คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 113 เดิม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9259/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างทนายความโดยแบ่งส่วนจากทรัพย์สิน: โมฆะเนื่องจากขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม
จำเลยทำสัญญากับโจทก์ซึ่งไม่ได้ประกอบอาชีพทนายความว่าจำเลยว่าจ้างสำนักงานทนายความบ.ว่าความเรียกร้องที่ดินคืนจากพ. ทั้งนี้จำเลยให้สำนักงานทนายความบ. โดยโจทก์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นไปก่อนหากได้เงินหรือที่ดินคืนจำเลยจะใช้คืนและจะให้บำเหน็จค่าจ้างโดยหากได้ที่ดินกลับคืนมาจำนวน5ไร่เศษจะแบ่งที่ดินให้จำนวน2ไร่หากได้ที่ดินน้อยกว่านี้จะแบ่งให้ลดหย่อนลงตามส่วนสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาระหว่างโจทก์ผู้แทนสำนักงานทนายความบ. กับจำเลยโจทก์จึงเป็นผู้ทำสัญญาดังกล่าวแทนทนายความในสำนักงานทนายความบ.แม้ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความพ.ศ.2529ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528มาตรา27(3)(จ)และมาตรา51จะมิได้มีข้อห้ามทนายความเรียกค่าจ้างว่าความโดยวิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความสัญญาดังกล่าวจึงไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายก็ตามแต่การเรียกค่าจ้างว่าความโดยวิธีดังกล่าวเป็นการให้ทนายความเข้าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีทำนองเป็นการซื้อขายความกันและเป็นการยุยงส่งเสริมให้เป็นความกันสัญญาดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7246/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนสิทธิทำไม้พ้นวิสัยจาก พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ และการคืนเงินจากสัญญาที่สมบูรณ์
การชำระหนี้ของจำเลยตามสัญญาตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษจำเลยหรือนาย ป. ไม่ได้ ทำให้จำเลยเป็นอันหลุดพ้นจากการต้องชำระหนี้ของจำเลยที่จะต้องให้นาย ป. ได้รับสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ตามสัญญาที่ทำไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทนจากนาย ป. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 372วรรคหนึ่ง
แม้สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงมีเงื่อนเวลาเริ่มต้นเป็นประโยชน์แก่จำเลยโดยนาย ป. จะทวงถามให้จำเลยโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ให้นาย ป. ได้หลังจากวันที่ 31 พฤษภาคม 2535 ก็ตาม แต่เมื่อมีการออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ ฯ และรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้สิ้นสุดลงก่อนถึงเวลาที่กำหนดไว้เป็นเงื่อนเวลาเริ่มต้น ทำให้การชำระหนี้ของจำเลยซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนเป็นอันพ้นวิสัย โดยจะโทษจำเลยหรือนาย ป. ไม่ได้ จำเลยก็ไม่อาจถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเริ่มต้นที่ได้กำหนดไว้เดิมนั้นมาเป็นประโยชน์แก่ตนได้ต่อไป
เมื่อนาย ป. ชำระเงิน 8,000,000 บาท อันเป็นการชำระหนี้ของนาย ป. ตามสัญญาให้จำเลยรับไปครบถ้วนแล้ว นาย ป. จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวได้ เมื่อนาย ป. ตาย สิทธิดังกล่าวเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของนาย ป. จึงเป็นมรดกของนาย ป. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของนาย ป. จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จะเป็นโมฆะเพราะวัตถุประสงค์ขัดต่อ พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ มาตรา 63 ก็ต่อเมื่อบทบัญญัติดังกล่าว ห้ามมิให้มีการโอนสัมปทานทำไม้ แต่ปรากฏว่าบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ห้ามมิให้ผู้รับสัมปทานโอนสิทธิตามสัมปทานให้แก่ผู้อื่น ทั้งไม่มีบทบัญญัติอื่นใน พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ บัญญัติห้ามเด็ดขาดเช่นนั้นด้วย สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จึงไม่ได้มีวัตถุประสงค์ขัดต่อ พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ อันจะทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 113เดิม (มาตรา 150 ใหม่)
