพื้นเตารีด ต่อมาจำเลยได้แยกอะลูมิเนียมออกจากแท่งทองแดงนำความร้อนที่ผลิตเป็นพื้นเตารีดจนไม่มีสภาพเป็นพื้นเตารีดอีกต่อไป ถือได้โดยปริยายว่าโจทก์และจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกัน เมื่อโจทก์จำเลยคู่สัญญาไม่ได้มีข้อตกลงกันไว้และไม่มีทางจะบังคับเป็นอย่างอื่น ก็ต้องอนุโลมบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 คือ โจทก์จำเลยจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม สำหรับแม่พิมพ์หากส่งคืนไม่ได้ให้จำเลยใช้ราคา 100,000 บาท
สัญญาที่โจทก์ว่าจ้างให้จำเลยผลิตพื้นเตารีดเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 ขณะเดียวกันก็เป็นสัญญาต่างตอบแทนตามมาตรา 369 เมื่อสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันแล้ว โจทก์กับจำเลยต้องให้อีกฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. 391 วรรคหนึ่ง นอกจากนี้ มาตรา 391 วรรคสี่ ยังบัญญัติว่า การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ ซึ่งมีความหมายว่า การเลิกสัญญานั้นไม่ลบล้างความรับผิดที่ลูกหนี้ได้ก่อขึ้นก่อนแล้ว กล่าวคือ ถ้าลูกหนี้มีความรับผิดที่ไม่ชำระหนี้ซึ่งเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย เจ้าหนี้ก็มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213, 215, 216 เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้ทำการผลิตพื้นเตารีดตามที่โจทก์สั่งเสร็จแล้วแต่โจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระค่าจ้างซึ่งจำเลยทวงถามให้ชำระแล้ว โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดนัดก่อนมีการเลิกสัญญาแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นได้แม้ภายหลังโจทก์จำเลยจะเลิกสัญญาต่อกัน และแม้กรณีนี้จำเลยไม่ได้ส่งมอบพื้นเตารีดที่ผลิตเสร็จให้โจทก์ โดยจำเลยได้แยกอะลูมิเนียมออกจากแท่งทองแดงนำความร้อนที่ผลิตเป็นพื้นเตารีดออกจากกันจนไม่มีสภาพเป็นพื้นเตารีดอีกต่อไป จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับการงานอันจำเลยได้กระทำให้ที่จำเลยจะมีสิทธิได้รับค่าแห่งการงานนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก็ตาม แต่จำเลยก็ได้แสดงให้เห็นถึงความเสียหายส่วนนี้มาในคำให้การแล้ว ศาลจึงชอบที่จะกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวให้จำเลย แล้วนำมาหักกับราคาแท่งทองแดงนำความร้อนที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์ก่อนได้ ตามหลักในเรื่องสัญญาต่างตอบแทนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 392 ประกอบมาตรา 369

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3259/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเลิกสัญญาซื้อขายอาคารชุดกรณีผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเรื่องวัสดุอุปกรณ์และการก่อสร้าง
เงื่อนไขการจะซื้อจะขายมีใจความว่า "รายการก่อสร้างและวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างห้องชุดผู้จะซื้อจะต้องเป็นไปตามรายการที่ระบุไว้ของห้องชุดในเอกสารแนบท้าย 2 แต่ผู้จะขายสงวนสิทธิที่จะใช้วัสดุและอุปกรณ์อื่นที่มีคุณภาพเท่าเทียมกันแทนได้" เป็นเงื่อนไขกำหนดให้ผู้จะขายใช้วัสดุและอุปกรณ์อื่นแทนได้เฉพาะรายการก่อสร้างและวัสดุและอุปกรณ์ที่จะใช้ในการก่อสร้างห้องชุดของผู้จะซื้อเท่านั้น ตามเอกสารแนบท้ายสัญญา 2 รายการที่ระบุไว้ในรายการฝ้าเพดานระบุว่าส่วนกลางเป็นโครงสร้างอะลูมิเนียมทีบาร์บุยิปซัมบอร์ด จำเลยจึงไม่มีสิทธิก่อสร้างโดยใช้วัสดุและอุปกรณ์อื่นในทรัพย์ส่วนกลาง เมื่อปรากฏว่าเพดานคอนกรีตเสริมเหล็กที่เป็นทรัพย์ส่วนกลางก็คือโครงสร้างที่เป็นพื้นของห้องชุดชั้นที่อยู่เหนือขึ้นไปเท่ากับจำเลยมิได้ทำฝ้าเพดาน จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่จะบังคับให้จำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวได้
