พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7123/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จและแสดงบัตรประชาชนผู้อื่นต่อพนักงานสอบสวนเป็นความผิดอาญา
ป.วิ.อ. ได้บัญญัติถึงอำนาจและหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในชั้นแจ้งข้อหาตามมาตรา 134 ซึ่งความในวรรคหนึ่งกำหนดให้พนักงานสอบสวนต้องถามชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ที่เกิดของผู้ต้องหาเป็นประการแรก ต่อจากนั้นจึงแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหา แล้วจึงแจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบ รวมทั้งให้โอกาสผู้ต้องหาที่จะแก้ข้อหาและแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตน ดังนั้น เมื่อเริ่มทำการสอบสวนพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบถามข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับตัวผู้ต้องหา ผู้ต้องหามีหน้าที่ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตนเองตามบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งมีสภาพบังคับทางอาญาดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 367 ภายใต้หลักเกณฑ์ที่พนักงานสอบสวนต้องให้โอกาสผู้ต้องหาที่จะแก้ข้อกล่าวหาและแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์แก่ตนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 วรรคสี่เพื่อให้การสอบสวนดำเนินต่อไปได้ถูกต้องและชอบธรรม ส่วนการถามคำให้การผู้ต้องหาอันเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 134/4 บัญญัติให้เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนต้องแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบถึงสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ รวมทั้งสิทธิในการให้ทนายความและบุคคลที่ผู้ต้องหาไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำ ซึ่งเป็นขั้นตอนเมื่อผ่านการแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหาแล้ว ไม่อาจแปลความไปถึงขนาดให้สิทธิผู้ต้องหาที่จะปฏิเสธอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนเมื่อเริ่มทำการสอบสวนดังกล่าวข้างต้น จำเลยแจ้งความเท็จและแจ้งให้ร้อยตำรวจโท ด. เจ้าพนักงานสอบสวนจดข้อความอันเป็นเท็จลงในบันทึกคำให้การของจำเลยซึ่งเป็นผู้ต้องหาในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นว่าจำเลยเป็น ธ. ซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้ว หลังจากนั้นเมื่อพนักงานสอบสวนเรียกตัวจำเลยไปสอบถามเนื่องจากจำเลยผิดเงื่อนไขการคุมความประพฤติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยแจ้งความเท็จและแสดงบัตรประจำตัวประชาชนของ ธ. เพื่อให้ร้อยตำรวจโท ด. หลงเชื่อว่าจำเลยเป็น ธ. จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการให้การและใช้สิทธิในขั้นตอนการทำคำให้การที่จำเลยเป็นผู้ต้องหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134/4 (1) การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 267, 367
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8722/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจค้นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการมีสิทธิโต้แย้งเพื่อป้องกันสิทธิของตน
