คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1697

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8055/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมขัดแย้งกัน เพิกถอนพินัยกรรมฉบับก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1697 ทรัพย์มรดกตกแก่ผู้รับตามพินัยกรรมฉบับหลัง
ทรัพย์มรดกที่ ด. ได้รับจากกองมรดกของ ธ. เป็นที่ดิน ซึ่งผู้จัดการมรดกของ ธ. ได้ดำเนินการขายที่ดินทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งเงินแก่ทายาทของ ธ. เป็นคราว ๆ และ ด. ได้รับเงินส่วนแบ่งมรดกดังกล่าวด้วย เมื่อ ด. ได้รับเงินส่วนแบ่งมรดกของ ธ. แล้ว ก็หาได้ระบุกันเงินส่วนดังกล่าวไว้ต่างหากเป็นพิเศษไม่ เงินที่ ด. ได้รับจากกองมรดกของ ธ. จึงระคนกับเงินส่วนอื่นที่ ด. มีอยู่ ไม่อาจถือเป็นทรัพย์สินเฉพาะสิ่งเฉพาะอย่างได้ การที่ ด. ทำพินัยกรรมฉบับก่อนยกเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ จึงหาเป็นพินัยกรรมลักษณะเฉพาะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1651 (2) ไม่ เมื่อต่อมา ด. ได้ทำพินัยกรรมฉบับหลังยกเงินจำนวนเดียวกันให้จำเลยอีก ข้อความของพินัยกรรมทั้งสองฉบับที่ระบุให้เงินของ ด. ตกแก่ทายาทต่างคนกันจึงขัดกัน และ ด. ผู้ทำพินัยกรรมมิได้แสดงเจตนาในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น กรณีจึงต้องด้วยมาตรา 1697 ที่ให้ถือว่าพินัยกรรมฉบับก่อนเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลัง โจทก์จึงหามีสิทธิใด ๆ ในทรัพย์มรดกของ ด. ไม่ เพราะสิทธิของโจทก์ถูกยกเลิกไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7462/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกตามพินัยกรรม: พินัยกรรมฉบับแรกยังสมบูรณ์ แม้มีพินัยกรรมฉบับหลัง ทายาทโดยธรรมไม่มีสิทธิในทรัพย์สินที่ระบุในพินัยกรรม
ในคดีก่อนซึ่งโจทก์ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและจำเลยกับ พ. คัดค้านนั้น มีประเด็นสำคัญในคดีเพียงว่า ผู้ใดสมควรเป็นผู้จัดการมรดก ไม่ได้พิพาทเรื่องข้อกำหนดเกี่ยวกับทรัพย์สินในพินัยกรรม แม้โจทก์จำเลยจะเป็นคู่ความเดียวกัน คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวก็ไม่ผูกพันคดีนี้ และศาลในคดีนี้ก็พิจารณาพิพากษาได้ว่า ข้อกำหนดในพินัยกรรมฉบับแรกถูกเพิกถอนไปแล้วหรือไม่
พินัยกรรมฉบับแรก ผู้ทำพินัยกรรมยกที่ดิน 4 แปลง และบ้านให้แก่จำเลยกับพี่น้องของผู้ทำพินัยกรรม และระบุตัดทายาทอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมไม่ให้รับมรดก พินัยกรรมฉบับที่ 2 ผู้ทำพินัยกรรมยกที่ดินอีก 3 แปลง ซึ่งไม่ใช่ที่ดินที่ระบุในพินัยกรรมฉบับแรกให้พี่น้องของผู้ทำพินัยกรรม เมื่อพินัยกรรมฉบับที่ 2 ซึ่งเป็นพินัยกรรมฉบับหลังไม่มีข้อความให้เพิกถอนพินัยกรรมฉบับแรกหรือข้อกำหนดในพินัยกรรมฉบับแรก จึงต้องถือว่าพินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรมฉบับแรกยังคงมีอยู่ และกรณีไม่ใช่พินัยกรรมฉบับก่อนและฉบับหลังขัดกัน เมื่อพินัยกรรมฉบับแรกสมบูรณ์ ทรัพย์สินในพินัยกรรมฉบับแรกจึงไม่ใช่ทรัพย์สินนอกพินัยกรรมฉบับที่ 2 แต่เป็นการที่ผู้ตายกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินแต่ละรายไว้ในพินัยกรรมแต่ละฉบับ โจทก์แม้เป็นทายาทโดยธรรมแต่ไม่ใช่ผู้รับพินัยกรรมจึงมีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ทำพินัยกรรมในส่วนที่ไม่ได้จำหน่ายโดยพินัยกรรมเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6981/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนพินัยกรรมต้องทำตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด การยืนยันรับรองเอกสารไม่มีผลเพิกถอนพินัยกรรม