นาย ป. ชำระเงินให้แก่จำเลยตามสัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้เป็นสัญญาที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย และเป็นการชำระหนี้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้เงินที่จำเลยได้รับจึงไม่เป็นลาภมิควรได้แก่จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยจึงไม่อยู่ในบังคับอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา 406 ดังกล่าวที่จะต้องฟ้องเรียกร้องภายใน 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7246/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนสิทธิทำไม้ สิทธิเรียกร้องเงินคืนจากผู้รับชำระล่วงหน้า ไม่ขาดอายุความลาภมิควรได้
การชำระหนี้ของจำเลยตามสัญญาตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษจำเลยหรือนายป. ไม่ได้ทำให้จำเลยเป็นอันหลุดพ้นจากการต้องชำระหนี้ของจำเลยที่จะต้องให้นายป.ได้รับสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ตามสัญญาที่ทำไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา219วรรคหนึ่งก็ตามแต่จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทนจากนายป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา372วรรคหนึ่ง แม้สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงมีเงื่อนเวลาเริ่มต้นเป็นประโยชน์แก่จำเลยโดยนายป. จะทวงถามให้จำเลยโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ให้นายป. ได้หลังจากวันที่31พฤษภาคม2535ก็ตามแต่เมื่อมีการออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ฯและรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้สิ้นสุดลงก่อนถึงเวลาที่กำหนดไว้เป็นเงื่อนเวลาเริ่มต้นทำให้การชำระหนี้ของจำเลยซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนเป็นอันพ้นวิสัยโดยจะโทษจำเลยหรือนายป. ไม่ได้จำเลยก็ไม่อาจถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเริ่มต้นที่ได้กำหนดไว้เดิมนั้นมาเป็นประโยชน์แก่ตนได้ต่อไป เมื่อนายป. ชำระเงิน8,000,000บาทอันเป็นการชำระหนี้ของนายป. ตามสัญญาให้จำเลยรับไปครบถ้วนแล้วนายป.จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวได้เมื่อนายป.ตายสิทธิดังกล่าวเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของนายป. จึงเป็นมรดกของนายป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1600โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของนายป. จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จะเป็นโมฆะเพราะวัตถุประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯมาตรา63ก็ต่อเมื่อบทบัญญัติดังกล่าวห้ามมิให้มีการโอนสัมปทานทำไม้แต่ปรากฏว่าบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ห้ามมิให้ผู้รับสัมปทานโอนสิทธิตามสัมปทานให้แก่ผู้อื่นทั้งไม่มีบทบัญญัติอื่นในพระราชบัญญัติป่าไม้ฯบัญญัติห้ามเด็ดขาดเช่นนั้นด้วยสัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จึงไม่ได้มีวัตถุประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯอันจะทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิม(มาตรา150ใหม่) นายป. ชำระเงินให้แก่จำเลยตามสัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้เป็นสัญญาที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมายและเป็นการชำระหนี้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้เงินที่จำเลยได้รับจึงไม่เป็นลาภมิควรได้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา406วรรคหนึ่งการที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยจึงไม่อยู่ในบังคับอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา406ดังกล่าวที่จะต้องฟ้องเรียกร้องภายใน1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3485/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหลังหมดกำหนดห้ามโอน: สิทธิในการหวงห้าม และอำนาจฟ้องขับไล่
