พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินมีข้อจำกัดตาม ป.ที่ดิน ผลกระทบจากการแก้ไขกฎหมาย และสิทธิครอบครอง
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการ-ทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนภายในสิบปีตาม ป.ที่ดิน มาตรา31 อันเป็นการห้ามโอนโดยเด็ดขาด การที่โจทก์ที่ 1 ขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 2 ไม่ทำให้โจทก์ที่ 2 ได้สิทธิครอบครองในที่ดินแต่อย่างใดนั้น เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้เป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วในศาล-ชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249
โจทก์ที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2530 แม้ตามสารบัญจดทะเบียนจะมีข้อความว่า ห้ามโอนภายในสิบปี ตามมาตรา 31 แห่ง ป.ที่ดินนับแต่วันที่ 15 มกราคม 2523 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นก็ตาม แต่ต่อมามี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.ที่ดิน (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2521 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 31 แห่ง ป.ที่ดิน ที่ใช้อยู่เดิมจากการห้ามโอนภายในสิบปีให้ยกเลิกเป็นการห้ามโอนมีกำหนดห้าปี ดังนั้น ข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 เดิมจึงไม่อาจนำมาใช้บังคับในคดีนี้ได้เพราะคดีนี้โจทก์ที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 เมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนภายในห้าปีแล้ว โจทก์ที่ 2 จึงได้สิทธิครอบครองที่พิพาท
โจทก์ที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2530 แม้ตามสารบัญจดทะเบียนจะมีข้อความว่า ห้ามโอนภายในสิบปี ตามมาตรา 31 แห่ง ป.ที่ดินนับแต่วันที่ 15 มกราคม 2523 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นก็ตาม แต่ต่อมามี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.ที่ดิน (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2521 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 31 แห่ง ป.ที่ดิน ที่ใช้อยู่เดิมจากการห้ามโอนภายในสิบปีให้ยกเลิกเป็นการห้ามโอนมีกำหนดห้าปี ดังนั้น ข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 เดิมจึงไม่อาจนำมาใช้บังคับในคดีนี้ได้เพราะคดีนี้โจทก์ที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 เมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนภายในห้าปีแล้ว โจทก์ที่ 2 จึงได้สิทธิครอบครองที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4204/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาทุนการศึกษาและข้อผูกพันชดใช้คืน: ความรับผิดเมื่อผิดสัญญา
แม้มูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์ให้ทุนการศึกษาแก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ผ่านโจทก์และเป็นทุนที่ไม่มีเงื่อนไขผูกพันใด ๆ รวมทั้งไม่ใช่วัตถุประสงค์ของมูลนิธิที่จะให้จำเลยที่ 1 กลับมาปฏิบัติราชการชดใช้ทุนเป็นเวลา 2 เท่าของเวลาที่ลาไปศึกษาก็หาใช่ข้อสำคัญไม่ เนื่องจากขณะที่จำเลยที่ 1 ขออนุมัติลาไปศึกษาต่อนั้นจำเลยที่ 1ยังรับราชการในสังกัดโจทก์ และจำเลยที่ 1 ก็ได้รับอนุมัติให้ลาไปศึกษาต่อโดยมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างที่ลานั้น ก็ด้วยความประสงค์ของโจทก์ที่ว่า ต้องการให้จำเลยที่ 1 กลับมาปฏิบัติราชการในสังกัดเดิมภายหลังเสร็จสิ้นการศึกษาแล้วหาเกี่ยวข้องกับมูลนิธิแต่อย่างใด
การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาได้รับทุนไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศกับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ตามสัญญาดังกล่าวนี้ เงินทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งค่าเดินทางที่จ่ายให้อันเนื่องจากการศึกษาต่อนั้นไม่ว่าจะเป็นของรัฐบาลไทย รัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การใด ก็รวมอยู่ในความหมายที่จำเลยที่ 1ต้องชดใช้คืนโจทก์ในฐานะเป็นค่าเสียหายเมื่อมีการผิดสัญญาเกิดขึ้น ซึ่งหมายถึงเงินทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมตลอดทั้งค่าเดินทางที่มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 ในการลาไปศึกษาต่อนั้น หามีข้อยกเว้นในสัญญาว่าให้ใช้เฉพาะกับผู้รับทุนซึ่งผ่านรัฐบาลไทยหรือโจทก์เท่านั้น การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าหากมีการผิดสัญญาเกิดขึ้นเป็นข้อตกลงอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อวัตถุประสงค์ของสัญญาเป็นที่ประจักษ์ว่าเพื่อต้องการให้จำเลยที่ 1 กลับมาปฏิบัติราชการให้ ให้เกิดประโยชน์แก่สถาบันและประเทศชาติโดยรวม จึงเป็นการชอบธรรมและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาดังกล่าวจึงมีมูลหนี้ต่อกันบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ปฏิบัติราชการครบกำหนดตามสัญญา จึงต้องรับผิดตามสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมด้วยในฐานะผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1ทำไว้กับโจทก์ตามสัญญาเอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องเป็นหลัก และสัญญาเอกสารท้ายฟ้องก็ระบุชัดเจนว่า จำเลยที่ 1 ได้รับทุนการศึกษาของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์ จึงเป็นที่เข้าใจได้อยู่ในตัวว่า หาใช่ทุนของโจทก์ไม่ ดังนี้ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่ต่างจากฟ้องอันเป็นเหตุให้ยกฟ้อง
จำเลยฎีกาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินเหรียญสหรัฐ เมื่อจำเลยมิได้ยกขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบ ในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาได้รับทุนไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศกับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ตามสัญญาดังกล่าวนี้ เงินทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งค่าเดินทางที่จ่ายให้อันเนื่องจากการศึกษาต่อนั้นไม่ว่าจะเป็นของรัฐบาลไทย รัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การใด ก็รวมอยู่ในความหมายที่จำเลยที่ 1ต้องชดใช้คืนโจทก์ในฐานะเป็นค่าเสียหายเมื่อมีการผิดสัญญาเกิดขึ้น ซึ่งหมายถึงเงินทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมตลอดทั้งค่าเดินทางที่มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 ในการลาไปศึกษาต่อนั้น หามีข้อยกเว้นในสัญญาว่าให้ใช้เฉพาะกับผู้รับทุนซึ่งผ่านรัฐบาลไทยหรือโจทก์เท่านั้น การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าหากมีการผิดสัญญาเกิดขึ้นเป็นข้อตกลงอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อวัตถุประสงค์ของสัญญาเป็นที่ประจักษ์ว่าเพื่อต้องการให้จำเลยที่ 1 กลับมาปฏิบัติราชการให้ ให้เกิดประโยชน์แก่สถาบันและประเทศชาติโดยรวม จึงเป็นการชอบธรรมและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาดังกล่าวจึงมีมูลหนี้ต่อกันบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ปฏิบัติราชการครบกำหนดตามสัญญา จึงต้องรับผิดตามสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมด้วยในฐานะผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1ทำไว้กับโจทก์ตามสัญญาเอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องเป็นหลัก และสัญญาเอกสารท้ายฟ้องก็ระบุชัดเจนว่า จำเลยที่ 1 ได้รับทุนการศึกษาของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์ จึงเป็นที่เข้าใจได้อยู่ในตัวว่า หาใช่ทุนของโจทก์ไม่ ดังนี้ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่ต่างจากฟ้องอันเป็นเหตุให้ยกฟ้อง
จำเลยฎีกาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินเหรียญสหรัฐ เมื่อจำเลยมิได้ยกขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบ ในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5306/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าจ้างตามสัญญา แม้จำเลยอ้างไม่ได้รับประโยชน์จากโควตา ก็ยังต้องรับผิดตามสัญญา
ตามคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วของจำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าพยานที่จะขอสืบเพิ่มเติมเป็นพยานสำคัญเพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับโควตาส่งออกตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ตามข้ออ้างดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่ามิใช่เป็นพยานหลักฐานที่จะชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็น เพราะโจทก์ฟ้องเรียกค่าตอบแทนหรือค่าจ้างจากสัญญาที่โจทก์ได้จัดการให้จำเลยแล้ว ส่วนจำเลยจะได้รับประโยชน์หรือไม่ จึงมิใช่ข้อสำคัญแห่งประเด็น ศาลล่างทั้งสองให้ยกคำร้องจำเลยที่ 1 และที่ 2ชอบแล้ว
ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าพยานดังกล่าวเป็นพยานสำคัญเพราะจะได้สนับสนุนให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มิได้รู้เห็นขณะทำสัญญานั้นจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้กล่าวอ้างมาแต่ในศาลล่างทั้งสอง เพิ่งจะมากล่าวอ้างในชั้นฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทน ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งประเด็นข้อนี้ต่อศาลอุทธรณ์โดยตรง คงอุทธรณ์แต่เพียงว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องเรื่องตัวแทน การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้เชิดจำเลยที่ 3เป็นตัวแทนในการทำสัญญา จึงยังคลาดเคลื่อนต่อกฎหมาย ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวว่าตามคำฟ้องโจทก์ถือได้ว่าเป็นการฟ้องว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนแล้วข้อฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อนี้จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ แต่จำเลยที่ 3 อ้างว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากับโจทก์ ให้โจทก์ช่วยยื่นคำขอและวิ่งเต้นขออนุญาตโควตาสิ่งทอเพื่อส่งไปจำหน่ายยังประเทศสหรัฐอเมริกา โดยให้ค่าตอบแทนโหลละ30 บาท โจทก์ได้จัดการติดต่อให้จำเลยที่ 1 ได้รับโควตา จึงเรียกเงินค่าตอบแทนเป็นการฟ้องเรียกเงินค่าตอบแทนหรือค่าจ้างในการที่โจทก์ได้จัดการให้จำเลยที่ 1ตามสัญญา เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติตามสัญญาเรียบร้อยแล้วย่อมมีสิทธิจะได้รับเงินค่าตอบแทนตามสัญญา
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าไม่ได้รับประโยชน์จากโควตา และเรียกเก็บเงินจากการขายสินค้าไม่ได้ ทั้งไม่เคยนำเงินตราจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศ แม้จะเป็นจริงอย่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างก็ไม่ทำให้พ้นความรับผิด เพราะโจทก์ได้ดำเนินการตามสัญญาให้เรียบร้อยแล้ว ข้ออ้างของจำเลยที่ 1และที่ 2 ดังกล่าวอาจเป็นข้อสนับสนุนว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้เชิดจำเลยที่ 3 ให้เป็นตัวแทนเท่านั้น แต่ข้อเท็จจริงนี้ศาลล่างรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนทำสัญญากับโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่พ้นความรับผิดตามสัญญา
