คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1129

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 136 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ถือหุ้นฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ซื้อที่บิดพริ้วสัญญา แม้ผู้ถือหุ้นไม่ได้ทำสัญญากับผู้ซื้อโดยตรง
ที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้นบริษัทตกลงให้ขายหุ้นของบริษัทแก่ผู้ซื้อ และผู้จัดการบริษัทได้ทำสัญญาขายหุ้นกับผู้ซื้อแทนผู้ถือหุ้น ภายหลังผู้ซื้อบิดพริ้วไม่ยอมรับซื้อหุ้น ที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้นได้ตกลงให้ขายหุ้นให้แก่บุคคลอื่นไปได้ราคาต่ำกว่าที่ผู้ซื้อตกลงไว้ ผู้ถือหุ้นย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ซื้อเดิมเป็นจำเลยได้ เพราะการทำสัญญาของผู้ซื้อกับผู้แทนบริษัทซึ่งทำแทนผู้ถือหุ้นนั้นเป็นผลเนื่องมาจากการประชุมของผู้ถือหุ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้นกรณีสัญญาซื้อขายหุ้นที่เกิดจากการประชุมผู้ถือหุ้น
ที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้นบริษัทตกลงให้ขายหุ้นของบริษัทแก่ผู้ซื้อ และผู้จัดการบริษัทได้ทำสัญญาขายหุ้นกับผู้ซื้อแทนผู้ถือหุ้นภายหลังผู้ซื้อบิดพริ้ว ไม่ยอมรับซื้อหุ้น ที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้นได้ตกลงให้ขายหุ้นให้แก่บุคคลอื่นไปได้ราคาต่ำกว่าที่ผู้ซื้อตกลงไว้ผู้ถือหุ้นย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ซื้อเดิมเป็นจำเลยได้ เพราะการทำสัญญาของผู้ซื้อกับผู้แทนบริษัทซึ่งทำแทนผู้ถือหุ้นนั้นเป็นผลเนื่องมาจากการประชุมของผู้ถือหุ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741-743/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ถือหุ้นจำกัด: เงินปันผล vs. เงินผลกำไร และผลกระทบจากการโอนหุ้น
ผู้ถือหุ้นบริษัทจำกัดจะฟ้องเรียกแบ่งเงินผลกำไรของบริษัทไม่ได้จะฟ้องเรียกได้ก็แต่เงินปันผลจากเงินกำไรนั้น
ผู้รับโอนหุ้นย่อมได้สิทธิของผู้โอนหุ้นไปทั้งหมด ผู้โอนหุ้นจึงหลุดพ้นไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับบริษัทอีก นับจากวันโอนนั้นเป็นต้นไป ผู้โอนหุ้นจะเรียกร้องเงินกำไรอันเกิดก่อนแต่ได้มาภายหลังการโอนหุ้นไม่ได้
จะนำกฎหมายลักษณะทั่วไปเรื่องดอกผลนิตินัยมาใช้บังคับกับเรื่องเงินผลกำไรของบริษัทจำกัดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741-743/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ถือหุ้นจำกัด: เงินปันผล vs. เงินผลกำไร, สิทธิหลังการโอนหุ้น
ผู้ถือหุ้นบริษัทจำกัดจะฟ้องเรียกแบ่งเงินผลกำไรของบริษัทไม่ได้จะฟ้องเรียกได้ก็แต่เงินปันผลจากเงินกำไรนั้น
ผู้รับโอนหุ้นย่อมได้สิทธิของผู้โอนหุ้นไปทั้งหมดผู้โอนหุ้นจึงหลุดพ้นไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆ กับบริษัทอีกนับจากวันโอนนั้นเป็นต้นไป ผู้โอนหุ้นจะเรียกร้องเงินกำไรอันเกิดก่อนแต่ได้มาภายหลังการโอนหุ้นไม่ได้
จะนำกฎหมายลักษณะทั่วไปเรื่องดอกผลนิตินัยมาใช้บังคับกันเรื่องเงินผลกำไรของบริษัทจำกัดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2016/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าหุ้นด้วยการหักหนี้และการโอนหุ้นที่ไม่สมบูรณ์ไม่ผูกพัน
การใช้เงินค่าหนี้นั้นผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่ ต้องชำระจนครบ
การโอนหุ้นนั้น หากเพียงแต่โอนหนี้ในทะเบียนของบริษัทลงชื่อแต่ผู้รับโอนฝ่ายเดียว ย่อมเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.ม. 1129.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2016/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าหุ้นด้วยการหักหนี้และการโอนหุ้นที่มิชอบ ทำให้การชำระหนี้ไม่สมบูรณ์และโอนหุ้นเป็นโมฆะ
การใช้เงินค่าหนี้นั้นผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่ต้องชำระจนครบ
การโอนหุ้นนั้น หากเพียงแต่โอนหนี้ในทะเบียนของบริษัทลงชื่อแต่ผู้รับโอนฝ่ายเดียว ย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1129

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1174/2487

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นบริษัทจำกัดต้องลงชื่อผู้รับโอน มิฉะนั้นไม่สมบูรณ์ แม้จดแจ้งก็ยังใช้ไม่ได้
โอนหุ้นบริษัทจำกัดชนิดระบุชื่อโดยไม่ได้ลงชื่อผู้รับโอนด้วย นับว่าใช้ไม่ได้แม้จะได้จดแจ้งการโอนในทะเบียนของบริษัทก็คงใช้ไม่ได้ มาตรา 1141 เป็นแต่ข้อสันนิษฐานว่าทะเบียนของบริษัทถูกต้องและไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด หุ้นในบริษัทจำกัดเป็นสิทธิชนิดหนึ่ง การโอนหุ้นบริษัทจำกัดไม่สมบูรณ์ถ้าผู้รับโอนได้ปกครองมาเกิน 5 ปีก็อาจได้กรรมสิทธิ์ในหุ้นตาม มาตรา 1382
of 14