คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1129

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 136 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนหุ้นที่ฉ้อฉลกระทบสิทธิบุคคลภายนอก คดีต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์มีคำขอให้เพิกถอนการโอนหุ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 และให้ดำเนินการโอนหุ้นกลับให้จำเลยที่ 1เป็นเจ้าของหุ้นตามเดิม แม้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3คบคิดกันโอนหุ้นตามคำฟ้องโดยฉ้อฉล อันทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237ก็ตาม แต่การให้เพิกถอนการโอนหุ้นรายนี้ย่อมกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งได้รับโอนหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ อันเป็นการบังคับคดีต่อบุคคลภายนอกซึ่งมิได้ถูกฟ้องเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ด้วย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ดังกล่าวข้างต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนหุ้นกระทบสิทธิบุคคลภายนอก: ข้อจำกัดการบังคับคดี
โจทก์มีคำขอให้เพิกถอนการโอนหุ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 และให้ดำเนินการโอนหุ้นกลับให้จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของหุ้นตามเดิม แม้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 คบคิดกันโอนหุ้นตามคำฟ้องโดยฉ้อฉล อันทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา237 ก็ตาม แต่การให้เพิกถอนการโอนหุ้นรายนี้ย่อมกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งได้รับโอนหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ อันเป็นการบังคับคดีต่อบุคคลภายนอกซึ่งมิได้ถูกฟ้องเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ด้วย ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ดังกล่าวข้างต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนหุ้นโดยฉ้อฉลกระทบสิทธิบุคคลภายนอก ต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์มีคำขอให้เพิกถอนการโอนหุ้นระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2และที่3และให้ดำเนินการโอนหุ้นกลับให้จำเลยที่1เป็นเจ้าของหุ้นตามเดิมแม้จำเลยที่1กับจำเลยที่2และที่3คบคิดกันโอนหุ้นตามคำฟ้องโดยฉ้อฉลอันทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237ก็ตามแต่การให้เพิกถอนการโอนหุ้นรายนี้ย่อมกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งได้รับโอนหุ้นต่อไปเป็นทอดๆอันเป็นการบังคับคดีต่อบุคคลภายนอกซึ่งมิได้ถูกฟ้องเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ด้วยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ดังกล่าวข้างต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 57/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นระบุชื่อต้องทำตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด หากไม่เป็นไปตามนั้น การโอนหุ้นนั้นไม่สมบูรณ์และไม่มีผลผูกพัน
โจทก์รับโอนหุ้นของจำเลยที่1ซึ่งเป็นหุ้นสามัญระบุชื่อบริษัทอ. เป็นผู้ถือหุ้นมาจากย. โดยไม่เป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยที่1และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129ที่กำหนดไว้ว่าจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองจึงไม่มีผลใช้ยันจำเลยที่1ได้การที่จำเลยที่1และที่2ปฏิเสธการออกใบหุ้นของจำเลยที่1ให้แก่โจทก์ย่อมเป็นสิทธิที่พึงกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นแบบโอนลอย: เจตนาคู่กรณีและผลทางกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การโอนหุ้นระหว่างจำเลยและธ. แบบโอนลอยนั้นคู่กรณีมีเจตนามุ่งให้ความสะดวกเป็นประโยชน์แก่ผู้รับโอนที่จะเลือกปฏิบัติได้ว่าหากประสงค์จะมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นเป็นการโอนที่เสร็จเด็ดขาดก็ต้องปฏิบัติตามแบบแห่งกฎหมายให้ถูกต้องแต่หากยังไม่ประสงค์จะให้มีผลเสร็จเด็ดขาดก็อาจโอนลอยต่อให้บุคคลอื่นไปปฏิบัติได้ซึ่งเป็นการแบ่งขั้นตอนปฏิบัติตามแบบแห่งนิติกรรมที่กฎหมายกำหนดการโอนลอยหุ้นให้แก่ธ. จึงเป็นเพียงขั้นตอนที่จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายของตนเป็นขั้นตอนแรกแล้วเท่านั้นยังมิได้เป็นการโอนที่เสร็จเด็ดขาดซึ่งความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129วรรคสองเป็นการกำหนดแบบของการโอนหุ้นว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะมีหลักฐานการโอนที่แน่นอนหาใช่เป็นแบบของการซื้อขายหุ้นไม่ดังนั้นผู้ถือหุ้นที่มิได้ทำการโอนให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงยังไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทและไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นในบริษัทตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้เท่านั้นหาอาจถือเป็นการขัดต่อกฎหมายและตกเป็นโมฆะไม่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนต่อในช่วงสุดท้ายยังคงอยู่ในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิในหุ้นพิพาทที่จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 