โจทก์ซื้อที่พิพาทตามสัญญาซื้อขายจากจ.แต่เมื่อขณะทำการซื้อขายที่พิพาทยังอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนภายในกำหนด10ปีนับแต่วันที่จ.ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่พิพาทตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา31จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิมเมื่อที่พิพาทเป็นที่ทางราชการจัดให้ราษฎรทำกินจึงปกป้องราษฎรให้มีที่ทำกินเป็นเวลาอย่างน้อย10ปีและภายในระยะเวลาดังกล่าวทางราชการได้ควบคุมที่ดินนั้นอยู่ยังไม่ปล่อยเป็นสิทธิเด็ดขาดแก่ผู้ครอบครองจนกว่าจะพ้นระยะเวลาที่มีข้อบังคับห้ามโอนดังนั้นจ. จึงไม่อาจสละหรือโอนการครอบครองที่พิพาทตามหนังสือสัญญาการซื้อขายให้แก่โจทก์ได้แม้โจทก์จะครอบครองที่พิพาทมาตั้งแต่วันการซื้อขายจนกระทั่งวันครบกำหนดห้ามโอนโจทก์ก็หาได้สิทธิครอบครองแต่ประการใดไม่ส่วนจ.ผู้ได้รับจัดสรรที่พิพาทได้สละละทิ้งการครอบครองไปโดยไม่เข้าทำประโยชน์ในที่พิพาทตามวัตถุประสงค์ของทางราชการการครอบครองจึงสิ้นสุดลงและที่ดินจึงตกกลับมาเป็นของรัฐจ.จึงหมดสิทธิครอบครอง โจทก์ครอบครองที่พิพาทหลังจากพ้นกำหนดห้ามโอนเมื่อที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของรัฐแม้โจทก์จะไม่ได้สิทธิครอบครองแต่โจทก์ก็มีสิทธิที่จะหวงห้ามมิให้บุคคลใดมารบกวนสิทธิของโจทก์ได้เมื่อจ.ซึ่งไม่มีสิทธิครอบครองนำที่พิพาทไปขายให้แก่จำเลยโดยไม่มีสิทธิจำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อจะยกสัญญาซื้อขายมายันโจทก์ซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทอยู่ในขณะนั้นไม่ได้ด้วยเหตุนี้การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปทำประโยชน์ในที่พิพาทโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ ที่จำเลยฎีกาว่าสิทธิของโจทก์ที่ได้มานั้นยังไม่ได้จดทะเบียนจะยกขึ้นต่อสู้จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตไม่ได้นั้นแม้จำเลยจะให้การไว้แต่ศาลมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อโต้เถียงไว้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3485/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินหลังระยะห้ามโอน: ผู้ซื้อมีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้ขายที่ไม่มีสิทธิ
โจทก์ซื้อที่พิพาทตามสัญญาซื้อขายจาก จ. แต่เมื่อขณะทำการซื้อขายที่พิพาทยังอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ จ.ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่พิพาทตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 113 เดิม เมื่อที่พิพาทเป็นที่ทางราชการจัดให้ราษฏรทำกินจึงปกป้องราษฎรให้มีที่ทำกินเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี และภายในระยะเวลาดังกล่าวทางราชการได้ควบคุมที่ดินนั้นอยู่ ยังไม่ปล่อยเป็นสิทธิเด็ดขาดแก่ผู้ครอบครองจนกว่าจะพ้นระยะเวลาที่มีข้อบังคับห้ามโอน ดังนั้น จ.จึงไม่อาจสละหรือโอนการครอบครองที่พิพาทตามหนังสือสัญญาการซื้อขายให้แก่โจทก์ได้ แม้โจทก์จะครอบครองที่พิพาทมาตั้งแต่วันการซื้อขายจนกระทั่งวันครบกำหนดห้ามโอนโจทก์ก็หาได้สิทธิครอบครองแต่ประการใดไม่ ส่วน จ.ผู้ได้รับจัดสรรที่พิพาทได้สละละทิ้งการครอบครองไปโดยไม่เข้าทำประโยชน์ในที่พิพาทตามวัตถุประสงค์ของทางราชการ การครอบครองจึงสิ้นสุดลงและที่ดินจึงตกกลับมาเป็นของรัฐ จ.จึงหมดสิทธิครอบครอง
โจทก์ครอบครองที่พิพาทหลังจากพ้นกำหนดห้ามโอน เมื่อที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของรัฐ แม้โจทก์จะไม่ได้สิทธิครอบครองแต่โจทก์ก็มีสิทธิที่จะหวงห้ามมิให้บุคคลใดมารบกวนสิทธิของโจทก์ได้ เมื่อ จ.ซึ่งไม่มีสิทธิครอบครองนำที่พิพาทไปขายให้แก่จำเลยโดยไม่มีสิทธิ จำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อจะยกสัญญาซื้อขายมายันโจทก์ซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทอยู่ในขณะนั้นไม่ได้ ด้วยเหตุนี้การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปทำประโยชน์ในที่พิพาท โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