การที่โจทก์กับฝ่ายจำเลยได้ตกลงทำสัญญาโดยถ้อยคำในสัญญาใช้คำว่าช่วยยื่นคำขอและวิ่งเต้นขออนุญาตโควตาสิ่งทอเพื่อส่งไปจำหน่ายยังประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งตัวโจทก์เบิกความว่า ค่าวิ่งเต้นหมายถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินการติดต่อกับเจ้าหน้าที่กรมการค้าต่างประเทศ เช่น ค่ารถ ค่าเสียเวลา เจ้าหน้าที่ไม่เคยเรียกเงินจากโจทก์ ส่วนจำเลยไม่มีพยานสืบให้เห็นว่าเป็นการให้วิ่งเต้นเพื่อให้สินบนแก่เจ้าพนักงานแต่อย่างไร เพียงแต่ในการดำเนินการยื่นคำขอโควตาให้จำเลยที่ 1 โจทก์ได้ให้ ก.ซึ่งเป็นลูกจ้างของกรมการค้าต่างประเทศช่วยติดตามดูแลเรื่องให้และจะแบ่งค่านายหน้าให้ การกระทำของ ก.ทางกรมการค้าต่างประเทศเห็นว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ ประพฤติตนเป็นตัวแทนและนายหน้าให้บุคคลภายนอกโดยมีสินจ้าง เป็นการประพฤติตนไม่เหมาะสมจึงให้ออกจากราชการย่อมเห็นได้ว่า ก.เป็นเพียงลูกจ้างไม่มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาให้โควตาสิ่งทอ แต่ช่วยติดตามดูแลเรื่องให้โจทก์ มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์กับฝ่ายจำเลยทำสัญญาเพื่อให้โจทก์วิ่งเต้นให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ อันจะเป็นการตกลงกันให้กระทำผิดกฎหมาย สัญญาดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ
ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าพยานดังกล่าวเป็นพยานสำคัญเพราะจะได้สนับสนุนให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มิได้รู้เห็นขณะทำสัญญานั้นจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้กล่าวอ้างมาแต่ในศาลล่างทั้งสอง เพิ่งจะมากล่าวอ้างในชั้นฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทน ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งประเด็นข้อนี้ต่อศาลอุทธรณ์โดยตรง คงอุทธรณ์แต่เพียงว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องเรื่องตัวแทน การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้เชิดจำเลยที่ 3เป็นตัวแทนในการทำสัญญา จึงยังคลาดเคลื่อนต่อกฎหมาย ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวว่าตามคำฟ้องโจทก์ถือได้ว่าเป็นการฟ้องว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนแล้วข้อฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อนี้จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ แต่จำเลยที่ 3 อ้างว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากับโจทก์ ให้โจทก์ช่วยยื่นคำขอและวิ่งเต้นขออนุญาตโควตาสิ่งทอเพื่อส่งไปจำหน่ายยังประเทศสหรัฐอเมริกา โดยให้ค่าตอบแทนโหลละ30 บาท โจทก์ได้จัดการติดต่อให้จำเลยที่ 1 ได้รับโควตา จึงเรียกเงินค่าตอบแทนเป็นการฟ้องเรียกเงินค่าตอบแทนหรือค่าจ้างในการที่โจทก์ได้จัดการให้จำเลยที่ 1ตามสัญญา เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติตามสัญญาเรียบร้อยแล้วย่อมมีสิทธิจะได้รับเงินค่าตอบแทนตามสัญญา
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าไม่ได้รับประโยชน์จากโควตา และเรียกเก็บเงินจากการขายสินค้าไม่ได้ ทั้งไม่เคยนำเงินตราจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศ แม้จะเป็นจริงอย่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างก็ไม่ทำให้พ้นความรับผิด เพราะโจทก์ได้ดำเนินการตามสัญญาให้เรียบร้อยแล้ว ข้ออ้างของจำเลยที่ 1และที่ 2 ดังกล่าวอาจเป็นข้อสนับสนุนว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้เชิดจำเลยที่ 3 ให้เป็นตัวแทนเท่านั้น แต่ข้อเท็จจริงนี้ศาลล่างรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนทำสัญญากับโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่พ้นความรับผิดตามสัญญา