การเพิกถอนพินัยกรรมทั้งหมดหรือบางส่วนโดยผู้ทำพินัยกรรมนั้น กฎหมายกำหนดวิธีการไว้ 4 กรณี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1694 ถึง 1697 คือ ทำพินัยกรรมฉบับหลังขึ้นมาเพิกถอนพินัยกรรมฉบับก่อน การทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรมด้วยความตั้งใจ การโอนหรือทำลายทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมด้วยความสมัครใจ และการทำพินัยกรรมฉบับหลังมีข้อความขัดกันกับพินัยกรรมฉบับก่อน การที่ผู้ตายทำหนังสือยืนยันรับรองเอกสารแม้จะมีเจตนาเพื่อเพิกถอนหรือไม่รับรองพินัยกรรมที่ทำไว้แล้ว แต่เมื่อหนังสือยืนยันรับรองนั้นไม่มีลักษณะเป็นพินัยกรรมแล้ว ย่อมไม่มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมที่ทำไว้แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกจากพินัยกรรม 2 ฉบับที่มิได้ขัดแย้งกัน ศาลอนุญาตให้ผู้รับตามพินัยกรรมแต่ละฉบับเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ 2 ฉบับ ฉบับแรกตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ฉบับหลังตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก แต่ทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมทั้ง 2 ฉบับเป็นทรัพย์คนละส่วนกัน ตามคำร้องขอของผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องเป็นบุตรคนหนึ่งของผู้ตายและมีสิทธิรับมรดกส่วนหนึ่งของผู้ตายตามสำเนาพินัยกรรมเอกสารท้ายคำร้อง ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะทายาทของผู้ตาย เมื่อปรากฏว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกตามที่ผู้ร้องอ้างในคำร้องขอ ผู้ร้องจึงใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อขอตั้งผู้จัดการมรดกได้
การที่ผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ 2 ฉบับ ฉบับแรกตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกส่วนหนึ่ง และฉบับหลังตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่ง แต่ข้อกำหนดในพินัยกรรมทั้งสองฉบับมิได้ขัดกัน จึงไม่มีผลทำให้ผู้ร้องถูกเพิกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อผู้ร้องยังคงมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับแรก ดังนั้น พินัยกรรมของผู้ตายทั้งสองฉบับย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย และเมื่อผู้ตายมีความประสงค์ให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรมให้แยกจากกันเช่นนี้ จึงไม่สมควรที่ศาลจะตั้งผู้ร้องหรือผู้คัดค้านคนใดคนหนึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว จึงให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพื่อจัดการมรดกตามพินัยกรรมแต่ละฉบับตามความประสงค์ของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมขัดแย้งกัน ศาลวินิจฉัยพินัยกรรมหลังมีผลเหนือกว่าเฉพาะส่วนที่ขัดแย้ง
หลักฐานที่เจ้ามรดกทำถึงผู้จัดการธนาคารขอเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงชื่อบัญชีและตัวอย่างลายมือชื่อในบัญชีที่เจ้ามรดกฝากเงินไว้จากส.เป็นส.หรือจำเลยที่2ซึ่งหมายความว่าคนใดคนหนึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวได้สำหรับบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์และสำหรับบัญชีเงินฝากประเภทประจำและในทางปฏิบัติผู้ที่มีอำนาจในการเบิกเงินจากบัญชีได้จะเป็นเจ้าของบัญชีร่วมกันและตามเอกสารซึ่งเป็นคำสั่งและสัญญาของผู้ฝากเงินที่เจ้ามรดกและจำเลยที่2ได้เปิดบัญชีร่วมกันมีข้อความระบุว่าตามที่ส.