ที่จำเลยฎีกาว่า สิทธิของโจทก์ที่ได้มานั้นยังไม่ได้จดทะเบียนจะยกขึ้นต่อสู้จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตไม่ได้นั้นแม้จำเลยจะให้การไว้ แต่ศาลมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อโต้เถียงไว้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3372/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินช่วงห้ามโอนเป็นโมฆะ การครอบครองเป็นแทนเจ้าของ และการสละเจตนาครอบครอง
ที่ดินพิพาทมีน.ส.3ก.ที่ทางราชการออกให้แก่มารดาโจทก์โดยมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน5ปีตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511มาตรา12ก่อนพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวมารดาโจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยและมอบการครอบครองให้แล้วแต่การซื้อขายมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และเป็นที่ดินที่ทางราชการห้ามโอนภายใน5ปีการซื้อขายจึงไม่ถูกต้องตามแบบและเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามชัดแจ้งตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิม ส่วนการครอบครองที่ดินพิพาทของผู้รับโอนดังกล่าวต้องถือว่าเป็นการครอบครองไว้แทนเจ้าของแม้พ้นกำหนดเวลาห้ามโอนแล้วก็ยังคงถือว่าการครอบครองไว้แทนตลอดมาจนกว่าจะมีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1381หรือจนกว่าเจ้าของที่ดินพิพาทจะแสดงเจตนาสละการครอบครองให้ตามมาตรา1377,1379 การที่โจทก์รื้อบ้านไปในระยะเวลาห้ามโอนผลก็เท่ากับการสละเจตนาครอบครองเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่ห้ามโอนตกเป็นโมฆะเช่นกัน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเป็นการครอบครองแทนจึงไม่อยู่ในบังคับต้องฟ้องคดีเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนภายใน1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1374 ฎีกาของจำเลยที่คัดค้านว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจให้โอนที่ดินไม่ถูกต้องไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค1ว่าไม่ถูกต้องผิดพลาดอย่างไรเป็นฎีกาไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3372/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินช่วงติดเงื่อนไขห้ามโอน และผลของการครอบครองที่ดินหลังสัญญาเป็นโมฆะ
ที่ดินพิพาทมี น.ส.3 ก.ที่ทางราชการออกให้แก่มารดาโจทก์โดยมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 5 ปี ตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 12 ก่อนพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวมารดาโจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยและมอบการครอบครองให้แล้ว แต่การซื้อขายมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และเป็นที่ดินที่ทางราชการห้ามโอนภายใน 5 ปี การซื้อขายจึงไม่ถูกต้องตามแบบและเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามชัดแจ้งตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม
ส่วนการครอบครองที่ดินพิพาทของผู้รับโอนดังกล่าวต้องถือว่าเป็นการครอบครองไว้แทนเจ้าของ แม้พ้นกำหนดเวลาห้ามโอนแล้ว ก็ยังคงถือว่าการครอบครองไว้แทนตลอดมาจนกว่าจะมีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 หรือจนกว่าเจ้าของที่ดินพิพาทจะแสดงเจตนาสละการครอบครองให้ตามมาตรา 1377, 1379
การที่โจทก์รื้อบ้านไปในระยะเวลาห้ามโอน ผลก็เท่ากับการสละเจตนาครอบครองเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่ห้ามโอนตกเป็นโมฆะเช่นกัน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเป็นการครอบครองแทน จึงไม่อยู่ในบังคับต้องฟ้องคดีเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนภายใน 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1374