แม้จะมีข้อสัญญากำหนดไว้ให้เลิกสัญญาได้ในกรณีใดบ้าง หากมีกรณีที่ไม่ตรงตามข้อสัญญาแต่กลับตรงตามบทบัญญัติของกฎหมายก็สามารถเลิกสัญญาได้ เมื่อจำเลยมิได้ก่อสร้างฝ้าเพดานที่เป็นทรัพย์ส่วนกลางให้ถูกต้องตามข้อตกลงในสัญญาซึ่งเป็นเรื่องที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ซึ่งรวมถึงการชำระหนี้ที่ไม่ถูกต้องตามสัญญาด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ทั้งกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 216 ซึ่งเป็นเรื่องผลของการผิดนัดทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับประโยชน์จากการชำระหนี้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยก่อสร้างฝ้าเพดานอันเป็นทรัพย์ส่วนกลางให้ถูกต้องภายในกำหนด 1 เดือนอันเป็นระยะเวลาพอสมควรแต่จำเลยไม่ก่อสร้างให้ถูกต้อง โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้และไม่จำต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการจะซื้อจะขายข้อ 6.3 ที่ว่า หากโจทก์จะเลิกสัญญาต้องบอกกล่าวจำเลยล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 6 เดือนเพราะเป็นการเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย มิใช่การเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทตัวแทนจำหน่าย สินค้าค้างชำระ ค่าเอพีดี และหน้าที่คืนสินค้า
โจทก์เป็นผู้กำหนดเงินค่า เอพี ดี ให้แก่จำเลยต่อเมื่อจำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ไปจำหน่ายโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์หรือร้อยละของราคาสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อ และโจทก์ส่งมอบแต่ละครั้ง เมื่อจำเลยยังไม่ได้สั่งสินค้าจากโจทก์ และโจทก์ยังไม่ได้ส่งมอบ เงินเอพี ดี ที่โจทก์จะกำหนดให้จำเลยก็ไม่มี การที่จำเลยทดรองจ่ายเงิน เอพี ดี ไป จึงเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยพลการจำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาแก่โจทก์ โจทก์ให้สิทธิแก่จำเลยในการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในเขตกรุงเทพมหานคร มีกำหนด 2 ปี เมื่อจำเลยกระทำการอันเป็นการผิดข้อตกลงจนโจทก์ต้องบอกเลิกการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์แก่จำเลย และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยคืนสินค้าที่เหลืออยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายในกำหนด ทั้งจำเลยได้ทราบข้อความในหนังสือแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนสินค้าให้แก่โจทก์ การที่จำเลยไม่คืนสินค้าแก่โจทก์โดยปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมานานย่อมทำให้คุณภาพของสินค้าเสื่อมลงได้ จำเลยจึงต้องรับผิดในสินค้าเหล่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาตัวแทนจำหน่ายและผลกระทบจากการไม่คืนสินค้า
โจทก์เป็นผู้กำหนดเงินค่า เอ พี ดี ให้เแก่จำเลยต่อเมื่อจำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ไปจำหน่ายโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์หรือร้อยละของราคาสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อ และโจทก์ส่งมอบแต่ละครั้ง เมื่อจำเลยยังไม่ได้สั่งสินค้าจากโจทก์ และโจทก์ยังไม่ได้ส่งมอบ เงิน เอ พี ดี ที่โจทก์จะกำหนดให้จำเลยก็ไม่มี การที่จำเลยทดรองจ่ายเงิน เอ พี ดี ไป จึงเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยพลการ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาแก่โจทก์
โจทก์ให้สิทธิแก่จำเลยในการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในเขตกรุงเทพมหานคร มีกำหนด 2 ปี เมื่อจำเลยกระทำการอันเป็นการผิดข้อตกลงจนโจทก์ต้องบอกเลิกการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์แก่จำเลย และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยคืนสินค้าที่เหลืออยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายในกำหนด ทั้งจำเลยได้ทราบข้อความในหนังสือแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนสินค้าให้แก่โจทก์ การที่จำเลยไม่คืนสินค้าแก่โจทก์โดยปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมานานย่อมทำให้คุณภาพของสินค้าเสื่อมลงได้ จำเลยจึงต้องรับผิดในสินค้าเหล่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1856/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: กำหนดเวลาออก น.ส.3 เป็นสาระสำคัญสัญญา ผู้ขายผิดสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิเลิกสัญญาและเรียกเงินมัดจำคืน