กับจำเลยที่2ได้เปิดบัญชีเงินฝากประจำออมทรัพย์กระแสรายวันและอื่นๆไว้กับธนาคารข้าพเจ้าได้ตกลงกับธนาคารในการเบิกจ่ายเงินข้าพเจ้าทั้งสองคนหรือคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ลงนามขอถอนเงินขอรับเงินหรือสั่งจ่ายเงินโดยใช้คำว่าส.หรือจำเลยที่2นั้นข้าพเจ้าขอให้คำสั่งและสัญญาต่อธนาคารว่าถ้าข้าพเจ้าคนใดคนหนึ่งถึงแก่กรรมขอยกเงินฝากส่วนของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ฝากที่ยังมีชีวิตอยู่และให้ผู้ที่มีชีวิตอยู่มีสิทธิที่จะฝากถอนหรือติดต่อกับธนาคารได้ต่อไปจึงฟังได้ว่าการที่เจ้ามรดกใส่ชื่อจำเลยที่2เป็นเจ้าของบัญชีร่วมกับเจ้ามรดกนั้นมีเจตนาให้จำเลยที่2ร่วมเป็นเจ้าของเงินของเจ้ามรดกที่มีในบัญชีนั้นๆด้วยแต่เนื่องจากไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าเจ้ามรดกต้องการให้จำเลยที่2มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมเป็นจำนวนเท่าใดจึงต้องสันนิษฐานว่าเจ้ามรดกและจำเลยที่2มีส่วนเป็นเจ้าของเงินในบัญชีคนละครึ่ง ข้อความตามที่ปรากฎในคำสั่งและสัญญาของผู้ฝากเงินทั้งเจ้ามรดกและจำเลยที่2ต่างแจ้งเจตนาต่อธนาคารว่าต่างประสงค์จะยกเงินฝากในส่วนของแต่ละคนให้อีกฝ่ายหนึ่งถ้าตนถึงแก่กรรมก่อนอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของแต่ละคนจึงมีลักษณะเป็นพินัยกรรมเมื่อมีการลงวันเดือนปีที่ทำผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกันและพยานทั้งสองคนนั้นลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้นจึงเป็นพินัยกรรมที่ทำถูกต้องตามแบบในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656วรรคหนึ่งย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมายหากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมเงินสดตามบัญชีเงินฝากในส่วนของเจ้ามรดกย่อมตกได้แก่จำเลยที่2แต่ต่อมาเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมฉบับพิพาทขึ้นอีกฉบับหนึ่งตามเอกสารหมายจ.6ยกทรัพย์สมบัติที่เป็นเงินจำนวน1,000,000บาทแก่โจทก์โดยให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินสดจากบัญชีของเจ้ามรดกเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วจึงเห็นได้ว่าพินัยกรรมฉบับแรกดังกล่าวขัดกับพินัยกรรมตามเอกสารหมายจ.6ในข้อที่ว่าจำเลยที่2จะเป็นผู้ได้รับเงินในบัญชีเงินฝากส่วนที่เป็นมรดกทั้งหมดหรือจำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกจะต้องแบ่งเงินในบัญชีดังกล่าวส่วนที่เป็นมรดกของเจ้ามรดกแก่โจทก์เป็นจำนวน1,000,000บาทตามพินัยกรรมเอกสารหมายจ.6ซึ่งทำขึ้นภายหลังจึงต้องถือว่าพินัยกรรมฉบับแรกเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมตามเอกสารหมายจ.6ในส่วนที่มีข้อความขัดกันคือเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับเงินจำนวน1,000,000บาทที่จะต้องตกได้แก่โจทก์เท่านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1697จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของส.เจ้ามรดกต้องแบ่งมรดกของเจ้ามรดกเป็นเงินสดจากบัญชีเงินฝากแก่โจทก์จำนวน1,000,000บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงเจตนาในพินัยกรรมและการเพิกถอนพินัยกรรมเดิมด้วยพินัยกรรมใหม่