179-180/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นไม่ชอบตามข้อบังคับบริษัท ทำให้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ขณะที่มีการโอนหุ้นจำเลยที่ 1 มีกรรมการ 5 คน และตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1ระบุว่า การประชุมกรรมการจะต้องมีคณะกรรมการเข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุมปรึกษากิจการได้ ดังนั้น การที่กรรมการของจำเลยที่ 1 เพียง 2 คน ลงชื่ออนุมัติในการโอนหุ้นย่อมถือไม่ได้ว่าคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 เห็นชอบในการโอนหุ้นเมื่อการที่จำเลยที่ 2 โอนหุ้นให้แก่จำเลยที่ 3 เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3ได้เข้าร่วมประชุมและออกเสียงในที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยที่ 1 และย่อมส่งผลให้การประชุมและมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ในครั้งดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ไปด้วยชอบที่จะให้เพิกถอนมติที่ประชุมของจำเลยที่ 1 นั้นเสีย
ข้อฎีกาที่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6908/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับเงินค่าหุ้นมีน้ำหนักกว่าบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น แม้ไม่มีการจดแจ้งการชำระในทะเบียน
ผู้ร้องมีหนังสือของบริษัทจำเลยซึ่งม. กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทจำเลยลงลายมือชื่อโดยประทับตราของบริษัทจำเลยยืนยันว่าบริษัทจำเลยได้รับเงินค่าหุ้นที่ค้างจากผู้ร้องแล้วมาแสดงซึ่งผู้ร้องได้อ้างส่งไว้ในชั้นสอบสวนของผู้คัดค้านที่ผู้คัดค้านอ้างว่าจากการตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยปรากฏว่าผู้ร้องยังค้างชำระค่าหุ้นแก่บริษัทจำเลยอยู่เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้ปฏิเสธว่าหนังสือรับเงินค่าหุ้นดังกล่าวบริษัทจำเลยไม่ได้ทำขึ้นหรือทำไว้ไม่ถูกต้องหรือไม่อย่างไรหนังสือรับเงินค่าหุ้นดังกล่าวจึงรับฟังได้ การชำระเงินค่าหุ้นไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องจดแจ้งลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นด้วยจึงใช้ยันแก่บริษัทจำเลยรวมทั้งผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2531/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้น: สิทธิของผู้โอนหุ้นเมื่อบริษัทละเลยการจดแจ้งการโอน และความรับผิดต่อเจ้าหนี้
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่ยังไม่ได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นที่จะนำมาใช้ยันแก่บริษัทไม่ได้ตามป.พ.พ.มาตรา1129วรรคสามหมายถึงกรณีที่ผู้โอนและผู้รับโอนโอนหุ้นกันเองโดยบริษัทมิได้ร่วมรู้เห็นอยู่ด้วยเมื่อขณะที่มีการโอนขายหุ้นกัน ส. ผู้รับโอนเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยแม้จะรับโอนหุ้นไว้ในฐานะส่วนตัวต้องถือว่าบริษัทจำเลยร่วมรู้เห็นและยินยอมให้มีการโอนหุ้นแล้วบริษัทจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการจดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นโดยไม่จำต้องให้ผู้โอนหรือผู้รับโอนคนหนึ่งคนใดแจ้งให้ดำเนินการอีกมิฉะนั้นย่อมเป็นความผิดของบริษัทจำเลยเองการที่กลับมายกเหตุที่ไม่มีการจดแจ้งการโอนขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อให้ผู้โอนต้องรับผิดย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามมาตรา5 ความรับผิดของผู้โอนหุ้นสำหรับจำนวนเงินที่ยังส่งใช้ไม่ครบตามมูลค่าของหุ้นที่โอนตามมาตรา1133หมายถึงความรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัทที่ผู้โอนเคยถือหุ้นอยู่หาได้หมายถึงว่าผู้โอนยังจะต้องรับผิดต่อบริษัทในเงินค่าหุ้นซึ่งตนยังส่งใช้ไม่ครบแม้จะได้โอนหุ้นดังกล่าวไปแล้วแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2531/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้น: สิทธิและความรับผิดของผู้โอนเมื่อบริษัทร่วมรู้เห็นและไม่จดแจ้งการโอน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129วรรคสามที่บัญญัติถึงการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่ยังไม่ได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นว่าจะนำมาใช้ยันแก่บริษัทไม่ได้นั้นหมายถึงกรณีที่ผู้โอนและผู้รับโอนโอนหุ้นกันเองโดยบริษัทมิได้ร่วมรู้เห็นอยู่ด้วย ขณะที่มีการโอนขายหุ้นกันส. ผู้รับโอนเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยแม้ส. จะรับโอนหุ้นไว้ในฐานะส่วนตัวแต่ในฐานะที่ส. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยอยู่ด้วยจึงต้องถือว่าบริษัทจำเลยร่วมรู้เห็นและยินยอมให้มีการโอนหุ้นแล้วบริษัทจำเลยมีหน้าที่ต้องดำเนินการจดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นโดยไม่จำต้องให้ผู้โอนหรือผู้รับโอนคนหนึ่งคนใดแจ้งให้ดำเนินการอีกการที่บริษัทจำเลยไม่ดำเนินการจดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงเป็นความผิดของบริษัทจำเลยเองและการที่บริษัทจำเลยยกเหตุที่ไม่มีการจดแจ้งการโอนขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อให้ผู้โอนต้องรับผิดย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา5บริษัทจำเลยหรือผู้คัดค้านจะเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นที่ยังค้างชำระโดยอ้างว่าการโอนหุ้นไม่สมบูรณ์ตามมาตรา1129วรรคสามไม่ได้ส่วนมาตรา1133เกี่ยวกับความรับผิดของผู้โอนหุ้นสำหรับจำนวนเงินที่ยังส่งใช้ไม่ครบตามมูลค่าของหุ้นที่โอนหมายถึงความรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัทที่ผู้โอนเคยถือหุ้นอยู่ไม่ได้หมายถึงว่าผู้โอนจะต้องรับผิดต่อบริษัทในเงินค่าหุ้นซึ่งตนยังส่งใช้ไม่ครบแม้จะได้โอนหุ้นไปแล้วผู้คัดค้านจึงเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินแก่ผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา119ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7501/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้น, หนังสือรับสภาพหนี้, และการตั้งตัวแทนตามกฎหมายหลักทรัพย์
ตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 44 วรรคแรก การตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน หมายความถึงเฉพาะการตั้งตัวแทนหรือนายหน้าเพื่อให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เท่านั้นที่จะต้องขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน ส่วนการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแม้จะถือว่าเป็นการตั้งตัวแทนก็ไม่ต้องขอนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยเพราะการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเป็นอำนาจทั่วไปที่บุคคลมีอยู่ตามกฎหมาย
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไม่ใช่เรื่องซื้อขายหุ้นตามปกติแต่เป็นการซื้อขายหุ้นในกรณีพิเศษจึงไม่จำต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129แต่อย่างใด และตาม พ.ร.บ. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2517มาตรา 20 บัญญัติว่า การซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ให้กระทำได้เฉพาะหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์อนุญาตและโดยสมาชิกเท่านั้น แสดงว่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์กระทำได้เฉพาะสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์เท่านั้นซึ่งจำเลยก็ทราบดี แต่ก็ยังยินยอมแต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนซื้อหรือขายหลักทรัพย์เมื่อจำเลยสมัครใจเข้าซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ก็ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด จะอ้างว่าถูกเอาเปรียบไม่ได้
ตามบันทึกข้อตกลงมีการคิดคำนวณหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์และมีการนำเงินที่จำเลยวางไว้เป็นประกันพร้อมดอกเบี้ยกับมูลค่าหุ้นที่จำเลยมีอยู่มาตีราคานำมาหักชำระหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์และมีการตกลงผ่อนชำระกันไว้ แสดงให้เห็นว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาให้เอกสารดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้มีผลผูกพันใช้บังคับได้ตามกฎหมาย จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่า เอกสารท้ายฟ้องไม่ใช่หนังสือรับสภาพหนี้ตามกฎหมาย จำเลยไม่เป็นหนี้โจทก์จำเลยไม่ต้องรับผิดแสดงว่าจำเลยปฏิเสธไม่ชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ทั้งหมด ถือได้ว่าจำเลยไม่ถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตามหนังสือรับสภาพหนี้ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ค้างชำระทั้งหมดได้ และเมื่อจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดในการชำระหนี้ โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยตามหนังสือรับสภาพหนี้ได้
of 14