โจทก์ได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตามหนังสือแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) จากจำเลย โดยโจทก์ประสงค์จะซื้อที่ดินพิพาทเพื่อเอาไปขายให้แก่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไม่ใช่ต้องการซื้อไว้ใช้เอง ซึ่งจำเลยก็รู้ความประสงค์ของโจทก์แล้ว การเอาไปขายต่อแก่มหาวิทยาลัย อันเป็นส่วนราชการเช่นนี้ ที่ดินต้องมีหลักฐาน น.ส. 3 และ ทางมหาวิทยาลัยจะต้องตั้งงบประมาณภายในกำหนดและการซื้อขายก็ต้องดำเนินการให้ทันงบประมาณ โจทก์จำเลยจึงตกลงกันว่า จำเลยจะต้องออก น.ส. 3 ของที่ดินพิพาทให้โจทก์ภายใน 90 วันนับแต่วันทำสัญญา หากไม่สามารถออกได้ภายในกำหนด โจทก์ก็ไม่ซื้อ เหตุแห่งการ ออกน.ส. 3 จึงเป็นข้อสารสำคัญและเจตนาของคู่สัญญาประสงค์ที่จะถือเอากำหนดเวลาในการออก น.ส. 3 เป็นสารสำคัญแห่งสัญญา ฉะนั้น เมื่อจำเลยยอมตกลงแต่ไม่อาจจัดการให้สำเร็จได้ตามสัญญา เวลาเป็นสารสำคัญแก่ผลประโยชน์ที่โจทก์จะพึงได้รับด้วยการส่งมอบ น.ส. 3 ณ เวลาที่มีกำหนดซึ่งหากล่าช้าย่อมเป็นการไร้ประโยชน์แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม ดังนั้น จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำค่าที่ดินที่รับไว้ให้โจทก์
แม้การออก น.ส. 3 จะล่าช้าไม่ทันตามกำหนด เวลาและเป็นเหตุให้โจทก์เลิกสัญญา แต่ความประสงค์ของโจทก์ต้องการซื้อที่ดินไปเสนอขายให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อหากำไร จึงได้กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 4 ว่า หากผู้จะขายผิดสัญญาฉบับนี้ตามที่กำหนดกัน ไว้ผู้จะขายยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อเป็นเงินสองเท่าของค่าที่ดินที่ซื้อขายกันนี้ทั้งหมด ทั้งสองแปลง เมื่อได้ความในภายหลังว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไม่ประสงค์จะซื้อที่ดินสองแปลงนี้แล้ว แม้จำเลยขอออก น.ส. 3 ทันตามกำหนดสัญญา โจทก์ก็ไม่อาจขายที่ดินสองแปลงนี้เพื่อหากำไรได้ โจทก์จึงไม่เสียหาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1856/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินมีเงื่อนไขเวลาออก น.ส.3 เป็นสาระสำคัญ ผู้ขายผิดสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินมัดจำคืน
โจทก์ได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตามหนังสือแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) จากจำเลย โดยโจทก์ประสงค์จะซื้อที่ดินพิพาทเพื่อเอาไปขายให้แก่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไม่ใช่ต้องการซื้อไว้ใช้เองซึ่งจำเลยก็รู้ความประสงค์ของโจทก์แล้ว การเอาไปขายต่อแก่มหาวิทยาลัย อันเป็นส่วนราชการเช่นนี้ที่ดินต้องมีหลักฐาน น.ส.3. และทางมหาวิทยาลัยจะต้องตั้งงบประมาณภายในกำหนดและการซื้อขายก็ต้องดำเนินการให้ทันงบประมาณโจทก์จำเลยจึงตกลงกันว่าจำเลยจะต้องออก น.ส.3 ของที่ดินพิพาทให้โจทก์ภายใน 90 วันนับแต่วันทำสัญญา หากไม่สามารถออกได้ภายในกำหนด โจทก์ก็ไม่ซื้อ เหตุแห่งการออก น.ส.3. จึงเป็นข้อสารสำคัญและเจตนาของคู่สัญญาประสงค์ที่จะถือเอากำหนดเวลาในการออกน.ส.3 เป็นสารสำคัญแห่งสัญญา ฉะนั้น เมื่อจำเลยยอมตกลงแต่ไม่อาจจัดการให้สำเร็จได้ตามสัญญา เวลาเป็นสารสำคัญแก่ผลสำเร็จและประโยชน์ที่โจทก์จะพึงได้รับด้วยการส่งมอบ น.ส.3 ณ เวลาที่มีกำหนดซึ่งหากล่าช้าย่อมเป็นการไร้ประโยชน์แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม ดังนั้นจำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำค่าที่ดินที่รับไว้ให้โจทก์
แม้การออก น.ส.3 จะล่าช้าไม่ทันตามกำหนดเวลาและเป็นเหตุให้โจทก์เลิกสัญญา แต่ความประสงค์ของโจทก์ต้องการซื้อที่ดินไปเสนอขายให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เพื่อหากำไรจึงได้กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 4 ว่า "หากผู้จะขายผิดสัญญาฉบับนี้ตามที่กำหนดกันไว้ผู้จะขายยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อเป็นเงินสองเท่าของค่าที่ดินที่ซื้อขายกันนี้ทั้งหมดทั้งสองแปลง" เมื่อได้ความในภายหลังว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไม่ประสงค์จะซื้อที่ดินสองแปลงนี้แล้วแม้จำเลยขอออก น.ส.3 ทันตามกำหนดสัญญา โจทก์ก็ไม่อาจขายที่ดินสองแปลงนี้เพื่อหากำไรได้ โจทก์จึงไม่เสียหาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906-909/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ซื้อขายตามคำพรรณา ทรัพย์ชำรุด ผู้ซื้อบอกปัดได้
สัญญาซื้อขายตามคำพรรณาหน้าที่ผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์ตามคำพรรณาสิทธิผู้ซื้อบอกปัด ถ้าส่งมอบทรัพย์ไม่ตรงตามคำพรรณา วิธีพิจารณาแพ่ง พิจารณา 2 สำนวนรวมกัน