หลักฐานที่เจ้ามรดกทำถึงผู้จัดการธนาคารขอเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงชื่อบัญชีและตัวอย่างลายมือชื่อในบัญชีที่เจ้ามรดกฝากเงินไว้จาก ส.เป็น ส.หรือจำเลยที่ 2 ซึ่งหมายความว่า คนใดคนหนึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวได้สำหรับบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์และสำหรับบัญชีเงินฝากประเภทประจำ และในทางปฏิบัติผู้ที่มีอำนาจในการเบิกเงินจากบัญชีได้จะเป็นเจ้าของบัญชีร่วมกัน และตามเอกสารซึ่งเป็นคำสั่งและสัญญาของผู้ฝากเงินที่เจ้ามรดกและจำเลยที่ 2 ได้เปิดบัญชีร่วมกันมีข้อความระบุว่า ตามที่ ส.กับจำเลยที่ 2 ได้เปิดบัญชีร่วมกันมีบัญชีเงินฝากประจำ ออมทรัพย์ กระแสรายวันและอื่น ๆ ไว้กับธนาคาร ข้าพเจ้าได้ตกลงกับธนาคารในการเบิกจ่ายเงินข้าพเจ้าทั้งสองคนหรือคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ลงนามขอถอนเงิน ขอรับเงินหรือสั่งจ่ายเงินโดยใช้คำว่า ส.หรือจำเลยที่ 2 นั้น ข้าพเจ้าขอให้คำสั่งและสัญญาต่อธนาคารว่าถ้าข้าพเจ้าคนใดคนหนึ่งถึงแก่กรรม ขอยกเงินฝากส่วนของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ฝากที่ยังมีชีวิตอยู่ และให้ผู้ที่มีชีวิตอยู่มีสิทธิที่จะฝาก ถอน หรือติดต่อกับธนาคารได้ต่อไปจึงฟังได้ว่าการที่เจ้ามรดกใส่ชื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของบัญชีร่วมกับเจ้ามรดกนั้นมีเจตนาให้จำเลยที่ 2 ร่วมเป็นเจ้าของเงินของเจ้ามรดกที่มีในบัญชีนั้น ๆ ด้วยแต่เนื่องจากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเจ้ามรดกต้องการให้จำเลยที่ 2 มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมเป็นจำนวนเท่าใด จึงต้องสันนิษฐานว่าเจ้ามรดกและจำเลยที่ 2มีส่วนเป็นเจ้าของเงินในบัญชีคนละครึ่ง
ข้อความตามที่ปรากฏในคำสั่งและสัญญาของผู้ฝากเงินทั้งเจ้ามรดกและจำเลยที่ 2 ต่างแจ้งเจตนาต่อธนาคารว่า ต่างประสงค์จะยกเงินฝากในส่วนของแต่ละคนให้อีกฝ่ายหนึ่งถ้าตนถึงแก่กรรมก่อนอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของแต่ละคน จึงมีต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน และพยานทั้งสองคนนั้นลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น จึงเป็นพินัยกรรมที่ทำถูกต้องตามแบบในป.พ.พ.มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง ย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย หากเจ้ามรดกถึงแก่กรรม เงินสดตามบัญชีเงินฝากในส่วนของเจ้ามรดกย่อมตกได้แก่จำเลยที่ 2แต่ต่อมาเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมฉบับพิพาทขึ้นอีกฉบับหนึ่ง ตามเอกสารหมาย จ.6ยกทรัพย์สมบัติที่เป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาท แก่โจทก์ โดยให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินสดจากบัญชีของเจ้ามรดกเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้ว จึงเห็นได้ว่าพินัยกรรมฉบับแรกดังกล่าวขัดกับพินัยกรรมตามเอกสารหมาย จ.6 ในข้อที่ว่า จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ได้รับเงินในบัญชีเงินฝากส่วนที่เป็นมรดกของเจ้ามรดกทั้งหมด หรือจำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกจะต้องแบ่งเงินในบัญชีดังกล่าวส่วนที่เป็นมรดกของเจ้ามรดกแก่โจทก์เป็นจำนวน 1,000,000 บาท ตามพินัยกรรมเอกสารหมาย จ.6ซึ่งทำขึ้นภายหลัง จึงต้องถือว่าพินัยกรรมฉบับแรกเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมตามเอกสารหมาย จ.6 ในส่วนที่มีข้อความขัดกัน คือเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จะต้องตกได้แก่โจทก์เท่านั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา1697 จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.เจ้ามรดกต้องแบ่งมรดกของเจ้ามรดกเป็นเงินสดจากบัญชีเงินฝากแก่โจทก์ จำนวน 1,000,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9059/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้พินัยกรรมที่ขัดแย้งกัน และการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
