พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9037/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ภาษีฯ เกิดหลังฟื้นฟูกิจการ ไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ ฟ้องได้เลย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ก็แต่โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวไว้ในส่วนนี้ แม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หรือเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้วแต่คดียังอยู่ระหว่างพิจารณาก็ตาม ทั้งนี้ ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้พร้อมสำเนาต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 1 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งสำเนาคำขอรับชำระหนี้ให้ผู้ทำแผนโดยไม่ชักช้า มาตรา 90/27 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เจ้าหนี้อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แม้ว่าหนี้นั้นจะยังไม่ถึงกำหนดหรือมีเงื่อนไขก็ตาม เว้นแต่หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดีหรือหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ วรรคสามบัญญัติว่า หนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือผู้บริหารชั่วคราวก่อขึ้น หนี้ที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดตาม มาตรา 90/12 (8) หรือ (11) และหนี้ภาษีอากรหรือหนี้อื่นอันมีลักษณะเดียวกันซึ่งเกิดตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผน เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแผนโดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ... และมาตรา 90/61 บัญญัติว่า เจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการผู้ใดไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ ตามมาตรา 90/26 หรือมาตรา 90/27 วรรคสาม แล้วแต่กรณี เจ้าหนี้ผู้นั้นย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ไม่ว่าการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จะเป็นผลสำเร็จตามแผนหรือไม่ เว้นแต่ (1) แผนจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น หรือ (2) ศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จากบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่า หนี้ซึ่งมูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลล้มละลายมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการนั้นแม้จะยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม หากเจ้าหนี้ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใน 1 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผน เจ้าหนี้ผู้นั้นย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ไม่ว่าการฟื้นฟูกิจการจะเป็นผลสำเร็จตามแผนหรือไม่ เว้นแต่แผนจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นหรือศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเท่านั้น
หนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามฟ้องนั้น แม้ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 8 จะบัญญัติให้ผู้รับประเมินชำระค่าภาษีปีละครั้งตามค่ารายปีของทรัพย์สิน โดยมาตรา 18 บัญญัติให้ ค่ารายปีที่ล่วงมาแล้วนั้นให้เป็นหลักสำหรับคำนวณค่าภาษีที่จะต้องเสียในปีต่อมาก็ตาม แต่จำเลยจะต้องชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินก็ต่อเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบแล้ว ตามความในภาค 3 เรื่อง วิธีดำเนินการประเมินและจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งผู้รับประเมินจะต้องเสียภาษีใน 30 วัน นับแต่วันได้รับการแจ้งรายการประเมินตามมาตรา 38 วรรคหนึ่ง หากพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่แจ้งให้จำเลยทราบจำนวนค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน จำเลยก็ยังไม่ต้องชำระแต่อย่างใด หนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจึงเกิดขึ้นเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินและแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า หนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2554 อันเป็นวันที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผน และภายหลังที่มีการโฆษณาคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผน เมื่อหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินมิได้กำหนดไว้ในแผน โจทก์จึงสามารถฟ้องเป็นคดีต่อศาลภาษีอากรกลางได้ โดยไม่จำต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้แต่อย่างใด
หนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามฟ้องนั้น แม้ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 8 จะบัญญัติให้ผู้รับประเมินชำระค่าภาษีปีละครั้งตามค่ารายปีของทรัพย์สิน โดยมาตรา 18 บัญญัติให้ ค่ารายปีที่ล่วงมาแล้วนั้นให้เป็นหลักสำหรับคำนวณค่าภาษีที่จะต้องเสียในปีต่อมาก็ตาม แต่จำเลยจะต้องชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินก็ต่อเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบแล้ว ตามความในภาค 3 เรื่อง วิธีดำเนินการประเมินและจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งผู้รับประเมินจะต้องเสียภาษีใน 30 วัน นับแต่วันได้รับการแจ้งรายการประเมินตามมาตรา 38 วรรคหนึ่ง หากพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่แจ้งให้จำเลยทราบจำนวนค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน จำเลยก็ยังไม่ต้องชำระแต่อย่างใด หนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจึงเกิดขึ้นเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินและแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า หนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2554 อันเป็นวันที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผน และภายหลังที่มีการโฆษณาคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผน เมื่อหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินมิได้กำหนดไว้ในแผน โจทก์จึงสามารถฟ้องเป็นคดีต่อศาลภาษีอากรกลางได้ โดยไม่จำต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5577/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีโรงเรือนค้างชำระ: เจ้าของใหม่ร่วมรับผิดเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ แม้พ้น 4 เดือน
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 45 บัญญัติว่า "ถ้าค่าภาษีค้างอยู่และยังมิได้ชำระขณะเมื่อทรัพย์สินได้โอนกรรมสิทธิ์ไปเป็นเจ้าของคนใหม่โดยเหตุใดๆ ก็ตาม ท่านว่าเจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีนั้นร่วมกัน" การที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน จึงเป็นเงินภาษีค้างชำระ ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 2 และในวันเดียวกันจำเลยที่ 2 โอนให้แก่จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 โอนให้แก่จำเลยที่ 4 เป็นทอดๆ ไป ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงตกอยู่ในฐานะเป็นเจ้าของคนเก่าและคนใหม่ อันต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีค้างร่วมกันกับจำเลยที่ 1 โดยมิพักต้องคำนึงว่าการโอนกรรมสิทธิ์ในโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้มีขึ้นก่อนหรือภายหลังจากครบกำหนด 4 เดือน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 38
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4282/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: เอกสารแนบท้ายสัญญาเช่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา, การประเมินต้องเป็นธรรม
ตามใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดระบุชื่อ พ. และหรือบริษัท ก. (โจทก์) ผู้รับประเมิน ย่อมหมายถึงว่า พ. หรือโจทก์คนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนตามที่มีชื่อระบุไว้ในเอกสารดังกล่าว อยู่ในฐานะ ผู้รับประเมิน โจทก์จึงเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะพึงชำระค่าภาษีตามที่พนักงานเก็บภาษีแจ้งรายการประเมินไปให้ทราบและมีหน้าที่ชำระค่าภาษีตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยไม่มีพยานมานำสืบให้เห็นว่าค่าเช่ารายพิพาทนี้ไม่ใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนฯ มาตรา 8 กรณีจึงไม่มีเหตุบ่งชี้ให้เห็นว่าค่าเช่าตามเอกสารแนบท้ายสัญญาเช่าอาคารตามฟ้องไม่ใช่จำนวนอันสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ในการคำนวณภาษีซึ่งจะต้องเสียค่ารายปีจึงต้องถือตามจำนวนค่าเช่าที่โจทก์รับมาตามเอกสารแนบท้ายสัญญาเช่า การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินเรียกเก็บค่ารายปีโดยถือเอาค่าเช่าและค่าบริการรวมอยู่ด้วยนั้นจึงไม่ถูกต้อง การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่และคำชี้ขาดของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 คืนเงินส่วนที่เกินจากการประเมินใหม่ทั้งหมดให้แก่โจทก์ ภายใน 3 เดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษานี้ หมายถึงนับแต่วันอ่านคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางนั้น เมื่อคดีนี้ ไม่ได้ถึงที่สุดไปตามคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลาง คำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนฯ มาตรา 39 วรรคสอง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาสมควรแก้ไขให้ถูกต้องคือให้จำเลยที่ 1 คืนเงินภาษีให้โจทก์ภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด
จำเลยไม่มีพยานมานำสืบให้เห็นว่าค่าเช่ารายพิพาทนี้ไม่ใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนฯ มาตรา 8 กรณีจึงไม่มีเหตุบ่งชี้ให้เห็นว่าค่าเช่าตามเอกสารแนบท้ายสัญญาเช่าอาคารตามฟ้องไม่ใช่จำนวนอันสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ในการคำนวณภาษีซึ่งจะต้องเสียค่ารายปีจึงต้องถือตามจำนวนค่าเช่าที่โจทก์รับมาตามเอกสารแนบท้ายสัญญาเช่า การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินเรียกเก็บค่ารายปีโดยถือเอาค่าเช่าและค่าบริการรวมอยู่ด้วยนั้นจึงไม่ถูกต้อง การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่และคำชี้ขาดของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 คืนเงินส่วนที่เกินจากการประเมินใหม่ทั้งหมดให้แก่โจทก์ ภายใน 3 เดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษานี้ หมายถึงนับแต่วันอ่านคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางนั้น เมื่อคดีนี้ ไม่ได้ถึงที่สุดไปตามคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลาง คำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนฯ มาตรา 39 วรรคสอง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาสมควรแก้ไขให้ถูกต้องคือให้จำเลยที่ 1 คืนเงินภาษีให้โจทก์ภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันในหนี้ภาษีเมื่อมีการโอนทรัพย์สิน โดยหนี้ภาษียังไม่ถูกชำระ
ความในมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475 มิได้หมายความถึงมีเงินค่าภาษีค้างชำระตามมาตรา 42 เพราะหากหมายความถึงมีเงินค่าภาษีค้างชำระก็คงไม่ต้องบัญญัติคำว่า "และยังมิได้ชำระ"ซ้ำลงไป บัญญัติเพียงว่าถ้าค่าภาษีค้างอยู่ก็ได้ความเพียงพอแล้ว เพราะค้างอยู่ก็ย่อมหมายความถึงยังมิได้ชำระนั่นเอง แต่การที่มาตรา 45 บัญญัติเช่นนี้ย่อมหมายความว่า หากเจ้าของคนเก่านั้นยังมีหนี้ค่าภาษีอยู่ขณะเมื่อมีการโอนทรัพย์สินนั้นไปยังเจ้าของคนใหม่ เจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีนั้นร่วมกันเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้ค่าภาษีอยู่ตั้งแต่เมื่อได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว มิใช่เพิ่งมีหนี้เกิดขึ้นเมื่อระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามมาตรา 38 ล่วงพ้นไป เพราะฉะนั้นเมื่อยังมิได้มีการชำระหนี้ค่าภาษีในขณะที่โอนกรรมสิทธิ์โรงเรือนและที่ดินไปยังจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในหนี้ค่าภาษีดังกล่าวรวมทั้งเงินเพิ่มดังโจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมรับผิดในหนี้ภาษีค้างชำระเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2479 มาตรา 45กำหนดว่าถ้าค่าภาษีค้างอยู่และยังมิได้ชำระขณะเมื่อทรัพย์สินได้โอนกรรมสิทธิ์ไปเป็นของเจ้าของใหม่โดยเหตุใด ๆ ก็ตามเจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีนั้นร่วมกัน จึงเห็นได้ว่าความในมาตรา 45 มิได้หมายความถึง มีเงินค่าภาษีค้างชำระตามมาตรา 42 เพราะหากหมายความถึงมีเงินค่าภาษีค้างชำระก็คงไม่ต้องบัญญัติว่า "และยังมิได้ชำระ"ซ้ำลงไปเพียงแต่บัญญัติว่า ถ้าค่าภาษีค้างอยู่ก็ได้ความเพียงพอแล้วเพราะค้างอยู่ก็ย่อมหมายความถึงยังมิได้ชำระนั่นเองแต่การที่มาตรา 45 บัญญัติเช่นนี้ย่อมหมายความว่า หากเจ้าของคนเก่านั้นยังมีหนี้ค่าภาษีอยู่ขณะเมื่อมีการโอนทรัพย์สินนั้นไปยังเจ้าของคนใหม่ เจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีร่วมกัน คดีนี้จำเลยที่ 1 มีหนี้ค่าภาษีอยู่ตั้งแต่เมื่อได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว มิใช่เพิ่งมีหนี้เกิดขึ้นเมื่อระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามมาตรา 38ล่วงพ้นไปแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นเมื่อยังมิได้มีการชำระหนี้ค่าภาษีในขณะที่โอนกรรมสิทธิ์โรงเรือนและที่ดินไปยังจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ในหนี้ค่าภาษีดังกล่าวรวมทั้งเงินเพิ่มด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีภาษีโรงเรือน, การบังคับสิทธิเรียกร้อง, และขอบเขตคำฟ้อง
เมื่อไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรและไม่มีข้อกำหนดคดีภาษีอากรเกี่ยวกับเรื่องคำฟ้องไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17
ฟ้องของโจทก์ได้แสดงรายละเอียดจำนวนหนี้ค่าภาษีโรงเรือนที่ว.เจ้าของโรงเรือนคนเก่าค้างชำระในปีใด จำนวนเท่าใด จำเลยทั้งหกต้องรับผิดร่วมด้วยเพราะเหตุใด กับขอให้บังคับจำเลยทั้งหกชำระเงินจำนวนเท่าใดไว้ครบถ้วนถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว แม้โจทก์จะเคยมีหนังสือทวงถามจำเลยทั้งหกโดยกล่าวอ้างว่า ว.ค้างชำระค่าภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2521 ถึง พ.ศ.2524 เป็นเงินรวม 61,545 บาท ซึ่งไม่ตรงกับจำนวนตามคำฟ้องก็เป็นข้อเท็จจริงนอกคำฟ้องมิใช่ข้ออ้างแห่งข้อหาหรือสภาพแห่งข้อหาในคำฟ้องของโจทก์ ไม่เป็นเหตุที่จะทำให้คำฟ้องที่สมบูรณ์ของโจทก์กลับกลายเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุมไปได้
มาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475ที่บัญญัติให้เจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีค้างร่วมกันนั้น เป็นบทบัญญัติพิเศษที่ให้รัฐสามารถติดตามเอาชำระค่าภาษีค้างให้ได้ไม่ว่ากรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินนั้นจะได้โอนไปเป็นของผู้ใด และโดยที่หนี้ค่าภาษีค้างเป็นหนี้ที่มีอยู่ก่อนเจ้าของคนใหม่รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้น สิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าภาษีค้างจึงอาจบังคับได้ตั้งแต่เจ้าของคนเก่าแล้ว ดังนั้น การนับกำหนดอายุความจึงต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องแก่เจ้าของคนเก่าได้ คือนับแต่วันพ้นกำหนด 90 วัน ที่ได้รับแจ้งรายการประเมิน ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 38เดิม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2535 ว.เจ้าของคนเก่าได้รับแจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2515 ถึงพ.ศ.2519 ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2520 ส่วนภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2520ได้รับแจ้งรายการประเมินเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2520 และภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2521 ถึง พ.ศ.2524 ได้รับแจ้งรายการประเมินเมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2524 นับตั้งแต่วันครบกำหนด 90 วัน ที่ได้รับแจ้งรายการประเมินถึงวันฟ้องพ้นกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 167 (เดิม) คดีโจทก์เกี่ยวกับหนี้ค่าภาษีค้างประจำปี พ.ศ.2515 ถึง พ.ศ.2524 จึงขาดอายุความส่วนภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2525 ว.ได้รับแจ้งรายการประเมินเมื่อวันที่ 21ตุลาคม 2525 และภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2526 ได้รับแจ้งรายการประเมินเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2526 นับตั้งแต่วันครบกำหนด 90 วัน ที่ได้รับแจ้งรายการประเมินถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนดเวลา 10 ปี คดีโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ
คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้อง ว.หรือทายาทและมีคำขอให้ ว.หรือทายาทร่วมรับผิดกับจำเลยทั้งหกแต่อย่างใด ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้ ว.และทายาทร่วมชำระเงินแก่โจทก์ด้วย จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 แม้ปัญหานี้จำเลยทั้งหกไม่มีสิทธิอุทธรณ์เพราะไม่กระทบถึงสิทธิของจำเลยทั้งหกแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
ฟ้องของโจทก์ได้แสดงรายละเอียดจำนวนหนี้ค่าภาษีโรงเรือนที่ว.เจ้าของโรงเรือนคนเก่าค้างชำระในปีใด จำนวนเท่าใด จำเลยทั้งหกต้องรับผิดร่วมด้วยเพราะเหตุใด กับขอให้บังคับจำเลยทั้งหกชำระเงินจำนวนเท่าใดไว้ครบถ้วนถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว แม้โจทก์จะเคยมีหนังสือทวงถามจำเลยทั้งหกโดยกล่าวอ้างว่า ว.ค้างชำระค่าภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2521 ถึง พ.ศ.2524 เป็นเงินรวม 61,545 บาท ซึ่งไม่ตรงกับจำนวนตามคำฟ้องก็เป็นข้อเท็จจริงนอกคำฟ้องมิใช่ข้ออ้างแห่งข้อหาหรือสภาพแห่งข้อหาในคำฟ้องของโจทก์ ไม่เป็นเหตุที่จะทำให้คำฟ้องที่สมบูรณ์ของโจทก์กลับกลายเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุมไปได้
มาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475ที่บัญญัติให้เจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีค้างร่วมกันนั้น เป็นบทบัญญัติพิเศษที่ให้รัฐสามารถติดตามเอาชำระค่าภาษีค้างให้ได้ไม่ว่ากรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินนั้นจะได้โอนไปเป็นของผู้ใด และโดยที่หนี้ค่าภาษีค้างเป็นหนี้ที่มีอยู่ก่อนเจ้าของคนใหม่รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้น สิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าภาษีค้างจึงอาจบังคับได้ตั้งแต่เจ้าของคนเก่าแล้ว ดังนั้น การนับกำหนดอายุความจึงต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องแก่เจ้าของคนเก่าได้ คือนับแต่วันพ้นกำหนด 90 วัน ที่ได้รับแจ้งรายการประเมิน ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 38เดิม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2535 ว.เจ้าของคนเก่าได้รับแจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2515 ถึงพ.ศ.2519 ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2520 ส่วนภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2520ได้รับแจ้งรายการประเมินเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2520 และภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2521 ถึง พ.ศ.2524 ได้รับแจ้งรายการประเมินเมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2524 นับตั้งแต่วันครบกำหนด 90 วัน ที่ได้รับแจ้งรายการประเมินถึงวันฟ้องพ้นกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 167 (เดิม) คดีโจทก์เกี่ยวกับหนี้ค่าภาษีค้างประจำปี พ.ศ.2515 ถึง พ.ศ.2524 จึงขาดอายุความส่วนภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2525 ว.ได้รับแจ้งรายการประเมินเมื่อวันที่ 21ตุลาคม 2525 และภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2526 ได้รับแจ้งรายการประเมินเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2526 นับตั้งแต่วันครบกำหนด 90 วัน ที่ได้รับแจ้งรายการประเมินถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนดเวลา 10 ปี คดีโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ
คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้อง ว.หรือทายาทและมีคำขอให้ ว.หรือทายาทร่วมรับผิดกับจำเลยทั้งหกแต่อย่างใด ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้ ว.และทายาทร่วมชำระเงินแก่โจทก์ด้วย จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 แม้ปัญหานี้จำเลยทั้งหกไม่มีสิทธิอุทธรณ์เพราะไม่กระทบถึงสิทธิของจำเลยทั้งหกแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7336/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีภาษีโรงเรือนฯ ต้องชำระภาษีนำก่อนจึงจะรับฟ้องได้ ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ผู้รับการประเมินจะนำคดีมาฟ้องว่า การประเมินไม่ถูกต้องตามมาตรา 31 ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 39 ก่อนนำคดีมาฟ้องต่อศาล โจทก์ผู้รับการประเมินจะต้องชำระค่าภาษีก่อนมิฉะนั้นจะเป็นฟ้องที่รับไว้พิจารณาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7336/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน ต้องชำระภาษีประเมินก่อน จึงจะสามารถนำคดีไปสู่ศาลได้
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ผู้รับการประเมินจะนำคดีมาฟ้องว่า การประเมินไม่ถูกต้องตามมาตรา 31ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 39 ก่อนนำคดีมาฟ้องต่อศาล โจทก์ผู้รับการประเมินจะต้องชำระค่าภาษีก่อนมิฉะนั้นจะเป็นฟ้องที่รับไว้พิจารณาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6428/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ภาษีเกิดขึ้นเมื่อมีการประเมินและแจ้งการประเมินแล้ว ไม่ถือเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ในการชำระหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน แม้ว่าผู้พึงชำระจะมีหน้าที่ต้องชำระเป็นรายปี แต่ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯมาตรา 38 ผู้รับการประเมินจะต้องชำระก็ต่อเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินและแจ้งการประเมินให้ทราบแล้ว เมื่อปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยที่ 1 วันที่ 30 ธันวาคม 2530กรุงเทพมหานครเจ้าหนี้ยังไม่ได้ประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2530 ซึ่งจัดเก็บในปี 2531 และแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ต้องชำระค่าภาษี ดังนี้เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธินำหนี้ค่าภาษีดังกล่าวมาขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 94.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5219/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ - เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ชำระภาษีแทนลูกหนี้
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินและต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ตกเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (จำเลยที่ 2) แต่ผู้เดียว โจทก์ จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้อีก ปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง แม้จำเลยที่ 1 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว แต่เมื่อ จำเลยที่ 1 ยังเป็นเจ้าของโรงเรือนและที่ดิน ซึ่ง พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 และ พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 บัญญัติให้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายดังกล่าวทุกปี จำเลย ที่ 2 ในฐานะ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ เอาเงินของจำเลย ที่ 1 ชำระค่าภาษีดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีจำเลยที่ 2 มีหนังสือตอบว่า โจทก์ ใน ฐานะเจ้าหนี้จะบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ก็แต่โดยการขอรับ ชำระหนี้จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสีย ภาษีแทนจำเลยที่ 1เช่นนี้ หนังสือตอบของจำเลยที่ 2 เป็นเพียง ความเห็นของจำเลยที่ 2ในปัญหาว่า โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ ค่าภาษีจะใช้สิทธิเรียก ค่าภาษี ได้โดยวิธีใด หาได้วินิจฉัยเกี่ยวกับ ค่าภาษีไม่ ทั้งคำวินิจฉัยดังกล่าวก็ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้อง คัดค้าน ต่อศาลแพ่งซึ่งเป็นศาล ในคดีล้มละลายภายใน 14 วัน ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 146.