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าบริเวณที่เกิดเหตุอยู่บนถนนสุทธาวาสไม่ใช่หลังซอยโรงถ่านตามที่สิบตำรวจโท ก. และสิบตำรวจตรี พ. อ้างว่ามีอาชญากรรมเกิดขึ้นประจำแต่อย่างใด และจำเลยไม่มีท่าทางเป็นพิรุธคงเพียงแต่นั่งโทรศัพท์อยู่เท่านั้น การที่สิบตำรวจโท ก. และสิบตำรวจตรี พ. อ้างว่าเกิดความสงสัยในตัวจำเลยจึงขอตรวจค้น โดยไม่มีเหตุผลสนับสนุนว่าเพราะเหตุใดจึงเกิดความสงสัยในตัวจำเลย จึงเป็นข้อสงสัยที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกเพียงอย่างเดียว ถือไม่ได้ว่ามีเหตุอันควรสงสัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 ที่จะทำการตรวจค้นได้ การตรวจค้นตัวจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งถูกกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงมีสิทธิโต้แย้งและตอบโต้เพื่อป้องกันสิทธิของตน ตลอดจนเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งใด ๆ อันสืบเนื่องจากการปฏิบัติที่ไม่ชอบดังกล่าวได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจค้นรถและการกล่าวหาตำรวจกลั่นแกล้ง: ศาลยกฟ้องข้อหาขัดขวางการปฏิบัติงาน ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน และไม่แจ้งชื่อ
เจ้าพนักงานตำรวจขอตรวจค้นรถของจำเลย ครั้งแรกจำเลยไม่ยอมให้ค้นเนื่องจากเกรงว่าตำรวจจะกลั่นแกล้งเพราะเหตุที่เคยมีสาเหตุกับตำรวจนั้นมาก่อนในที่สุดจำเลยยอมให้ค้นดังนี้ เห็นได้ว่าจำเลยขาดเจตนาต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา138
การที่จำเลยว่าตำรวจจะเอาของผิดกฎหมายใส่รถจำเลย ตำรวจจะรุททำร้ายจำเลย ไม่แน่ใจว่าเป็นตำรวจ ตำรวจแต่งเครื่องแบบปล้นก็มี เป็นการกล่าวเพราะเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยถูกตำรวจกลั่นแกล้ง เนื่องจากตำรวจหาเหตุมาหยุดรถและค้นรถของจำเลยโดยเฉพาะ การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำเช่นนั้นจึงเป็นการปกป้องตนเอง มิให้ตำรวจกระทำการดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136
ตำรวจรู้จักชื่อและที่อยู่จำเลยแล้วเพราะเคยไปค้นบ้านจำเลยมาก่อน ไม่มีความจำเป็นอย่างไรที่จะต้องถามชื่อและที่อยู่จำเลยอีก การที่จำเลยมิได้แจ้งชื่อและที่อยู่ตามที่ตำรวจถาม จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 367.(ที่มา-ส่งเสริม)
การที่จำเลยว่าตำรวจจะเอาของผิดกฎหมายใส่รถจำเลย ตำรวจจะรุททำร้ายจำเลย ไม่แน่ใจว่าเป็นตำรวจ ตำรวจแต่งเครื่องแบบปล้นก็มี เป็นการกล่าวเพราะเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยถูกตำรวจกลั่นแกล้ง เนื่องจากตำรวจหาเหตุมาหยุดรถและค้นรถของจำเลยโดยเฉพาะ การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำเช่นนั้นจึงเป็นการปกป้องตนเอง มิให้ตำรวจกระทำการดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136
ตำรวจรู้จักชื่อและที่อยู่จำเลยแล้วเพราะเคยไปค้นบ้านจำเลยมาก่อน ไม่มีความจำเป็นอย่างไรที่จะต้องถามชื่อและที่อยู่จำเลยอีก การที่จำเลยมิได้แจ้งชื่อและที่อยู่ตามที่ตำรวจถาม จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 367.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล่อยตัวผู้ต้องกักขังและสับเปลี่ยนตัวผู้ต้องหา เจ้าหน้าที่ความผิดมาตรา 157 แต่ไม่ผิดมาตรา 367 หากไม่ถูกสอบถามชื่อ
นายสิบและพลตำรวจควบคุมผู้ต้องกักขังตามคำสั่งนายตำรวจปล่อยผู้ต้องกักขังเหล่านั้นเปลี่ยนตัวผู้อื่นแทน เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,191 กรรมเดียว ลงโทษตาม มาตรา 157 บทหนัก
ตำรวจไม่บอกชื่อผู้ต้องขังที่เข้ามาเปลี่ยนแทนตัวผู้ที่ตนปล่อยไปแก่นายตำรวจที่มารับตัวผู้ต้องขัง ไม่ใช่ผู้ที่ถูกนายตำรวจถามชื่อ จึงไม่มีความผิดตาม มาตรา 367
ตำรวจไม่บอกชื่อผู้ต้องขังที่เข้ามาเปลี่ยนแทนตัวผู้ที่ตนปล่อยไปแก่นายตำรวจที่มารับตัวผู้ต้องขัง ไม่ใช่ผู้ที่ถูกนายตำรวจถามชื่อ จึงไม่มีความผิดตาม มาตรา 367