พินัยกรรมตามเอกสารหมายค.8นั้นผู้ร้องเบิกความว่าพินัยกรรมฉบับนี้ถูกเพิกถอนไปแล้วโดยผู้ร้องเป็นผู้ขีดฆ่าและเขียนยกเลิกพินัยกรรมต่อหน้าผู้ตายแม้จะเป็นจริงดังว่าก็มิใช่การทำลายหรือขีดฆ่าเสียด้วยความตั้งใจของผู้ตายซึ่งเป็นผู้ทำพินัยกรรมเองอันเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1695วรรคหนึ่งพินัยกรรมเอกสารหมายค.8จึงยังมีผลใช้บังคับได้ ส่วนพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามเอกสารหมายค.3นั้นแม้จะปรากฏว่าต่อมาผู้ตายได้ทำคำร้องและบันทึกขอถอนพินัยกรรมโดยอ้างว่าจะยกเลิกพินัยกรรมดังกล่าวและรับพินัยกรรมคืนไปแล้วก็ตามแต่ไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้ทำลายหรือขีดฆ่าต้นฉบับกับคู่ฉบับของพินัยกรรมอันจะมีผลให้เป็นการเพิกถอนพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1695วรรคหนึ่งพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามเอกสารหมายค.3จึงยังมีผลบังคับอยู่เช่นกัน เมื่อพินัยกรรมของผู้ตายทั้งฉบับเอกสารหมายค.8และฉบับเอกสารหมายค.3ยังมีผลบังคับอยู่ทั้ง2ฉบับทั้งพินัยกรรมตามเอกสารหมายค.3ซึ่งทำในภายหลังมิได้มีข้อความตอนใดระบุให้เพิกถอนพินัยกรรมตามเอกสารหมายค.8เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่นและปรากฏว่าพินัยกรรมฉบับก่อนกับฉบับหลังขัดกันประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1697ให้ถือว่าพินัยกรรมฉบับก่อนเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลังเฉพาะในส่วนที่มีข้อความขัดกันเท่านั้นจึงถือว่าพินัยกรรมฉบับเอกสารหมายค.8เป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับเอกสารหมายค.3เฉพาะข้อกำหนดพินัยกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกที่ดิน2แปลงตามข้อ2และข้อ3เท่านั้นที่พินัยกรรมเอกสารหมายค.3ระบุให้ตกแก่ผู้ร้องและให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับนี้ซึ่งย่อมหมายถึงให้ผู้ร้องมีสิทธิจัดการมรดกเฉพาะที่ดินทั้ง2แปลงดังกล่าวส่วนทรัพย์มรดกอื่นๆคงเป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมตามเอกสารหมายค.8ข้อ4ถึงข้อ11ซึ่งกำหนดให้ผู้คัดค้านที่4เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับดังกล่าวผู้ร้องซึ่งไม่ปรากฏว่ามีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมายจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะที่ดินทั้ง2แปลงตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมตามเอกสารหมายค.3ตามเจตนาของผู้ตายในข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ2 ในชั้นต้นผู้คัดค้านที่1และที่2ยื่นคำร้องคัดค้านการขอตั้งผู้จัดการมรดกโดยผู้ร้องและขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่3เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้คัดค้านที่1และที่2ยื่นอุทธรณ์ขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่1และที่2เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ตั้งผู้คัดค้านที่4เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งก็ตรงกับความประสงค์แต่แรกของผู้คัดค้านที่1และที่2แต่ในชั้นนี้ผู้คัดค้านที่1และที่2กลับยื่นฎีกาขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่1และที่2เป็นผู้จัดการมรดกหรือเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องจึงเป็นได้ว่าฎีกาของผู้คัดค้านที่1และที่2เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9059/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลบังคับใช้พินัยกรรมหลายฉบับ และการจัดการมรดกตามเจตนาผู้ตาย