การที่โจทก์กับฝ่ายจำเลยได้ตกลงทำสัญญาโดยถ้อยคำในสัญญาใช้คำว่าช่วยยื่นคำขอและวิ่งเต้นขออนุญาตโควตาสิ่งทอเพื่อส่งไปจำหน่ายยังประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งตัวโจทก์เบิกความว่า ค่าวิ่งเต้นหมายถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินการติดต่อกับเจ้าหน้าที่กรมการค้าต่างประเทศ เช่น ค่ารถ ค่าเสียเวลา เจ้าหน้าที่ไม่เคยเรียกเงินจากโจทก์ ส่วนจำเลยไม่มีพยานสืบให้เห็นว่าเป็นการให้วิ่งเต้นเพื่อให้สินบนแก่เจ้าพนักงานแต่อย่างไร เพียงแต่ในการดำเนินการยื่นคำขอโควตาให้จำเลยที่ 1 โจทก์ได้ให้ ก.ซึ่งเป็นลูกจ้างของกรมการค้าต่างประเทศช่วยติดตามดูแลเรื่องให้และจะแบ่งค่านายหน้าให้ การกระทำของ ก.ทางกรมการค้าต่างประเทศเห็นว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ ประพฤติตนเป็นตัวแทนและนายหน้าให้บุคคลภายนอกโดยมีสินจ้าง เป็นการประพฤติตนไม่เหมาะสมจึงให้ออกจากราชการย่อมเห็นได้ว่า ก.เป็นเพียงลูกจ้างไม่มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาให้โควตาสิ่งทอ แต่ช่วยติดตามดูแลเรื่องให้โจทก์ มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์กับฝ่ายจำเลยทำสัญญาเพื่อให้โจทก์วิ่งเต้นให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ อันจะเป็นการตกลงกันให้กระทำผิดกฎหมาย สัญญาดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินและข้อตกลงรื้อถอนกำแพงวัด ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรม หากได้รับความยินยอมจากวัด
ข้อสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยว่าจำเลยจะทำการรื้อถอนกำแพงคอนกรีตของวัดที่อยู่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของที่ดินแปลงตามสัญญาตกลงร่วมหุ้นออกไปภายใน40วันนับแต่วันทำหนังสือนั้นเมื่อตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505มาตรา31ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์(ฉบับที่2)พ.ศ.2535บัญญัติว่าวัดมีสองอย่าง(1)วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา(2)สำนักสงฆ์ให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไปมาตรา37บัญญัติว่าเจ้าอาวาสมีหน้าที่ดังนี้(1)บำรุงวัดจัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดีและมาตรา40บัญญัติว่าศาสนสมบัติแบ่งออกเป็นสองประเภท(1)ศาสนสมบัติกลางได้แก่ทรัพย์สินของศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง(2)ศาสนสมบัติของวัดได้แก่ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่งดังนั้นเมื่อวัดเป็นนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกันบุคคลบุคคลธรรมดากำแพงวัดเป็นเพียงศาสนสมบัติของวัดซึ่งเจ้าอาวาสมีอำนาจจัดการก่อสร้างหรือรื้อถอนเพื่อประโยชน์ของวัดได้หากจำเลยสามารถทำความตกลงกับเจ้าอาวาสเพื่อขอรื้อถอนกำแพงวัดและทางวัดยินยอมจำเลยย่อมสามารถรื้อถอนกำแพงวัดได้การที่จำเลยได้ทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์เนื่องจากจำเลยเห็นว่าตนสามารถทำความตกลงกับเจ้าอาวาสได้ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใดจึงไม่เป็นโมฆะ ตามหนังสือสัญญาตกลงร่วมหุ้นมีข้อความว่า"เมื่อผู้ร่วมหุ้นที่2(จำเลย)ทำการรื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของโฉนดที่ดินที่จะซื้อขายภายใน40วันนับตั้งแต่วันทำสัญญาฉบับนี้"แม้จะไม่มีข้อความใดระบุว่าให้จำเลยรื้อถอนจำนวนเท่าใดก็ตามแต่เมื่อถ้อยคำในสัญญาระบุชัดแจ้งแล้วว่าให้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของโฉนดย่อมแสดงว่าจำเลยต้องรื้อถอนกำแพงด้านทิศตะวันออกทั้งหมดจำเลยรื้อถอนกำแพงออกไป6ช่องแล้วถูกดำเนินคดีจึงก่อสร้างกำแพงกลับสู่สภาพเดิม5ช่องคงเหลือส่วนที่จำเลยทุกออก1ช่องและส่วนที่ผู้อื่นทุบออก1ช่องถือได้ว่าจำเลยไม่สามารถรื้อถอนกำแพงออกไปหมดตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา