คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1129

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 136 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นยังไม่จดแจ้งทะเบียน ไม่อาจอ้างเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ต่อบริษัทที่ล้มละลายได้
การโอนหุ้นระหว่างผู้ร้องกับ ธ. ยังมิได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น ผู้ร้องจึงไม่อาจอ้างเหตุผลใด ๆ มาเป็นข้อยกเว้นบทบัญญัติของมาตรา 1129 วรรคท้ายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อให้ตนเองหลุดพ้นไปจากความรับผิดในค่าหุ้นที่ค้างได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยแล้ว พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 22(2) ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่บริษัทจำเลยหรือซึ่งบริษัทจำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น ฉะนั้น เมื่อผู้ร้องต้องห้ามมิให้ยกการโอนหุ้นขึ้นยันบริษัทจำเลยดังกล่าวแล้วผู้ร้องก็ย่อมไม่อาจยกการโอนหุ้นขึ้นยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เช่นเดียวกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นต้องจดแจ้งในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงมีผลผูกพันกับบริษัทและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เงื่อนไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคท้าย ได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่า การโอนหุ้นจะต้องได้จดแจ้งให้ปรากฏหลักฐานการโอนทั้งชื่อ และที่อยู่ของผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นเสียก่อนจึงจะนำมาใช้ยันบริษัทหรือบุคคลภายนอกได้ เมื่อการโอนหุ้นของบริษัทจำเลยระหว่างผู้ร้องกับ ธ. ยังมิได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนดังกล่าว ผู้ร้องจึงไม่อาจอ้างเหตุผลใด ๆมาเป็นข้อยกเว้นของบทบัญญัติของกฎหมายเพื่อให้ตนหลุดพ้นความรับผิดได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยแล้ว พ.ร.บ.ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 22(3) ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตก ได้แก่บริษัทจำเลยหรือซึ่งบริษัทจำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น ฉะนั้นเมื่อผู้ร้องต้องห้ามมิให้ยกการโอนหุ้นขึ้นยันบริษัทจำเลย ผู้ร้องก็ย่อมไม่อาจยกการโอนหุ้นขึ้นยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เช่นเดียวกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทซื้อขายหุ้นผ่านนายหน้า: สัญญาผูกพันตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ ไม่ใช่การซื้อขายโดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่ง
โจทก์ทำการเป็นนายหน้าของจำเลย ตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งออกตามความในมาตรา15(8) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติตามข้อบังคับนั้นแล้ว จึงผูกพันจำเลยในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์ บังคับระหว่างกันได้ หาใช่กรณีการซื้อหุ้น ขายหุ้น กันโดยตรงอันจะต้องปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129หรือ ในเรื่องการซื้อขายธรรมดา ตามมาตรา 453 ไม่.(ที่มา-เนติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4487/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นแทนกัน สัญญากู้เงิน และการชำระหนี้ด้วยเช็ค: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์มีฐานะเป็นทั้งบริษัทเงินทุนและบริษัทหลักทรัพย์และจำเลยรับว่าโจทก์มีอำนาจให้กู้ยืมเงินในฐานะเป็นบริษัทเงินทุนได้แล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าในฐานะที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์ โจทก์มีอำนาจให้กู้ยืมเงินหรือไม่ต่อไปเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ถือว่าไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 หุ้นที่โจทก์ซื้อแทนจำเลยในตลาดหลักทรัพย์นั้นไม่ต้องปฏิบัติการโอนหุ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1129 แม้หุ้นจะมิได้มีชื่อจำเลยก็จะถือว่ามิใช่หุ้นของจำเลย และโจทก์มิได้ซื้อหุ้นให้จำเลยหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ซื้อขายหุ้น ให้จำเลย และจำเลยเป็นหนี้ค่าซื้อขายหุ้นแก่โจทก์จึงได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์เพื่อชำระหนี้ การที่จำเลยได้รับเช็คจำนวนเงินตามที่กู้และนำเช็คนั้นไปชำระหนี้โจทก์จนเป็นเหตุให้หนี้ระงับไป ถือว่าจำเลยได้รับเงินกู้แล้วสัญญากู้จึงบริบูรณ์มีมูลหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3395/2529 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองหุ้นโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หากผู้รับทราบและไม่โต้แย้ง ย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองเมื่อเวลาผ่านไป
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อของบริษัทจำกัด แม้จะกระทำโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่เมื่อผู้ร้องรู้เห็นมิได้โต้แย้งปฏิเสธการโอนหุ้นนั้น จึงถือได้ว่า ผู้ร้องรับหุ้นนั้นไว้โดยเจตนายึดถือเพื่อตน ย่อมได้สิทธิครอบครอง เมื่อครอบครองเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี หากการโอนหุ้นเป็นโมฆะ ผู้ร้องก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองแล้ว จึงต้องรับผิดในมูลค่าหุ้น ส่วนที่ยังชำระไม่ครบตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงถาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3395/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองหุ้นโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หากผู้รับโอนรู้เห็นและไม่โต้แย้ง ย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองเมื่อเวลาผ่านไป
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อของบริษัทจำกัดแม้จะกระทำโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายแต่เมื่อผู้ร้องรู้เห็นมิได้โต้แย้งปฏิเสธการโอนหุ้นนั้นจึงถือได้ว่าผู้ร้องรับหุ้นนั้นไว้โดยเจตนายึดถือเพื่อตนย่อมได้สิทธิครอบครองเมื่อครอบครองเป็นเวลาเกินกว่า5ปีหากการโอนหุ้นเป็นโมฆะผู้ร้องก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองแล้วจึงต้องรับผิดในมูลค่าหุ้นส่วนที่ยังชำระไม่ครบตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงถาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3395/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองหุ้นโดยเจตนา แม้การโอนหุ้นจะโมฆะ ย่อมได้กรรมสิทธิ์ด้วยการครอบครองหากครอบครองเกิน 5 ปี
บิดาของผู้ร้องโอนหุ้นให้แก่ผู้ร้องโดยที่ผู้ร้องมิได้โต้แย้งหรือปฏิเสธการโอนหุ้นถือได้ว่าผู้ร้องรับโอนหุ้นไว้โดยเจตนายึดถือเพื่อตนย่อมได้สิทธิครอบครองเมื่อผู้ร้องครอบครองหุ้นตลอดมาเป็นเวลาเกินกว่า5ปีดังนี้แม้การโอนหุ้นจะเป็นโมฆะผู้ร้องก็ได้กรรมสิทธิ์ด้วยการครอบครองแล้วผู้ร้องจึงต้องรับผิดในมูลค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3395/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองหุ้นโดยไม่สุจริตและการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองเมื่อผ่านเวลา 5 ปี
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อของบริษัทจำกัด แม้จะกระทำโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่เมื่อผู้ร้องรู้เห็นมิได้โต้แย้งปฏิเสธการโอนหุ้นนั้นจึงถือได้ว่าผู้ร้องรับหุ้นนั้นไว้โดยเจตนายึดถือเพื่อตน ย่อมได้สิทธิครอบครองเมื่อครอบครองเป็นเวลาเกินกว่า5 ปี หากการโอนหุ้นเป็นโมฆะผู้ร้องก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองแล้ว จึงต้องรับผิดในมูลค่าหุ้นส่วนที่ยังชำระไม่ครบตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงถาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3395/2529 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองหุ้นโดยเจตนา แม้การโอนจะเป็นโมฆะ ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย
บิดาของผู้ร้องโอนหุ้นให้แก่ผู้ร้องโดยที่ผู้ร้องมิได้โต้แย้งหรือปฏิเสธการโอนหุ้น ถือได้ว่าผู้ร้องรับโอนหุ้นไว้โดยเจตนายึดถือเพื่อตน ย่อมได้สิทธิครอบครอง เมื่อผู้ร้องครอบครองหุ้นตลอดมาเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี ดังนี้แม้การโอนหุ้นจะเป็นโมฆะ ผู้ร้องก็ได้กรรมสิทธิ์ด้วยการครอบครองแล้ว ผู้ร้องจึงต้องรับผิดในมูลค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นแทนลูกค้า: สิทธิและหน้าที่ของตัวแทน, ลูกค้า, และการรับสภาพหนี้
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แทนลูกค้านั้น บริษัทผู้ดำเนินการซื้อขายหุ้นแทนลูกค้ากับลูกค้ามีเจตนาผูกพันขอให้เป็นหุ้นประเภท จำนวน และราคาตามที่ตกลงสั่งซื้อหรือตกลงขายไว้ต่อกันเป็นปัจจัยสำคัญ การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่งซึ่งสามารถแยกจากการจดทะเบียนโอนหุ้นได้โดยเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในหุ้นย่อมตกแก่ผู้ซื้อทันทีที่ได้มีการซื้อขายกัน การจดทะเบียนโอนหุ้นเป็นการกระทำเพียงเพื่อให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นนั้นใช้ยันต่อบริษัทที่ออกหุ้นหรือต่อบุคคลภายนอกเท่านั้นหาเกี่ยวข้องถึงความสมบูรณ์ของการซื้อขายหุ้นแต่ประการใดไม่ ดังนี้แม้โจทก์ซื้อหุ้นให้จำเลยตามข้อตกลงกันแล้ว โจทก์ยังไม่ได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 ก็ยังถือว่าโจทก์ได้จัดการซื้อหุ้นตามฟ้องให้จำเลยที่ 1 และเมื่อโจทก์ได้ชำระเงินค่าหุ้นแทนจำเลยที่ 1 ไปก่อน จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องใช้เงินที่โจทก์ได้ออกแทนไปพร้อมทั้งค่านายหน้าและดอกเบี้ยให้โจทก์ตามที่จำเลยที่ 1 ตกลงไว้กับโจทก์
จำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงรับสภาหนี้ให้โจทก์โดยมีมูลหนี้เกิดจากที่โจทก์ซื้อหุ้นให้จำเลยในตลาดหลักทรัพย์และได้ชำระเงินค่าหุ้นแทนจำเลยที่ 1 ไปจำเลยที่ 1 ย่อมต้องรับผิดตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้นั้น และกรณีนี้มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่จำเลยตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีและเบิกความว่า จำเลยที่ 2 ตกลงกับโจทก์และสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นแทนจำเลยที่ 1 กับพวก และได้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้แทนจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าข้อความในบันทึกตอนเริ่มต้นมีว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกข้อตกลงแทนจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำในนามของตนเอง ประกอบกับโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะลงชื่อในท้ายบันทึกดังกล่าวในฐานะผู้ให้สัญญา กรณีก็อาจตีความได้เป็นสองนัยว่า ลงชื่อในฐานะเป็นผู้ทำบันทึกข้อตกลงแทนจำเลยที่ 1 หรือในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์โดยตรงก็ได้ ศาลจึงตีความในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ดังกล่าว
of 14