พินัยกรรมตามเอกสารหมาย ค.8 นั้น ผู้ร้องเบิกความว่าพินัยกรรมฉบับนี้ถูกเพิกถอนไปแล้ว โดยผู้ร้องเป็นผู้ขีดฆ่าและเขียนยกเลิกพินัยกรรมต่อหน้าผู้ตาย แม้จะเป็นจริงดังว่า ก็มิใช่การทำลายหรือขีดฆ่าเสียด้วยความตั้งใจของผู้ตายซึ่งเป็นผู้ทำพินัยกรรมเองอันเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา1695 วรรคหนึ่ง พินัยกรรมเอกสารหมาย ค.8 จึงยังมีผลใช้บังคับได้
ส่วนพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามเอกสารหมาย ค.3 นั้นแม้จะปรากฏว่าต่อมาผู้ตายได้ทำคำร้องและบันทึกขอถอนพินัยกรรม โดยอ้างว่าจะยกเลิกพินัยกรรมดังกล่าว และรับพินัยกรรมคืนไปแล้วก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้ทำลายหรือขีดฆ่าต้นฉบับกับคู่ฉบับของพินัยกรรมอันจะมีผลให้เป็นการเพิกถอนพินัยกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1695 วรรคหนึ่ง พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามเอกสารหมาย ค.3 จึงยังมีผลบังคับอยู่เช่นกัน
เมื่อพินัยกรรมของผู้ตายทั้งฉบับเอกสารหมาย ค.8 และฉบับเอกสารหมาย ค.3 ยังมีผลบังคับอยู่ทั้ง 2 ฉบับ ทั้งพินัยกรรมตามเอกสารหมายค.3 ซึ่งทำในภายหลังมิได้มีข้อความตอนใดระบุให้เพิกถอนพินัยกรรมตามเอกสารหมาย ค.8 เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่นและปรากฏว่าพินัยกรรมฉบับก่อนกับฉบับหลังขัดกัน ป.พ.พ.มาตรา 1697 ให้ถือว่าพินัยกรรมฉบับก่อนเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลังเฉพาะในส่วนที่มีข้อความขัดกันเท่านั้นจึงถือว่าพินิยกรรมฉบับเอกสารหมาย ค.8 เป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับเอกสารหมาย ค.3 เฉพาะข้อกำหนดพินัยกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกที่ดิน 2 แปลง ตามข้อ 2 และข้อ 3 เท่านั้น ที่พินัยกรรมเอกสารหมาย ค.3 ระบุให้ตกแก่ผู้ร้องและให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับนี้ ซึ่งย่อมหมายถึงให้ผู้ร้องมีสิทธิจัดการมรดกเฉพาะที่ดินทั้ง 2 แปลง ดังกล่าว ส่วนทรัพย์มรดกอื่น ๆคงเป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมตามเอกสารหมาย ค.8 ข้อ 4 ถึงข้อ 11ซึ่งกำหนดให้ผู้คัดค้านที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับดังกล่าว ผู้ร้องซึ่งไม่ปรากฏว่ามีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมาย จึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะที่ดินทั้ง 2 แปลง ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมตามเอกสารหมาย ค.3 ตามเจตนาของผู้ตายในข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ 2
ในชั้นต้นผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องคัดค้านการขอตั้งผู้จัดการมรดกโดยผู้ร้องและขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ยื่นอุทธรณ์ขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งก็ตรงกับความประสงค์แต่แรกของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 แต่ในชั้นนี้ ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 กลับยื่นฎีกาขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก หรือเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง จึงเห็นได้ว่าฎีกาของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมขัดแย้งกัน: เพิกถอนพินัยกรรมเก่าด้วยพินัยกรรมใหม่เฉพาะส่วนทรัพย์มรดกและการจัดการมรดก
พินัยกรรมฉบับก่อนเจ้ามรดกยกที่ดินนาให้โจทก์ 10 ไร่ส่วนพินัยกรรมฉบับหลังเจ้ามรดกยกที่ดินนาให้โจทก์จำเลยและบุตรคนอื่น ๆ รวม 7 คน คนละ 3 ไร่ ส่วนที่เหลือยังเป็นส่วนของเจ้ามรดกอยู่ โดยมิได้กล่าวถึงที่ดินนา 10 ไร่ ที่เคยทำพินัยกรรมยกให้โจทก์ก่อนเลย ทั้งพินัยกรรมฉบับแรกตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแต่พินัยกรรมฉบับหลังตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก พินัยกรรมทั้งสองฉบับในส่วนเกี่ยวกับทรัพย์มรดกและการตั้งผู้จัดการมรดกจึงขัดกัน และเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมมิได้แสดงเจตนาไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น ถือว่าพินัยกรรมฉบับก่อนเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลังเฉพาะเกี่ยวกับการยกทรัพย์มรดกให้ทายาทและเกี่ยวกับการตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1697

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: ผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก แม้มีข้อโต้แย้งเรื่องทรัพย์สิน
ผู้คัดค้านที่ 1 บรรยายคำคัดค้านไว้แล้วว่า ผู้คัดค้านที่ 1เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยเป็นผู้รับพินัยกรรมและมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย จึงไม่จำต้องแนบพินัยกรรมมาท้ายคำคัดค้านด้วย การที่คำคัดค้านระบุว่าเจ้ามรดกยกทรัพย์สินให้ผู้คัดค้านที่ 1เพียงผู้เดียว แต่ชั้นพิจารณาได้ความตามพินัยกรรมว่า ทรัพย์สินรายการที่ 1 เจ้ามรดกได้ทำสัญญาจะขายให้บุคคลภายนอก เงินที่ได้ยกให้กับผู้คัดค้านที่ 1 ส่วนหนึ่ง กับยกให้ ส. อีกส่วนหนึ่งส่วนทรัพย์รายการที่ 2 ตกได้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ทั้งหมด เช่นนี้เป็นเรื่องพยานหลักฐานที่นำสืบได้ความไม่เต็มบริบูรณ์ตามคำคัดค้านและก็ยังได้ความว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกอยู่ ไม่มีกฎหมายบังคับว่าผู้ที่อ้างเทปบันทึกเสียงเป็นพยานจะต้องถอดข้อความในเทปออกมา หรือต้องนำเทปมาเปิดในขณะพิจารณาคดีของฝ่ายที่อ้างเองหรือฝ่ายตรงข้าม เพราะการนำสืบเสียงพูดเป็นการนำสืบวัตถุพยาน พินัยกรรมฉบับหลังมีข้อกำหนดเกี่ยวกับทรัพย์มรดกรายเดียวกับที่ระบุไว้ในพินัยกรรมฉบับก่อนเท่านั้น มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมฉบับก่อนเฉพาะเกี่ยวกับทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1697 สิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมฉบับก่อนจึงระงับ ส่วนข้อกำหนดในการตั้งผู้จัดการมรดกยังคงมีผลอยู่แต่ตามพินัยกรรมระบุให้ผู้ร้อง ด.และช. เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน ถ้าผู้ใดตาย ให้ผู้มีชีวิตอยู่ดำเนินการแทน ดังนั้นเมื่อด.ตายผู้ร้องต้องร่วมกับช. จัดการมรดกของเจ้ามรดก การที่ผู้ร้องขอให้ศาลตั้งเฉพาะผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกจึงขัดต่อเจตนารมณ์ของเจ้ามรดก และเมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำร้องคัดค้านโดยขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกด้วยเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาว่าสมควรตั้งผู้ใด ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมจึงสมควรตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ส่วนผู้ร้องไม่ได้เป็นทายาทโดยธรรมและไม่มีส่วนได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม ศาลล่างทั้งสองตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกจึงเหมาะสม.
of 4