ฎีกาของจำเลยที่คัดค้านว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจให้โอนที่ดินไม่ถูกต้อง ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่าไม่ถูกต้องผิดพลาดอย่างไร เป็นฎีกาไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1784/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้กู้โดยมิได้จำนองทรัพย์สินลำดับหนึ่งตาม พ.ร.บ.ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522มาตรา54(2)ห้ามมิให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์กระทำการให้กู้ยืมเงินเว้นแต่การรับจำนองทรัพย์สินลำดับหนึ่งเป็นประกันดังนั้นการที่โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้จำเลยทั้งสองกู้เงินโดยมิได้มีการจดทะเบียนจำนองทรัพย์สินลำดับหนึ่งเป็นประกันจึงฝ่าฝืนบทกฎหมายดังกล่าวตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยคนต่างด้าว การถือครองแทน และอำนาจจำหน่ายที่ดินตามกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา97ให้สิทธิคู่ความฝ่ายหนึ่งจะอ้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพยานของตนได้ดังนั้นการที่โจทก์อ้างจำเลยที่2เป็นพยานโจทก์และจะนำสืบเมื่อใดก็ได้แล้วแต่โจทก์จะเห็นสมควรไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยทั้งสองฎีกาว่าโจทก์กล่าวในคำฟ้องว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากป.ขณะนั้นโจทก์เป็นบุคคลต่างด้าวจึงไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้แต่ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากบริษัทย. จำกัดซึ่งมีจำเลยที่2ถือกรรมสิทธิ์แทนนั้นเป็นการนำสืบเพื่อให้เห็นว่าโจทก์เป็นบุคคลต่างด้าวซื้อที่ดินพิพาทจากบุคคลภายนอกโดยจำเลยที่2เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแทนโจทก์นั่นเองไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นส่วนที่ว่าโจทก์ซื้อมาจากใครเป็นรายละเอียดไม่ทำให้การนำสืบของโจทก์ต้องเสียไป ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีโจทก์เป็นบุคคลมีสัญชาติไทยจึงเชื่อว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเอาคืนที่ดินของโจทก์ที่จำเลยที่2ถือกรรมสิทธิ์แทนได้ส่วนการที่โจทก์อ้างจำเลยที่2เป็นพยานก็เนื่องจากกฎหมายให้สิทธิไว้การฟ้องคดีและการดำเนินคดีของโจทก์ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจกำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับจึงเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว ในขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากบริษัทย. จำกัดโจทก์เป็นบุคคลต่างด้าวนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทจึงต้องห้ามชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา86และตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิม(มาตรา150ที่แก้ไขใหม่)แต่ผลของการที่นิติกรรมเป็นโมฆะดังกล่าวไม่ทำให้นิติกรรมเสียเปล่าไปยังคงมีผลตามกฎหมายอยู่แต่โจทก์ไม่มีสิทธิถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทต้องจัดการจำหน่ายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา94และการบังคับให้จำหน่ายดังกล่าวหมายความเฉพาะที่ดินพิพาทเท่านั้นไม่รวมถึงสิ่งปลูกสร้างพิพาทด้วยเพราะคนต่างด้าวไม่ต้องห้ามมิให้ถือกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6444/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายสิทธิการเช่า: หน้าที่ของคู่สัญญาและการบังคับตามสัญญา
สัญญาขายสิทธิการเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งก่อให้เกิดหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยจำเลยเป็นเจ้าหนี้ในการที่จะเรียกร้องเอาราคาค่าโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ ในขณะเดียวกันก็เป็นลูกหนี้ในการที่จะต้องแสดงเจตนาต่อผู้ให้เช่าโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยในการที่จะเรียกร้องให้จำเลยดำเนินการโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ และเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระราคาค่ารับโอนสิทธิการเช่าให้แก่จำเลย และข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยจึงเป็นสัญญาที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ดำเนินการโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
การโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทจะมีผลต่อเมื่อผู้ให้เช่ายินยอมเสียก่อนจึงจะโอนกันได้ จะถือเอาคำพิพากษาบังคับผู้ให้เช่ายอมให้โจทก์เช่าห้องพิพาทไม่ได้ ต้องพิพากษาให้จำเลยแสดงเจตนาต่อผู้ให้เช่ายอมโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์
of 4